วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

 
บทที่ 1 กลุ่มพฤติกรรมนิยม


ทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม

บทความของ John B. Watson (1979-1958)ชื่อ “Psychology as the Behaviorist views It” ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1931 สกุลใหม่ของจิตวิทยาชื่อ พฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ซึ่งมีรากฐานจากการศึกษาพฤติกรรมสัตว์ได้เกิดขึ้น วัตสันมีความเห็นว่าสิ่งที่นักจิตวิทยาสมัยก่อนหน้าเขาได้ศึกษากัน และวิธีใช้ศึกษาใช้ไม่ชัดเจนหรือปรนัยพอที่จะถือว่าเป็นการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ได้ เขได้ตั้งคำถามที่ท้าทาย “สิ่งที่เรียกว่าจิตคืออะไรกันแน่?” “เราจะเชื่อถือการรายงานของผู้พินิจภายในเกี่ยวกับอะไรที่กำลังดำเนินอยู่ในจิตสำนึกของพวกเขาได้อย่างไร?” “เราจะอย่างไรเมื่อผู้พินิจภายในรายงานไม่ตรงกันต่อสิ่งเร้าเดี่ยวกัน?” วัตสันได้โตแยงว่า เป็นสิ่งที่ดีกว่าที่ได้ศึกษาเนื้อหาวิชาที่เฉพาะเจาะจง ที่สามารถถูกสังเกตโดยผู้สำรวจคนใดก็ได้ที่สนใจ ดังนั้นเนื้อจิตวิทยาที่ถูกต้องคือ พฤติกรรม (Behavior) เราทุกคนสามารถพฤติกรรมของผู้รับการทดลอง และระชั้นที่พฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นในเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง เราควรที่จะค้นพบว่า อะไรเป็นตัวกำหนดของพฤติกรรมสิ่งเร้าอะไรกำหนดการตอบสนองอะไร ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเปลี่ยนแปลงไปกับประสบการณ์อย่างไร โปรแกรมเช่นนี้ วัตสันได้ตั้งข้อสังเกต สามารถที่จะขยายขอบข่ายของจิตวิทยาการทดลองได้อย่างกว้าขว้างและลึกซึ้ง

กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) นักจิตวิทยามีชื่อเสียง 3 คนคือ John B. Watson พาฟลอฟ (Ivan P. Pavlov) วัตสัน (John B. Watson) และ สกินเนอร์ (B.F. Skinner) บุคคลที่เริ่มแนวความคิดแบบพฤติกรรมจริงๆคือ วัตสัน (John B. Watson: ค.ศ.1878-1958) วัตสันได้คัดค้านการศึกษาจิตวิทยาที่จำกัดขอบเขตอยู่เพียงหน้าที่หรือโครงสร้างของจิตหรือแม้แต่เพียงจิตไรสำนึกเท่านั้น วัตสันเชื่อว่าการศึกษาจิตต้องศึกษาถึงพฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถศึกษาได้โดยวิธีวิทยาศาสตร์ คำว่าพฤติกรรมนี้ วัตสันหมายความถึง การตอบสนองของอินทรีย์ทางกล้ามเนื้อและทางต่อม สิ่งที่วัตสันสนใจมากที่สุดคือ ปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex Action) โดยนำเอาความคิดเกี่ยวกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง (Stimulus Response) มาใช้เป็นหลักสำคัญในการศึกษาพฤติกรรม

บุคคลกลุ่มแรกที่ให้คำอธิบายเกี่ยวกับบุคลิกภาพตามแนวคิดของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม คือ พาฟลอฟ วัตสัน และ สกินเนอร์ ซึ่งได้นำเสนอทฤษฎีการเรียนรู้แบบคลาสสิก และลงมือกระทำ นักคิดในทฤษฎีกลุ่มนี้ไม่ค่อยให้ความเชื่อถือแจงจูงใจภายในตัวบุคคล ว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดลักษณะพฤติกรรมและบุคลิกภาพ แต่ให้ความสนใจกับสิ่งเร้าภายนอก รวมทั้งกระบวนการให้การเสริมแรงมากกว่าโดยให้ความเห็นว่า บุคคลจะมีบุคลิกภาพเช่นไร ขึ้นอยู่กับเขาได้รับการเสริมแรงจากบุคคลและกลุ่มสังคมในวัยที่ผ่านมาอย่างไร เช่นคนที่มีนิสัยก้าวร้าวแล้ว ได้รับการชื่นชม (เสริมแรงทางบวก) คนที่ขี้อายจะได้รับความชมเชยเมื่อแสดงความขี้อาย (เสริมแรงทางบวก) หรือถูกทำโทษเมื่อแสดงตน (เสริมแรงทางลบ) นอกนั้นแล้ว ทฤษฎีนี้ยังเชื่อว่า พฤติกรรมหรือบุคลิกภาพของบุคคลเกิดจากการสังเกตตัวแบบ แล้วมีการเลียนแบบเกิดขึ้น อย่างไรก็ดีนักทฤษฎีกลุ่มนี้มักถูกวิพากษ์ว่า อธิบายบุคลิกภาพของบุคคลอย่างผิงเผิน โดยลืมนึกถึงพลังขับด้านชีวภาพและด้านความรู้ความคิดซึ่งเป็นพลังขับที่สำคัญในการกำหนดลักษณะพฤติกรรมและบุคลิกภาพของบุคคลเช่นนั้น

นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือ ไม่ดีไม่เลว ( neutral-passive) การกระทำต่างๆของมนุษย์เกิดจากอิทธิผลของสิ่งแวดล้อมภายนอกพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ “พฤติกรรม” มาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดได้ด้วยการทดลองได้

แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมและการทดลองของกลุ่มพฤติกรรมนิยม

ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism) นักทฤษฎีคนสำคัญคือธอร์นไดค์ (ค.ศ.1814-1949)

ทฤษฎีการว่าเงื่อนไข (Conditioning Thory)

1. แบบอัตโนมัติ (Classical Conditioning) ของพาฟลอฟ (Pavlov ค.ศ.1849-1936) และวัตสัน (Watson ค.ศ.1878-1958)

2. แบบต่อเนื่อง (Contiguous Conditioning) ของกัทธณี (Guthrie ค.ศ.1886-1959)

3. แบบว่างเงื่อนไข (Operant Conditioning) ของสกินเนอร์ (Skinner ค.ศ.1904-1990)





















1. แนวคิดของ Ivan Pavlov (1849-1936)

Ivan Pavlov เป็นชาวรัสเซีย จบการศึกษาทางด้าน Physiology เป็นคนแรกที่ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ การทดลองของเขาเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงว่า การเรียนรู้เป็นเรื่องของการเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการทดลองให้หมายน้ำลายไหลด้วยเสียงกระดิ่ง การทดลองของเขาเรียกว่า “Classical conditioning”

2. การว่างเงื่อนไขแบบคลาสสิก ( Classical Conditioning)

การทดลอง ครั้งแรก Pavlov ให้ข้อสังเกตว่า หมาไม่มีปฏิกิริยาใดๆกับกระดิ่ง แต่สุนัขจะมีน้ำลายเมื่อเห็นอาหาร ในขั้นการทดลอง Pavlov สั่นกระดิ่งและให้อาหารสุนัขทันที ปรากฏว่าสุนัขน้ำลายไหล เขาซ้ำหลายๆครั้งจนในที่สุดสั่นกระดิ่งอย่างเดี่ยวโดยไม่มีอาหาร สุนัขก็น้ำลายไหล Pavlov สรุปว่า ในช่วยนี้สุนัขเกิดการเรียนรู้ (Conditioned หรือ learned) เพราะรู้จักเชื่อมโยงระหว่าเสียงกระดิ่งและอาหาร และมีการตอบสนองต่อเสียงกระดิ่งดังเช่นสนองตอบต่อการเห็นอาหาร นอกจากนั้น Pavlov ยังพบอีกว่า

1. ถ้าสั่นกระดิ่งหลายๆครั้งโดยไม่ให้อาหาร จำนวนน้ำลายที่ไหลจะค่อยๆน้อยลงและหายไปในที่สุด

2. สุนัขจะมีการสนองตอบ (น้ำลายไหล) ต่อเสียงทุกเสียงที่คลายเสียงกระดิ่ง เช่นเสียงนกหวีด เรียกว่า สุนัขเกิดการเรียนรู้ generalization Pavlov ทดลองต่อไปเพื่อให้สุนัขเรียนรู้เฉพาะสิ่งที่ต้องการให้เรียนรู้เท่านั้น (discrimination) โดยการให้อาหารทันทีเฉพาะเสียงกระดิ่งเท่านั้นแต่ไม่ให้อาหารภายหลังเสียงอื่นๆที่คลายคลึงกับเสียงกระดิ่ง ในที่สุดสุนัขจะน้ำลายไหลเฉพาะเสียงกระดิ่งเท่านั้น

การเรียนรู้ “ Classical Conditioning” สามารถอธิบายด้วยไดอะแกรมดังนี้

Before classical conditioning

U C S (food) U C R (salivation)

Bell (neutral) No predictable response

(นำสิ่งที่เป็น neutral มาเป็น conditioned stimulus)



After classical conditioning

Pairing U C S (food) U C R (salivation)

Contiguity C S (bell) C R (salivation)




จากไดอะแกรมสามารถอธิบายได้ดังนี้

1. อาหารเรียกว่า unconditioned stimulus (U C S) เพราะให้เกิดการตอบสนองชนิด unconditioned response ( U C R) อาหารทำให้สุนัขน้ำลายไหลโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีการเรียนรู้ (unlearned หรือ unconditioned)

2. กระดิ่งเป็น neutral เพราะเพราะไม่ทำให้สุนัขเกิดการตอบสนองหรือน้ำลายไหล

3. นำกระดิ่งมาควบคู่กับอาหาร และทำในเวลาใกล้ชิดกัน คือ สั่นกระดิ่งและให้อาหารอย่างทันท่วงที และทำซ้ำๆในที่สุดสั่นกระดิ่งอย่างเดี่ยวทำให้สุนัขน้ำลายไหล ซึ่งขณะนี้กระดิ่งกลายเป็น unconditioned stimulus (CS) และน้ำลายไหลเป็น unconditioned response (CR) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นครั้งหลังเรียกว่าเกิดจากการเรียนรู้ unlearned หรือ unconditioned

การเรียนรู้โดยการว่างเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning learning) ซึ่งการเรียนรู้ชนิดนี้ มีลักษณะการเกิดเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้

1. ผู้เรียนไม่ต้องลงมือกระทำ

2. ผู้เรียนมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่งโดยที่ผู้เรียนไม่สามารถควบคุ่มพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นได้ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex Action) กล่าวคือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ หรือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีการเรียนรู้

3. การเรียนรู้เกิดขึ้นเพราะความใกล้ชิด (Contiguity) และการฝึกหัด (Practice) โดยการนำสิ่งเร้าเป็นกลาง (Neutral) คือสิ่งเร้านั้นไม่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการตอบสนองได้มาเป็นสิ่งเร้าที่ต้องว่างเงื่อนไข (Conditioned stimulus) โดยนำมาจับคู่กับสิ่งเร้าที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการตอบสนอง ในขั้นนี้ถือว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น และเป็นการเรียนรู้ชนิดที่ต้องว่างเงื่อนไข (Conditioning Learning) เกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญในการเรียนรู้ โดยการว่างเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟนี้ จะเกิดขึ้นได้เพราะการใกล้ชิด (Contiguity) ระหว่างสิ่งเร้า 2 สิ่งและการฝึกหัด (Practice) นั้นมีสิ่งที่น่าสังเกตประการหนึ่งคือ พาฟลอฟ ไม่ได้ถือว่าสิ่งที่ไม่ได้ว่างเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus) คือผงเนื้อนั้นจะเป็นรางวัลต่อการหลั่งน้ำลายของสุนัข แต่เขาก็ถือว่าผงเนื้อเป็นสิ่งเร้าเสริมแรง (Reinforcing Stimulus) เพราะมันสามารถทำให้สุนัขหลั่งน้ำลายได้มากขึ้นหลั่งจากที่สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและได้รับผงเนื้อทันที ดังนั้นผงเนื้อจึงเป็นสิ่งเสริมแรง (Rein forcer) ให้สุนัขเกิดการเรียนรู้ขึ้น คือ การหลั่งน้ำลายออกมา แต่นักจิตวิทยาบางท่านในกลุ่มนี้ ได้ วัตสัน (Watson) และ กัทธรี(Guthrie) มิได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับตัวเสริมแรง แต่มีความเห็นว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อมีความใกล้ชิด ระหว่างวิ่งเร้า 2 สิ่งและการฝึกหัดเท่านั้น ไม่เป็นต้องมีตัวเสริมแรง

2.2 การทดลองของพาฟลอฟสรุปเป็นกฎการเรียนรู้ได้ดังนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้

1. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจาการว่างเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อความต้องการการทางธรรมชาติ (สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ผงเนื้อ)

2. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ (สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง)

3. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงเรื่อยๆและหยุดลงในที่สุดเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ (เมื่อสั่นกระดิ่งโดยไม่ให้ผงอาหารติดๆกันหลายครั้งสุนัขจะหยุดน้ำลายไหล)

4. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ต่อสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงและหยุดไปเมื่อไม่ได้การตอบสนองตามธรรมชาติ และจะกลับปรากฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องให้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ (เมื่อผ่านไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง สั่นกระดิ่งใหม่ โดยไม่ให้ผงเนื้อเช่นเดิม สุนัขจะน้ำลายไหลอีก)

5. มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายๆกัน และจะตอบสนองเหมือนๆกัน (เมื่อสุนัขเรียนโดยมีเสียงกระดิ่งเป็นเงื่อนไขแล้ว ถ้าใช้เสียงนกหวีดหรือเสียงระฆังที่คล้ายเสียงกระดิ่งแทนเสียงกระดิ่ง สุนัขก็จะมีน้ำลายไหลได้)

6. บุคคลมีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง (เมื่อใช้เสียงกระดิ่ง เสียงฉิ่ง เสียงประทัด หรือเสียงอื่นเป็นสิ่งเร้า แต่ให้อาหารสุนัขพร้อมกับเสียงกระดิ่งเท่านั้น สุนัขจะน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง ส่วนเสียงอื่นๆจะไม่ทำให้สุนัขน้ำลายไหล)

7. กฎแห่งการลดภาวะ (Law of Extinction) พาฟลอฟ กล่าวว่า ความเข้มของการตอบสนองจะลดลงเรื่อยๆหากบุคคลได้รับแต่สิ่งเร้าที่ว่างเงื่อนไขอย่างเดี่ยว หรือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่ว่างเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่ว่างเงื่อนไขห่างกันออกไปมากขึ้น)

8. กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ (Law of tenuous Recovery) กล่าวคือ การตอบสนองที่เกิดจากการว่างเงื่อนไขที่ลดลง สามารถเกิดขึ้นได้อีก โดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าที่ไม่ต้องว่างเงื่อนไขมาเข้าคู่

9. กฎแห่งการถ่ายโยงการเรียนรู้สู้สถานการณ์อื่นๆ (Law of Generalization) กล่าวคือ เมื่อเกิดการเรียนรู้จากการว่างเงื่อนไขแล้ว หากมีสิ่งเร้าคลายๆกับสิ่งเร้าที่ว่างเงื่อนไขมากระตุ้น อาจทำให้เกิดการตอบสนองเหมือนกันได้

10. กฎแห่งการจำแหนกความแตกจ่าง (Law of Discrimination) กล่าวคือหากมีการใช้สิ่งเร้าที่ว่างเงื่อนไขหลายแบบ แต่มีการใช้สิ่งเร้าที่ไม่ว่างเงื่อนไขเขาคู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ก็สามารถช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยสามารถแยกความแตกต่างและเลือกตอบสนองเฉพาะสิ่งเร้าที่ว่าเงื่อนไขเท่านั้นได้

3. แนวคิดของ John B.Watson

วัตสัน John B.Watson : ค.ศ.1878-1958 เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันเป็นผู้นำความคิดของพาฟลอฟมาใช้ประโยชน์ในอเมริกา และทำให้ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการว่างเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning) ของพาฟลอฟ (Pavlov) เผยแผ่ไปอย่างกว้างขวาง เป็นผู้หนึ่งที่ว่างรากฐานจิตวิทยาแนวพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) และเป็นผู้ตั้งศัพท์พฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ขึ้น ในตอนเริ่มแรกจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมมีความสนใจเฉพาะพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้เท่านั้นเพราะเห็นว่าจิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริงนั้นจะต้องศึกษาพฤติกรรมเฉพาะสิ่งที่สังเกตได้เห็นได้อย่างชัดเจนเท่านั้น ส่วนความรู้สึกนึกคิดอยู่ซึ่งอยู่ภายในจิตสำนึกไม่สามารถศึกษาได้ทางวิทยาศาสตร์ แต่ในปัจจุบันนี้นักจิตวิทยาแนวพฤติกรรมนิยมมีความสนใจตัวแปรต่างๆที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ และได้เรียนรู้ตามแนวพฤติกรรมนิยมนี้ก็เน้นถึงการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขนั้นเอง วัตสันถือว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเพราะวางเงือนไขและการที่พฤติกรรมใดจะมีความเข้มข้นรุ่นแรงนั้น มิใช้เป็นเพราะรางวัลหรือการเสริมแรง แต่เพราะเป็นเพราะการเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับสิ่งเร้าอยู่บ่อยๆ วัตสัน ได้นำหลักการเรียนรู้โดยการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Learning) ของพาฟลอฟ (Pavlov) ไปใช้ โดยทำการทดลองกับเด็กชายวัย 2 ขวบ ชื่อ อัลเบิร์ต (Albert) โดยที่วัตสัน (Watson) จึงใช้สถานการณ์เหล่านี้มาวางเงื่อนไขกับอัลเบิร์ตจะกลัวหนูขาว โดยครั้งแรก เมื่อนำหนูขาวเข้ามาใกล้อัลเบิร์ต และขณะที่อัลเบิร์ตจะยื่นมือเข้าไปจับหนูขาวนั้น วัตสัน (Watson) ได้ตั้งข้อสังเกตว่าโดยธรรมชาติของเด็กมักจะไม่กลัวสัตว์ประเภท นก หนู แต่กลับจะเข้าไปหาเขาไปเล่น และโดยธรรมชาติอีกเช่นกัน ถ้าเด็กได้ยินเสียงดังก็จะเกิดอาการตกใจกลัว ดังนั้น วัตสัน (Watson) จึงใช้สถานการณ์เหล่านี้มาวางเงื่อนไขกับอัลเบิร์ต

3.1 การทดลองของวัตสัน (Watson)

Watson & Rayner 1920 ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ของคน โดยใช้เด็กชาย อัลเบิร์ต (Albert) อายุประมาณ 2 ขวบเป็นตัวทดลอง โดยที่เขาให้ขอสังเกตว่า โดยธรรมชาติแล้วเด็กๆจะไม่กลัวเสียงที่ดังขึ้นมาอย่างกะทันหัน และโดยธรรมชาติอีกเช่นกัน เด็กๆมักไม่กลัวสัตว์ประเภทหนู กระต่าย ฯลฯ ในช่วงการทดลอง เขาปล่อยให้อัลเบิร์ต เล่นกับหนูขาว ขณะที่อัลเบิร์ตเอื้อมมือจับหนูขาว วัตสันใช้ค้อนตีแผ่นเหล็กเสียงดังสนั่น เด็กแสดงอาการตกใจกลัวหลังจากนั้นเด็กแสดงอาการกลัวหนู ถึงแม้ว่าจะไม่มีเสียงฆ้องตีดังก็ตาม

ในสถานการณ์เช่นนี้ เด็กเกิดการเรียนรู้ชนิดเชื่อมโยงระหว่างเสียงดัง ซึ่งทำให้เด็กเกิดความกลัวขึ้นตามธรรมชาติ (เป็น unconditioned stimulus-response) กับ หนู ซึ่งครั้งแรกเด็กไม่กลัว แต่เมื่อนำมาคู่กับเสียงดัง เด็กเกิดการเชื่อมโยงระหว่างเสียงดังกับหนู ในที่สุดทำให้เด็กกลัวหนูได้ ดังนั้น หนูจึงกลายเป็น CS ซึ่งทำให้เกิดความกลัว CR ดังไดอะแกรม



เสียงดังอย่างกะทันหัน เกิดความกลัว

U C S U C R

นำหนูและเสียงดังมาคู่กัน

หนู (Neutral) ไม่กลัว

หนู กลัว

C S C R

จากการทดลองของวัตสัน (Watson) ปรากฏว่า อัลเบิร์ต (Albert) มิได้กลัวแต่เพียงหนูเท่านั้น แต่จะกลัวสัตว์มีขนทุกชนิด รวมเสื้อที่เป็นขนด้วย ความสำเร็จครั้งนี้ของวัตสัน (Watson) ทำให้เขาคิดว่าเขาสามารถควบคุมพฤติกรรมทุกชนิดของคนได้ สามารถจะให้ใคร เป็นอะไรก็ได้ทั้งนั้น โยมิต้องคำนึงถึงสติปัญญา ความสามารถ

ความคิดของวัตสัน (Watson) ได้มีผู้โต้แย้งและถกเถียงอย่างรุนแรงเนื่องจากวัตสัน (Watson) มีทัศนคติที่แข็งกร้าวเชิงวิทยาศาสตร์ในเรื่องการเลี้ยงดูเด็ก โดยเฉพาะการนำเอาเด็กอายุ 2 ขวบ มาทำการทดลอง อย่างไรก็ตาม วัตสัน (Watson) มิได้นำความคิดของเขาไปใช้โดยตลอดรอดฝั่ง แม้ว่าเขาจะสนใจที่จะนำเอาการค้นคว้าในทางจิตวิทยาไปใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ก็ตาม แต่ในสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นก็ไม่ค่อยมีผลการวิจัยที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติเท่าไรนัก ต่อมาความคิดทางจิตวิทยาของเขาก็เสื่อมความนิยมลงอย่างรวดเร็วประกอบกับเขาเองก็ได้ผละออกจากวงการศึกษาและหันไปสนใจด้านธุรกิจโฆษณา ในปัจจุบันจึงมีผู้รู้จักเขาในฐานะผู้สนับสนุนกลุ่มพฤติกรรมนิยมอย่างแข็งขันมากกว่าในฐานะผู้สร้างทฤษฎี นั้นคือ การนำเอาหลักการเรียนรู้ โดยการว่างเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Learning)ของ พาฟลอฟ (Pavlov) มาใช้ในรูปแบบการขยายผลการทดลองนั้นเอง

จากการทดลองของวัตสัน (Watson) สรุปเป็นกฎการเรียนรู้ได้ดังนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้

1. พฤติกรรมเป็นที่สามารถควบคุ่มให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุ่มสิ่งเร้าที่ว่างเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าทางธรรมชาติ และการเรียนรู้จะคงทดถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่ไปอย่างสม่ำเสมอ

2. เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้

4. แนวคิดของ B.F.Skiner

B.F. Skinner (b. 1904) เป็นนักจิตวิทยาของกลุ่มพฤติกรรมนิยมในปัจจุบันนี้ ข้อค้นพบที่สำคัญและมีอิทธิพลมากของเขาคือ หลักเกณฑ์การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning) แม้ว่า

สกินเนอร์ได้ใช้หนู และนกพิราบทดลองมากมายที่มีผลโดยตรงกับมนุษย์ด้วย เครื่องยนต์สอน (Teaching Machine) และโปรแกรมการปรับพฤติกรรมเป็นผลของการประพฤติหลักเกณฑ์ของการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ซึ่งนับว่ามีประโยชน์มากทีเดียว

ความคิดเห็นของสกินเนอร์เกี่ยวกับการเรียนรู้ สกินเนอร์เห็นว่าการเรียนรู้มีอยู่ 2 ชนิดคือ

1. Classical conditioning ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากมีสิ่งเร้าจากภายนอกมากระตุ้น ให้แสดงพฤติกรรม ซึ่งมีลักษณะที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ (การแสดงพฤติกรรมของเร้ามีเป็นจำนวนไม่น้อยที่มีลักษณะ reflex)และเมื่อมีสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับ UCS ซึ่งทำให้เกิด UCR ในที่สุดสิ่งเร้าใหม่นั้น (CS) จะทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นได้ (CR) การเรียนรู้ชนิดนี้ สกินเนอร์ (Skinner) เรียก respondent behavior ซึ่งมีลักษณะการเรียนรู้ของ Watson แต่แตกต่างกันตรงที่ สกินเนอร์ (Skinner) เน้นเกี่ยวกับ UCS ซึ่งให้ทันทีหลังจากที่ให้ stimulus ใหม่ (CS) ว่าเป็น reinforce (มีลักษณะเดียวกับ Pavlov)

2. Operant conditioning การเรียนรู้ชนิดนี้ ผู้เรียนต้องเป็นผู้กระทำเอง มิต้องรอให้สิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้น แต่เกิดจากสิ่งเร้าภายในตัวผู้เรียนเองเป็นสิ่งกระตุ้นให้คนแสดงพฤติกรรม การแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ เช่น การเดิน การพูด การเล่น การทำงาน ฯลฯ การที่เร้ากินอาหาร จะมีสาเหตุเนื่องมาจากความหิว ซึ่งเป็นความต้องการทางร่างกาย มิใช่เนื่องมาจากเห็นอาหาร (S) แล้วก็กิน (R) แต่เร้ากินอาหารเพราะเราหิวซึ่งเป็นความต้องการของร่างกาย การแสดงพฤติกรรมกินอาหาร เป็นสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องกระทำ (Operant response) ซึ่งการเรียนรู้ประเภทนี้มิได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าจากภายนอก สกินเนอร์ (Skinner) เห็นว่า พฤติกรรมของคนส่วนใหญ่มีลักษณะเป็น operant learning และสิ่งสำคัฐที่ทำให้คนแสดงพฤติกรรมซ้ำเดิม คือ reinforcement

5. การว่างเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning)

การทดลองของสกินเนอร์

เบอร์รัส สกินเนอร์ (Burghs Skinner 1904-1990) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันทฤษฎีของ

สกินเนอร์เป็นทฤษฎีที่มีประโยชน์ในการอธิบายพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม โดยสิ่งเร้าทำให้เกิดพฤติกรรมและผลของพฤติกรรมนั้น และสิ่งที่สำคัญของการว่างเงื่อนไขแบบการกระทำก็คือ จะเน้นที่ผลของพฤติกรรม ในสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ จะมีสิ่งเร้าที่ทำให้อินทรีย์ (Organism) แสดงพฤติกรรมออกมา ซึ่งพฤติกรรมนั้นจะมีผลออกมา และผลนั้น มีผลทำให้พฤติกรรมที่อินทรีย์แสดงออกมาเพิ่มขึ้นถ้าผู้แสดงพฤติกรรมพอใจในผลของพฤติกรรมนั้นหรือพฤติกรรมลดลง ถ้าผู้แสดงพฤติกรรมไม่พอใจในผลของพฤติกรรมนั้น

สกินเนอร์มีแนวคิดว่าพฤติกรรมของมนุษย์ส่วนมากจะเป็นพฤติกรรมประเภท Operant Behavior ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่คนและสัตว์เป็นผู้กระทำต่อสิ่งแวดล้อมของตนเอง ดังนั้น บางครั้งการเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า การว่างเงื่อนไขแบบปฏิบัติการ (Instrumental Conditioning)

การทดลองการว่างเงื่อนไขแบบการกระทำแบบสกินเนอร์ในห้องปฏิบัติการ การทดลองโดยนำหนูที่หิวไปไว้ในกล่องของสกินเนอร์ (Skinner Box) ภายในกลองมีคาน เหนือคานมีหลอดไฟฟ้าใต้คานมีถาดสำหรับรองรับอาหารที่ตกลงมาเวลากดคาน เนื่องจากความหิวหนูจะสำรวจไปรอบๆกล่องจนที่สุดเกิดกดคานโดยบังเอิญก็มีอาหารตกลงมาที่ถาดอาหาร หนูก็จะได้กินอาหารและในไม่ช้าก็จะกดคานซ้ำอีก อาหารในที่นี้ทำหน้าที่เป็นการเสริมแรงต่อการตอบสนองโดยการกดคานในที่สุดหนูก็จะกดคานบ่อยขึ้น หลักเกณฑ์ต่างๆที่ค้นพบในการว่างเงื่อนไขแบบคลาสสิกจะพบในการว่างเงื่อนไขแบบปฏิบัติการด้วย เช่น ถ้าหนูกดคานแล้วไม่มีอาหารตกลงมาที่ถาดอาหาร การกดคานจะค่อยๆลดน้อยลง จนกระทั่งตอนหลังจะหยุดกดคาน เรียกว่าเกิด Extinction เนื่องจากไม่ได้รับการเสริมแรง หลังจากที่เกิด Extinction แล้ว ถ้านำหนูออกจากกล่องของสกินเนอร์ และให้พักช่วงเวลาหนึ่ง แล้วนำมาไว้ในกล่องของสกินเนอร์อีกโดยไม่ได้ให้การเสริมแรง หนูจะมีการตอบสนองโดยการกดคานเรียกว่าเกิดการฟื้นเอง (Spontaneous Recovery)

การทดลองเกี่ยวกับการจำแนกความแตกต่างเกี่ยวกับสิ่งเร้าในการว่างเงื่อนไขแบบการกระทำนี้จะให้อาหารเวลาหนูกดคานตอนไฟเปิด ถ้ากดคานตอนไฟปิดจะไม่ให้อาหาร ตอนหลังหนูจะเรียนรู้การจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้า (Stimulus Discrimination) โดยจะกดคานเฉพาะไฟเปิดเท่านั้น ส่วนการทดลองเกี่ยวกับการแผ่ขยายสิ่งเร้าทำการทดลองโดยการนำนกพิราบมาทดลองในกล่องของสกินเนอร์ ถ้าหากนกพิราบรู้ว่าถ้าจิกวงกลมขนานกลางแล้วจะได้กินอาหาร ตอนหลังนกจะจิกวงกลมขนาดใหญ่ และขนาดเล็กกว่าระกลางซึ่งมีรูปร่างคลายกัน แสดงว่านกเรียนรู้แผ่ขยายสิ่งเร้า (Stimulus Generalization)

การดัดพฤติกรรม (Shaping Behavior)

เป็นกระบวกการที่ฝึกอินทรีย์ให้มีพฤติกรรมตามที่ต้องการ โดยผู้ทำการฝึกจะให้สิ่งเสริมแรงทันทีกับพฤติกรรมที่ต้องการหรือเกือบเป็นพฤติกรรมที่ถูกต้อง เพราะพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ส่วนมากมักประกอบด้วยการตอบสนองแบบงายๆมากกว่าหนึ่งอย่างขึ้นไปจะไม่เกิดขึ้นโดยการตอบสนองเพียงครั้งเดียว ดังนั้น ผู้ทำการฝึกจะต้องทราบพฤติกรรมขั้นสุดท้ายที่ต้องการ แล้วค่อยๆ ให้การเสริมแรงทีละขั้นจนถึงขั้นสุดท้าย เช่นผู้ฝึกสามารถจะฝึกนกพิราบให้จิกวงสีดำของกล่องสกินเนอร์ได้ โดยตอนแรกเมื่อนกเข้าไปใกล้วงกลมสีดำก็ให้อาหารหรือให้แรงเสริมทันที และพอที่นกมีพฤติกรรมที่พอเป็นพฤติกรรมที่ต้องการให้การเสริมแรงทุกครั้ง จนในที่สุดนกสามารถจิกวงกลมสีดำได้ วิธีการดัดพฤติกรรมของสกินเนอร์นี้เป็นวิธีใช้ในการฝึกสัตว์ที่ใช้ในการแสดง โดยให้อาหารเป็นการเสริมแรง เช่น กรณีที่เด็กสายตาสั้นและเอียงจะต้องใส่แว่นตา ถ้าไม่ใส่จะอ่านหนังสือไม่ได้ แต่เด็กไม่ชอบใส่แว่นตา ก็สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กได้โดยใช้วิธีดัดพฤติกรรม โดยเอาแว่นตาว่างไว้ในห้องเด็ก พอเด็กจับแว่นตาก็ให้ขนนเด็กรับประทาน ซึ่งเป็นการให้สิ่งเสริมแรง ในช้าเด็กจะเริ่มถือแว่นตารอบห้อง จนที่สุดเด็กจะเริ่มใส่แว่นตา จากการให้การเสริมแรงทีละขั้น จนที่สุดเด็กจะเริ่มเรียนรู้การใส่แว่นตา

สกินเนอร์พบว่าเด็กต้องการให้พฤติกรรมแบบการกระทำคงอยู่จะต้องให้การเสริมแรง (Reinforcement) ซึ่งสกินเนอร์แบ่งสิ่งเสริมแรงเป็น 2 ชนิด คือ

1.สิ่งเสริมแรงบวก (Positive Rein forcer) หมายถึงสิ่งเร้าให้แล้วทำให้อินทรีย์เกิดความพอใจ เช่น อาหาร คำชมเชย เงิน เป็นต้น และทำให้เพิ่มแนวโน้มของการตอบสนองเพิ่มขึ้น เป็นผลเนื่องมาจากพฤติกรรมนั้น อินทรีย์เกิดความพอใจ เช่น หลังจากที่นายแดงขยันทำการการบ้านแล้วมีคนชม ซึ่งจะมีผลทำให้พฤติกรรมขยันทำการบ้านของนายแดงเพิ่มขึ้น

2. สิ่งเสริมแรงลบ (Negative Rein forcer) หมายถึงการเปลี่ยนสถานการณ์หรือเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่ช่วยให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากพฤติกรรมที่อินทรีย์แสดงออก สามารถหลีกเลี่ยงหรือยับยั้งสิ่งเร้าที่ไม่พอใจได้ (Aversive Stimulus) เช่น การที่นักเรียนกลัวว่า การถูกครูดุ(Aversive Stimulus) เนื่องจากทำการบ้านไม่เสร็จ ทำให้นักเรียนทำการบ้านให้เสร็จเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงหรือถอดถอนการถูกครูดุซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่พึงพอใจ

สำหรับตัวเสริมแรงทางลบกับการลงโทษนั้น บางครั้งอาจไม่ใช้สิ่งเดี่ยวกันเพราะตัวเสริมแรงทางลบนั้น หมายถึง สิ่งเร้าที่เราตัดออกไปจากสถานการณ์นั้นเมื่อไรก็มีผลให้อัตราการตอบสนองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งการลงโทษมิได้มีคุณสมบัติเช่นนั้นเสมอไป แต่บางครั้งการลงโทษก็อาจเป็นตัวเสริมแรงทางลบได้ ถ้าหากตัดออกแล้วมีผลให้อัตราการตอบสนองเพิ่มขึ้น

บางครั้งเราสามารถแบ่งตัวเสริมแรงออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือตัวเสริมแรงปฐมภูมิ กับตัวแสริมแรงทุติยภูมิ

ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ (Primary Rein forcer) เป็นสิ่งเร้าที่สามารถตอบสนองตอบความต้องการได้โดยตรง และเมื่ออินทรีย์ได้รับแล้วจะทำให้แรงขับลดลง เช่น เมื่อร่างการเกิดความต้องการอาหาร หรือ น้ำ อาหารหรือน้ำนั้นจะเป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิที่สามารถจะลดความหิวหรือกระหายลงได้

ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ (Secondary Rein forcer) เป็นสิ่งเร้าที่มีลักษณะเป็นกลางๆ (Neutral Rein forcer) ต้องนำมาจับคู่กับตัวเสริมแรงปฐมภูมิ (Primary Rein forcer) บ่อยๆจะทำให้สิ่งเร้านั้นมีคุณสมบัติคล้ายกับตัวเสริมแรงปฐมภูมิ (Primary Rein forcer) ไปด้วย นักจิตวิทยาบางท่านจึงเรียกตัวเสริมแรงว่าเป็น Conditioned Rein forcer เช่น เงิน เป็นต้น แม้ว่าเงินจะเป็นเพียงกระดาษ แต่เงินก็เป็นตัวเสริมแรงทุติยภูมิ เพราะเงินสามารถนำไปเชื่อมโยงกับอาหารได้ คือสามารถนำเงินไปซื้ออาหารได้

ตารางการเสริมแรง (Schedules of Reinforcement)

สกินเนอร์ (Skinner) พบว่า สภาพการณ์ที่ใช้ได้ผลในการควบคุ่มอัตราการตอบสนองก็คือ การกำหนดระยะเวลาของการเสริมแรง โดยปกติแล้ว การให้ตัวเสริมแรงทุกครั้งที่อินทรีย์แสดงการตอบสนองที่ถูกต้อง เราเรียกว่า การเสริมแรงแบบ 100% นี้จะใช้ได้ผลดีมากในระยะแรกๆของการฝึก แต่ต่อมาภายหลัง การเสริมแรงเพียงบางส่วนจะได้ผลดีกว่าในแง่ของการตอบสนอง หรือความคงทนของพฤติกรรมนั้นจะจางหายไปช้ากว่าพฤติกรรมที่เสริมแรง 100%

การเสริมแรงเพียงบางส่วนแบ่งออกได้เป็น 4 แบบคือ

1. Fixed Ratio เป็นการเสริมแรงแบบผู้ทดลองกำหนดลงไปว่าอินทรีย์จะต้องแสดงพฤติกรรมตอบสนองกี่ครั้ง จึงจะได้รางวัลเป็นการเสริมแรง 1 ครั้ง เช่น ผู้ทดลองจะกำหนดให้การจิกแป้นสีแดง 3 ครั้ง จึงจะได้อาหาร 1 ชิ้น เป็นต้น

2. Variable Ratio เป็นการเสริมแรงแบบที่ผู้ทดลองไม่ได้กำหนดอย่างแน่นอนว่าอินทรีย์จะต้องแสดงพฤติกรรมตอบสนองกี่ครั้งจึงจะได้รับรางวัลเป็นการเสริมแรง ภายที่อินทรีย์ได้แสดงพฤติกรรมตอบสนองในนาทีที่ 4,9,11,15,18,..เป็นต้น

3. Fixed Interval เป็นการเสริมแรงที่ผู้ทดลองกำหนดลงไปอย่างชัดเจนโดยใช้เวลาเป็นหลักว่าจะให้การเสริมแรงเมื่อไร เช่น ผู้ทดลองอาจจะกำหนดว่าจะให้สิ่งเสริมแรงทุกๆ 3 นาที เป็นต้น กล่าวคือ จะให้สิ่งเสริมแรงในนาทีที่ 3,6,9,12,15,18,..เป็นต้น

4. Variable Interval เป็นการเสริมแรงแบบที่ผู้ทดลองไม่ได้กำหนดเวลาลงไปชัดเจนว่า จะให้รางวัลเป็นการเสริมแรงแก่อินทรีย์เมื่อใด แต่อาจกำหนดไว้กว้างๆเป็นแนวทางว่าจะให้การเสริมแรงกี่ครั้ง เช่น ผู้ทดลองอาจให้สิ่งเสริมแรงแก่อินทรีย์ เมื่อได้แสดงพฤติกรรมตอบสนองในนาทีที่ 4,6,9,13,15,..เป็นต้น

แรงขับกับสภาวะทางอารมณ์ สกินเนอร์ (Skinner) พบว่าช่วงสำคัญที่มีผลต่ออัตราความเข้มของการตอบสนองนั้นเป็นเวลาที่หนูหิว จาการทดลองพบว่าหนูที่หิวมากๆนั้นแรงขับจะสูง อัตราความเข้มในการตอบสนองจะสูงกว่าหนูที่หิวน้อยเกือบ 2 เท่า แต่ในขณะเดียวกันสภาวะทางอารมณ์ก็มีผลทางพฤติกรรมหรือความเข้มในการตอบสนอง ซึ่งสกินเนอร์ (Skinner) เน้นว่า การลงโทษจะมีผลต่อสภาวะทางอารมณ์เป็นอย่างมาก เพราะการลงโทษนั้นถือว่าเป็นการว่างเงื่อนไขในทางลบ และมีผลต่ออัตราความเข้มในการตอบสนองกล่าวคืออินทรีย์แม้จะมีความหิวอยู่มากแต่ถ้าสภาวะทางอารมณ์ไม่ปกติ อินทรีย์ก็จะไม่กระตือรือร้นแสวงหาอาหารเท่าไรนั้น

การลงโทษ (Punishment)

นักจิตวิทยากลุ่มผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำ operant ได้ให้คำอธิบายไว้ดังนี้ การลงโทษหมายถึงการให้สิ่งเร้าที่ผู้เรียนไม่พึงพอใจและไม่ต้องการ ซึ่งเรียกว่า aversive stimuli ซึ่งได้แก่ การดุ การตำหนิ การตบตี การเยาะเย้ย หรือการลงโทษโดยการให้เด็กขัดลายมือเป็นร้อยครั้งสิ่งเล่านี้ไม่มีใครชอบ

การพักชั่วคราว (Time-out)

มีลักษณะเช่นเดียวกับ type I punishment คือลดความถี่หรือจำกัดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ หรือให้ทำพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์อ่อนตัวลง โดยการนำเอาสิ่งที่เด็กไม่พึงพอใจ หรือแรงบวกเสริมออกไปชั่วคราว เป็นการตัดโอกาส ที่จะทำให้เด็กรับแรงเสริมบวกเช่นเด็กที่ชอบก่อกวนในห้องเรียน เพราะเรียกร้องความสนใจ ครูอาจให้ไปอยู่ในห้องว่างๆตามลำพัง สัก 10 นาที แล้วจึงให้กลับเข้ามาเรียนใหม่ หรือการที่นักกีฬาถูกพักการเล่นชั่วคราวในระหว่างการแข่งขัน หรือการที่นักเรียนถูกตัดสิทธิ์บางประการ เป็นต้น

การหยุดดารเสริมแรง (Extinction)

หมายถึงการหยุดให้ความสนใจ (Ignore) หรือไม่ให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ครูไม่ให้ความสนใจกับนักเรียนที่ตะโกนตอบ หรือตอบโดยที่ครูยังไม่ได้เรียก หรือการที่แม่ทำเพิกเฉยไม่สนใจต่อการที่ลูกทำเสียงงอแง โยเย ตลอดจนผู้ที่ให้คำปรึกษาไม่ให้ความสนใจต่อการพูดตำหนิติเตียนตนเองของผู้มารับคำปรึกษา

การกลับมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Spontaneous recovery)

พฤติกรรมที่ไม่ได้รับการเสริมแรง อาจจะค่อยๆกลับมาใหม่ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปทั้งนี้เพราะการใช้วิธี หยุดการเสริมแรง (Extinction) เป็นวิธีที่ให้ผลชั่วคราวที่จะไปลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ถ้าหากว่าใช้วิธีนี้เพียงวิธีเดียว เพราะพฤติกรรมที่ถูกทำให้หายไปนั้นจะค่อยกลับมาใหม่

การสรุปนัยทั่วไป (Generalization)

เมื่อคนเราเรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่งโดยเฉพาะ ย่อมจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน หรือต่างออกไปเล็กน้อยในลักษณะเดียวกัน โดยที่คิดว่าสิ่งเร้านั้นๆเหมือนกัน เช่น นกพิราบของสกินเนอร์ ได้รับการฝึกให้จิกแผ่นพลาสสติกสีแดง ถ้าจิกถูกจะได้อาหารเป็นการเสริมแรง ปรากฏว่านกจะแผ่นสีอื่นๆที่มีสีต่างวออกไปเล็กน้อย เช่น สีส้ม และสีเหลือง แม้จะต่างทั้งสีและขนาด และรูปร่าง

การเรียนในลักษณะ generalization จะเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เช่น ทั้งและพ่อแม่จะมีความรู้สึกพอใจมากซึ่งได้รับการเสริมแรงทางบวกในการใช้วิธีศึกษาหาความรู้อย่างมีประสิทธิภาพในวิชาประวัตศาสตร์ไปใช้ในวิชา เคมี พีชคณิต และวิชาอื่นๆแต่ในบางสถานการณ์เด็กอาจจะทำให้ครูไม่พอใจ เพราะนำสิ่งที่ตนได้รับการเสริมแรงจากทางบ้านไปใช้ในโรงเรียน เช่น การแสดงความคิดเห็น การโต้แย้ง หรือแสดงความไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของครู ทั้งนี้เพราะเห็นว่าทั้งพ่อแม่และครูเป็นผู้ใหญ่เหมือนกัน

การจำแนกแยกแยะ (Discrimination)

เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เหมือนกันด้วยวิธรต่างกัน เมื่อเกิดการเรียนรู้ในลักษณะ Generalization ที่ไม่เหมาะสมดังตัวอย่างกล่าว เป็นความจำเป็นที่จะต้องสอนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในลักษณะจำแนกแยกแยะ รู้ว่าจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เหมือนกันตอบสนองด้วยวิธีการที่แตกต่างกันได้อย่างไร เช่น ครูไม่ใช้พ่อแม้ แม้ว่าจะเป็นผู้ใหญ่เหมือนกันก็ตาม และรู้จักที่จะตอบสนองด้วยวิธีการที่แตกต่างกันในแต่ละสถานการณ์ โดยกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะนี้จำเป็นต้องให้มีการเสริมแรงบวก เฉพาะพฤติกรรมที่พึงประสงค์เท่านั้น เช่น เมื่อใดที่เด็กให้ความสนใจตั้งใจเรียน เชื่อฟัง ให้ความร่วมมือ ฯลฯ และไม่ให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การไม่สนใจเรียน การดื้นไม่เชื่อฟัง หรือการไม่ให้ความร่วมมือ เป็นต้น

โดยแท้ที่จริงแล้ว การแสดงพฤติกรรมในแต่วันถูกควบคุ่มโดยกระบวนการเรียนรู้ ในลักษณะจำแนกแยกแยะเป็นส่วนใหญ่ เช่น การขับขี่รถที่ปลอดภัยในสังคม เพราะคนขับทุกคนเรียนรู้ที่จะตอบสนองไฟแต่ละสีด้วยวิธีการแตกต่างกัน คือไฟเขียว ไฟแดง และไฟเหลือง

การแต่งพฤติกรรม (Shaping)

พฤติกรรมของมนุษย์ค่อยข้างซับช้อน ซึ่งสามารถปรับให้เป็นไปตามที่ต้องการได้โดยการให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับพฤติกรรมปลายทาง-Terminal behavior เป็นคำที่สกินเนอร์ใช้-Biehler & Snowman(1990) p.326)และในขณะเดี่ยวกันไม่ให้ความสนใจพฤติกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์กุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการปรับพฤติกรรมคือ จะต้องให้การเสริมแรงทันไปที่ละขั้น

Nye (1979) กล่าวว่าในการแต่งพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพนั้น มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง 3 ประการคือ

1. ให้การเสริมแรงทางบวกอย่างมากๆในช่วงแรกๆเพราะว่าถ้าผู้เรียนแสดงพฤติกรรมแล้วไม่มีผู้ใดสนใจ จะทำให้ผู้เรียนไม่มีกำลังใจที่พยายามทำพฤติกรรมนั้นๆอีก

2. อย่าคาดหวังที่จะให้เกิดความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วนัก เพราะจะทำให้ไปลดการตอบสนองที่เหมาะสม เช่น การที่คาดหวังจะเด็กขยันหมั่นเพียรในการทำการบ้านเป็นเวลา 90 นาที ภายหลังจากที่เด็กได้รับการแต่งพฤติกรรม 45 นาที ย่อมเป็นความคาดหวังที่มากเกินไปเพราะเด็กอาจจะเกิดความท้อและความเบื่อซึ่งจะทำให้พฤติกรรมย้อนกลับไปที่เดิมอีก เนื่องจากขาดการเสริมแรงที่เพียงพอ

3. การถ่วงเวลาให้การแรงเสริมกับพฤติกรรมปลายทางออกไปโดยการเพิ่มเวลาให้มากขึ้นจะทำให้พฤติกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นตามมาด้วย เพราะลักษณะของการเสริมแรงนั้นจะมีผลต่อพฤติกรรมที่พึงเกิด หรือที่ใกล้ๆกันมากกว่าที่จะส่งถึงพฤติกรรมปลายทาง เช่น ครูแต่งพฤติกรรมการศึกษาเล่าเรียนของเด็กโดยให้ศึกษาแต่ละวิชาเป็นเวลาหลายๆชั่วโมง ในแต่สัปดาห์ (เป็นกลยุทธ์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ) โดยที่ไม่ให้เกรดเป็นรายสัปดาห์เมื่อถึงเวลาสอบกลางปี ปรากฏว่านักเรียนดูหนังสือแบบยัดเหยียดจนดึกตื่นเที่ยงคืน การที่นักเรียนทำคะแนนได้สูงโดยวิธีดูหนังสือแบบยัดเหยียดนี้ จะเป็นแรงเสริมได้มากกว่าการค่อยๆดูไปเรื่อยๆโดยแยกเป็นส่วนๆจากข้อสรุปนี้ทำให้ได้ข้อคิดว่า ครูควรจัดให้มีการสอบบ่อยๆเพื่อที่จะได้เสริมแรงอย่างทันท่วงที

ช่วงเวลาการเสริมแรง (Schedules of reinforcement)

มีคำถามเกี่ยวกับการเสริมแรงว่า จำเป็นจะต้องให้ทุกครั้งหรือไม่ คำตอบคือ ในบางสถานการณ์อาจจะต้องให้ทุกครั้ง แต่บางครั้งก็ไม่จำเป็น ในกรณีที่ต้องให้ทุกครั้งคือ เมื่อต้องการจะให้เด็กเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ที่มีลักษณะซับซ้อน ซึ่งเป็นไปในลักษณะการปรับพฤติกรรมการเรียนรู้ดำเนินไปอย่างดีที่สุดเมื่อเด็กได้รับการเสริมแรงทางบวกในทุกๆครั้งที่แสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และไม่ให้ความสนใจพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ โดยวิธีการนี้เรียกว่าเป็นการให้การเสริมแรงทุกครั้งอย่างต่อเนื่อง (Continuous reinforcement schedule)

เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์แล้ว การให้การเสริมแรงทุกครั้งไม่จำเป็นอาจให้เป็นครั้งคราว (Noncontiguous หรือ intermittent)

ทฤษฎีการว่างเงื่องไขแบบ Operant Conditioning ของสกินเนอร์ (Skinner) ได้ทำการทดลองสรุปเป็นกฎการเรียนรู้ได้ดังนี้ (Hergenkah and Olson,) 1993:80-119)

1. ทฤษฎีการเรียนรู้

1.1 การกระใดๆถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่เกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรง แนวโน้มที่ความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลงและหายไปในที่สุด (จากการทกลองโดยนำหนูที่หิวจัดกล่อง ภายในมีคานบังคับให้อาหารตกลงไปในกล่องได้ ตอนแรกหนูจะวิ่งชนโน่นชนนี่ เมื่อชนคานจะมีอาหารตกลงมาให้กิน ทำหลายๆครั้งพบว่าหนูจะกดคานทำให้อาหารตกลงไปได้เร็วขึ้น)

1.2 การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว (จากทดลองโดยเปรียบเทียบหนูที่หิวจัด 2 ตัว ตัวหนึ่งกดคานจะได้อาหารทุกครั้งอีกตัวหนึ่งกดคานบางที่ก็ได้อาหารบางที่ก็ไม่ได้อาหารแล้วหยุดให้อาหารตัวแรกจะหยุดกดคานทันที ตัวที่ 2 จะยังกดไปอีกนานกว่าตัวแรก)

1.3 การทดลองให้เรียนเรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว (จากการทดลองที่นำหนูที่หิวจัดใส่กรงแล้วซ็อดด้วยไฟฟ้า หนูจะวิ่งพล่านจนออกมาได้ เมื่อใส่หนูใส่เข้าไปใหม่มันจะวิ่งพล่านอีก จำไม่ได้ว่าทางไหนคือทางออก)

1.4 การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่ออินทรีย์กระทำพฤติกรรมที่ต้องการ สามารถช่วยให้ปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้ (จากการทดลองโดยสอนให้หนูเล่นบาสเกตบอล เริ่มจากการให้อาหารเมื่อหนูจับลูกบาสเกตบอล จากนั้นเมื่อมันโยนจึงให้อาหารต่อมาเมื่อโยนขึ้นสูงขึ้นจึงให้อาหาร ในที่สุดต้องโยนเข้าห่วงจึงให้อาหาร การทดลองนี้เป็นการทดที่กำหนดให้หนูแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการก่อนจึงให้แรงเสริม วิธีนี้สามารถดัดนิสัยหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้)

3. หลักการจัดการศึกษา/การสอนตามหลักขอสกินเนอร์ Skinner

1. ในการสอนการให้การเสริมแรงหลังตอบสนองที่เหมาะสมของเด็กจะช่วยเพิ่มอัตราการตอบสนองที่เหมาะสมนั้น

2. การเว้นระยะการเสริมแรงอย่างไม่เป็นระบบ หรือเปลี่ยนรูปแบบการเสริมแรงจะช่วยให้การตอบสนองของผู้เรียนคงทนถาวร เช่น ถ้าครูชมว่า “ดี”ทุกครั้งที่นักเรียนตอบถูกสม่ำเสมอ นักเรียนจะเห็นความสำคัญของแรงเสริมน้อยลง ครูควรเปลี่ยนเป็นแรงเสริมแบบอื่นบ้าง เช่น ยิ้ม พยักหน้า หรือบางครั้งอาจไม่ให้แรงเสริม

3. การลงโทษที่รุนแรงเกินไป มีผลเสียมาก ผู้เรียนอาจไม่ได้เรียนรู้หรือจำสิ่งที่เรียนได้เลย ควรใช้วิธีการงดการเสริมแรงเมื่อนักเรียนมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เช่นเมื่อนักเรียนใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ แม้ได้บอกแล้วตักเตือนแล้วก็ยังใช้อีก ครูควรงดการตอบสนองของพฤติกรรมนั้น เมื่อไม่มีใครตอบสนอง ผู้เรียนจะหยุดพฤติกรรมนั้นไปในที่สุด

4. หากต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือปลูกฝังนิสัยให้แก่ผู้เรียนการแยกแยะขั้นตอนการปฏิกิริยาตอบสนองออกเป็นลำดับขั้น โดยพิจารนาให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน เช่น หากต้องการปลูกฝังนิสัยในการรักษาความสะอาดห้องปฏิบัติการ และเครื่องมือ สิ่งสำคัญประการแรกคือ ต้องนำพฤติกรรมที่ต้องการมาจำแนกเป็นพฤติกรรมย่อยให้ชัดเจน เช่น การเก็บ การกวาด การเช็ดถู การล้าง การจัดเรียง เป็นต้น ต่อไปจึงพิจารนาแรงเสริมที่จะให้แก่นักเรียน เช่น คะแนน คำชมเชย การให้เกีรติ การให้โอกาสแสดงตัว เป็นต้น เมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ก็ให้การเสริมแรงที่เหมาะสมทันที

6. การนำหลัก Operant conditioning ไปใช้ในการศึกษา

หลักของการเรียนรู้ชนิด Operant conditioning ที่ไปใช้ในการศึกษาคือ

1. บทเรียนสำเร็จรูป

2. การปรับพฤติกรรม

บทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Instruction)

จากการที่สกินเนอร์ได้ศึกษานกพิราบ โดยการนำการเสริมแรง ไปแต่งพฤติกรรม (Shaping) เพื่อให้นกแสดงพฤติกรรมตาที่ต้องการ ในตรั้งอรกนกจะได้รับเมล็ดถั่วเป็นอาหาร เมื่อเดินมาถึงจานอาหาร และเมื่อนกผงกหัวจะได้รับเมล็ดถั่วเป็นรางวัลอีก และเมื่อนกจิกอาหาร ก็ได้รับเมล็ดถั่วเป็นอาหารอีกเช่นกัน หลังจากที่สกินเนอร์ ได้ว่างเงื่อนไขนกเช่นนี้แล้วเขาได้โยนเมล็ดถั่วเขาไปในกรง ปรากฏว่าก่อนนกพิราบจะกินเมล็ดถั่วนั้น มันแสดงพฤติกรรมทุกอย่างตามที่ได้รับการว่างเงื่อนไข จากการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าเราสามารถนำ reinforcement มาใช้เพื่อให้สัตว์แสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการ ซึ่งสกินเนอร์ ได้นำความคิดนี้มรฝึกสัตว์แสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการ

จากการทดลองกับหนูและนกพิราบสกินเนอร์ได้นำความคิดมาใช้ในการสอน และสร้างบทเรียนสำเร็จรูปขึ้น โดยยึดหลัก Reinforcement

สกินเนอร์ผู้เป็นเจ้าของทฤษฎี Operant conditioning เป็นผู้ที่ได้รับความสนใจจากวงการศึกษามากที่สุด เพราะเป็นผู้ที่เขียนวิจารณ์การเรียนการสอนในโรงเรียน ในปี 1954 สกินเนอร์ได้เสนอแนะวิธีสอนโดยใช้เครื่องช่วยสอน และบทเรียนสำเร็จรูป โดยที่เขามีความคิดเห็นดังนี้

ความคิดเห็นของสกินเนอร์เกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบัน

สกินเนอร์มีความเห็นว่า การจัดการศึกษาในปัจจุบันนี้ ไม่เพียงพอที่ใครจะมีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่อันตรายอีกด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะที่จะพยายามที่จะปรับปรุงการศึกษาในปัจจุบันได้ละเลยสิ่งที่สำคัญ คือ วิชาการ บุคคลที่ตำหนิมากคือนักจิตวิทยาการศึกษาทั้งนี้เพราะพวกนี้สนใจแต่เพียง ผลการเรียน แต่ไม่ได้คำนึงถึง วิธีการช่วยการเรียนให้ได้มีผลดี (1968.p.93)

ข้อเสียของการจัดการศึกษาตั้งแต่อดีต – ปัจจุบันตาความเห็นของสกินเนอร์

1. ครูไม่สามารถให้การเสริมแรงอย่างทันท่วงที ต้องใช้เวลามาก กว่าจะตรวจงานของเด็กแต่ละคนเสร็จ และเมื่อเด็กสอบเสร็จแล้ว ก็ไม่สามารถให้ทราบผลได้อย่างทันท่วงที

2. เนื้อหาต่างๆ ที่นำมาจัดการสอนขาดการจัดขั้นตอนอย่างมีระบบ ระเบียบ บางครั้งยากเกินไปที่เด็กจะเข้าใจได้ การให้แบบฝึกหัดไม่มีความสัมพันธ์กัน

3. การให้การเสริมแรงไม่สม่ำเสมอ และไม่ทั่วถึง เพราะมีนักเรียนเป็นจำนวนมาก

การให้การเสริมแรงในขณะที่กำลังสอนเป็นสิ่งสำคัญเพราะ

1. เป็นการกระตุ้นผู้เรียนโดยให้ทราบว่า เขาได้บรรลุเป้าหมายที่ว่างไว้

2. สร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้น โดยการเสริมบรรยากาศระหว่างครูและนักเรียน

3. เป็นเครื่องแนะให้ผู้เรียนทราบว่าขณะนี้เขาทำผิดหรือถูก

4. เป็นการกระตุ้นให้เด็กแสวงหาการเสริมแรงต่อไป

นักเรียนแต่คนมีความต้องการ การเสริมแรงที่แตกต่างกัน บางคนต้องการสิ่งของรางวัลที่เป็นสิ่งของ แต่บ้างคนต้องการเพียงคำว่า “ถูก” หรือ “ทำต่อไปได้”

ข้อควรระวังในการใช้การเสริมแรง

1. คำพูดหลายๆคำที่ใช้แล้วแทนที่จะให้ผลดี กลับยั่วให้เด็กเกิดอารมณ์ เกิดความรู้สึกต่อต้าน เกิดความรู้สึกสับสน เพราะมิได้รับข้อเสนอแนะตามที่เขาต้องการ เช่น “ทำไมจึงต้องให้บอกกันซ้ำแล้วซ้ำอีก”

2. จากการวิจัยพบว่า คำชมเชย บางครั้งมิใช้เป็นการจูงใจที่สำคัญดังเช่นที่เราคิดว่าควรจะเป็น ฉะนั้นการแสดงการยอมรับโดยการ “พยักหน้า” หรือใช้คำพูดว่า “ถูก” จะมีประสิทธิภาพมากว่าคำชมเชยที่เหลือเฟือ

ผลการวิจัยยังพบอีกว่า คนที่มีใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงจะพอใจกับ Feedback ที่เที่ยงตรงมากกว่า Feedback ทีมากเกินกว่าเหตุ

ข้อดีของการสอบโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปตามความเห็นของสกินเนอร์ (Skinner)

จากผลการทดลองนกพิราบพบว่า การจะให้นกแสดงพฤติกรรมเช่นไรนั้นขึ้นอยู่กับการเสริมแรง ทำให้ สกินเนอร์ ได้ความคิดว่าการจัดการเรียนในโรงเรียนก็สามารถแต่ง (Shape) ให้เป็นไปตามทิศทางที่ต้องการใช้การเสริมแรงเป็นอนุกรมซึ่งมีความต่อเนื่องกัน ดังที่เขาได้ใช้กับนกพิราบ

ความเห็นของสกินเนอร์เกี่ยวกับบทเรียนสำเร็จรูป

1. สามารถให้การเสริมแรงได้ทันท่วงที

2. เด็กสามารถทำงานได้ตามลำพัง พ้นจากการถูกครูดุถูกว่าจากครู ไม่ต้องฟังคำวิพากษ์วิจารณ์หรือเยาะเย้ยจากเพื่อนๆซึ่งทำให้เกิดความสบายใจ ก่อให้เกิดความรู้สึกที่เป็นอิสระ

3. ทำให้เกิดการพึ่งตนเอง และมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น

7. ประเภทของบทเรียนสำเร็จรูป

ผู้เป็นต้นความคิดในการสร้างบทเรียนแบบโปแกรม คือ Sidney Pressey เขาได้สร้าง teaching machine ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1932 บทเรียนที่สร้างขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องช่วยการสอนในระยะแรกเป็นแบบให้เลือกตอบ ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ของ Thorndike เป็นหลัก ซึ่งถือว่าการเรียนรู้มีลักษณะลองผิด – ลองถูก ต่อมาบทเรียนประเภทนั้นเสื่อมความนิยมลง ไม่เป็นที่นิยมใช้

ปัจจุบันมีบทเรียนสำเร็จรูปอยู่ 2 แบบ (เป็นการแบ่งการทดลองของผู้เรียน) ถ้าเป็นการแบ่งตามสื่อจะมี 3 แบบ คือ 1. บทเรียนแบบโปรแกรม 2. เครื่องช่วยสอน 3. บทเรียนประกอบสื่อประสม

1. Linear Program หรือ Constructed response pogrom ของ Skinner (1954)

2. Branching program หรือ intrinsic program ของ Crowder (1961-1963)

1. Linear Program

บทเรียนโปรแกรมของสกินเนอร์ มีฐานอยู่บน operant conditioning โดยที่มีการจัดเนื้อหาที่จะให้เรียนเพื่อที่จะให้ผู้เรียนตอบถูก โดยที่ถือว่าการตอบสนองของเด็กเป็น operant และคำเฉลยเป็น reinforcement ฉะนั้น บทเรียนประเภทนี้นักเรียนจะต้องเป็นผู้คิดหาคำตอบเอง (constructed response) โดยที่สร้างขึ้นเพื่อให้เด็กตอบถูกมากที่สุด

ลักษณะของโปรแกรม

1. บทเรียนแต่ละชุดประกอบด้วยบทเรียนหลายๆกรอบ แต่ละกรอบจะมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ให้เรียนทีละนิด (Small step) ติดต่อเชื่อมโยงกันไปตลอด การให้ข้อมูลที่ละนิดเพื่อช่วยให้ผู้เรียนจำเรื่องราวที่จะให้เรียนได้ติดต่อกันไปโยตลอยไม่ขาดตอน ข้อมูลต่างๆเหล่านี้จัดเรียนลำดับไว้เป็นระเบียบต่อเนื่องกัน จากง่ายไปจนถึงยาก

2. ในการเรียนนั้นกำหนดไว้ว่า จะต้องให้นักเรียนตอบถูกมากที่สุด โยทั่วๆไป 1 คำตอบใน 1 กรอบ แต่อาจจะเป็น 4-5 คำตอบใน 1 กรอบก็ได้ นักเรียนจะต้องคิดหาคำตอบเองตอนแรกๆของบทเรียนจะมีลักษณะชี้แนะช่องทางให้ (Prompt) เพื่อให้ตอบถูก และมีลักษณะที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถทำความเข้าใจด้วยตนเอง และการชี้ช่องทางนี้จะค่อยๆหายไป และหายไปในที่สุด

3. บทเรียนแต่ละกรอบมีลักษณะเป็น Teach - test) สลับกันไปโดยที่บทเรียนต้นๆจะมีลักษณะสอน และกรอบต่อไปจะเป็นการทดสอบ หรือบางกรอบอาจเป็นการทดสอบอย่างเดียวถ้าเนื้อหาเรื่องนั้นยังเกี่ยวกับเนื้อหาข้างต้น

4. ให้รู้ผลของการทำทันทีทันใด ว่าคำตอบนั้น ถูก -ผิด ซึ่งถือเป็น reinforcement เพราะถือว่าการรู้ผลของการเรียนจะช่วยให้การเรียนดีขึ้น มีผลการวิจัยยืนยันโดยเฉพาะการที่รู้ว่าอะไรถูก (positive feedback) มีประสิทธิภาพกว่าอะไรผิด (negative feedback) ฉะนั้น Linear Program จึงพยายามใช้ cue และเนื้อหาที่จะให้เรียนเป็นกรอบเล็กๆติดต่อกันไป เพื่อช่วยให้นักเรียนตอบถูกต้องมากที่สุด (95%) และให้ positive feedback คือให้ทราบแต่ข้อที่ถูก ทั้งนี้เพี่อช่วยให้นักเรียนแต่ละคนเกิดความมั่นใจและกำลังใจที่จะศึกษาหาความรู้ต่อไป

โปรแกรมอื่นๆของ Skinner เช่น การสอนคัดลายมือให้กับเด็กประถม ตัวหนังสือต่างๆพิมพ์ไว้ในกระดาษอาบน้ายาเคมี ถ้าเด็กลากเส้นตามเส้นไปตามตัวหนังสือได้ถูกต้อง จะปรากฏเป็นเส้นสีเทา แต่ถ้าเด็กลากเส้นเฉอออกจากตัวหนังสือจะปรากฏเป็นสีเหลือง ครั้งแรกตัวหนังสือที่จะให้เด็กหัดคัดนั้นพิมพ์ไว้อย่างเรียบร้อย (prompt} cue) เมื่อเด็กค่อยๆมีพัฒนาการขึ้น ส่วนต่างๆจะค่อยๆหายไป จะเหลือเพียงจุด หรือเส้นบางเส้นเท่านั้น

ตามความคิดของ สกินเนอร์ Skinner เห็นว่า จะสามารถนำวิธีการของ operant conditioning มาใช้สอนได้แม้แต่เรื่องเกี่ยวกับการคิด หรือความคิดสร้างสรรค์

หมายเหตุ ในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปให้มีประสิทธิภาพนั้นได้ใช้เกณฑ์ 90/90 โดยลดจากเกณฑ์การตอบถูก 95% ตามที่สกินเนอร์ได้เสนอไว้ เพราะเป็นการยากที่ครูที่ครูจะสามารถสร้างบทเรียนให้ง่ายได้ จนกระทั่งทุกคนทำได้ร้อยละ 95 แต่สภาพที่เป็นจริงไม่ใคร่มีใครสามารถสร้างบทเรียนให้งายพอที่จะให้เด็กตอบถูกได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 นั่นแสดงให้เห็นว่าบทเรียนยังคงมีความยาก ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสกินเนอร์ Skinner ตั้งไว้

This page is powered by Blogger. Isn't yours?

สมัครสมาชิก บทความ [Atom]