วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561

 

ศาสนากับความเชื่อ
ศาสนา เป็นคำที่บ่งบอกถึงสถาบันหรือกลุ่มผู้นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งในโลกซึ่งปัจจุบันศาสนามีมายมาก เกิดขึ้นในโลกความเชื่อตามหลักศาสนาล้วนเกิดจากการปลูกฝังความเชื่อตามวัฒนธรรม ถิ่นฐาน ชาติกำเนิด ซึ่งถูกปลูกฝังผ่านบิดา มารดา เครือญาติ  จารีต  ประเพณี สภาพแวงล้อมของสังคมนั้น ๆ ศาสนาถือเป็นมรดกที่ถูกถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานที่นับถือสืบทอดกันมาเป็นรุ่นๆ มีความเคารพศรัทธา เชื่อมั่น ปฏิบัติตาม คุ่มครองรักษาไว้เป็นมรดกของสังคม  ชุมชน ร่วมกัน ศาสนาใดก็ตามย่อมมีความดี เป็นหลักในการดำเนินชีวิตที่ดีงามทุกศาสนา มีหลักคำสอนประกอบด้วยข้อปฏิบัติที่ทำให้ผู้นับถือเข้าถึงหลักความดีงามในการดำเนินชีวิต ทั้งหลักปฏิบัติที่ส่งเสริมให้เกิดความสุขในปัจจุบัน และ หลักปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงจุดหมายสูงสุดของศาสนา การปฏิบัติต่อความศรัทธาความเชื่อของศาสนาเป็นหลักหรือเป็นแก่นอันนำไปสู่ความสงบสุขร่วมกันในสังคมแม้ว่าสังคมนั้นๆ จะไม่ได้นับถือเคารพศาสนาเดียวกันก็ตามแต่เป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าศาสนาทุกศาสนาไม่ได้สอนให้เอารัดเอาเปรียบกัน เกลียดชั่งกัน และเห็นบุคคลอื่นนอกเหนือจากศาสนิกชนของศาสนาที่ตนนับถือเป็นภัยต่อตนถ้าศาสนาเป็นเช่นนั้นแล้วศาสนาก็ไม่อาจเป็นประโยชน์สุขแก่มนุษยชาติได้ ซึ่งก็จัดเป็นลัทธิที่บังคับให้บุคคลปฏิบัติตามหลักการอุดมการของลัทธิตนเท่านั้น หากเรามองเข้ามาในสังคมจักเห็นได้ว่าในสังคมหนึ่งๆ มีความเชื่อศาสนาและลัทธิเกี่ยวข้องอยู่กับประชากรในสังคมนั้นๆ หลากหลายความเชื่อ ศาสนา ลัทธิ อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ชุมชน ประเทศชาติ ทุกคนล้วนปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของพระศาสดาของตนที่ทรงสั่งสอนให้ยึดมั่นในการปฏิบัติให้เข้าถึงความดี  ความงาม ความจริงคือจุดหมายสูงสุดของศาสนาของตน ทำให้สังคมมีความสุข มีความสงบ มีความปรองดอง รักใคร่สามัคคีกันของคนในสังคมร่วมกันได้นั้นอาจเป็นผลมาจากความหลากหลายในประชากรที่อาศัยร่วมกันปฏิบัติตามหลักคำสั่งสอนของศาสดาของแต่ละศาสนาที่สั่งสอนให้ปฏิบัติตั้งอยู่ในความดี ความงาม ความปรองดอง  สามัคคีรักใคร่กันอยู่ร่วมกันของคนในสังคม จักเห็นได้ว่าศาสนา ไม่ใช่เครื่องมือในการทำลายล้างกันของมนุษยชาติแต่เป็นเครื่องมือในการดำรงอยู่ร่วมกันของบุคคลในสังคมส่งเสริมให้เกิดความปรองดองสามัคคีมีความเคารพซึ่งกันและกันเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันเป็นเครื่องมือในการสร้างสังคม  ชุมชน ที่มีความเป็นอยู่อย่างมีความสุข  ความเจริญรุ่งเรืองของมนุษยชาติ อย่างไรก็ตามบุคคลบ้างกลุ่มก็ไม่ได้นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นเครื่องยึดเหนียวจิตใจแต่ก็อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีการนับถือศาสนา ลัทธิ ความเชื่อของประชากรในสังคมบุคคลเหล่านี้ก็ไม่ได้สร้างความแตกต่างให้สังคมอย่างชัดเจนเพียงแต่ไม่ยอมรับนับถือศาสนาเท่านั้นเอง ผู้เขียนคงไม่อาจตอบคำถามของสาเหตุหรือเหตุผลของบุลคลเหล่านี้แทนได้แต่ก็พอเข้าใจได้ว่าเป็นเพราะความเจริญทาง วิทยาศาสตร์ที่ตอบคำถามเชิงการ พิสูจน์ความจริงเชิงประจัก ไม่ยอมรับความจริงเชิงตรรกะ แต่นั้นก็ไม่อาจทำให้เกิดสังคมใหม่หรือความเชื่อใหม่อย่างชัดเจนเพราะเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นมาพร้อมๆกันกับศาสนา การที่จะให้บุคคลเชื่อเหมือนกัน หรือคิดเหมือนกันนั้นย่อมไม่อาจทำได้สังเกตง่ายๆ จากในห้องเรียน นักเรียนเมื่อครูสอนวิชาความรู้ให้นักเรียนในเรื่องสังคม(เรื่องอื่นก็อาจเหมือนกัน) ถ้านักเรียนในห้องมี 10 คน อาจมีคนที่เชื่อครูสอนไม่ถึงครึ่งเพราะเหตุใดเพราะเหตุที่คนเราคิดไม่เหมือนกันนั่นเอง จึงมีการตั้งคำถามเพื่อคลายความสงสัยและนำเข้าสู่ความเข้าใจที่ใกล้เคียงกันหรือตรงกันเป็นบ้างส่วนเท่านั้นเพราะการรับรู้ของแต่ละบุคคลแตกต่างกันเป็นผลมาจากการแสวงหาความรู้ที่แตกต่างกันดังนั่นประสบการณ์ในการรับรู้จึงแตกต่างกันนั่นเอง คนที่ศึกษาแสวงหาความรู้มากกว่าและจากหลากหลายแหล่งความรู้ย่อมเข้าใจเรื่องที่ครูสอนตรงกันกับองค์ความรู้ที่ครูสอนแต่คนที่ไม่ได้แสวงหาความรู้เลยกล่าวคือไม่ได้รับรู้มาก่อนจากแหล่งความรู้ที่หลากหลายเพียงแต่อาศัยครูสั่งสอนอย่างเดียวย่อมตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ตนคิดว่าน่าจะเป็นความรู้ที่ตนจะได้รับเท่านั้น ผู้เขียนได้แสดงเหตุการณ์ประกอบก็เพื่อต้องการให้เห็นภาพเท่านั้นอาจมีเหตุผลอื่นๆ ที่ใช่อธิบายแนวคิดนี้ได้ดีกว่า ดังที่กล่าวมาแล้วแสดงให้เห็นแม้ว่าสังคมมีความแตกต่างทางด้านความเชื่อ ศาสนา ลัทธิ แต่สังคมนั้นย่อมหลีกเหลี่ยงการอาศัยร่วมกันอย่างเป็นอิสระไม่ได้เพราะสังคมประกอบด้วยความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นชนชาติ เผาพันธ์ ศาสนา ความเชื่อ จารีต  ประเพณี ลัทธิอุดมการณ์   ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นองค์ประกอบของสังคมที่อาศัยร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นชุมชน เป็นประเทศชาติ และเป็นประชากรโลก ย่อมอาศัยความแตกต่างเป็นเครื่องมือในการสร้างชุมชนให้ดำรงอยู่อย่างสงบสุขร่วมกัน  ถ้าหากการตั้งชุมชน สังคมที่ประกอบไปด้วยหลักการณ์ อุดมการณ์ ความเชื่อศาสนาเดียวกันแยกออกเป็นเอกเทศน์ออกไปจากสังคมอื่นที่มีความเชื่อศาสนา วัฒนธรรม  จารีต  ประเพณี ก็ย่อมขาดความหลากหลายทำให้การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลกลุ่มอื่นน้อยลง ทำให้สังคมขาดความหลากหลายของประชากรในสังคมซึ่งมีผลเกี่ยวกับการปรับตัวให้เขากับวัฒนธรรมอื่น ชนชาติอื่น ศาสนาอื่นเมื่อมีความจำเป็นต้องปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสังคมโลกก็ย่อมไม่เขาใจวิถีชีวิต ธรรมเนียม จารีตของบุคคลที่ปฏิสัมพันธ์อยู่หรือมองกันคนละมุมมองนั้นเองดังเห็นตัวอย่างจากชนเผาต่างๆที่แยกตัวกันอยู่ซึ่งไม่นิยมมีความปฏิสัมพันธ์กัน ทำให้มีความเขาใจในเรื่อง ความเชื่อ ศาสนา จารีต  ประเพณี ของชนเผาอื่นร่วมถึงภาษาที่ใช่ในการสื่อสารก็ทำให้เขาใจกันยากขึ้น ทำให้ชนเผาแต่ละชนเผาอาศัยแยกตัวกันอยู่เป็นเอกเทศน์ มีความปฏิสัมพันธ์กันน้อย แตกต่างจากสังคมที่ประกอบไปด้วยความหลากหลายของ เชื่อชาติ  ศาสนา จารีต ประเพณี  วัฒนธรรม เมื่อต้องการจะปฏิสัมพันธ์กันก็สามารถสื่อสารกันได้ตรงประเด่นเพราะรู้จักบุคคลที่ต้องการปฏิสัมพันธ์ด้วยว่าบุคคลนั้นนับถือศาสนาใดมีความเชื่ออย่างไร จารีต  ประเพณีของเขาเป็นอย่างไร นั้นเอง
            ศาสนามีความจำเป็นต่อมนุษยชาติหรือไม่  ในมุมมองของผู้เขียนเห็นว่าศาสนาเป็นเครื่องมือของสังคมเพราะมีองค์ประกอบของความดี  ความงาม ความปรองดองรักใคร่สามัคคีของคนในสังคมเพราะสังคมประกอบไปด้วยเชื่อชาติ  ความเชื่อ ศาสนา ลัทธิ จารีต  ประเพณี ที่ส่งเสริมให้สังคมนำหลักคำสอนของศาสดามาเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิต และปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดหมายสูงสุดที่ศาสดาของแต่ละศาสนาได้ตรัสให้ปฏิบัติให้เกิดผลเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิตและจิตวิญญาณ หากสังคมมนุษย์ไรซึ่งศาสนาแล้วสังคมมนุษย์จะเอาอะไรเป็นหลักดำเนินชีวิต หรืออาจเป็นเสมือนสังคมสัตว์ที่อยู่ในป่า อยู่ในน้ำ กล่าวคือมีนักล่า  และผู้ถูกล่า ใครแข็งแกรงกว่าเป็นผู้ชนะและรักษาเผาพันธ์ของตนไว้ได้ส่วนผู้ที่อ่อนแอ่ย่อมตกเป็นผู้ถูกล่าเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงชีพของผู้ที่แข็งแกรงกว่าการรักษาสกุล  เผาพันธ์ของตนเองทำได้ยาก ความอยู่รอดเป็นเรื่องลำบาก เพราะต้องคอยระแวดระวังอยู่ตลอดเวลา และอาจเสียงต่อการสูญเผาพันธ์ได้ ฉะนั้นเมื่อเราเข้าใจศาสนาและความเชื่อว่าเป็นสิ่งสำคัญในการใช้เป็นหลักปฏิบัติตามหลักคำสั่งสอนของศาสดาของแต่ละศาสนาแล้วเราย่อมมองเห็นสังคมกว้างใหญ่ที่เราอาศัยอยู่เป็นส่วนหนึ่งของประชากรโลกที่มีความหลากหลายนั้นล้วนอาศัยหลักคำสั่งสอนของศาสดาของศาสนาเป็นแบบในการดำเนินชีวิตให้มีความสุขร่วมกัน รักใคร่สามัคคีกันเป็นเครื่อญาติเผาพันธ์ที่อาศัยแผ่นดินคือโลกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข


วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561

 

อยู่ตามได้ใช้ตามมีตามหลักวิถีพุทธ
บทนำ
การดำเนินชวิตโดยยึดหลักความพอดีพึ่งพาตนเองโดยรู้จักการใช้ จ่าย รู้จักอดออม ไม่ใช้จ่ายแสวงหาจนเกินกำลังความสามารถของตนย่อมนำมาซึ่งความสุขความมั่นคงให้แก่บุคคลผู้ปฏิบัติตนตามหลักความสันโดษ รู้จักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์(ทิด-ถะ-ทำ-มิ—กัด-ถะ-ประโยชน์) คือประโยชน์สุขในปัจจุบัน
เนื้อหา
การดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันมีความลำบากมากขึ้นเพราะส่วนใหญ่เรามักจะมีค่านิยมในการบิริโภคใช่สอยมากขึ้นหรือมีกิเลสมากขึ้นทำให้ต้องดิ้นรนแสวงหาวัตถุสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อนำมาตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นตามวัฒนธรรมค่านิยมใหม่ที่สร้างขึ้นเชิงการตลาดและความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งเรียกได้ว่ากระแสสังคมสมัยใหม่ที่ต้องการพัฒนาความสะดวกความสบายในการดำเนินชีวิตทำให้เกิดความต้องการบริโภคใช้สอยในรูปแบบใหม่ๆอย่างไม่มีที่สิ้นสุดและละทิ้งวัฒนธรรมคุณค่าทางสังคมแบบสมัยเก่าอย่างสิ้นเชิง การดำเนินชีวิตแบบสันโดษคือคำตอบที่มีคุณค่าในการนำมาปฏิบัติตนเพื่อตั้งอยู่ในความพอเพียง พอดี พอใช้ เพื่อให้เกิดความสุขและยั้งยืนในการดำเนินชีวิต  หลักสันโดษ คือความยินดีพอใจในสิ่งที่มีหรือได้มา ตามความสามารถตามกำลังสติปัญญาของตนมีความยินดีพอใจในสิ่งที่ตนมีไม่แสวงหาจนเกินความสามารถของตนทั้งใด้มาแบบสุจริตก็ตาม ทุจริตก็ตามล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดความเดือนร้อนทั้งสิ้น การยินดีพอใจตามกำลังความสามารถของตนถือว่าไม่เบียดเบียนตนเองเพราะไม่ต้องก่อหนี้สินทำให้ทุกข์กายทุกข์ใจในการแสวงหามาผ่อนชำระหนี้ ยินดีพอใจไม่เกินเลยหรือรู้จักอิ่มรู้จักประมาณในการบริโภคใช้สอยทรัพย์ที่หามาได้และมีนิสัยรักการออมเพื่อไว้ใช้ในยามจำเป็น ความสันโดษจึงเป็นหลักดำเนินชีวิตและรู้จักใช้สอยอย่างรู้คุณค่า รู้จักประมาณ รู้จักความพอดี รู้จักอดออมอย่างมีเหตุมีผล คือทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ความถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร ต่อสู้อุปสรรค อย่างไม่ย่อท่อ ในการแสวงหาบริโภคอุปโภคใช้สอยอย่างสุจริต  รู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้ให้คงอยู่เห็นคุณค่าและใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า รู้จักคบหากัลยาณมิตร คือบุคคลผู้เป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตไม่ใช่บุคลที่แนะนำไปตามหลักกระแส่สังคมที่มุ่งแต่แข่งขันด้านวัตถุ ดังสุขของคฤหัสถ์ 4 คือความสุขกายสบายใจไม่วิตกทุกข์ร้อนในการดำเนินชีวิต อัตถิสุข  ความสุขเกิดจากการมีทรัพย์ คือความสุขที่แสวงหาทรัพย์ได้มาโดยสุจริตไม่มีโทษเป็นการขยันอดทนอดออม  ทรัพย์ที่หามาได้ด้วยสติปัญญา แรงกายแรงใจของตนเอง  ทรัพย์ที่ได้มาจึงเป็นทรัพย์ที่ได้จากการแสวงหาของตนทรัพย์นั้นจึงเป็นหลักในการสร้างฐานะความเป็นอยู่อย่างภาคภูมิใจ  โภคสุข คือสุขที่เกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ เมื่อมีทรัพย์ก็รู้จักบำรุงตนให้สะดวกสบายควรแก่อัตถาพและระมัดระวังอย่าใช้เกินความจำเป็น อนณสุข(อะ-นะ-ณะ-สุข) คือสุขเกิดจากความไม่มีหนี้ เมื่อหาทรัพย์มาได้อุปโภคบริโภคใช้สอยให้พอดีตามกำลังที่หามาได้ไม่ต้องการมากเกินกำลังความสามารถก็ไม่ก่อให้เกิดหนี้สินอันก่อให้เกิดความร้อนกายเดือดร้อนใจดังพุทธเจ้าตรัสว่า การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก  อนวัชชสุข(อะ-นะ-วัด-ชะ-สุข) คือสุขจากการประกอบอาชีพสุจริต การแสวงหาเพื่อเลี้ยงชีพนั้นต้องมีความสุจริตเพราะทรัพย์ที่ได้จากการแสวงหาโดยสุจริตไม่ก่อโทษแก่ตนเองและผู้อื่นจึงเป็นที่น่าภาคภูมิใจในการแสวงหาทรัพย์นั้นมาได้
            การดำเนินชีวิตที่ตั้งอยู่ในความประมาทไม่มีความพอดีพอใช้ไม่รู้จักบริโภคใช้สอยอย่างมีสติหลงไปตามกระสังคมและเทคโนโลยีจนเกินความพอดี เกินกำลังความสามารถขอนตนทำให้เกิดความเดือดร้อนก่อหนี้สินและทรัพย์ที่หามาได้ก็หมดลงโดยไม่อดออมเก็บไว้ในยามจำเป็นจึงทำให้เกิดความเดือดร้อนเป็นทุกข์จึงทำให้อาจสร้างอกุศลกรรมประกอบอาชีพทุจริตเพื่อให้ได้ทรัพย์มากเป็นเหตุให้สร้างความเดือนร้อนแก่ตนเองและสังคมได้
สรุป
การดำเนินชีวิตโดยยึดหลักความสันโดษ รู้จักบริโภคอุปโภคใช้สอยทรัพย์ย่อมนำพาให้ผู้ประพฤติปฏิบัติได้รับความสุขความเจริญและความภาคภูมิใจดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาทรู้คุณค่าและแสวงหาอย่างสุจริตไม่เกิดโทษสร้างความเดือนร้อนให้ตนเองและสังคมนำความสุขความเจริญตามหลักวิถีพุทธ


 

สุจริตชีวิตสดใสสังคมไทยเป็นสุข
บทนำ
ความเห็นชอบเป็นสัมมาทิฏฐิคือเห็นคุณประโยชน์ไม่เกิดโทษเบียดเบียนตนเองและบุคคลอื่นคือบุคคลผู้มีคุณธรรมนำจิตใจเป็นบาททางในการดำเนินชีวิตอย่างมีสติไม่ประมาทอันเป็นทางนำไปสู่ความเสือม ความสุจริตเป็นเครื่องหมายของคนดีเพราะไม่นำความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและสังคม
เนื้อหา
            ความชื่อสัตย์สุจริตเป็นคุณธรรมกำกับความประพฤติทางกาย  ทางวาจา ทางใจ หรือความประพฤติชอบซึ่งส่งเสริมให้งดเว้นความประพฤติผิดทำให้ตนเองและสังคมเกิดความเดือดร้อน การประพฤติดีสุจริตเรียกว่ากุศลกรรมบถ คือทางแห่งการทำความดีนำความสุขความเจริญมาให้แก่ตนเองและสังคม การประพฤติดีทางกายคืองดเว้นจากการปลงชีวิต ทำให้ได้รับบาทเจ็บและความทุกข์ลำบาก งดเว้นจากการลักขโมยของบุคคลอื่นที่เจ้าของไม่ได้อนุญาต งดเว้นจากการจากประพฤติผิดในคู่ครองของคนอื่นและผู้ที่อยู่ในการปกครองดูแล่ของคนอื่น การประพฤติดีทางวาจา งดเว้นจากพูดเท็จ เป็นเหตุให้เกิดความเข้าใจผิดคลาดเคลือนไปจากความเป็นจริง งดเว้นจากการพูดส่อเสียดทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ งดเว้นจากการพูดคำหยาบ อันเป็นการหักหารน้ำใจกัน งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อไม่เป็นสาระเป็นประโยชน์ การประพฤติดีทางใจ คือไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ของเขา การไม่คิดร้ายหรือผูกพยาบาทต่อผู้อื่น  มีความคิดความเห็นชอบคือเห็นว่าสิ่งใดเป็นโทษมีผลอย่างไร สิ่งใดเป็นประโยชน์มีผลอย่างไร เรียกว่าประพฤติสุจริตดังในอัฏฐังคิกมรรค กล่าวถึงสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบคือเห็นว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์สิ่งใดเป็นโทษ ก็เลือกกระทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือความนึกคิด  ไม่ประกอบด้วย ความโลภ ความโกธ ความหลง  สัมมาวาจา เจรจาชอบ เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดคำหยาบ  เว้นจากการพูดส่อเสีย เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ สัมมากัมมันตะ  การกระทำชอบ คือการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ การงดเว้นจากการลักทรัพย์  การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม  สัมมาอาชีวะ  เลี้ยงชีพชอบ คือการประกอบอาชีพสุจริต ไม่คดโกงเอารัดเอาเปรียบ  สัมมาวายามะ  สัมมัปปธาน  คือเพรียรระงับจิตใจไม่ให้นำไปในทางที่ผิดเป็นโทษแก่ตนเองและสังคม เพียรละเว้น อกุศลคือความโลภ  ความโรธ  ความหลง อันเป็นทางนำไปสู่การก่อให้เกิดทุจริต เพรียรรักษากุศลคือกรรมดีไม่ประมาทนำไปสู่ความหลงผิดคลาดเคลื่อนจากทำนองคลองธรรม  เพรียรเจริญกุศลกรรมดีที่ได้กระทำมาแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น ดังนั้นความสุจริตจึงเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญโดยส่วนเดี่ยวสร้างความรักใคร่สามัคคีปรองดองกันในสังคมดังอานิสงสงส์ ของสุจริตคือ แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้  ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วสรรเสริญ  กิตติศัพท์อันดีกระฉ่อนไป  ส่วนบุคคลผู้ประกอบทุจริต คือการประพฤติชั่ว ประพฤติไม่ดีด้วยกายก็ดี ทำให้เกิดโทษต่อตนเองและสัมคมประเทศชาติ ทำผิดกฏหมายบ้านเมืองทั้งยังถูกติเตียนและอาจได้รับโทษตามเจตนากระทำผิดนั้นด้วย การทุจริตทางวาจา ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือเป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาทสร้างความแต่แยกกันในสังคมไม่ส่งเสริมความสามัคคีเกิดโทษน่าติเตียนและผิดกฏหมายบ้านเมือง การทุจริตทางใจ มีความโลภ ความโกรธ ความหลงเป็นอาหารทำให้คิดแต่ในสิ่งที่ผิดนำมาซึ่งความประพฤติผิดเกิดโทษต่อตนเองและสังคมประเทศชาติเป็นเหตุสร้างความแตกแยกขาดความสามัคคีรักใคร่ปรองดองกันทำให้มิอาจพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าและความเป็นอยู่ที่ผาสุขของสังคมได้
สรุป
            ความสุจริตคือหลักที่ควรยึดมั่นน้อมนำมาปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดความสุขความเจริญและเป็นหลักในการพัฒนาจิตใจพัฒนาสังคมให้มีความสุขโดยยั้งยืนเพราะเมื่อบุคคลมีความสุจริตเป็นที่ตั้งแล้วย่อมได้รับการสรรเสริญยกย่องเป็นแบบอย่างให้กับสังคมเมื่อสังคมเห็นคุณค่าและปฏิบัติตามก็นำมาชึ่งความสามัคคีปรองดองรักใคร่กัน



 

จิตอาสาคือมรรคคาแห่งความสุข
บทนำ
ความสุขความเจริญ เป็นความปรารถนาของทุกคน การได้มาซึ่งความสุขความเจริญต้องเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี มีจิตอาสา  แบ่งปันความรัก  ความเมตตาปราถนาดี  ให้แก่คนรอบข้าง  และสังคมประเทศชาติ  จัดได้ว่าเห็นความทุกข์  ของคนอื่นเปรียบเสมือนความทุกข์ของตน  เมื่อมีโอกาศก็ช่วยเหลือสังคม  ให้มีความสุขความเจริญ  ด้วยใจที่ตั้งมั่น  ในปนิทานพรหมวิหารธรรมเป็นหลักประจำใจ มีเมตตา ความรักใคร่ปรารถนาดีแก่บุคลลอื่นตลอดทั้งสรรพสัตว์ทั้งหลาย มีความกรุณา สงสารช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์  มุทิตา  มีความยินดีเมื่อคนอื่นได้ดี  อุเบกขา ว่างใจเป็นกลางไม่ยินดียินร้ายมีความมั่นคงหนักแน่น ประกอบด้วยบุญกิริยาวัตถุ คือทางแห่งความดี  นำมาซึ่งความสุขความเจริญ  แก่ตนเอง และสังคมโดยส่วนรวม
เนื้อหา
จิตอาสาเป็นคุณสมบัติของคนดีเป็นกัลณยาณมิตรคือบุคคลผู้น่าคบหาสมาคมเพราะเป็นบุคคลตัวอย่างผู้นำทางไปสู่การทำความดีนำความสุขความเจริญมาให้แก่ตนและสังคม การทำความดีด้วยการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมีจิตใจแผ่เมตตาพรหมวิหารให้แก่ชนทั้งหลาย โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ตนมีจิตยินดีช่วยเหลือตามกำลังความสามารถของตน สร้างสังคมให้มีแต่ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความปรารถนาดีให้แก่บุคคลทั้งหลาย เป็นทางในการประกอบบุญกิริยาวัตถุ  คือทานมัย การทำบุญด้วยวัตถุสิ่งของ มีปัจจัย 4 แก่ผู้ประสพภัยและผู้ด่อยโอกาส ผู้ขาดแคลน ธัมมัสสวนมัย(ธรรม-มัส-สะ-วะ-มัย) ด้วยการให้ความรู้ ให้การศึกษาแนะนำสั่งสอนเป็นตัวอย่างให้ตั้งอยู่ในการประพฤติดีปฏิบัติชอบ ยินดีช่วยเหลือกิจ การงานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ โดยไม่หวังผลตอบแทนเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคมประเทศชาติ เมื่อเราชาวไทยมีจิตใจยินดีช่วยเหลือเกื้อกูลโดยมองเห็นประโยชน์ของสังคมประเทศชาติรวมกันก็เป็นทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีรักใคร่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนสังคมก็มีความสุข ความเจริญ ที่ยั่งยืน ดังตัวอย่างบุคคลผู้มีจิตอาสาคือ ตูน บอดี้สแลม วิ่งในโครงการก้าวคนละก้าว เพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ แสดงออกซึ่งจิตอาสาของคนในสังคมที่มีจิตใจเกื้อกูลช่วยเหลือสนับสนุนโครงการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการช่วยเหลือเพื่อนรวมชาติที่ประสพทุกข์คือโรคภัยได้รับการรักษาพยาบาลด้วยเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย ทำให้การรักษาพยาบาลได้ผลดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น แสดงออกถึงตัวอย่างการทำความดีเพื่อสังคมประเทศชาติซึ่งเป็นประโยชน์ส่วนรวม และเป็นบุคคลตัวอย่างของการมีจิตอาสาช่วยเหลือพัฒนาสังคมให้ตั้งมั่นอยู่ในการทำความดี เป็นที่น่ายกย่องสรรเสริญเป็นตัวอย่างให้สังคม ในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าเป็นผู้มีอัปปมัญญาเป็นปนิธาน กล่าวคือมีความเมตตาอัปปมัญญา กรุณาอัปปมัญญา  มุทิตาอัปปมัญญา อุเบกขาอัปปมัญญา ซึ่งเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ หรือมีความเห็นชอบ เห็นว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ แก่ส่วนรวมและสังคมประเทศชาติ
 ส่วนบุคคลที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนไม่ประกอบด้วยอัปปมัญญาเป็นกิจในการดำเนินชีวิต เป็นอัตตาธิปไตย คือเห็นแก่ตน ย่อมไม่ได้รับคำสรรเสริญยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลทั้งหลายกล่าวติเตียนไม่เป็นมิตรกับสัมมาทิฏฐิ ไม่น่าคบหา ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้คบหาไม่ได้ประโยชน์และนำความสุขความเจริญมาให้จึงไม่ใช่แนวทางในการดำเนินชีวิตเพราะไม่ใช่ทางนำบุคคลไปสู่ความสุขความเจริญที่ยั่งยืน
สรุป
มรรคาอันเป็นแนวทางที่นำไปสู่ความสุขมีจิตอาสาคอยช่วยเหลือสังคมด้วยจิตใจอันประกอบด้วยอัปปมัญญา มีพรหมวิหารธรรมเป็นปนิธานยึดมั่นในการทำความดีเพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติให้แก่บุคคลอื่นในการพัฒนาจิตใจและการกระทำประโยชน์โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว เมื่อประสพภัยอันตรายเกิดขึ้นก็สามารถช่วยเหลือแบ่งเบาความทุกข์ที่มีอยู่ให้น้อยลงนำมาซึ่งความสุขความเจริญสู่สังคมประเทศชาติสืบต่อไป



 

จิตอาสาพัฒนาสังคม
บทนำ
การเสียสละอุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมโดยปรารถนาให้บุคคลอื่นได้รับความสุข  ความปรารถนาตั้นตนไว้ในความเมตตา กรุณาต่อบุคคลอื่นโดยมุ่งให้เกิดประโยชน์ส่วนรวมเป็นการกำจัดทิฏฐิความเห็นผิด  เป็นเครื่องกำจัดมานะความถือตัวถือตนโดยมุ่งหวังเห็นบุคคลอื่มมีความสุขช่วยแบ่งเบาความทุกข์ของบุคคลอื่นโดยการตั้งอัปปมัญญา มีเมตตา กรุณา  มุทิตา และอุเบกขา แก่ผู้อื่นเป็นการตัดอุปกิเลส เครื่องเศร้าหมอง ความพยาบาท คิดร้ายปองร้าย ถัมภะ  ความกระด้างเป็นคนว่ายากสอนยาก  มานะ ความถือตัว สารัมภะ ความแข่งดีมุ่งแต่เอาชนะ ทำให้จิตใจขุ่นมัว และกำจัดความเห็นแก่ตัวโดยมุ่งเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ
เนื้อหา
การเห็นประโยชน์ส่วนรวมคือการช่วยเหลือแบ่งเบาความทุกข์ของบุคคลอื่นและพัฒนาสังคมให้มีความสุขยั่งยืนด้วยการกระทำความดี  ด้วยการช่วยเหลือกิจ  การงาน แบ่งเบาหน้าที่ความเดือนร้อนของบุคคลอื่น เพื่อลดทุกข์ของบุคคลอื่นให้ลดลงหรือช่วยเหลือสังคมด้วยจิตตั้งมั่นในประโยชน์ส่วนรวมเมื่อเห็นบุคคลอื่นประสบทุกข์ก็ให้ความช่วยเหลือ  เช่นเมื่อเกิดเหตุทุกขภัยต่างๆเกิดขึ้นและมีผู้ประสบภัยก็มีจิตยินดีช่วยเหลือ ด้วยการบริจาคปัจจัย 4 ช่วยเหลือด้วยกำลังกาย กำลังสติปัญญา ตามสามารถของตนที่ทำได้ ดังเช่นอุทกภัยที่ประเทศไทยของเราเกิดขึ้นในทุกปีและหลายภูมิภาคทำให้ได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินมีผู้ประสบทุกขภัยจำนวนมาก บุคคลผู้เห็นทุกข์ของผู้อื่นนั้นก็ยื่นมือเขาช่วยเหลือด้วยปัจจัย 4 ด้วยกำลังกาย กำลังใจ เพื่อแบ่งเบาความทุกข์ที่มีอยู่ให้น้อยลงทั้งช่วยให้เกิดความสามัคคีปรองดองรักใคร่กันในสังคมมีน้ำใจเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันดังจักเห็นได้ว่ามีโครงการทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งเป็นตัวอย่างเป็นแนวทางในการอุทิศตนช่วยเหลือสังคมทั้งเป็นการให้ความรู้ ให้การศึกษา ให้สติปัญญา ให้ความช่วยเหลือด้านสังคม  ด้านสุขภาพ ตัวอย่างของ ตูน บอดี้สแลม  ก้าวคนละก้าว เพื่อสมทบทุนจัดหาเครื่องมือการแพทย์ให้โรงพยาบาท 11  แห่งทั่วประเทศ ได้ใช่เครื่องมือการแพทย์ทันสมัยและเฉพาะทางในการรักษาผู้ป่วยให้หายโรคและทุกข์ที่เป็นอยู่เป็นตัวอย่างสร้างความมีน้ำใจต่อคนไทยด้วยกันปรารถนาให้บุคคลคนอื่นได้รับความสุขพ้นทุกข์จาก อโรคยาภัยของเพื่อร่วมชาติ
สรุป
ความมีจิตยินดีช่วยเหลือเพือนมนุษย์ด้วยกันโดยการกระทำความดีมีจิตอาสาช่วยเหลือและพัฒนาสังคมประเทศชาติด้วยความสามัคคีปรองดองกันเห็นอกเห็นใจร่วมใจกัน ความสามัคคีเป็นคุณธรรมของผู้เจริญน่ายกย่องสรรเสริญเป็นการสร้างจิตใจให้มีความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แก่คนในสังคม และส่งเสริมให้ลดทิฏฐิความเห็นผิด คือเห็นแก่ตัว จัดเป็นอัปปมัญญา 4 คือธรรมที่แผ่ไปอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีประมาณแก่สรรพสัตวทั้งหลายให้ประสพแต่ความสุขความเจริญ ส่วนบุคคลผู้มีจิตเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนย่อมไม่ได้รับคำสรรเสริญยินดีแก่ผู้พบเห็น มีแต่คำติฉินนินทา และยังถือเป็นบุคคลที่ไม่เป็นกลัยายมิตรไม่น่าคบหาสมาคมด้วย เป็นอัตตาธิปไตยมีตนเป็นใหญ่เห็นประโยชน์ตนเองก่อนประโยชน์ส่วนรวมและสังคมเป็นเหตุให้ติดอยู่ในสังสารวัฏไม่อาจกระทำความดีได้






 

วินัยคือหัวใจพัฒนาสังคม
บทนำ
ความมีระเบียบรักษาวินัยคือการมีความคิดความเห็นและแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันเพื่อความผาสุขร่มเย็น วินัยคือแนวทางสร้างสังคมให้เกิดการพัฒนาทัศนคติแนวทางปฏิบัติอันดีงามเป็นระเบียบเรียบร้อย วินัยคือจริยธรรม ธรรมของผู้ที่เจริญ เป็นจารีต คือประเพณีปฏิบัติ เป็นศีลคือแนวทางปฏิบัติในการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคม
เนื้อหา
สังคมคือหมู่คณะที่อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม  ย่อมต้องการแนวทางปฏิบัติอันดีงามเพื่อความผาสุขสงบเรียบร้อยเป็นการป้องกันปัญหาอันนำไปสู่ทางที่เสือมหรือเป็นเหตุให้เกิดความสับสนวุ่นวายและขัดแย้งกันในสังคม  วินัยจัดเป็นข้อบังคับ คือเป็นกฏข้อบังคับที่ตั้งไว้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันซึ่งมีหลายระดับเช่นวินัยของชุมชน วินัยของโรงเรียน วินัยขององกรณ์ ซึ่งมีเป้าหมายให้เกิดการปฏิบัติร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแล่เป็นระบบ  ระเบียบเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันสามัคคีปรองดองกัน วินัยคือข้อตกลงที่มีการประชุมตกลงกันเป็นฉันทามติให้ปฏิบัติตามเป็นระเบียบปฏิบัติร่วมกันเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย วินัยคือจารีต แนวทางปฏิบัติอันดีงามที่สืบทอดกันมาเป็นประเพณีเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดี่ยวกันอย่างผาสุข วินัยคือจริยธรรม คือข้อปฏิบัติของผู้ที่เจริญแล้วทั้งทางกาย  วาจาและจิตใจ  วินัยคือจริยศาสตร์ คือข้อปฏิบัติที่บุคคลทั่วไปยอมรับว่าดีหรือการปฏิบัติอันดีงามต่อตนเองและสังคม  วินัยคือศีล คืองดเว้นในสิ่งที่ผิดเป็นโทษแก่ตนเองและสังคม และปฏิบัติในสิ่งที่ไม่เกิดโทษแก่ตนเองและสังคม ดังจักเห็นได้ว่าวินัยเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสังคมเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคมประเทศชาติ เป็นแนวทางปฏิบัติซึ่งนำความเจริญความสงบสุขร่วมกันของสังคม ทำให้สังคมมีความน่าอยู่สามัคคีรักใคร่ปรองดองกันและมีทัศนคติคิดเห็นประโยชน์ร่วมกันในการดำรงอยู่ร่วมกันในสังคม พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญด้านวินัย หรือระเบียบปฏิบัติร่วมกันเป็นลำดับต้นเพราะเป็นเหตุให้กระทำความดีด้านต่างๆได้ จึงมีข้อปฏิบัติพื้นฐานร่วมกันของสังคมเรียกว่าศีล แบ่งตามระดับของผู้ปฏิบัติแต่ละขั้น  ตามกำลังความสามารถดังนี้ คือ ศีล5 ของปุถุชนทั่วไปหรือในระดับเริ่มตนเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้เกิดความผาสุขสามัคคีของหมู่คณะที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ศีล 8 ของปุถุชนและพรหมจารีผู้ไม่ครองเรือน ศีล 10 ของสามเณร  ศีล 220 ของภิกษุสงฆ์ ศีล 311 ของภิกษุณี วินัยเหล่านี้ล้วนมีเป้าหมายให้เกิดการปฏิบัติตนตามแนวทางที่ดีเป็นกุศลเป็นระเบียบเรียบร้อยในการอยู่ร่วมกันในสังคม สังคมเรานั่นประกอบไปด้วยความคิดความเชื่อ การปฏิบัติที่แตกต่างกันไปตามความเชื่อ ศาสนา  วัฒนธรรม  ประเพณี แต่สิ่งที่หล่อล้อมให้มีการพัฒนาสังคมเพื่อนำไปสู่ความสุขนั้นคือวินัยอันเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าดังคำกล่าวที่ว่า ที่ใดมีความสามัคคีปรองดองกันที่นั่นมีแต่ความเจริญและผาสุข ดังจักเห็นได้ว่าวินัยเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันของคนในสังคม หากบุคคลในสังคมไม่ประพฤติปฏิบัติตามวินัย กฏเกณฑ์ของสังคมย่อมนำมาซึ่งความแตกแยกขาดความสามัคคีไม่เป็นระบบระเบียบควบคุมไม่ได้สร้างปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาสังคมให้มีความสุขความเจริญ
สรุป
สัคมจักอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้นั้นทุกคนต้องเคารพปฏิบัติตามกฏ กติกา ร่วมกันของสังคมจึงมีความรักความสามัคคีปรองดองกันส่งเสริมให้เกิดระเบียบวินัย อันดีงามเป็นหลักในการพัฒนาสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าและความสุขร่วมกันของคนในสังคม
           


 

กำเนิดนิกายในพุทธศาสนาเถรวาท

1. ความเป็นมาของพุทธศาสนา
พระโคตมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา ประสูติในราชตระกูลศากยวงศ์ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ พระองค์ทรงออกผนวชเมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา บำเพ็ญเพียรอยู่ 6 ปี จึงตรัสรู้เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา และทรงประกาศพระศาสนาอยู่ 45 ปี จึงเสด็จปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษาซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการนับปีพุทธศักราช หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปโปรดพระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี พระองค์ตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อจบพระธรรมเทศนา ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีมลทิน จึงเกิดขึ้นแก่พระโกณฑัญญะ จนทำให้บรรลุเป็นพระโสดาบัน พระโกณฑัญญะจึงกราบทูลขออุปสมบทในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งนับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก และพระรัตนตรัยจึงเกิดขึ้นในโลกเช่นกันในวันนั้น ต่อมา พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอื่น ๆ เพื่อโปรดพระปัญจวัคคีย์ที่เหลืออีก 4 องค์ จนบรรลุเป็นพระโสดาบันทั้งหมด หลังจากพระปัญจวัคคีย์บรรลุเป็นพระโสดาบันหมดแล้ว พระองค์ทรงแสดงธรรมอนัตตลักขณสูตร ซึ่งทำให้พระปัญจวัคคีย์บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น ต่อจากนั้น พระองค์ได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระยสะและพวกอีก 54 ท่าน จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ในครั้งนั้นจึงมีพระอรหันต์รวมทั้งพระองค์ด้วยทั้งสิ้น 61 พระองค์ พระพุทธเจ้าจึงพระดำริให้พระสาวกออกประกาศศาสนา โดยมีพระปฐมวาจาในการส่งพระสาวกออกประกาศศาสนาว่า ดูก่อนพระภิกษุทั้งหลาย เราหลุดพ้นจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ และของมนุษย์ แม้พวกเธอได้หลุดพ้นจากบ่วงทั้งปวงทั้งของทิพย์และของมนุษย์เช่นกัน พวกเธอจงเที่ยวไปเพื่อประโยชน์ และความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ พวกเธออย่าไปทางเดียวกัน 2 รูป จงแสดงธรรมให้งามในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะให้ครบถ้วนบริบูรณ์ สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลี คือ กิเลส ในจักษุเพียงเล็กน้อยมีอยู่ แต่เพราะโทษที่ยังไม่ได้สดับธรรม จึงต้องเสื่อมจากคุณที่พึงจะได้รับ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้รู้ทั่วถึงธรรมมีอยู่ แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม จึงทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง และแผ่ขยายไปในชมพูทวีปอย่างรวดเร็ว ชาวชมพูทวีปพากันละทิ้งลัทธิเดิม แล้วหันมานับถือเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้นโดยลำดับและเผยแผ่ต่อมาจนถึงปัจจุบัน

1.1 พุทธศาสนาหลังพุทธปรินิพาน
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว พระพุทธศาสนายังเจริญในอินเดียสืบมา ความเจริญของพุทธศาสนาขึ้นกับว่าได้รับการส่งเสริมจากผู้มีอำนาจในสมัยนั้นหรือไม่ ถ้ามีก็มีความรุ่งเรืองมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลากาลล่วงไป ความขัดแย้งอันเกิดจากการตีความพระธรรมคำสอนและพระวินัยไม่ตรงกันได้เกิดขึ้นในหมู่พระสงฆ์ จึงมีการแก้ไขโดยมีการจัดทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยที่ถูกต้องไว้เป็นหลักฐานสำหรับยึดถือเป็นแบบแผนต่อไป

การสังคายนาครั้งที่ 1
การสังคายนาครั้งที่ 1 กระทำขึ้น หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ โดยพระมหากัสสปะเป็นประธาน พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์ พระอานนท์เป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระธรรม และพระอุบาลีเป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระวินัย มีพระอรหันต์เข้าร่วมในการสังคายนา 500 รูป กระทำ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะพระสุภัททะกล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัยหลังพุทธปรินิพพานเพียง 7 วัน ทำให้พระมหากัสสปะ ดำริจัดสังคายนาขึ้น ในการสังคายนาครั้งนี้ พระอานนท์ได้กล่าวถึงพุทธานุญาตให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ แต่ที่ประชุมตกลงกันไม่ได้ว่าสิกขาบทเล็กน้อยคืออะไร พระมหากัสสปะจึงให้คงไว้อย่างเดิม เมื่อสังคายนาเสร็จแล้ว พระปุราณะพร้อมบริวาร 500 รูป จาริกมายังแคว้นราชคฤห์ ภิกษุที่เข้าร่วมสังคายนาได้แจ้งเรื่องสังคายนาให้พระปุราณะทราบ พระปุราณะแสดงความเห็นคัดค้านเกี่ยวกับสิกขาบทบางข้อและยืนยันปฏิบัติตามเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นเค้าความแตกแยกในคณะสงฆ์ แต่ไม่ถือว่าเป็นสังฆเภท เนื่องจากพระปุราณะยึดถือตามพุทธานุญาตที่ทรงให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้

การสังคายนาครั้งที่ 2 : การแตกนิกาย
เมื่อพุทธปรินิพพานล่วงไป 100 ปี ภิกษุชาววัชชี เมืองเวสาลี ได้ตั้งวัตถุ 10 ประการ ซึ่งผิดไปจากพระวินัย ทำให้มีทั้งภิกษุที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จนเกิดการแตกแยกในหมู่สงฆ์ พระยสกากัณฑบุตร ได้จาริกมาเมืองเวสาลี และทราบเรื่องนี้ ได้พยายามคัดค้าน แต่ภิกษุชาววัชชีไม่เชื่อฟัง ภิกษุที่สนับสนุนพระยสกากัณฑบุตรจึงนำเรื่องไปปรึกษาพระเถระผู้ใหญ่ในขณะนั้นได้แก่ พระเรวตะ พระสัพกามีเถระ เป็นต้น จึงตกลงให้ทำการสังคายนาขึ้นอีกครั้ง
ภิกษุชาววัชชีไม่ยอมรับและไม่เข้าร่วมการสังคายนานี้ แต่ไปรวบรวมภิกษุฝ่ายตนประชุมทำสังคายนาต่างหาก เรียกว่า มหาสังคีติ และเรียกพวกของตนว่า มหาสังฆิกะทำให้พุทธศาสนาในขณะนั้นแตกเป็น 2 นิกาย คือ ฝ่ายที่นับถือมติของพระเถระครั้งปฐมสังคายนาเรียก เถรวาท ฝ่ายที่ถือตามมติของอาจารย์ของตนเรียก อาจาริยวาท อีกราว 100 ปีต่อมา สงฆ์ทั้ง 2 ฝ่ายมีการแตกนิกายออกไปอีก หลักฐานฝ่ายภาษาบาลีว่าแตกไป 18 นิกาย หลักฐานฝ่ายภาษาสันสกฤตว่า แตกไป 20 นิกาย ได้แก่

ตารางแสดงหลักฐานนิกายต่างๆที่แยกออก

หลักฐานฝ่ายบาลี
หลักฐานฝ่ายสันสกฤต
เถรวาท แยกเป็น
นิกายมหิสาสกวาท แยกเป็น
นิกายสัพพัตถิกวาท แยกเป็น
นิกายกัสสปิกวาท
นิกายสังกันติกวาท
นิกายสุตตวาท
นิกายธรรมคุตตวาท
นิกายวัชชีปุตวาท แยกเป็น
นิกายธัมมตตริกวาท
นิกายภัทรยานิกวาท
นิกายฉันนาคาริกวาท
นิกายสมิติยวาท
นิกายมหาสังฆิกะ แยกเป็น
นิกายเอกัพโยหาริกวาท แยกเป็น
นิกายพหุสสุติกวาท
นิกายปัญญัติกวาท
นิกายโคกุลิกวาท
นิกายเจติยวาท

เถรวาท แยกเป็น
นิกายเหมวันตวาท
นิกายสรวาสติวาท แยกเป็น
นิกายมหิศาสกวาท แยกเป็น
นิกายธรรมคุปตวาท
นิกายกาศยปิกวาท
นิกายเสาตรันติกวาท
นิกายวาตสีปุตริยวาท แยกเป็น
นิกายศันนาคาริกวาท
นิกายสามมมีติยวาท
นิกายภัทรยานิยวาท
นิกายธรรโมตตริยวาท
นิกายมหาสังฆิกะ แยกเป็น
นิกายเอกวยหาริกวาท
นิกายโลโกตรวาท
นิกายโคกุลิกวาท
นิกายพหุศรติยวาท
นิกายปัญญัตวาท
นิกายไจติกวาท
นิกายอปรเสลิยวาท
นิกายอุตรเสลิยวาท

  
การสังคายนาครั้งที่ 3
 การแพร่กระจายของพระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อกำจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวชในพระพุทธศาสนา มีพระโมคคัลลีบุตรติสสะเป็นประธาน ใช้เวลา 9 เดือนจึงสำเร็จ ในการสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคัลลีบุตรติสสะ ได้แต่งกถาวัตถุขึ้น เพื่ออธิบายธรรมให้แจ่มแจ้งหลังจากการสังคายนาสิ้นสุดลง พระเจ้าอโศกฯได้ส่งสมณทูต 9 สายออกเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือคณะพระมัชฌันติกเถระ ไปแคว้นแคชเมียร์และแคว้นคันธาระคณะพระมหาเทวะ ไปมหิสกมณฑล ซึ่งคือ แคว้นไมซอร์และดินแดนลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ในอินเดียใต้ปัจจุบันคณะพระรักขิตะ ไปวนวาสีประเทศ ได้แก่ แคว้นบอมเบย์ในปัจจุบันคณะพระธรรมรักขิตะ ไปอปรันตกชนบท แถบทะเลอาหรับทางเหนือของบอมเบย์คณะพระมหาธรรมรักขิตะ ไปแคว้นมหาราษฎร์คณะพระมหารักขิตะ ไปโยนกประเทศ ได้แก่แคว้นกรีกในเอเชียกลาง อิหร่าน และเตอร์กิสถานคณะพระมัชฌิมเถระ ไปแถบเทือกเขาหิมาลัย คือ เนปาลปัจจุบันคณะพระโสณะ และพระอุตตระ ไปสุวรรณภูมิ ได้แก่ ไทย พม่า มอญ
พระพุทธศาสนา เดิมทีไม่มีนิกาย เช่น พระพุทธศาสนา ก่อนทำสังคายนาครั้งที่ ๒ ยังไม่มีนิกาย แต่เมื่อพูดถึงความเห็นแตกแยกกัน ก็เริ่มเกิดตั้งแต่ภายหลังที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 7 วัน ซึ่งเป็นเหตุให้พระมหากัสสปะชุมนุมสงฆ์ทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ครั้นถึงสังคายนาครั้งที่ 2 สงฆ์ได้แยกออกเป็นสองคณะอย่างชัดเจนคือ ฝ่ายเถรวาท และฝ่ายอาจาริยวาท ซึ่งเป็นนิกายขึ้นแล้ว แต่ยังไม่มีชื่อเรียกเป็นทางราชการทางประวัติศาสตร์ เช่น ทำการสังคายนาของพระเจ้าอโศกมหาราช และของพระเจ้ากนิษกะ เกิดเป็นนิกายฝ่ายใต้ นิกายฝ่ายเหนือ หรือเรียกหีนยานมหายานจนบัดนี้ ซึ่งแต่ละนิกายก็มีนิกายย่อยออกไปอีก

2. มูลเหตุให้เกิดนิกายเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา
การประชุมทำสังคายนาในครั้งที่ 2 นี้เกิดขึ้นหลังจากพุทธปรินิพพานแล้ว 100 ปี สาเหตุที่นำไปสู่การสังคายนา คือ ภิกษุชาวแคว้นวัชชีจำนวนมากจงใจละเมิดพระวินัย คือ สิกขาบทอันมีมาในพระปาติโมกข์ 10 ประการคือ
1. สิงคิโลณกัปปะ เก็บเกลือเอาไว้ปรุงอาหารฉันได้ (ผิด เพราะสะสมอาหาร ปรับอาบัติปาจิตตีย์)
2. ทวังคุลกัปปะ ฉันโภชนะเมื่อเวลาบ่ายตอนที่ตะวันล่วงไปแล้ว 2 องคุลีได้ (ผิด เพราะฉันโภชนะในเวลาวิกาล ปรับอาบัติปาจิตตีย์)
3. คามันตรกัปปะ ภิกษุฉันเสร็จแล้วเข้าไปในละแวกบ้าน ฉันโภชนะอีกซึ่งเป็นอาหารเหลือได้ (ผิด เพราะฉันอาหารพร่ำเพรื่อ คือฉันแล้วฉันอีก ปรับอาบัติปาจิตตีย์)
4. อาวาสกัปปะ มีสีมาเดียวกัน แต่ทำอุโบสถไม่พร้อมกันได้ (ผิด เพราะไม่สามัคคีกัน ปรับอาบัติทุกกฏ)
5. อนุมติกัปปะ สงฆ์ยังไม่พร้อม อาจทำสังฆกรรมไปก่อนได้ ผู้มาทีหลังจึงขออนุมัติ (ผิด เพราะให้ทำฉันทะมาก่อนแล้วยจึงทำสังฆกรรม ปรับอาบัติทุกกฎ)
6. อาจิณณกัปปะ ประพฤติตนตามธรรมเนียมที่อาจารย์เคยประพฤติมาได้ (ผิด เพราะความประพฤติบางอย่างถือว่าไม่สมควร)
7. อมถิตกัปปะ นมสดที่แปรสภาพแต่ยังไม่ถึงความเป็นนมส้ม ภิกษุฉันอาหารแล้วจะดื่มนมอันเป็นของเหลือ (อนติริตตะ) ได้ (ผิด เพราะโภชนะอันเป็นอนติริตตะ)
8. ชโลคิงปาตุง ดื่มสุราอย่างอ่อนที่ยังไม่ถึงความเป็นน้ำเมาได้ (ผิด เพราะดื่มสุราและเมรัย ปรับอาบัติปาจิตตีย์)
9. อทสกัง นิสีทนัง ใช้ผ้าปูที่นั่งไม่มีชายได้ (ผิด เพราะละเมิดบัญญัติที่ให้ภิกษุต้องนั่งผ้าปูที่มีชาย ปรับอาบัติปาจิตตีย์)
10. ชาตรูปรชตัง รับเงินและทองได้ (ผิด เพราะห้ามมิให้ภิกษุรับเงินและทอง ปรับอาบัติปาจิตตีย์)
ในคราวนั้น พระยสกากัณฑบุทต ชาวเมืองปาฐา จาริกมาถึงเมืองเวสาลี เห็นพวกภิกษุชาววัชชีประพฤติผิดบัญญัติ 10 ประการ จึงได้นำเอาเรื่องนี้ไปแจ้งแก่พระเถระหลายรูป ในที่สุดพระเถระทั้งหลายก็เห็นพ้องกันว่าควรจะชักชวนภิกษุชาวเมืองปาวาและ ภิกษุชาวเมืองอวันตี มาประชุมทำสังคายนา และการทำสังคายนาครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้นในที่สุด
 การทำสังคายนาครั้งที่ 2 นี้ ทำที่วาลิการาม เมืองเวลาสี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดีย พระอรหันต์เข้าร่วมประชุมจำนวน 700 รูป พระสัพพกามีเถระ เป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์และเป็นองค์วิสัชนา พระเรวตเถระเป็นองค์ปุจฉา พระเจ้ากาลาโศกราช กษัตริย์ผู้ครองแคว้นมคธและวัชชีเป็นองค์อุปถัมภกและเป็นประธานฝ่ายฆราวาส ใช้เวลาทำสังคายนาครั้งนี้ 8 เดือนจึงเสร็จ
ในการประชุมสังคายนาครั้งนี้มติในที่ประชุมสงฆ์ตัดสินว่า การที่ภิกษุชาววัชชีประกาศวัตถุ 10 ประการนั้นผิดทุกข้อ ซึ่งถือว่าเป็นบัญญัติที่หลีกเลี่ยงคำสอนของพระบรมศาสดา เมื่อมติออกมาเช่นนี้ จึงเป็นผลให้ภิกษุชาววัชชีประมาณ 700 รูป แยกตัวออกไป ไม่ยอมปฏิบัติตามหลักพระวินัยเดิมที่พระเถระผู้ใหญ่กำหนดในการทำสังคายนาครั้งนี้ และมีภิกษุอื่น ๆ ที่เห็นด้วยกับพวกภิกษุวัชชีบุตรอีกรวมแล้วประมาณ 10,000 รูป จากนั้นก็พากันจัดทำสังคายนาขึ้นใหม่ เรียกว่า “มหาสังคีติ” ประกาศชื่อของพวกตนว่า “มหาสังฆิกะ” ซึ่งแปลว่า พวกมากหรือหมู่ใหญ่
นัก ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่า กลุ่มมหาสังฆิกะ เป็นกลุ่มที่เป็นต้นกำเนิดนิกายมหายาน เพราะเป็นกลุ่มที่ประกาศแยกออกมาอย่างชัดเจน แล้วมาร่วมกันรจนาพระธรรมในความหมายใหม่ว่า ธรรมนั้นเป็นพาหนะใหญ่ ช่วยขนเอาสรรพสัตว์ได้อย่างกว้างขวาง ไม่ยอมถอนวัตถุ 10 ประการ และยึดถือหลักปฏิบัติตามมติและทิฐิของครูอาจารย์เป็นสำคัญ จึงกลายเป็นฝ่าย อาจริยวาท (อาจริยวาทิน) แล้วเรียกพวกตนว่า “มหายาน” และเรียกฝ่ายตรงกันข้ามว่า “เถรวาท” หรือ “หีนยาน” ดังนั้นผลของการทำสังคายนาครั้งที่ 2 นี้ทำให้พระพุทธศาสนาแยกออกเป็น 2 นิกายใหญ่ ๆ คือ กลุ่มเถรวาทหรือหีนยาน กับกลุ่มอาจริยวาทหรือมหายาน และทั้ง 2 นิกายนี้ก็ยังแยกออกเป็นนิกายย่อย ๆ อีก กล่าวคือ
1. กลุ่มเถรวาท บางทีเรียกว่า “สถวีร” แยกเป็นนิกายย่อย ๆ อีก 16 นิกาย (รวมทั้งนิกายเดิมคือ สถวีร)
2. กลุ่มอาจาริยวาท หรือบางทีเรียกว่า “มหาสังฆิกะ” แยกออกเป็นนิกายย่อย ๆ อีก 10 นิกาย (รวมทั้งนิกายเดิมคือ มหาสังฆิกะ)
 เมื่อพุทธศักราชล่วงไปได้ประมาณ 1,000 ปี ฝ่ายมหายานได้หันเหลัทธิและทิฐิของตนไปผสมผสาน และปะปนกับลัทธิท้องถิ่นที่เผยแผ่เข้าไปถึงบ้าง ผสมผสานกับลัทธิในศาสนาอื่นบ้าง เช่น ศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) เป็นต้น จึงเป็นเหตุให้เกิดลัทธิใหม่ขึ้น เช่น ลัทธิโยกาจาร เป็นลัทธิที่ผสมผสานระหว่างลัทธิพุทธกับตันตระของพราหมณ์ จนกลายเป็น “พุทธตันตรยาน” และ “วัชรยาน” ซึ่งเป็นพุทธศาสนาอีกแบบหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้ในทิเบต ที่รู้จักในชื่อว่า ลัทธิลามะของทิเบต
ได้กล่าวมาแล้วว่านิกายเกิดขึ้น เพราะความเห็นเกี่ยวกับวินัยหรือหลักธรรมในศาสนาของตนไม่ตรงกัน นี่เป็นเพียงสาเหตุหนึ่งเท่านั้น สาเหตุที่สำคัญอีกสองประการ คือ สภาพแวดล้อมของสังคมเกี่ยวกับดิน ฟ้า อากาศ และความนึกคิดเกี่ยวกับจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ความเข้าใจพระพุทธพจน์ต่างกัน การหันเข้าหาความสะดวกล้วนเป็นบ่อเกิดแห่งการแตกแยกจนเกิดเป็นนิกายขึ้น สำหรับพระพุทธศาสนานอกจากสาเหตุดังกล่าวแล้ว ยังมีหลักฐานในพระไตรปิฏกซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความคิดเห็นไม่ตรงกัน จนเกิดเป็นนิกาย คือ
1. ในมหาปรินิพพานสูตร พระพุทธพจน์ที่ว่า “อานนท์เมื่อหมดเราแล้ว ธรรมวินัยที่เราทรงสอนไว้ เป็นศาสดาแทนเรา และว่าสงฆ์ปรารถนา ก็เพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้” ภิกษุที่เคร่งครัดในธรรมวินัยที่เรียกว่าอนุรักษ์นิยมเห็นว่าไม่สมควรเพิกถอนสิกขาบทใด ๆ ทั้งสิ้น คำสอนมีอย่างไรก็ปฏิบัติอย่างนั้น แต่ภิกษุบางรูปเห็นว่า สมควรจะมีการเพิกถอนสิกขาบทที่ไม่สำคัญได้บ้าง เพื่อความแผ่ไพศาลแห่งศาสนา (เช่น คดีฝ่ายมหายาน) และเหมาะสมกับสังคมทันสมัย
2. ในมหาปรินิพพานสูตร เช่นเดียวกันกับในข้อ 1 หลักตัดสินพระธรรมวินัยที่เรียกว่า มหาประเทศ 4 คือ
1. สิ่งใดไม่ได้บัญญัติไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควร
2. สิ่งใดไม่ได้บัญญัติไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควร
3. สิ่งใดไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควรขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควร
4. สิ่งใดไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร ขัดต่อสิ่งไม่ควร สิ่งนั้นควร นี่เองที่ทำให้ตีความในหลักธรรมแตกต่างกันออกไป เพราะพระพุทธพจน์ คือพระบาลีนั้นเป็นคำสั้น ๆ ซึ่งพระบาลีนั้นมีปัญหาว่า คำนั้น ๆ หมายความโดยละเอียดอย่างไร เช่น คำว่ากาลโภชน์ การฉันอาหารในกาลไม่มีปัญหาว่า ตั้งแต่เวลาไหนถึงไหน แต่มาภายหลังพุทธกาล ฝ่ายเถรวาทอธิบายว่า กาลโภชน์- กาล หมายถึง ตั้งแต่รุ่งอรุณจนถึงเที่ยงวัน แต่ฝ่ายอาจาริยวาทตีความว่าตั้งแต่อาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก เป็นกาลโภชน์ฉันอาหารได้พ้นจากนั้นเป็นเวลาวิกาล ฉันมิได้เป็นตัวอย่าง วินัยก็ดี ธรรมะก็ดี บางข้อในสมัยพุทธกาลไม่เป็นปัญหา แต่ตกมาหลังพุทธกาล ถ้าคำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์ก็ดี พระฏีกาจารย์ก็ดีหรือพระเกจิอาจารย์ก็ดี ไม่ปรากฏในคัมภีร์ ธรรมหรือวินัยข้อนั้นก็มีการตีความกัน เช่น เรื่อง กาล วิกาล เกี่ยวกับพระวินัยดังกล่าวแล้ว ยิ่งเกี่ยวกับธรรมะยิ่งเกิดเป็นปัญหามาก เช่น คำว่าสติ กับสัมปชัญญะ สติมาในธรรมหลายหมวดการตีความหมายหมวด มี 2 ทาง คือ ตีตามที่มาในหมวดธรรมนั้น ๆ อย่างหนึ่ง ตีตามที่ตนเข้าใจอย่างหนึ่ง สัมปชัญญะมาในที่ต่าง ๆ น้อยแห่งกว่า สติ ความหมายก็สั้น เมื่อเกิดปัญหา สัมปชัญญะ คือความรู้ตัว คือรู้อย่างไร ก็จำเป็นต้องอธิบายตามความเข้าใจของผู้อธิบาย ซึ่งนักธรรมด้วยกันก็อธิบายใกล้เคียงกันบ้างเหมือนกันบ้าง ต่างกันไปบ้าง จนบางทีผู้มีความสงสัยหัวข้อธรรมนั้น ๆ ไม่อาจปลงใจว่าของใครถูก เมื่อเกิดปัญหาวินัยหรือธรรมะในคัมภีร์ขึ้นผู้เป็นคณาจารย์หรือหัวหน้าอธิบายอย่างไร ลูกศิษย์ก็เชื่อตามถ้าผู้เป็นอาจารย์อีกคณะหนึ่งอธิบายไปอีกอย่างหนึ่ง ลูกศิษย์ก็เชื่อตามอาจารย์ ความเห็นไม่ตรงกัน ปฏิบัติไม่ตรงกันก็เกิดขึ้น ยิ่งถ้าผู้มีอำนาจ เช่นพระมหากษัตริย์ เป็นผู้ทรงสนับสนุนทำสังคายนา เหมือนพระเจ้าอโศกมหาราช และพระเจ้ากนิษกะเป็นตัวอย่าง นิกายหรือสาขาของนิกาย เหมือนกับพรรคการเมืองของชาวบ้าน ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าประทับที่ป่าประดู่ลาย เมืองโกสัมพีพระพุทธเจ้าทรงประทับเป็นประธานท่ามกลางสงฆ์ ทรงกำใบประดู่ลายจำนวนหนึ่งแล้วรับสั่งถามภิกษุว่า ใบประดู่ที่พระองค์กำอยู่กับใบประดู่ลายที่อยู่บนต้นไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทราบทูลว่าประดู่บนต้นมีมากกว่า พระพุทธเจ้ารับสั่งว่าคำสอนของพระองค์ก็เช่นเดียวกัน ที่สอนมีน้อยกว่าที่ไม่สอน เพราะอะไร เพราะคำสอนที่ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ คือความประพฤติอย่างพรหม เป็นต้นว่าความเบื่อหน่าย ความสิ้นกำหนัด ความดับ ความสงบ ฯลฯ พระองค์ไม่ทรงสอนทั้ง 3 ประเด็นที่ยกมานี้แสดงให้เห็นว่า การอธิบายวินัยบางสิกขาบทหัวข้อธรรมให้เข้ากัน กับชีวิตประจำวันได้นั้นยาก ที่จะให้ตรงกันได้ เพราะตัวอย่างตามคัมภีร์นั้นเป็นเรื่องราวในอดีต ซึ่งมีสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกับปัจจุบัน เรื่องราวในคัมภีร์เป็นเพียงส่วนประกอบในการอธิบาย ที่จะให้เข้าใจจริง ๆ ต้องเข้าใจวินัยหรือธรรมข้อนั้น ๆ โดยตลอด นี่พูดถึงผู้อธิบาย ผู้รับก็ต้องมีพื้นสภาพแวดล้อมพอที่จะรับฟังใฟ้เข้าใจได้ด้วย จึงจะสำเร็จประโยชน์การถกเถียงกัน มีความเห็นไม่ตรงกันในการตีความหมายหัวข้อธรรมะบางข้อ ย่อมมีขึ้นได้เสมอ ซึ่งเรียกอย่างภาษาวัดว่าทิฏฐิไม่เสมอกัน ตามภาวะของปุถุชน ก็เกิดเรื่องทำนองคนตาบอดคลำช้างขึ้น
พระพุทธศาสนา ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรก เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร ปฐมเทศนา หรือ เทศนาครั้งแรกของพระพุทธศาสนา ต่อปัญจวัคคีย์ทั้ง 5และเมื่อมีผู้รู้ตามธรรมที่พระองค์ทรงแสดง และทูลขอบรรพชา พระสาวกรูปแรก คือพระอัญญาโกณทัญญะ ซึ่งเหตุการณ์นี้ เรียกได้ว่า เป็นก้าวแรกของพระพุทธศาสนาพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะในยุคพุทธกาล พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์สาวก ได้นำกงล้อแห่งธรรม ให้หมุนไปทั่ว ชมพูทวีป หรือยุคหลังพุทธปรินิพพาน พระสาวกยุคหลังก็นำสืบต่อพระศาสนามา พระพุทธศาสนา ได้ก้าวข้ามกาลเวลา อันยาวนาน ยังสรรพสัตว์มากมายให้ได้ดื่มรสอมฤตธรรม หมู่ชนมากหลายที่มีปัญญา มีความเห็นถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ น้อม รับเอาพระพุทธศาสนา หรือ พุทธธรรม เข้ามาไว้ในใจของตน นำธรรมมาประพฤติปฏิบัติ  กาลเวลาผ่านไป สรรพสิ่งทั้งหลายย่อมอยุ่ในกฏแห่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้พระพุทธศาสนา ก็เปลี่ยนแปลง ตนเอง ไปตามสภาวะการของโลก จากหลักธรรมดั้งเดิมที่สุด ( Early Buddhism ) ก็แยกขยายออกไปเป็นกิ่งแขนง สาขา มากมาย โดยคณาจารย์ในพระศาสนาบางท่าน ถือเอาพระพุทธพจน์ ที่อนุญาตให้เพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้บ้างซึ่งเป็นการวิบัติจาก ศีลสามัญญตา บางครั้งเป็นทิฏฐิสามัญญตา ทำให้แตกแยกจากคณะสงฆ์ที่สืบมาจากพระพุทธศาสนา ดั้งเดิมจากความวิบัติ ความแตกต่างกันในเรื่องของศีลสามัญญตา และการอ้างเอาพุทธพจน์ ที่ทรงอนุญาตให้เพิกถอนสิกขาบท ได้บ้าง กลุ่มพุทธศาสนิกที่แยกตนออกไปจากพระพุทธศาสนาดั้งเดิม ก็เริ่มคิดค้นหลักธรรมบางประการ เพื่อให้เข้ากันกับ ยุคสมัย บ้างก็เพื่อต่อสู้กับลัทธิศาสนาอื่นๆ หลักธรรมที่คิดค้นใหม่นั้น ก็ได้ถูกยกเข้าสู่พุทธวจนะ ยกพระสูตรที่ไม่มีใน พระพุทธศาสนา ดั้งเดิม ขึ้นเป็นพุทธพจน์ ยกพระวินัยใหม่ ขึ้นเป็นพุทธพจน์ขึ้นสู่สังคีติของพวกตนความแตกต่างเหล่านี้ทำให้เกิดการแตกแยกออกจากพระพุทธศาสนาดั้งเดิมกลายเป็นพุทธศาสนาในแบบอื่นๆ แตกแยก เป็นนิกายอย่างชัดเจน เมื่อราวๆ พุทธศตวรรษที่ 5-6 เรียกกันว่า มหายานนับจากนั้นอีกไม่นาน ราวๆพุทธศตวรรษที่ 10 พระพุทธศาสนาแบบเน้นเอาอำนาจภายนอก ยกพระโพธิสัตว์ กลายเป็น เหมือนเทพเจ้า มีการสร้างคติพระพุทธ พระโพธิสัตว์มากมาย มีมันตระ หรือมนต์แบบต่างๆ อ้างเอาพุทธคุณ อำนาจแห่ง โพธิสัตว์ มาคุ้มครองตน จนถึงการท่องบ่นมนตราเพื่อทำให้เข้าถึงการตรัสรู้ เรียกกันว่า มนตรยาน หรือ วัชรยานส่วนพระพุทธศาสนาดั้งเดิม ที่พยายามรักษาหลักการเดิมของพระพุทธศาสนาในยุคแรกมากที่สุด โดยถือเอามติแห่ง พระอรหันต์สาวกครั้งปฐมสังคายนา ที่จะไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เพิกถอนสิกขาบทใดๆ รักษาแนวทางเดิม นับแต่ครั้งพุทธกาล ไว้ให้คงเส้นคงวาที่สุด เรียกว่า เถรวาทพระพุทธศาสนาได้แตกออกมากมาย เป็นหลากหลายนิกายดังที่กล่าวแล้ว บางครั้งมีกรณีพิพาท เกิดวิวาทะระหว่างนิกายหลายครั้ง แต่ก็ไม่ถึงกับเกิดความรุนแรง ถึงขนาดเลือดตกยางออกพระพุทธศาสนา นิกายใดๆก็ตาม ย่อมถือว่า ไม่ว่าจะนิกายใด มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีพระรัตนตรัย เป็นสิ่งเคารพสักการะ เป็นสิ่งสูงสุด เป็นสรณะ ดังนั้นในปัจจุบันนี้ การแบ่งแยกเรื่องนิกาย อาจจะมีอยู่โดยนิตินัย แต่โดย ความประพฤติแล้ว นานานิกาย ย่อมร่วมมือกันเป็นบางโอกาส พร้อมที่จะร่วมมือกัน เพื่อแนะแนวทางให้กับ สรรพ
สัตว์ทั้งหลาย ได้เดินทางตามรอยแห่งพุทธยุคลบาท เพื่อการหลุดพ้น โดยไม่เลือก ชาติ ชั้นวรรณะ สีผิวปราชญ์บางท่านกล่าวว่า พระพุทธศาสนา หากเปรียบเป็นตัวนก นิกายต่างๆ ย่อมประดุจปีกทั้งสอง เถรวาท คือปีกขวา มหายาน หรือวัชรยาน คือปีกซ้าย หากขาดปีกใดปีกหนึ่ง นกย่อมบินไปไม่ได้ ดังนั้น นกต้องมีสองปีก เพื่อพาตนเอง ข้ามสู่ฝั่ง นิกายของพระพุทธศาสนาทั้งหลาย ก็ต้องร่วมมือกัน เพื่อพาธรรมนาวาคือพระพุทธศาสนา ให้ไปรอดได้ พร้อมทั้งนำพา สรรพสัตว์ เข้าถึงฝั่ง คือถึงที่สุดแห่งธรรมต้นเหตุการเกิดนิกายต่างๆสิ่งหนึ่งที่เราต้องท าความเข้าใจก็คือ ศาสนาทุกศาสนา ล้วนมีนิกาย บางท่านอาจจะมองว่า การที่ศาสนามีนิกายนั้น เป็น การแตกแยกของศาสนิกชน ศาสนบุคคล และในบางศาสนานั้น นิกายในศาสนาเดียวกันก็ทะเลาะกันเอง จนถึงมีสงครามระหว่าง นิกายแต่ในความเป็นจริงแล้ว ต้นเหตุแห่งการกำเนิดนิกายในศาสนาต่างๆนั้น มีสาเหตุหลายประการ ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้
1. ความแตกต่างกันทางความประพฤติ การถือปฏิบัติในวินัยทางศาสนาที่นักบวชหรือ  ศาสนิกชนแต่ละคน ประพฤติ มีความแตกต่างกัน เช่น การเชื่อถือตามการสอนของอาจารย์ในคณะของตนๆ ว่าเราควรปฏิบัติอย่างนั้น เราควรปฏิบัติ อย่างนี้ โดยไม่ได้ยึดถือวินัยดั้งเดิมที่ศาสดาได้บัญญัติไว้ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความไม่แพร่หลายทางคำสอน ที่จะผ่านมาถึงสาวก แต่ละคนจากโดยปาก หรือพระโอษฏ์ของพระศาสดาพระองค์นั้นๆ ซึ่งสาวกรุ่นหลัง ไม่มีโอกาสที่จะได้รับฟังโดยตรง จึงต้อง ฟังจากอาจารย์ ซึ่งอาจารย์บางท่าน ก็อาจจะประพฤติต่างจากวินัยดั้งเดิมไปบ้าง จึงส่งผลให้ศิษย์ประพฤติตามอาจารย์ไปด้วยพอคณะนักบวชหลายๆคณะ มีความแตกต่างกันทางความประพฤติ ก็ไม่ยอมรับความประพฤติของนักบวชจากส านักอื่นๆ จนเกิดการแยกเป็นนิกาย นี่อย่างหนึ่ง
2.  ความแตกต่างกันทางการตีความในคำสอน ในคำสอนของพระศาสดาแต่ละท่านแต่ละพระองค์ หลังจากการ จากไปของพระศาสดาท่านนั้นๆ สาวกรุ่นหลังก็จะเกิดการตีความคำสอน และถือปฏิบัติในลักษณะที่ต่างกัน บางท่านก็บอกว่า ศาสดาสอนอย่างนี้บางท่านก็ไยอมรับ และถือว่า การตีความ การรู้คำสอนของศาสดาของตนนั้น ถูกต้องกว่าผู้อื่น ก็เกิดการแยก เป็นนิกายขึ้นเช่นกันเรามามองทางด้านพระพุทธศาสนาของเราจะเห็นว่าในยุคแรกของพระพุทธศาสนานั้นพระสาวกโดยมากเป็นพระอริยบุคคล อย่างต่างก็เป็นพระโสดาบัน ความจำเป็นในการที่จะต้องบัญญัติพระวินัยยังไม่มี เพราะพระสงฆ์เหล่านั้น ท่านคุมความ ประพฤติของท่านอย่างบริบูรณ์ งดงาม ด้วยมรรคและผลที่ท่านได้บรรลุหลังจากยุคแรกมาแล้ว เมื่อคณะสงฆ์ได้เติบโต ขยายใหญ่มากขึ้น สัดส่วนของพระสงฆ์ระหว่างพระอริยบุคคล และพระปุถุชนก็มีต่างกันมากขึ้น ดังนั้นความประพฤติไม่ดีงามหรือความประพฤติที่ไม่เหมาะสมในสายตาชาวบ้าน จึงมีเกิดขึ้นมาบ้าง พระพุทธเจ้าเมื่อทรงทราบปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง จึงได้ทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อไม่ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ไม่สมควรเหล่านั้น ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. พระวินัยที่เป็นปัณณัตติวัชชะ คือ พระวินัยที่เมื่อพระสงฆ์กระท าผิดไปแล้ว มีโทษ
เฉพาะทางพระวินัยเท่านั้น คือ ในส่วนชาวบ้านธรรมดา แม้ประพฤติในสิ่งเหล่านั้น ก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่เมื่อเป็นพระสงฆ์ กระทำลงไปแล้ว เป็นเรื่องผิด
2. พระวินัยที่เป็นโลกวัชชะ คือ พระวินัยที่นอกจากความผิด เป็นโทษทางพระวินัยแล้ว ยังเป็นโทษทางโลกอีกด้วย โดยมาก จะเกี่ยวพันกับศีลข้อที่ 1- 4 เรียกกันว่าความผิดสากล อาจจะเรียกได้ว่า เป็นความผิดทางกฏหมายทางโลก ก็ได้ในยุคแรกของพระพุทธศาสนานั้น พระวินัยของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่พระสงฆ์ยึดถือปฏิบัติอย่างตรงกัน ไม่มีความคลาด เคลื่อน เพราะอยู่ในยุคที่พระพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่แต่ในภายหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว การปฏิบัติของพระสงฆ์ก็จะขึ้นอยู่กับคำสอนที่ได้รับจากอาจารย์ของตน ถ้าหากพระอาจารย์ของตนสอนอย่างไร ศิษย์ก็ปฏิบัติตามนั้น เพราะไม่รู้ว่าจริงๆแล้วพระพุทธเจ้าทรงสอนอย่างไรจริงอยู่ หลังจากพุทธปรินิพพานแล้ว 3 เดือน คณะสงฆ์โดยมีพระมหากัสสปะเถระเป็นประธาน ได้ทำการสังคายนา รวบ รวม ร้อยกรอง พระธรรมวินัยให้เป็นหมวดหมู่ เป็นหลักฐานชี้ชัดว่า อะไรเป็นธรรม อะไรเป็นวินัย แต่การกระท าของท่านเหล่า นั้น พระสงฆ์บางกลุ่มก็ไม่ยอมรับ ท่านเหล่านั้นถือว่า ท่านได้รู้คำสอนพระพุทธเจ้ามาอย่างไร ท่านจะถือปฏิบัติตามนั้น และก็กลายเป็นแบบอย่างให้ศิษย์ของท่าน ปฏิบัติตาม ทำให้เกิดการปฏิบัติที่ไม่ตรงกัน กลายเป็นการแตกแยก เรียกว่า ความวิบัติแห่ง สีลสามัญญตาในส่วนของวินัย ก็เกิดความแตกต่างกันขึ้น และในส่วนของความเชื่อถือ การตีความพุทธพจน์ ตีความธรรมะ ก็มีความ แตกต่างกันไปอีก ความแตกต่างทางการถือปฏิบัติตามธรรมะ หรือความรู้ธรรมะที่แตกต่างกัน เรียกว่า ความวิบัติแห่งทิฏฐิสามัญญตาความแตกต่างทั้งการปฏิบัติและการตีความธรรมะนี้เอง เป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดนิกายขึ้นมา และการเกิดนิกายใน พระพุทธศาสนายุคแรก ที่มีความแตกต่างทางสีลสามัญญตา และทิฏฐิสามัญญตา เกิดขึ้นในสมัยราว พุทธศตวรรษ 100 ในช่วงการสังคายนาครั้งที่ 2 คณะสงฆ์บางกลุ่มที่ไม่ยอมรับมติของพระมหาเถระครั้งปฐมสังคายนาก็ดี คณะสงฆ์บางกลุ่ม ที่มี ความเห็นทางธรรมแตกต่างจากคณะสงฆ์ดั้งเดิมก็ดีจึงแตกออกมาเป็นกิ่งก้านสาขานิกายต่างๆ มีระบุนามในคัมภีร์กถาวัตถุว่า นิกายในพระพุทธศาสนา ที่ยังเป็นฝ่ายสาวกยาน ยังไม่ปรากฏเป็นมหายานออกมานั้น มีถึง 18 นิกาย โดยมีนิกายเถรวาทเป็น นิกายที่รักษาหลักการดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุดสรุปว่า การแตกนิกาย หรือการเกิดนิกายขึ้นนั้น มาจากความแตกต่างทางการปฏิบัติทางพระวินัย และการเชื่อถือปฏิบัติ ตามธรรมะ ที่แตกต่างกัน กลายเป็นเหตุแห่งการแตกนิกายขึ้น
           
            นิกายเถรวาท
นิกายเถรวาท หรือ หินยาน เป็นนิกายเก่าแก่ที่สุด ยึดถือพระธรรมวินัยเดิมอย่างเคร่งครัด นับถือมากในไทย พม่า เขมร ลาว ศรีลังกา   เถรวาท [เถ-ระ-วาด] แปลว่า คำของพระเถระ เป็นชื่อนิกายสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เรียกว่า นิกายเถรวาท, คู่กับ นิกายอาจริยวาท หรือ เรียกว่า มหายาน, เดิมทีพระสงฆ์ยังไม่มีนิกาย ครั้นพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วประมาณ 100 ปี พระสงฆ์เกิดมีความเห็นขัดแย้งกันในการปฏิบัติตามพระพุทธบัญญัติ และข้อปฏิบัติปลีกย่อย บรรดาพระเถระจึงประชุมกันวินิจฉัยแล้วพระสงฆ์บางพวกก็ปฏิบัติตาม ฝ่ายนี้เรียกว่า นิกายเถรวาท, ส่วนฝ่ายที่ยังทำตามอาจารย์ของตน เรียกว่า นิกายอาจริยวาท อาจาริวาท หลังจากนั้นมาก็แยกออกไปเป็นหลายนิกาย จนเกิดนิกายขึ้นมาใหม่และยังคงดำรงอยู่อย่างเหนียวแน่นคือ นิกายมหายาน พวกเถรวาทบางทีเรียก หีนยาน หรือ ทักษิณนิกาย ส่วนนิกายพวกอาจริยวาท บางทีเรียกว่า มหายาน หรือ อุตรนิกาย    สุชีพ ปุญญานุภาพ ปราชญ์พุทธศาสนาเถรวาท ได้แสดงความเป็นมาของเถรวาทไว้ดังนี้  คำว่า เถรวาท แปลว่า วาทะของพระเถระ หมายความว่า พระอานนท์และพระเถระอื่นๆ ได้ประชุมกันรวบรวมพระพุทธพจน์ที่กระจัดกระจายอยู่ในที่นั้นๆ เอามาจัดเป็นหมวดหมู่แล้วก็ท่องจำสืบต่อกันมา ต่อมาได้มีนิกายย่อยๆ เกิดขึ้นมากหลาย ประมาณร้อยปีนั้น มีนิกายที่แตกแยกออกไปถึง 8 นิกาย แต่ว่านิกายเหล่านั้นแตกแยกออกไปแล้ว ในที่สุดก็สลายตัวหมด คงเหลือแต่เถรวาท มาภายหลังเมื่อเกิดมหายาน ขึ้น มหายานก็เลยเรียกเถรวาท หรือพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมนี้ว่าเป็นหินยาน แล้วก็เรียกตัวเองว่า มหายาน แปลว่า ยานใหญ่ ส่วนหินยาน แปลว่า ยานเลวหรือว่ายานเล็กๆ น้อยๆ คือสมัยที่เกิดการแก่งแย่งกันขึ้นเลยเรียกเถรวาทด้วยชื่อที่ไม่ดี
           แต่ว่าในครั้งหลังเมื่อปีพ.ศ.2493เรามีการรวบรวมพุทธศาสนิกชนที่นับถือพระพุทธศาสนาทั่วโลกบรรดามีมาประชุมร่วมกัน ที่เรียกว่าพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (The World Fellowship of Buddhist) ในครั้งแรกนั้น ก็ได้มีการเสนอญัตติขอให้เลิกเรียกคำว่าหินยานเพราะว่าเป็นการเรียกแบบดูหมิ่นกัน หรือว่าเป็นการแสดงความแข่งขันทะเลาะวิวาทกัน ให้คงเรียกเถรวาทตามเดิมคือวาทะของพระเถระที่ท่องจำพระพุทธวจนะสืบต่อกันมาโดยตรงจากพระพุทธเจ้า เราจะเห็นได้ว่า พระพุทธวจนะที่นำสืบต่อกันมาทางสายเถรวาทนี้ ได้พยายามรักษาของเก่าดั้งเดิมไว้ทุกอย่างไม่เปลี่ยนแปลงอะไร ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทนี้ในปัจจุบันก็มีอยู่คือ ประเทศไทย ประเทศลังกา ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา รวม 5 ประเทศด้วยกัน ส่วนประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายมหายานนั้นก็ได้แก่ธิเบต ญวน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี จำนวนก็จะพอๆ กัน แต่ว่าวิธีการทางฝ่ายมหายานนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ได้มีการแต่งตำราขึ้นมาใหม่บ้าง ดัดแปลงของเก่าบ้าง และก็มีวิวัฒนาการไปไกลมาก ถึงขนาดญี่ปุ่นในปัจจุบันนี้ ภิกษุเกือบจะทุกนิกายก็มีครอบครัวได้ มีภรรยาได้ ก็คงจะมีอยู่บางนิกายเท่านั้นที่ไม่มีครอบครัว นี่ก็เป็นวิวัฒนาการของฝ่ายมหายาน แต่ในฝ่ายเถรวาทซึ่งท่านใช้ภาษาบาลีเป็นหลักนั้นยังพยายามรักษาแบบแผน จะเรียกว่าเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมหรือคอนเซอร์เวตีฟก็ได้

นิกายมหาสังฆิกะ
นิกายมหาสังฆิกะนี้ถือได้ว่าเป็นต้นตระกูลบรรพบุรุษของมหายานเลยทีเดียว นิกายนี้เริ่มมีรอยร้าวกับนิกายเถรวาทตั้งแต่เมื่อคราวสังคายนาครั้งที่ 1 ที่ฝ่ายเถรวาทไม่ได้เชิญฝ่ายมหาสังฆิกะเข้าร่วมสังคายนาด้วย เป็นสาเหตุของการไม่ยอมรับมติของการประชุมสังคายนา เพราะฝ่ายมหาสังฆิกะ ก็ถือว่าตนเองก็ได้ยินได้ฟังคำสั่งสอนเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าเหมือนกัน ก็จะถือปฏิบัติตามที่ตนเองได้ยินได้ฟังมา ในคัมภีร์ทีปวงศ์ กล่าวว่า ภิกษุฝ่ายมหาสังฆิกะปฏิเสธคัมภีร์อภิธรรม ชาดก ปฏิสัมภิทามรรค นิเทศ และคัมภีร์บริวาร แล้วได้แต่งพระสูตรเทียมและพระวินัยเทียมขึ้น ทีปวงศ์เป็นคัมภีร์ของพวกเถรวาทเขียน เป็นธรรมดาอยู่เองที่จะต้องยกย่องฝ่ายตน คัมภีร์ที่ฝ่ายมหาสังฆิกะปฏิเสธนั้น ไม่ใช่สุตตันตปิฎกหรือวินัยปิฎก แต่เป็นหนังสือขยายความพุทธพจน์ พวกมหาสังฆิกะมีปัญจปิฎก นอกจากพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม ยังเพิ่มโพธิสัตวปิฎก และธารณีปิฎกเข้ามา บางที 2 ปิฎกข้างหลังนี้ ที่ท่านผู้แต่งคัมภีร์ทีปวงศ์กล่าวว่า แต่งพระสูตรเทียม พระวินัยเทียมขึ้น นิกายมหาสังฆิกะใช้ภาษาปรากฤตจารึกพระปิฎก เราสามารถสรุปทัศนะของนิกายมหาสังฆิกะโดยย่อได้ดังนี้
ทัศนะเกี่ยวกับพุทธลักษณะ มหาสังฆิกะถือว่า พระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั้นไม่ประกอบด้วยกามสัญญา วิหิงสาสัญญา พระโพธิสัตว์ทั้งหลายอาจไปถือกำเนิดในอบายภูมิได้เพื่อโปรดสัตว์ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเมื่อประสูติย่อมเสด็จออกมาทางปรัศเบื้องขวา
มหาสังฆิกะถือว่า พระโพธิสัตว์ไปถือกำเนิดในอบาย 4 นั้น ไม่ใช่ไปด้วยอำนาจอกุศลกรรม แต่ไปด้วยอำนาจความกรุณาที่จะไปโปรดสัตว์ในรูปลักษณะของสัตว์นั้น ๆ
มหาสังฆิกะถือว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระชนมายุไม่มีขอบเขต เป็นอมตะ การที่เราเห็นพระองค์แก่เฒ่า ประชวรและปรินิพพานนั้น เป็นเพียงอุบายของพระองค์ที่แสดงให้เห็นเป็นไปเท่านั้น พระองค์มีโลกุตตรภาวะทั้งรูปกายและนามกาย
มหาสังฆิกะถือว่า พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากมรรคผล แต่พระโสดาบันเสื่อมจากมรรคผลได้
มหาสังฆิกะถือว่า "ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ วิปฺปมุตฺตํ" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ปภัสสร แต่จิตนั้นแลต้องเศร้าหมองไปเพราะอุปกิเลสที่จรมา และจิตนั้นแลพ้นได้จากอุปกิเลสที่จรมา

นิกายสรวาสติ
นิกายสรวาสตินี้เป็นนิกายที่แยกออกจากเถรวาท เป็นคู่แข่งกับมหาสังฆิกะ ศูนย์กลางของนิกายนี้อยู่ในแคว้นกาศมีระ คันธาระ และอัฟกานิสถาน พระไตรปิฎกของของนิกายนี้ใช้ภาษาสันสกฤต นิกายนี้เผยแผ่หนักไปในทางอภิธรรม จึงมีนามเรียกใหม่ว่า "อภิธรรมวาที" อภิธรรมปิฎกของนิกายนี้กับทั้งปกรณ์พิเศษที่สำคัญ แม้ต้นฉบับภาษาสันสกฤตจะสูญหายไปแล้ว แต่ในภาคภาษาจีนได้แปลรักษาเอาไว้หมด เพราะฉะนั้นการค้นคว้าทางปรัชญาจากสำนักนี้ จึงต้องอาศัยพระไตรปิฎกจีนเป็นมาตรฐาน
วินัยปิฎกของนิกายนี้เรียกว่า "มูลสรวาสติวาท" "ภิกษุวินยะ" "ภิกษุณีวินยะ" ส่วนใหญ่คล้ายกับวินัยปิฎกภาษาบาลี พระสูตรเรียกว่า "อาคม" เช่น ทีฆนิกายก็เรียกว่า ทีรฆาคม สังยุตตนิกายก็เรียกว่า สังยุตตาคม เป็นต้น ส่วนอภิธรรมนั้นมี 7 ปกรณ์เช่นเดียวกับบาลี แต่ชื่อปกรณ์และเนื้อความแตกต่างกันคือ
1. อภิธรรมสังคีติบรรยายปาทศาสตร์
2. อภิธรรมสกันธปาทศาสตร์
3. อภิธรรมปรัชญาปติปาทศาสตร์
4. อภิธรรมวิชญาณกายปาทศาสตร์
5. อภิธรรมปกรณ์ปาทศาสตร์
6. อภิธรรมธาตุกายปาทศาสตร์
7. อภิธรรมชฺญาณปรสฺถานศาสตร์
หลักธรรมสำคัญของนิกายสรวาสติวาท
นิกายนี้เป็นประเภทสัจจนิยม (Realism) สภาวธรรมทุกสิ่งเป็นของมีอยู่จริง โดยถือเอาสภาวธรรมว่า ขึ้นชื่อว่าเป็นสภาวะแล้ว จะต้องมีอยู่เป็นอยู่ด้วยตัวของมันเอง ตลอดอดีต ปัจจุบัน อนาคต แต่พฤติการณ์ของสภาวธรรมเปลี่ยนแปลงไปได้ เปรียบเหมือนผืนผ้าผืนหนึ่งเมื่อไปย้อมดำ เราก็เรียกว่าผ้าดำ ผ้าผืนนั้นละจากความขาวไปสู่ความดำ แต่ไม่ละจากความเป็นผืนเดียวกันฉันใด สภาวธรรมมีขันธ์ ธาตุ อายตนะ ก็อาจมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปตามกาล แต่ไม่ละความเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ ในตัวมันเองฉันนั้น
ด้วยเหตุผลข้อนี้นิกายนี้จึงยืนยันว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ล้วนเป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ ซึ่งตรงกันข้ามกับฝ่ายเถรวาทที่ถือว่า มีอยู่เฉพาะปัจจุบัน อดีตดับไปแล้ว อนาคตยังไม่เกิดขึ้น นิกายสรวาสติวาทถือว่า พระอรหันต์มี 2 อย่างคือ สมยวิมุตติอรหันต์ และอสมยวิมุตติอรหันต์ ประเภทแรกเสื่อมจากมรรคผลได้เพราะการบรรลุอรหันต์ต้องอาศัยโภชนสัปปายะ เสนาสนสัปปายะ อุตุสัปปายะ ส่วนอสมยวิมุตติอรหันต์การบรรลุไม่ต้องอาศัยกรณีแวดล้อม เพราะฉะนั้น จึงไม่เสื่อม ฝ่ายเถรวาทคัดค้านว่า นิกายสรวาสติวาทนี้เข้าใจพุทธพจน์ผิด ในอรรถกถาปุคคลบัญญัติอธิบายสมยวิมุตติบุคคลว่าได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี ท่านได้ฌานแล้วเสื่อมเพราะเหตุแห่งวัตตเภทบางอย่าง เช่น พระโสดาบันตั้งใจว่าจะกวาดเสนาสนะ แต่เผลอลืมไปเข้าสมาบัติก็เข้าไม่ได้ เพราะว่ามีจิตกังวลอยู่ว่าเราจะทำอะไร เป็นต้น เมื่อไปทำสิ่งนั้นแล้วก็สามารถเข้าสมาบัติได้ ส่วนพระอนาคามีและพระอรหันต์ทุกจำพวกไม่เสื่อมจากมรรคผล นิกายนี้ถือว่า มีอันตรภพอยู่ระหว่างจุติและปฏิสนธิ คือสัตว์ที่ทำลายขันธ์ในโลกนี้แล้วจะไปอยู่ในอันตรภพ 7 วันบ้าง 15 วันบ้าง เดือนหนึ่งบ้าง เพื่อรอคอยปฏิสนธิ นิกายนี้อ้างพุทธภาษิตในกรณียเมตตสูตรว่า "สัมภเวสี" คือสัตว์ผู้แสวงหาภพ มตินี้ฝ่ายเถรวาทคัดค้านว่า สัตว์ผู้ที่ยังมีกิเลสตัณหายังไม่หมดสิ้น โดยความหมายก็ได้แก่ พระอนาคามีลงมาจนถึงสัตว์ในอบายย่อมชื่อว่าสัมภเวสีทั้งนั้น

นิกายวัชชีบุตร
นิกายนี้ได้กล่าวมาแล้วเมื่อตอนทำสังคายนาครั้งที่ 2 มีความขัดแย้งกับฝ่ายเถรวาทในเรื่องวัตถุ 10 ประการ นิกายนี้มีความรุ่งเรืองมากในมคธและขยายไปยังอินเดียตอนใต้ตลอดไปจนตะวันตก เนื่องจากนิกายนี้ยอมรับในเรื่องอาตมันจึงถูกนิกายอื่นโจมตีอย่างมาก และมีความเชื่อในเรื่อง "บุคคล" หรือว่า "อัตตา" ว่ามีอยู่โดยปรมัตถ์ ซึ่งเป็นการตรงกันข้ามกับหลักอนัตตาของพระพุทธศาสนา แต่พวกวัชชีบุตรก็อธิบายเลี่ยงไปว่า "บุคคล" ของเขาไม่ใช่ขันธ์ 5 และไม่อื่นไปจากขันธ์ 5 เหมือนกับไฟ ไม่ใช่เชื้อไฟ แต่ก็ไม่ใช่อื่นไปจากเชื้อไฟ ความคิดเช่นนี้จึงถูกนิกายอื่นโจมตีอย่างมาก เรียกว่าเป็นนิกายนอกคอก




นิกายธรรมคุปตะ
นิกายธรรมคุปตะนี้มีทัศนะว่า ทานที่บุคคลถวายแด่พระพุทธเจ้านั้นมีอานิสงส์มากกว่าทานที่บุคคลถวายในสงฆ์ ฝ่ายเถรวาทไม่เห็นด้วยโดยยกเอาพุทธภาษิตที่ทรงตรัสว่า ทานที่บุคคลถวายแด่สงฆ์ทั้ง ๔ ทิศ ย่อมเป็นการบูชาพระองค์ด้วย เป็นทานที่มีผลมาก นิกายธรรมคุปตะยังถือว่าการบูชาพระสถูปเจดีย์ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุได้บุญมากกว่าการถวายสังฆทาน

นิกายเสาตฺรนฺติกวาท
 นิกายนี้กล่าวโจมตีอภิธรรมว่า ไม่ใช่พุทธพจน์ เผยแผ่แต่พระสูตรกับพระวินัยเท่านั้น เป็นคู่ปรับสำคัญกับนิกายสรวาสติวาท ซึ่งเผยแผ่แต่เรื่องอภิธรรม ต่างฝ่ายต่างมีหนังสือหักล้างซึ่งกันและกัน นิกายเสาตฺรนฺติกะ เชื่อว่าทุก ๆ คนมีธาตุแห่งพุทธะอยู่ในตัว ซึ่งเป็นต้นเค้าของมหายานสาขาหนึ่ง

นิกายมหิสาสกวาท
นิกายมหิสาสกวาท หรือ นิกายมหีศาสกะ เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่หลักฐานฝ่ายบาลีกล่าวว่าแยกมาจากเถรวาท ส่วนหลักฐานฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่าแยกมาจากนิกายสรวาสติวาท อาจารย์ผู้เป็นต้นกำเนิดของนิกายนี้เป็นพราหมณ์ เมื่อมาบวชได้นำหลักธรรมในพระเวทมาผสมกับพระพุทธพจน์ แพร่หลายทางภาคตะวันตกและภาคใต้ของอินเดีย โดยเฉพาะแคว้นอวันตี วนวาสี มหาสมณฑล เกรละ และมีอิทธิพลในลังกาด้วย พระพุทธชีวะได้แปลวินัยของนิกายนี้เป็นภาษาจีน
หลักธรรมของนิกายนี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากนิกายอื่นๆ หลายประการ เช่น ไม่มีอันตรภพ ผู้สำเร็จอรหันต์แล้วไม่เสื่อมแต่พระโสดาบันเสื่อมได้ การบูชาสถูปเจดีย์ได้บุญน้อย การถวายทานให้คณะสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานมีผลมากกว่าถวายทานต่อพระพุทธเจ้าองค์เดียว เป็นต้น

นิกายสรวาสติวาท
นิกายสรวาสติวาท หรือ นิกายสัพพัตถิกวาท เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายหินยาน คัมภีร์ทีปวงศ์ระบุว่านิกายนี้แยกมาจากนิกายมหีศาสกะ ส่วนหลักฐานฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่าแยกมาจากนิกายเถรวาทโดยตรง นิกายนี้แพร่หลายไปทั่วอินเดียภาคกลางและอินเดียภาคเหนือ รวมทั้งแพร่หลายไปสู่เอเชียกลางและจีนด้วย หลักธรรมของนิกายนี้เขียนด้วยภาษาสันสกฤต นิกายนี้ในญี่ปุ่นเรียกว่านิกายกุชา ผู้ให้กำเนิดนิกายนี้คือ พระอุปคุตอรหันตเจ้า ผู้ทำการปราบพยามารที่มารบกวนพิธีฉลองเจดีย์ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับเถรวาท แต่ต่างกันที่ว่านิกายนี้ถือว่า ขันธ์ห้าเป็นของมีอยู่จริง พระอรหันต์เสื่อมได้ สิ่งทั้งหลายมีอยู่และเป็นอยู่ในลักษณะสืบต่อ ความจริงมีสองระดับคือสมมติสัจจะ เป็นความจริงโดยสมมติ เป็นความจริงของชาวโลก จัดเป็นสังขตธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอาศัยปัจจัย ความจริงอีกระดับหนึ่งคือปรมัตถสัจจะ เป็นสิ่งสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่น เรียกว่าอสังขตธรรม ได้แก่ พระนิพพาน นิกายนี้ถือตามอภิธรรมมหาวิภาษาที่เป็นอรรถกถาของอภิธรรมชญานปริสถานเป็นหลัก คัมภีร์ของนิกายนี้มีผู้แปลเป็นภาษาจีนและภาษาทิเบตไว้มาก พระภิกษุในทิเบตปัจจุบันถือวินัยของนิกายนี้

นิกายเอกัพยาวหาริกะ
นิกายเอกัพยาวหาริกะ หรือ นิกายเอกวยหาริกวาท เป็นนิกายที่แยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะ หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายมหาสางฆิกะ ที่ต่างไปคือถือว่าไม่มีสภาวธรรมที่แท้จริง ทั้งทางโลกียะและโลกุตระ เป็นแต่บัญญัติโวหารเท่านั้น

นิกายสมิติยวาท
นิกายสมิติยวาท หรือ สางมิตียะ เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่แยกมาจากนิกายวาตสีปุตรียะ หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายแม่ คือรับรองว่ามีอาตมันหรือบุคคล รุ่งเรืองในอินเดียจนถึงพุทธศตวรรษที่ 12 แต่หลักฐานเหลือมาถึงปัจจุบันไม่มากนัก

นิกายเอกัพยาวหาริกะ
นิกายเอกัพยาวหาริกะ หรือ นิกายเอกวยหาริกวาท เป็นนิกายที่แยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะ หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายมหาสางฆิกะ ที่ต่างไปคือถือว่าไม่มีสภาวธรรมที่แท้จริง ทั้งทางโลกียะและโลกุตระ เป็นแต่บัญญัติโวหารเท่านั้น

นิกายพหุสสุติกวาท
นิกายพหุสสุติกวาท หรือ นิกายพหุศรุตียะ แยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะหรือนิกายโคกุลิกะ นิกายใดนิกายหนึ่ง ตามประวัติของนิกายนี้กล่าวว่าพระอรหันต์รูปหนึ่งเข้าฌานสมาบัติเป็นเวลานานจน พ.ศ. 200 จึงจาริกมาสู่แคว้นอังคุตตระ เห็นว่าหลักธรรมของฝ่ายมหาสังฆิกะยังไม่สมบูรณ์ จึงแสดงข้อธรรมเพิ่มเติมลงไป ภายหลังศิษย์จึงแยกมาตั้งนิกายใหม่ต่างหาก โดยหลักธรรมที่เพิ่มเติมนั้น มีลัทธิมหายานเจือปนอยู่ด้วย นิกายนี้ถือว่าเฉพาะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สุญญตาและนิพพานเท่านั้นที่เป็นโลกุตตระ ในขณะที่ฝ่ายมหาสังฆิกะถือว่าพระพุทธพจน์ทั้งหมดเป็นโลกุตตระพหุสสุติก หรือ พหุศรุติย มาจากคำว่า พหูสูต แปลว่าผู้ที่ได้ยินได้ฟังมาก หมายถึงผู้ที่เรียนรู้มาอย่างดี

นิกายปรัชญัปติวาท
นิกายปรัชญัปติวาท เป็นนิกายฝ่ายอาจริยวาท ซึ่งแยกมาจากนิกายเอกัพยาวหาริกะตามหลักฐานฝ่ายบาลี ส่วนหลักฐานฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่าแยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะ หลักธรรมส่วนใหญ่เหมือนนิกายมหาสางฆิกะ ที่ต่างไปคือ ถือว่าทุกข์ไม่มีขันธ์ อายตนะ 12 เป็นมายา ไม่มีอกาล บุญกุศลเป็นเหตุปัจจัยให้ได้บรรลุอริยมรรค

นิกายโคกุลิกวาท
นิกายโคกุลิกวาท แป็นนิกายที่แยกตัวออกมาจากนิกายมหาสังฆิกะ หลักธรรมโดยทั่วไปเหมือนกับนิกายมหาสังฆิกะ แต่ที่แยกตัวออกมาเพราะนิกายนี้ถือพระอภิธรรมปิฎกเป็นพิเศษ ไม่เคร่งครัดในพระวินัย ถือว่าการปฏิบัติให้พ้นกิเลสตัณหาโดยเร็วสำคัญกว่าการรักษาสิกขาบท

นิกายเจติยวาท
นิกายเจติยวาท หรือ นิกายไจติกะ เป็นนิกายฝ่ายอาจริยวาท ตั้งขึ้นโดยอาจารย์มหาเทวะ แยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะ หลักธรรมส่วนใหญ่เหมือนนิกายมหาสังฆิกะ ที่ต่างไปคือถือว่าการสร้างและการตกแต่งสถูปเจดีย์ได้บุญมาก พระนิพพานเป็นสภาวะที่มีอยู่ เป็นอมตธาตุ

นิกายปัญญัติกวาท
นิกายปัญญัติกวาท เป็นนิกายที่แยกมาจากนิกายเอกัพโยหาริกวาทตามหลักฐานฝ่ายบาลี ส่วนหลักฐานฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่าแยกมาจากนิกายมหาสังฆิกะ หลักธรรมส่วนใหญ่เหมือนนิกายมหาสังฆิกะ ที่ต่างไปคือ ถือว่าทุกข์ไม่มีขันธ์ อายตนะ 12 เป็นมายา ไม่มีอกาล บุญกุศลเป็นเหตุปัจจัยให้ได้บรรลุอริยมรรค

นิกายพหุสสุติกวาท
นิกายพหุสสุติกวาทหรือนิกายพหุศรุติยวาทแยกมาจากนิกายมหาสังฆิกะหรือนิกายโคกุลิกวาท นิกายใดนิกายหนึ่ง ตามประวัติของนิกายนี้กล่าวว่าพระอรหันต์รูปหนึ่งเข้าฌานสมาบัติเป็นเวลานานจน พ.ศ. 200 จึงจาริกมาสู่แคว้นอังคุตตระ
เห็นว่าหลักธรรมของฝ่ายมหาสังฆิกะยังไม่สมบูรณ์ จึงแสดงข้อธรรมเพิ่มเติมลงไป ภายหลังศิษย์จึงแยกมาตั้งนิกายใหม่ต่างหาก โดยหลักธรรมที่เพิ่มเติมนั้น มีลัทธิมหายานเจือปนอยู่ด้วย นิกายนี้ถือว่าเฉพาะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ศูยตาและนิพพานเท่านั้นที่เป็นโลกุตตระ ในขณะที่ฝ่ายมหาสังฆิกะถือว่าพระพุทธพจน์ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ

ธรรมคุปต์ 
ธรรมคุปต์  หรือ ธรรมคุปตวาท แยกมาจากนิกายมหีศาสกะ ในเวลาใกล้เคียงกับนิกายสรวาสติวาท โดยแตกต่างจากนิกายแม่ที่เรื่องการถวายทาน นิกายนี้เห็นว่าทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้าหรือแม้แต่สถูปเจดีย์มีผลมากกว่าถวายต่อสงฆ์ หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายมหาสังฆิกะมากกว่านิกายมหีศาสกะ แพร่หลายในเอเชียกลางและจีน พระวินัยของนิกายนี้เป็นต้นแบบของนิกายวินัยในจีน
นักวิชาการถือว่านิกายนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิกายเถรวาท แต่นิกายเถรวาทถือว่านิกายนี้เป็นฝ่ายอาจริยวาทและอธรรมวาที ในคัมภีร์กถาวัตถุปรากฏข้อมูลว่าเถรวาทกับธรรมคุปต์เห็นต่างกันหลายเรื่อง เช่น อานิสงส์ของการทำทาน การบูชาพระเจดีย์ วิมุตติของพระพุทธเจ้ากับพระอรหันตสาวก อภิญญาของศาสนาในศาสนาอื่น เป็นต้น

นิกายวัชชีปุตวาท
นิกายวัชชีปุตวาท เป็นนิกายที่แยกออกมาจากเถรวาทเมื่อครั้งการสังคายนาครั้งที่ 2 นิกายนี้ได้แพร่หลายจากมคธไปสู่อินเดียภาคตะวันตกและภาคใต้ ไม่มีปกรณ์ของนิกายนี้เหลืออยู่เลยในปัจจุบัน หลักธรรมเท่าที่มีหลักฐานเหลืออยู่คือนิกายนี้ยอมรับว่ามีอาตมันหรืออัตตาจึงถูกโจมตีจากนิกายอื่น เช่น นิกายมหาสังฆิกะ เถรวาทและนิกายเสาตรันติกวาท
3. ข้อแตกต่างที่นับว่าสำคัญของนิกาย
1. ทิฎฐิ หรือแนวความคิดต่างกัน รากฐานอันสำคัญในการบรรลุเป้าหมายของมหายาน คือ ศรัทธา ถ้าถามว่า ศรัทธาอย่างไร ตอบว่ามหายานถือว่า ศรัทธาเป็นหลักสำคัญ ที่จะให้ผู้นับถือพระพุทธศาสนาบรรลุธรรม คือ ศรัทธาในพระพุทธะ หรือในพระพุทธเจ้า ด้วยแรงของศรัทธาจะทำให้เชื่อและปฏิบัติตามคำสอนอย่างมีชิวิตจิตใจแล้วจะได้บรรลุธรรม ความเชื่อนี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติไม่ลังเล ปฏิบัติอย่างถวายชีวิตแต่ฝ่ายหีนยานไม่ปฏิเสธศรัทธาว่ามีค่าน้อย แต่ว่าหมวดธรรมใดมีศรัทธาอยู่ด้วย หมวดธรรมนั้นก็จะมีปัญญากำกับอยู่ เชื่อในกรรมว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน กรรมจำแนกให้สัตว์ต่างกัน เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว และเชื่อในความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แม้กระนั้นคัมภีร์ ในนิกายฝ่ายใต้ก็เห็นว่าปัญญาสูงกว่าศรัทธา การเลือกเฟ้นหลักธรรมว่าถูกต้องเพียงไรก็ดี หลักสัปปุริธรรมต่างมีปัญญาเป็นพื้นฐาน รวมความก็คือ รากฐานในนิกายมหายานยึดหลักว่า สทฺธาย ตรติ โอฆํ คนข้าม โอฆะ ได้เพราะศรัทธา หีนยานยึดหลักว่า ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ คนจะบริสุทธิ์ได้เพราะปัญญา
2. สังคมหรือสภาพแวดล้อมที่รักษาคัมภีร์ ของแต่ละฝ่ายแตกต่างกันทางนิกายฝ่ายใต้นับตั้งแต่สังคายนาครั้งที่ 3 ที่พระเจ้าอโศกมหาราชเผยแผ่ศาสนาไปยังประเทศต่าง ๆ นั้น นิกายฝ่ายใต้คือ ลังกา พม่า ไทย ลาว เขมร ซึ่งเป็นประเทศนับถือนิกายนี้ ต่อมานิกายมหายานก็ได้แผ่เข้ามาอีกในประเทศไทย เขมา พม่า และลาว แต่ลังกานั้นมหายานไม่เข้าไปลังกาสมัยศาสนาเสื่อมก็มี เจริญก็มี มาถึงสมัยหลังสุดนิกายนั้น พุทธศาสนาในลังกากำลังเจริญได้แผ่มายัง พม่า ไทย เขมร และลาว อันเป็นคัมภีร์พระไตรปปิฎกฉบับปัจจุบันของชาติต่าง ๆ เหล่านี้ มาจากแหล่างเดียวกัน เป็นคัมภีร์ที่รักษามาตั้งแต่เดิมฉบับเดียวกัน ส่วนที่แผ่ไปยังภาคอื่นนั้น ตั้งอยู่ไม่มั่นคง ก็ถูกศาสนาอื่นเช่น พราหมณ์บ้าง ฮินดูบ้าง และมหายานเองบ้าง ทำให้สิ้นลมปราณไปเหลืออยู่เฉพาะประเทศที่กล่าวนามข้างต้น

นิกายฝ่ายเหนือ
นับตั้งแต่สังคายนาของพระเจ้ากนิษกะ ซึ่งทำอยู่ในภาคเหนือของอินเดีย ได้เผยแผ่ไปยังที่ข้างเคียง คือ ธิเบต จีน เกาหลี เนปาล มองโกเลีย ญี่ปุ่น ญวน ภาคเหนือของอินเดีย ศาสนาพราหมณ์ยุคพัฒนาซึ่งเป็นฮินดูนั้น พระพุทธศาสนาต้องต่อสู้ และสภาพแวดล้อมของคนในที่นั้น เป็นเหตุให้นักปราชญ์อธิบายหลักธรรมและพิธีของศาสนาให้เหมาะกับคนและท้องถิ่นนั้น ๆ คณาจารย์แต่ละท่านได้ค้นหาวิธี และแต่งคัมภีร์ประกาศศาสนา จนเกิดสูตรมากหลาย ซึ่งพ้องกับของหีนยานโดยชื่อเหมือนกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง แต่มีพระสูตรอีกมากหลายที่ไม่มีในคัมภีร์นิกายฝ่ายใต้ เช่น สัทธรรมบุฑณริกสูตร เป็นต้น

สัทธรรมบุณฑริกสูตร
ในประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น นิกายใหญ่ต่างนับถือสัทธรรมบุณฑริกสูตรเป็นสูตรสำคัญกว่าพระสูตรอื่น เป็นพระสูตรแท้สูงสุดแลเป็นมหายานแท้ พระสูตรนี้แบ่งเป็น 28 บท มี 2 ภาค มีบทเท่ากัน ภาคต้น กล่าวถึงธรรมะต่าง ๆ ซึ่งเป็นความรู้ที่จะทำคนให้เป็นพุทธะภาคปลาย กล่าวถึงความจริงอันลึกซึ้ง เกี่ยวกับความเป็นพุทธะเป็นญาติที่มีอยู่ในทุกตัวตนเป็นพุทธะหรือพุทธภาวะนี้เป็นดั้งเดิม จักรวาลสากลจักรวาล ก็เป็นสภาพดั้งเดิมชีวิตมีอยู่ตลอดกาล ชีวิตหนึ่ง ๆ ก็คือกระจิดริดหนึ่งของชีวิตดั้งเดิม พุทธะก็ดีชีวิตก็ดีมีอยู่ตลอดกาล คำสอนของพระพุทธเจ้าตลอด 45 พรรษา แบ่งเป็นคำสอนชั้นเตรียมเป็นเวลา 37 ปี ซึ่งเป็นคำสอนตอนต้นคำสอนตอนปลาย 8 ปี หลังเป็นคำสอนสูงสุดรวม 45 ปี แต่มหายานแบ่งเป็นทรงประกาศศาสนา 50 ปี ดังนี้
1. เริ่มตั้งแต่สอนภิกษุปัญจวัคคีย์ คือ คำสอนที่ปรากฏในพระไตรปิฎก (ของหีนยาน) เป็นเวลา 12 ปี
2. เป็นคำสอนศึกษาได้จากพระสูตร (หมายถึงของมหายาน) เช่นไวปุลยะสูตร ทรงสอนวิธีนี้ 16 ปี
3. ทรงสอนวิธีเหมาะแก่การใช้ความคิด ตรึกตรองลึกซึ้งกว้างขวางทรงสอนวิธีนี้อยู่ 14 ปี
4. คำสอนแท้และสูงสุดของพระพุทธศาสนา เป็นแก่นแห่งพระพุทธศาสนา ทรงสอนวิธีนี้อยู่ 8 ปี
คัมภีร์มหายานได้แยกระยะกาลแห่งการประกาศพระศาสนาของพระพุทธเจ้าเป็นระยะตั้งแต่ 1-3  เป็นคำสอนขั้นต้น เตรียมพื้นฐาน เพื่อรับคำสอนเบื้องปลาย คือ สัทธรรมบุณฑริกสูตรสูงสุด ที่กล่าวมานี้เป็นของนิกายใหญ่ในจีน และญี่ปุ่น เท่านั้น

ตำนานทางฝ่ายใต้
พระเทวทัต ได้พยายามแยกคณะจากพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงพระชนม์อยู่ ภายหลังพระเทวทัตสำนึกผิดและสงฆ์ก็มิได้แตกกันคือ เมื่อพระพุทธองค์รับสั่งให้อัครสาวกไปชี้แจง สามารถนำพระที่เข้ากับพระเทวทัตกลับมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 7 วัน หลวงตาบวชเมื่อแก่ชื่ออสุภัททะ ได้กล่าวกับภิกษุบางรูป ไม่ให้เสียใจที่พระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานว่า “พระสมณโคดม ตายเสียแล้วก็ดี เมื่ออยู่บัญญัติวินัยจู้จี้กวนใจ ต่อไปจะทำอะไรไม่ต้องกลัวใครว่ากล่าวทักท้วงอีก” พระมหากัสสปะได้นำทำสังคายนาครั้งแรก เพราะเหตุนี้ การร้อยกรองพระธรรมวินัยเป็นหมวดหมู่ด้วยปากเปล่า มิได้เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อประมาณ พ.ศ. 100 ปีเศษ เกิดปัญหาวัตถุ 10 อย่าง และการขอเงินชาวบ้านของภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองไพสาลีมีสาระสำคัญคือ การฉันอาหารหลังเที่ยงและการรับทรัพย์สินเงินทองเป็นต้น พระที่เห็นว่าสมควรก็มี พระที่คัดค้านว่าไม่ควรก็มี พระสงฆ์ฝ่ายที่เห็นว่าไม่สมควร มีพระยศเถระเป็นหัวหน้า ว่าไม่ควรแก้ไขพระวินัยผิดไปจากที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ แม้จะมีข้อแก้ไว้ก็ดี เพราะไม่สามารถรู้ได้ว่าควรไม่ควรเพียงไร รักษาตามบัญญัติไว้เดิมดีกว่า สงฆ์คณะนี้เรียกชื่อว่า “เถรวาท” เพราะปฏิบัติตามที่พุทธสาวกได้ทำสังคายนามาตั้งแต่ครั้งที่ 1 ส่วนพระสงฆ์อีกฝ่ายหนึ่ง คือ พระภิกษุชาววัชชี เป็นต้น ถือว่าการทำเช่นนั้นสมควร ไม่ผิดบัญญัติ สงฆ์คณะนี้เรียกว่า “อาจาริยวาท” เพราะถือตามมติอาจารย์แก้ไขไว้ พระยศเถระจึงนิมนต์พระคณาจารย์มีพระสัพพกามีและพระเรวัติ เป็นต้น กับคณะสงฆ์เป็นจำนวนมาก รวมประมาณ 700 องค์ พร้อมกับยกสังคายนาเป็นครั้งที่ 2 พระเจ้ากาลาโศกราชทรงเป็นอุปถัมภ์ ทำอยู่ 8 เดือนจึงสำเร็จครั้งที่สำคัญคือ ครั้งที่ 3 พระพุทธศาสนาล่วงไปได้ 200 ปีเศษ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ ทำสังคายนาเสร็จประมาณ พ.ศ. 235 พระโมคคัลลีบุตรเป็นประธาน เป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปยังนานาประเทศอย่างกว้างขวางเหตุแห่งการสังคายนาครั้งนี้คือ มีพวกปลอมบวชในพระพุทธศาสนาเพื่อเห็นแก่ลาภ ไม่ปฏิบัติธรรมวินัยการทำสังคายนาครั้งที่ 4-5 ในประเทศศรีลังกา รายละเอียด ไม่นำมากล่าวในที่นี้ สำหรับประเทศอื่น ๆ เช่น พม่า ไทย ฯลฯ ก็เคยชำระสะสางพระไตรปิฎก โดยถือเป็นการสังคายนากันเหมือนกัน ข้อสำคัญคือประเทศลังกา พม่า ไทย เขมร และลาว เป็นนิกายหีนยานมีพระไตรปิฎกมาจากแหล่งเดียวกัน คือธรรมวินัยที่สังคายนามาตั้งแต่ครั้งที่ 3-4 และ 5 ซึ่งเป็นฉบับมาจากลังกานิกายฝ่ายเหนือเริ่มต้นตั้งแต่การสังคายนาครั้งที่ 4  (หมายถึงที่ทำในประเทศอินเดียต่อจากครั้งที่ 3 ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นองค์อุปถัมภ์ พระเจ้ากนิษกะ (พ.ศ. 621-642) เป็นองค์อุปถัมภ์ในการสังคายนาครั้งที่ 4 จารึกธรรมวินัยเป็นภาษาสันสกฤต ทำที่ภาคเหนือของประเทศอินเดีย คือแคว้นกาษมีระ ในรัชสมัยของพระองค์พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานได้แผ่ไปทั่วทุกสารทิศมีคัมภีร์เกิดขึ้นเป็นอันมาก ความจริงคัมภีร์ต่าง ๆ ก็คือสูตรต่าง ๆ มีคณาจารย์ได้แต่งขึ้นเอง พระอาจารย์ผู้แต่งผู้แปลแต่ละคัมภีร์ก็เป็นพระโพธิสัตว์นิกายมีเป็นอันมาก ก็เพราะมีพระสูตรมากนั่นเอง มีการนับถือพระสูตรตรงกันบ้าง ต่างกันบ้าง ต่างกันโดยสิ้นเชิง นิกายนี้ตั้งมั่นอยู่ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ญวน ธิเบต เป็นต้น ความจริงเค้าของการแตกแยกออกเป็น 2 นิกาย เริ่มมีมาตั้งแต่หลังพุทธปรินิพพานเป็นต้นมา เพราะพระปุราณะไม่ยอมรับผลการสังคายนา โดยพระมหากัสสปเถระที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา และได้แยกตัวออกมาทำสังคายนาต่างหาก แต่นักปราชญทั้งหลายเชื่อว่าพุทธศาสนา ได้เกิดการแบ่งแยกนิกายต่าง ๆ ถึง 18 นิกายหรือมากกว่านั้นในพุทธศตวรรษที่ 2 ส่วนมากเป็นนิกายเล็ก ๆ ไม่ค่อยมีบทบาทนัก นิกายที่ได้รับความนับถือและมีอิทธิพลมากที่สุดในระยะ 5  ทศวรรษแรกได้แก่ เถรวาท ซึ่งยึดถือตามมติปฐมสังคายนาเป็นหลักสำคัญ และนิกายนี้เองยังได้แตกแยกออกเป็นนิกายเล็ก ๆ อีก 12 นิกาย
    ดังนั้นการศึกษาหลักธรรมที่สำคัญที่สุดจึงสามารถค้นหาได้จากคัมภีร์เภทธรรมมติศาสตร์ในฝ่ายสันสกฤตและกถาวัตถุของฝ่ายบาลี ซึ่งเป็นหลักธรรมของฝ่ายสาวกยานหรือนิกายเถรวาท ส่วนนิกายต่าง ๆ ที่แตกแยกออกจากนิกายเถรวาท เราไม่สามารถหาหลักฐานได้อย่างสมบูรณ์เพียงพอ นิกายอื่น ๆ ที่พอจะค้นคว้าหาหลักธรรมได้อย่างละเอียดพอสมควรคือ นิกายสรวาสติวาทิน ซึ่งส่วนใหญ่คณาจารย์จีนได้แปลจากสันสกฤตและบาลีเป็นภาษาจีนและธิเบต หลักธรรมของนิกายสรวาสติวาทิน เราสามารถได้จากนิกายมหายานเพราะได้รวมหลักธรรมที่สำคัญของนิกายสรวาทินติวาทินอยู่ด้วย นิกายนอกจากที่กล่าวมานั้น ปรากฏว่ามีหลักฐานหลงเหลือตกทอดมาถึงปัจจุบันน้อยมาก แม้แต่นิกายมหาสังฆิกะ ซึ่งนับเป็นนิกายหลักของพุทธศาสนาในศตวรรษต้น ๆ ก็มีหลักฐานตกมาถึงปัจจุบันน้อยมากจนไม่สามารถยึดถือเป็นหลักสำคัญได้ แต่นิกายมหาสังฆิกะและนิกายที่แตกฉานแยกออกไป มีบทบาทสำคัญมากในการกำเนิดพุทธศาสนานิกายมหายานขึ้น ในสมัยต่อมาลัทธิมหายานเป็นลัทธิอิสระ และได้เป็นที่รวมหลักธรรมสำคัญ ๆ ของทุกๆ นิกายในพุทธศาสนา จึงนับได้ว่านิกายมหายานเป็นขุมกำลังที่สำคัญมากของพุทธศาสนา
 เมื่อย้อนหลังไปดูเหตุการณ์ที่เป็นบ่อเกิดของมหายานนั้น เราก็พอจะทราบความเป็นมาของพุทธศาสนาในยุคต้นพอสมควร คือในระหว่างสมัยที่พวกกุษาณะกำลังแผ่อิทธิพลอยู่ในอินเดียภาคเหนือ และพวกอันธระกำลังเสวยอำนาจ ณ อินเดียภาคทักษิณ (ใต้) ราวพุทธศตวรรษที่ 6-7 ในสมัยดังกล่าว ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในพุทธศาสนา นั้นคือการถือกำเนิดของลัทธินิกายใหม่ นิกายนี้เรียกตัวเองว่า "มหายาน" การปรากฏขึ้นของมหายาน นับว่าเป็นวิวัฒนาการการปฏิรูปประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ปัจจุบันนิกายนี้สามารถครองใจประชาชนหลายร้อยล้านคนในจีน ญี่ปุ่น ธิเบต มองโกเลีย เวียดนาม เกาหลี ดังที่เราทราบกันในปัจจุบันสาเหตุที่ทำให้เกิดนิกายมหายานนั้นมีหลายประเด็น แต่พบสรุปย่อ ๆ ดังต่อไปนี้
 4.1 มหายานเกิดจากบางนิกายใน 18 นิกาย ต่างนิกาย ต่างมีอุดมคติทัศนะทางหลักธรรม และวัตรปฏิบัติที่ผิดแผกแตกต่างกันออกไปมากบ้างน้อยบ้าง และต่างนิกายต่างก็มีศูนย์กลางของนิกาย นิกายทั้ง 18  มีดังต่อไปนี้ 1  นิกายสถวีรวาท 2 นิกายมหาสังฆิกวาท 3นิกายเอกัพโยหาริกาวาท 4 นิกายโลกุตตรวาทิน 5 นิกายโคกุลิกวาท 6 นิกายพหุสสุติวาท 7 นิกายปัญญัติวาท 8 นิกายมหิสาสิกวาท 9 นิกายวัชชีบุตร 10 นิกายสรวาสติวาทิน 11 นิกายธรรมคุปตะ 12 นิกายกัสสปิกวาท 13 นิกายเสาตรนติกะ 14 นิกายเจติวาท 15 นิกายสมิติยวาท 16 นิกายเหมวันตะ 17 นิกายสุตตวาท 18 นิกายอันธกะ เหล่านี้ต่อมาแตกเพิ่มออกเป็น22 นิกาย คือ 19 นิกายปรเสลิยะและอุตตรเสลิยะ 20 นิกายอุตตรปถะ 21 นิกายวิภัชชวาทิน 22 นิกายเวตุลลลกะ ต่อมาบางนิกายย่อยก็ได้พัฒนาการมาเป็นมหายานโดยเฉพาะนิกายมหาสังฆิกะ และบางส่วนก็ยังคงเป็นเถรวาทหรือหินยานเช่นเดิม
4.2 มหายานเกิดจากพระบุคลิกภาพของพระพุทธองค์
ในหลักธรรมของนิกายมหาสังฆิกะ จะเห็นได้ว่าทัศนะต่อพระบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ของพระบรมศาสดาในส่วนโลกุตตรภาพ แตกต่างจากนิกายเถรวาท ขณะที่ฝ่ายเถรวาทถือว่าพระวรกายเปรียบเหมือนกับสามัญชนทั่วไปย่อมเสื่อมไปเพราะอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมแตกดับในที่สุด แต่ที่ไม่ดับคือพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ แต่มหาสังฆิกะเห็นว่าพระบุคลิกภาพและชนม์ชีพจะแตกดับลงในอนุปาทิเสสนิพพานนั้น ยังไม่ได้เสียแรงที่พระองค์เป็นอภิบุรุษที่สร้างบารมีมานับอสงไขย จะมาดับสูญโดยไม่เหลืออะไรไม่ได้ พวกเขาถือว่าภาวะของพระพุทธองค์ทั้งนามและรูปเป็นโลกุตตระ พระชนม์ชีพยังยั่งยืนไม่มีขอบเขต สิ่งที่แตกดับเป็นเพียงมายาธรรมเท่านั้น ความคิดเช่นนี้เองที่ก่อให้เกิดลัทธิมหายาน พวกเขาเห็นตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธองค์เมื่อเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ผู้ที่ซาบซึ้งจึงนำเอาโพธิจริยาทั้ง 10 ทัศนั้นมาประกาศเป็นพิเศษและตั้งอุดมคติที่จะให้มุ่งสำเร็จสัพพัญญุตญาณ มีโอกาสสร้างบารมีเป็นพระโพธิสัตว์เป็นประโยชน์แก่สรรพสัตว์และไม่พอใจในการบรรลุพระอรหันต์ เพราะถือว่าคับแคบเฉพาะตน
4.3 มหายานเกิดจากแรงดันของศาสนาพราหมณ์
ในเมื่อพระองค์ตรัสรู้ และอยู่ระหว่าง การเผยแพร่พุทธศาสนานั้นหลักธรรมของพระองค์สามารถพิชิตใจของปวงชนได้ เนื่องจากคำสอนที่ประกอบด้วยเหตุผลที่เป็นความจริง ดังนั้นพุทธศาสนาจึงแพร่หลายไปในหมู่ชนทุกชั้นอย่างรวดเร็ว เร็วจนลัทธิอื่น ๆ คาดไม่ถึง ลัทธิเหล่านั้นถึงกับเกิดความเสื่อมโดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์ คณาจารย์ลัทธิพราหมณ์พยายามล้มพุทธศาสนาแต่ไม่สำเร็จ จนมาถึงยุคพระเจ้าอโศกมหาราชพระองค์ทำนุบำรุงพุทธศาสนาจนเจริญอย่างสุดขีด สร้างความเจ็บแค้นในใจแก่พวกพราหมณ์เป็นอย่างมาก จนโอกาสมาถึงเมื่อยุคของพระเจ้าอโศกมหาราชผ่านพ้นไป พราหมณ์ชื่อสุงคะยึดอำนาจได้ จึงเริ่มทำลายพุทธศาสนาอย่างขนานใหญ่ ส่วนศาสนาพราหมณ์นั้นก็เริ่มปรับปรุงตัวอย่างขนานใหญ่แต่งมหากาพย์ขึ้นมา ๒ เรื่องคือมหภารตะและรามายณะหรือรามเกียรติเป็นที่นิยมชมชอบมากที่สุด พราหมณ์ยังเลียนแบบฝ่ายพุทธที่มีไตรสรณคมน์ 3 ประการ จึงสร้างตรีมูรติขึ้นบ้าง คือรวมพระเจ้า 3 องค์ เข้าไป คือพระพรหม พระศิวะและนารายณ์เป็นที่พึ่งสูงสุด ฝ่ายพุทธมีสังฆาราม เป็นที่อยู่อาศัย ฝ่ายพราหมณ์ก็สร้างสังฆารามขึ้นมาบ้าง ฝ่ายพุทธจาริกแสวงบุญตามสังเวชนียสถาน ฝ่ายพราหมณ์ก็สร้างแหล่งจาริกแสวงบุญเช่นกัน การปรับปรุงของฝ่ายพราหมณ์ครั้งนี้ นับว่าได้ผลมาก ทำให้อิทธิพลขยายไปทั่วชมพูทวีป เมื่อสถานการณ์เช่นนี้ คณาจารย์ฝ่ายพุทธไม่สามารถนิ่งดูดายได้จึงปฏิรูปการเผยแพร่พุทธศาสนาเพื่อแข่งกันศาสนาพราหมณ์ โดยปฏิรูป 2 แนวคือ ก.แนวแห่งบุคลาธิษฐาน ข.ปฏิรูปตามแนวแห่งธรรมาธิษฐาน
เนื่องจากการปฏิรูปลัทธิธรรมดังกล่าว แม้จะเกิดจากพระเถระจาก 18 นิกายก็จริงอยู่ พระเถระเหล่านี้หนักไปในทางการศึกษาปรัชญา ส่วนผู้ที่ปฏิรูปทั้งทางด้านธรรมาธิษฐานและปุคลาธิษฐานคือพุทธบริษัทฝ่ายคฤหัสถ์โดยเฉพาะหนุ่มสาว คณะพุทธบริษัทเหล่านี้พยายามเผยแพร่ศาสนาตามสังคมด้านต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดและสะดวกกว่าพระสงฆ์ เพราะย่อมเคร่งครัดสมณสารูป สามารถเผยแพร่ธรรมได้ทุกกาละเทศะ และคนเหล่านี้ก็ปรารถนาโพธิญาณเช่นกัน
    1. เถรวาทถือว่าการบรรลุพระอรหันต์เป็นสิ่งสูงสุดของจุดหมาย แต่มหายานถือว่าสภาวะการเข้าถึงความเป็นพระโพธิสัตว์สำคัญกว่าพระอรหันต์
    2. เถรวาทเน้นให้ชาวพุทธพึ่งตนเองเป็นสำคัญ พระพุทธองค์เป็นผู้ชี้ทางเท่านั้น ส่วนมหายานได้อนุญาตให้อ้อนวอนพระพุทธองค์และพระโพธิสัตว์ต่าง ๆ ได้ บางนิกายมหายานถือว่าเพียงระลึกพระโพธิสัตว์ก็สามารถพ้นทุกข์ได้
    3. เถรวาทเป็นอเทวนิยมคือไม่นับถือพระเจ้าเป็นผู้สร้าง เชื่อในกฎแห่งกรรม ส่วนมหายานพัฒนาเข้าใกล้ศาสนาพราหมณ์และเทวนิยมมากขึ้นโดยถือว่าพระอาทิพุทธเป็นพุทธะที่สูงสุด ทรงดลบันดาลให้ทุกสิ่งเป็นไปแม้แต่พระพุทธองค์ก็เป็นภาคหนึ่งของพระอาทิพุทธ
     4. เถรวาทรักษาความเดิมของคำสอนทุกประการไม่นิยมเปลี่ยนแปลงคำสอน แม้ภาษาก็ใช้ภาษาเดิมจารึกคือบาลี ส่วนมหายานปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามคำสอนไปมาก และแต่งคัมภีร์จับใส่พระโอษฐ์อยู่เสมอภาษาเบื้องต้นใช้สันสกฤต ก่อนจะใช้ภาษาถิ่นของตนในลำดับต่อมา
     5. เถรวาทมุ่งช่วยตนเองให้พ้นสังสารวัฏฏ์ก่อนช่วยผู้อื่น แต่มหายานเน้นช่วยผู้อื่นก่อน ส่วนตนนั้นจะตามไปภายหลัง จึงเรียกยานของตนว่ามหายาน เรียกเถรวาทว่าหินยานแปลว่ายานเล็ก หรือยานเลว
    6. เถรวาทไม่มุ่งเน้นการฉันมังสวิรัติ คืออาหารเว้นจากเนื้อสัตว์ ยกเว้นเนื้อที่มีพระพุทธองค์ห้ามไว้ เพราะถือว่าทำตนให้เลี้ยงง่าย แต่มหายานถือว่าการทานมังสวิรัติเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง พวกเขาถือว่าที่ผู้ช่วยเหลือสัตว์จะไม่มีเนื้อของเขาในท้องของตนเอง
     7. เถรวาทถือว่าพระศากยมุนีพุทธ พระโอรสพระเจ้าสุทโธธนะเป็นองค์สูงสุด เป็นผู้ก่อนตั้งศาสนาพุทธ แต่มหายานได้ยกฐานะพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ให้เทียมเด่นกับพระองค์ และบางพระองค์ก็ดีเด่นยิ่งกว่าเสียอีกพระพุทธเจ้าที่มหายานยกย่องขึ้น เช่น พระอมิตาภพุทธะ พระมัญชุศรี พระอาทิพุทธะ พระไวโรจนะ เป็นต้น
     8. ตามปกติแล้ว คนส่วนมากต้องการความอุดมสมบูรณ์ในทางกามสุข ทิพยสุข เป็นต้น คนที่ต้องการพ้นจากทุกข์จำนวนน้อยเท่านั้นมหายานจึงมีสุขาวดีพุทธเกษตรเพิ่มขึ้นมา ซึ่งเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าเป็นจำนวนมากเป็นแดนบรมสุข คนที่ไปเกิดมีโอกาสใกล้ชิดพระพุทธเจ้าและอาศัยบารมีของพระพุทธเจ้าทำให้สามารถบรรลุพระอรหันต์ง่ายเข้า
    9. มหายานก้าวหน้าถึงขนาดสอนอภิปรัชญาตรรกศาสตร์ จนเกิดระบบปรัชญาสำคัญขึ้น 3 สาขา คือ สุญญตวาท จิตนิยม จิตอมตวาท ถือว่าเป็นผลงานที่เด่นมากของมหายาน จนเกิดคำขวัญว่า มหายานเพื่อมหาชน
     10. พระพุทธเจ้าในทัศนะของมหายานเป็นทิพยภาวะอันประเสริฐไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่ประการใด มหายานจึงถือว่า คนเรายังอาจเข้าเฝ้าสดับสุรเสียงของพระพุทธเจ้าได้อยู่ด้วยเหตุนี้ มหายานจึงมี 3 กาย คือ
1. สัมโภคกาย คือ พระกายที่เป็นทิพยภาวะ ประทับอยู่ ณ แดนพุทธเกษตร
2. นิรมานกาย คือ พระกายที่พระองค์เนรมิตรขึ้นทำนองอวตารลงมา อาการมีทรงพระชวร ประสูติทางพระวรกายนั้นเป็นสิ่งมายาทั้งสิ้น
3. ธรรมกาย คือสุญญตภาวะ หรือ พระนิพพานนั้นเอง
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจากศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศศาสนา เริ่มจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือเถรวาทและมหายานนิกายมหายานได้แพร่หลายไปทั่วเอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก เมื่อศาสนาพุทธในอินเดียเสื่อมลง พุทธศาสนามหายานในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เสื่อมตามไปด้วย ยังคงเหลือในจีน ทิเบต ญี่ปุ่น เวียดนาม ส่วนนิกายเถรวาทได้เฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งในศรีลังกา และแพร่หลายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พุทธศาสนาได้แพร่หลายไปยังโลกตะวันตกตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่ชาวตะวันตกหันมาสนใจพุทธศาสนามากขึ้นในยุคจักรวรรดินิยมและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

 4. กำเนิดมหายาน
พระพุทธศาสนามหายานเริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 6-7 โดยเป็นคณะสงฆ์ที่มีความเห็นต่างจากนิกายเดิมที่มีอยู่ 18 - 20 นิกายในขณะนั้น แนวคิดของมหายานพัฒนามาจากแนวคิดของนิกายมหาสังฆิกะและนิกายที่แยกไปจากนิกายนี้ จุดต่างจากนิกายดั้งเดิมคือคณะสงฆ์กลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการเป็นพระโพธิสัตว์และเน้นบทบาทของคฤหัสถ์มากกว่าเดิมจึงแยกออกมาตั้งนิกายใหม่ เหตุที่มีการพัฒนาลัทธิมหายานขึ้นนั้นเนื่องจาก แรงผลักดันจากการปรับปรุงศาสนาพราหมณ์ มีการแต่งมหากาพย์รามายณะและมหาภารตะเพื่อดึงดูดใจผู้อ่านให้ภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า กำหนดให้มีพระเจ้าสูงสุด 3 องค์ คือพระพรหม พระนารายณ์ พระอิศวร ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์ ศาสนาพราหมณ์จึงฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ฝ่ายพุทธศาสนาจึงจำเป็นต้องปรับตัว แรงบันดาลใจจากบุคลิกภาพของพระพุทธองค์ ฝ่ายมหายานเห็นว่าพระพุทธองค์เป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ ไม่ควรสิ้นสุดหลังจากปรินิพพาน ทำให้เหมือนกับว่าชาวพุทธขาดที่พึ่ง จึงเน้นคุณความดีของพระองค์ ในฐานะที่เป็นพระโพธิสัตว์ เน้นให้ชาวพุทธปรารถนาพุทธภูมิ บำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ช่วยเหลือผู้อื่น ภายหลังจึงเกิดแนวคิดตรีกายของพระพุทธเจ้าเกิดจากบทบาทของพุทธบริษัทที่เป็นคฤหัสถ์ เพราะลัทธิมหายานเน้นที่การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ ซึ่งพระโพธิสัตว์เป็นคฤหัสถ์ได้ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้คฤหัสถ์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น คณาจารย์ที่สำคัญของนิกายมหายานคือ พระอัศวโฆษ พระนาคารชุน พระอสังคะ พระวสุพันธุ เป็นต้น หลังจากการก่อตัว พุทธศาสนามหายานซึ่งมีจุดเด่นคือสามารถปรับตัวให้เข้ากับความเชื่อดั้งเดิมที่แตกต่างไปในแต่ละท้องถิ่นได้ง่ายกว่าพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งเป็นแบบดั้งเดิมได้แพร่กระจายออกจากอินเดียไปในทวีปเอเชียหลายประเทศ



This page is powered by Blogger. Isn't yours?

สมัครสมาชิก บทความ [Atom]