วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

 

พุทธประวัติ


พุทธประวัติ

ปฐมเหตุ         

            พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนจะเสด็จมาจุติจากพรหมชั้นดุสิด  มีพระนามว่าท้าวดุสิด  เทวดาทั้งหลายพร้อมใจกันอาราธนาให้เสด็จลงมาจุติยังโลกมนุษย์เพื่อเสด็จตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาเอกของโลกโปรดสรรพสัตว์ให้รู้ตามเพื่อให้สรรพสัตว์ได้บรรลุตามอันเป็นทางหลุดพ้นจากวัฏฏสงสารคือนิพพานได้และเพื่อประโยชน์สุขของสรรพสัตว์หลายอันประมาณไม่ได้  ดังมีในพุทธวงศ์ พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย เล่ม    ภาค ๒  มีใจความที่จะได้นำมาเล่าให้ศาสนิกชนพุทธบริษัทได้ทราบความเป็นมาพอเขาใจตามนัยอธิบายในพุทธวงศ์ พอสังเขปดังนี้

            พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสวยพระชาติมีชื่อว่าสุเมธ ได้เบื่อหน่ายในร่ายกายจึงคิดอย่างนี้ว่า  ขึ้นชื่อว่าการเกิดอีก  ความแตกสลายแห่งสรีระ  เป็นทุกข์  ถูกชราย่ำยีหลงตายก็เป็นทุกข์  จึงแสวงหาพระนิพพานที่ไม่แก่  ไม่  ตาย  แต่เกษม  เมื่อทรงคิดอย่างนี้แล้วก็ได้หลายร้อยโกฏิแก่คนที่มีที่พึ่งและไม่มีที่พึ่ง  เข้าไปหิมวันตประเทศ  มีภูเขา  ชื่อธัมมะ ทำอาศรม  สร้างบรรณศาสลา  สร้างที่จงกรม แล้วทิ้งผ้านุ่งเปลือกไม้แทน ละเว้นการปลูกพืช เก็บแต่ผลไม้บริโภคแต่ผลที่มีอยู่ตามธรรมดา  จากนั้นก็ทิ้งบรรณศาลา  นั่งสมาธิตั้งความเพรียร  ณ.  โคนไม้ นั่ง  ยืน  และเดิน  ภายใน    วัน  ก็บรรลุกำลังแห่งอภิญญา สมัยนั้นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกรพระพุทธเจ้าก็อุบัติ ในกัปเดียวสุเมธดาบส สุเมธดาบสได้เห็นชาวบ้านช่วยกันถ่างป่าทำทางเดินเพื่อให้พระพุทธเจ้าทีปังกรเสด็จผ่านสุเมธดาบสได้เหาะลงมาถามชาวบ้านและได้ขอชาวบ้านอาสาช่วยถ่างป่าเป็นทางเดินแก่พระพุทธเจ้าทีปังกรสุเมธดาบสได้เปลื้องผม  ผ้าเปลือกไม้ และแผ่นหนังปูลาดลงที่ตมแล้วก็นอนคว่ำด้วยความปรารถนาว่า  ขอพระพุทธเจ้ากับศิษย์สาวกทั้งหลาย  จงเหยีบเราเสด็จไป  อย่าทรงเยียบตมเลย  การอันนี้จะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา  สมุธดาบสได้รับพยากรจากพระพุทธเจ้าทีปังกรว่า  ท่านทั้งหลายจงดูชฏิลดาบส ผู้มีตบะสูงผู้นี้  ในกัปที่นับไม่ได้แต่กัปนี้ไป  เขาจะได้เป็นพระพุทะเจ้า  จากนั้นเป็นต้นมาจึงได้ชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ 

            ในสมัยพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็น  กษัตริย์นามว่า  วิชิตาวี  พระองค์ได้เลี้ยงพระขีณาสพจำนวนแสนโกฏิ ผู้ไร้มลทิน  ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่  ให้อิ่มหนำสำราญด้วยอาหารอันประณีต ในสมัยนั้นมีพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระโกณฑัญญพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า  จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หาประมาณมิได้นับแต่กัปนี้

            ในสมัยพระสุมังคลพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์  จุติเป็นพราหมณ์มีชื่อว่า  สุรุจิ  เป็นผู้คงแก่เรียน  ทรงมนต์  จบไตรเพท ได้ถึงพระศาสดาเป็นสรณะ  บูชาพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานด้วยของหอมและดอกไม้  ครั้นบูชาด้วยของหอมและดอกไม้แล้ว  ก็เลี้ยงให้อิ่มหนำสำราญด้วยควปนะ  ขนมแป้งผสมน้ำนมโค  พระมงคลพุทธเจ้า  ได้ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า ท่านผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่นัปไม่ได้  นับแต่กัปนี้ไป

            ในสมัยพระสุมนพุทธเจ้า  พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพยานาคชื่อว่า  อตุละ  มีฤทธิ์มาก  สั่งสมกุสลไว้มาก ได้ออกจากพิภพนาค  พร้อมด้วยเหล่าญาตินาคทั้งหลาย  บำรุงบำเรอพระพุทธเจ้าด้วยดนตรีทิพย์  เลี้ยงดูภิกษุแสนโกฏิ  ให้อิมนำสารญด้วยข้าวน้ำ  ถวายคู่ผ้ารูปละคู่  แล้วถึงพร้อมเป็นสรณะ  พระสุมนพุทธเจ้าได้พยาพยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า   ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หาประมาณมิได้  นับแต่กัปนี้ไป

            ในสมัยพระเรวตพุทธเจ้า ในสมัยนั้นพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพราหมณ์ชื่อว่า  อติเทวะได้เข้าเฝ้าพระเรวตพุทะเจ้า  ถึงพระองค์เป็นสารณะ  ได้สรรเสริญศีล  สมาธิ  ปัญญาธิคุณอันยอดเยียมของพระองค์  ตามกำลัง  ได้ถวายผ้าอุตตราสงค์  พระโพธิสัตว์ได้รับพยากรณ์จากพระเรวตพุทธเจ้าว่า  ท่านผู้นี้จักได้เป้นพระพุทธเจ้าในกัปที่หาประมาณไม่ได้  นัปแต่กัปนี้ไป

            ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระโสภิตพุทธเจ้า  พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพราหมณ์ชื่อว่า  สุชาตะ  ครั้งนั้นได้เลี้ยงดูพระพุทธเจ้าทั้งพระสาวก  ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ  พระโสภิตพุทธเจ้าได้ทรงทรงพยากรณ์ว่าพระโพธิสัตว์ว่า  ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า  ในกัปที่หาประมาณมิได้  นับแต่กัปนี้ไป

            ในสมัยพระพุทธเจ้ามีพระนามว่าพระปทุมพุทธเจ้า  พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นราชสีห์เจ้าแห่งมฤค  ได้เห็นพระชินพุทะเจ้า  ซึ่งกำลังเพิ่มพูนความสงัด  ในป่าใหญ่  เราใช้เศรียรเกล้าถวายบังคมพระบาท ทำประทักษิณพระองค์  บันลือสีหหนาท    ครั้ง  บำรุ่งพระชินพุทธเจ้า    วัน     วัน  ตถาคตทรงออกจากนิโรธสมาบัติทรงพระดำริด้วยพระทัย ก็ทรงนำภิกษุมานับแสนโกฏิ  แม่ครั้งนั้นพระปทุมพุทธเจ้าก็ได้ทรงพยากรณ์กลางภิกษุเหล่านั้นว่า   ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หาประมาณมิได้  นับแต่กัปนี้ไป

            ในสมัยพระนารทพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นชฎิลมีตบะสูง  ถึงฝั่งอภิญาณ  ๕ ท่องเที่ยวไปในอากาศ  ครั้นนั้น  พระโพธิสัตว์เลี้ยงดูพระนารทพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้นี้ไม่มีเสมอ  พร้อมทั้งพระสงฆ์  ทั้งบริวารชนให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าง  น้ำ  บูชาด้วยจันทร์แดง พระนารทพระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า  จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่นับไม่ได้นับแต่กัปนี้ไป

            ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระสุเมธพุทธเจ้า    พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นมานพ  ชื่อ อุตตระ สั่งสมทรัพย์ในเรือนแปดแสนโกฏิ   ถวายทรัพย์เสียทั้งหมดสิ้น  แด่พระผู้นำโลกพร้อมทั้งพระสงฆ์  ถึงพระองค์เป็นสรณะ  ชอบใจการบวชอย่าง  เมื่อพระสุเมธพุทธเจ้าทำการอนุโมทนา  ก็ทรงพยากรณ์ว่า  จักเป็นพระพุทธเจ้า  เมื่อล่วงไปสามหมื่นกัป

            ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าสุชาตพุทธเจ้า  พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นจักรพรรดิ์ผู้เป็นใหญ่แห่งทวีทั้ง    มีกำลังมาก  ท่องเที่ยวไปในอากาสได้  พระโพธิสัตว์มอบถวายสมบัติใหญ่ทั้ง    และ  รัตนะ    แด่พระพุทธเจ้าผู้สูงสุด แล้วก็บวชในสำนักของพระองค์  พวกคนวัดรวมรายได้ในชนบท  น้อมถวายเป็นปัจจัย  ที่นอนและที่นั่งแด่พระภิกษุสงฆ์  ครั้งนั้น   พระพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่แห่งหมื่นโลกธาตุก็ได้ทรงพยากรณ์ว่า  จักเป็นพุทธเจ้าในที่สุดสามหมื่นกัป

            ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระปิยทัสสีพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติมาณพพราหมณ์ชื่อว่า  กัสสปะ  คงแก่เรียน  ทรงมนต์  จบไตรเพท   ฟังธรรมของปิยทัสสีพระพุทธเจ้า  เกิดความศรัทธาเลื่อมใส  ได้สร้างสังฆาราม  ด้วยทรัพย์แสนดกฏิ  ถวายอารามแด่พระองค์แล้ว  ก็ร่าเริงสลดใจยึดสรณะและศีล    ไว้มั่น  พระพุทธเจ้าประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์  ทรงพยากรณ์ว่า  ล่วงไป  ๑,๘๐๐  กัปท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า

            ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระอัตถทัสสีพุทธ   พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นชฎิลผู้มีตบะสูง  โดยชื่อสุสีมะ อันแผ่นดินคือโลก  สมมติว่าเป็นผู้ประเสริฐ  นำดอกไม้ทิพย์คือ  มณฑรพ  ปทุม  และ  ปาริฉัตตกะ   มาจากเทวโลก  บูชาพระพุทธเจ้า  พระมหามุนัอัตถทัสสีพุทธเจ้าพระพุทฑอัตถทัสสีพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า  ล่วงไป  ๑,๘๐๐  กัป  ท่านผู้นี้จะได้เป็นพระพุทธเจ้า

            ในสมัยพระพุทะเจ้ามีพระนามว่าพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า  พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นท้าวสักกปุรินททะ  ได้บูชาด้วยของหอมดอกไม้และดนตรี  อันเป็นทิพย์  พระพุทธเจ้าพระนามว่าธัมมทัสสีพุทธเจ้า ประทับนั่งท่ามกลางเทวดา  ทรงพยากรณ์ว่า  ท่านผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้า

            ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระสิทธัตถพุทธเจ้า  พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นดาบสชื่อมังคละ  มีเดชสูง  อันใครๆพบได้อยาก  ตั้งมั่นด้วยกำลังแห่งอภิญญา ได้นำผลชมพูมาจากต้นชมพู   ถวายแด่พระสิทธัตถพุทธเจ้า  พระพุทะเจ้าทรงรับแล้ว  ตรัสพระดำรัสดังนี้ว่า  ท่านทั้งหลาย  จงดูชฏิลดาบสผู้มีตบะสูงผู้นี้  เก้าสิบสี่กัปนับแต่นี้  ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า

            ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระปุสสพุทธเจ้า  พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นกษัตริย์  นามว่า  พระเจ้าวิชิตะ  (วิชิตาวี)  ละราชสมบัติใหญ่  บวชในสำนักของพระพุทะเจ้าพระปุสสพุทธเจ้า  พระปุสสพุทะเจ้า  ผู้เลิศเลิศแห่งดลกทรงพระยากรณ์ว่า ท่านผู้นี้จักได้เป็นพุทธเจ้า

            ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระวิปัสสีพุทธเจ้า   พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพยานาค  ชื่อว่าอตุละ มีฤทธิ์  มีบุญ  ทรงรัศมีรุ่งโรจน์  แวดล้อมด้วยนาคหลายโกฏิบรรเลงดนตรีทิพย์  เขาไปเฝ้าพระพุทธเจ้าวิปัสสีพุทะเจ้าผู้เจริญในโลก  ครั้นเข้าเฝ้าแล้วก็นิมนต์พระวิปัสสีพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าวิปัสสีประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์  ทรงพยากรณ์ว่า เก้าสิบเอ็ดกัปนับแต่นี้ไป  ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า

            ในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่าพระสิขีพุทธเจ้า  พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นกษัตริย์พระนามว่า  อรินทมะ  เลี้ยงดูพระสงฆ์  มีพระพุทะเจ้าสิขีพุทะเจ้าเป็นประธานให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ  ถวายผ้าอย่างดีเป็นอันมาก  ไม่น้อยนับโกฏิผืน  ได้ถวายยานคือช้างที่ประทับแด่พระสิขีพุทธเจ้า  ชั่งกัปปิยภัณฑ์  ด้วยประมาณเท่าช้างน้อมถวาย  ยังจิตตั้งมั่นให้เต็มด้วยปิติในทานเป็นนิตย์  พระสิขีพุทธเจ้า  ได้ทรงพยากรณ์ว่า  สามสิบเอ็ดกัปนับต่อแต่นี้ไป จักเป็นพระพุทธเจ้า

            ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าเวสสภูพุทธเจ้า  พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระมหากษัตริย์นามว่า  สุทัสสนะ  ได้บูชาพระเวสสภูพุทธเจ้า  ด้วยข้าวน้ำและผ้า  ได้บำเพ็ญมหาทาน  ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน ทราบการบรรพชาว่าพรั่งพร้อมด้วยคุณจึงบวชในสำนักพระเวสสภูพุทธเจ้า พรั่งพร้อมด้วยอาจารคุณ  ตั้งมั่นในวัตรและศีล  กำลังแสวงหาพระสัพพัญญูตญาณ  ก็ยินดีในศาสนาของพระเวสสภูพุทธเจ้า  เข้าถึงศรัทธาและปิติ ถวายบังคมพระพุทธเจ้าองค์ศาสดาก็เกิดปิติ เพราะเหตุแห่งโพธิญาณ  พระพุทธเจ้าเวสสภูพุทธเจ้าทรงทราบว่า  พระโพธิสัตว์มีใจไม่ท้อถอยก็ทรงพยากรณ์ดังนี้ว่า  นับแต่นี้ไปสามสิบเอ็ดกัป  ท่านผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้า

            ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระกกุสันธพุทธเจ้า  พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นกษัตริย์นามว่า  เขมะ   ถวายทานจำนวนไม่น้อยแด่พระกกุสันธพุทธเจ้าและพระสาวก  ถวายบาตรและจีวร  ยาหยอดตา  ไม้เท้าไม้มซาง  ถวายสิ่งของที่ท่านปรารถนาเหล่านี้ล้วนแต่ของดีๆ  พระกกุสันธพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ว่า  ในภัทกัปนี้แล  ท่านผู้นี้จักเป็นพุทธเจ้า

            ในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่าพระโกนาคมนพุทธเจ้า  สมัยนั้นพระโพธิสัตว์เป็นกษัตริย์นามว่า   ปัพพตะ  พรั่งพร้อมด้วยมิตรอมาตย์ทั้งหลาย  ผู้มีกำลังผลและภาหนะหาที่สุดมิได้  ไปเข้าเฝ้าพระโกนาคนนพุทธเจ้า  สดับธรรมอันยอดเยี่ยม  นิมนต์พระโกนาคมนพุทธเจ้าพร้อมพระสงฆ์  ถวายทานจนพอแก่ความต้องการ  ได้ถวายผ้าไหม้ทำในเมืองปัตตุณณะ  ผ้าใหม่ทำในเมืองจีน  ผ้าแพร  ผ้ากัมพล  และฉลองพระบาทประดับทอง  แด่พระโกนาคมนพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย  พระโกนาคมนพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า  ในภัทรกัปนี้ท่านผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้า

            ในสมัยพระพุทะเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปพุทธเจ้า  พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นมาณพ  ปรากฏชื่อว่า  โชติปาละ  ผู้คงแก่เรียน  ทรงมนต์  จบไตรเพท  ถึงฝั่งในลัทธิธรรมของตน  ในลักษณศาตร์  และ  อิหิหาสศาสตร์   ฉลาดรู้พื้นดินและอากาศ  สำเร็จวิชาอย่างสมบูรณ์  อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปพุทธเจ้า  ชื่อว่า  ฆฏิการะ  ผู้น่าเคารพ  น่ายำเกรงอันพระองค์ทรงแนะนำในอริยมรรคผลที่    (อนาคามีผล)  ท่านฆฏิการะพามณพโชติปาละโพธิสัตว์เข้าเฝ้าพระกัสสปะพุทธเจ้า  ได้ฟังธรรมแล้วก็บวชในสำนักของพระองค์  เป็นผู้ปรารถนาความเพียรฉลาดในขอวัตรไม่เสื่อมคล้าย ไม่ว่าในคุณข้อใหนๆยังคำสั่งสอนของพระชินพุทธเจ้าให้บริบูรณ์อยู่  เล่าเรียนนวังคสัตถุศาสตร์  พุทธวจนตลอดทั้งหมด ยังศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้าให้เจริญแล้ว  พระกัสสปพุทะเจ้าด้เห็นความอัศจรรย์ ก็ทรงพยากรณ์ว่า  ในภัทรกัปนี้  ท่านผู้นี้จะได้เป็นพระพุทธเจ้า

บารมี ๑๐พระโพธิสัต์ทรงบำเพ็ญจนเต็ม

            .  ทาน การให้โดยไม่หวังผล

            .  ศีล การรักษาศีลให้เป็นปกติ

            .  เนกขัมมะ การถือบวช

            .  ปัญญา ความรู้

            . วิริยะ ความเพียร

            .  ขันติ ความอดทนอดกลั้น

            .  สัจจะ ความตั้งใจจริง เอาจริง จริงใจ

            .  อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น ไม่เปลี่ยนแปลง

            .  เมตตา ความรักด้วยความปรานี

            ๑๐.  อุเบกขา ความวางเฉย

ประสูติ

วันวิสาขปุรณมี ดิถีเพ็ญเดือน ๖ แห่งปีก่อนพุทธศก ๘๐

            เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเวสสันดรบำเพ็ญบารมีจนเต็มบริบูรณ์แล้ว  ในพระชาติต่อมาซึ่งเป็นชาติสุดท้ายและได้บรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระนามว่าสิทธัตถะ  ในศากยวงศ์  มีเรื่องราวเหตุการณ์เกี่ยวข้องตั้งแต่ก่อนประสูติการณ์  ดังมีมาในพุทธวงศ์ดังนี้

            เหตุการณ์ก่อนประสูติ  กาลใด เรามีชื่อว่า ท้าวสันดุสิต ในหมู่เทพชั้นดุสิต กาลนั้น เทวดาหมื่นโลกธาตุ ประชุมกันประคองอัญชลีอ้อนวอนเราว่า ข้าแต่พระมหาวีระ นี้เป็นกาลสมควรสำหรับพระองค์ ที่จะเสด็จไปอุบัติในพระครรภ์ของพระมารดา เมื่อจะยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก ให้ข้ามโอฆสงสาร ขอโปรดจงตรัสรู้อมตบทเถิด  ท้าวสหัมบดีพรหม เจ้าโลก ประคองอัญชลีทูลขอพรอันยอดเยี่ยมว่า สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย มีอยู่ในโลกนี้ ขอพระองค์ทรงเอ็นดูหมู่สัตว์นี้แสดงธรรมโปรดเถิดตรัสรู้อมตบทเถิด                ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ แม้ถูกเทวดาทั้งหลายทูลวอนขอ ก็มิได้ประทานปฏิญญาคำรับรองแก่เทวดาทั้งหลาย แต่ทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ คือกำหนดกาล ทวีป ประเทศ ตระกูล พระชนมายุของพระชนนี.

               บรรดามหาวิโลกนะ ๕ นั้น ทรงตรวจดูกาลก่อนว่า เป็นกาลสมควรหรือยังไม่เป็นกาลสมควร ในกาลนั้น อายุกาล [ของสัตว์] สูงกว่าแสนปีขึ้นไป ยังไม่ชื่อว่ากาลเพราะเหตุไร

               เพราะทุกข์มีชาติชรามรณะเป็นต้นไม่ปรากฏ ก็ธรรมดาพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ชื่อว่าพ้นจากไตรลักษณ์ ไม่มีเลย  เมื่อพระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้ สัตว์ทั้งหลายย่อมไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสเรื่องอะไร แต่นั้นการตรัสรู้ก็ไม่มี เมื่อการตรัสรู้นั้นไม่มี คำสั่งสอนก็ไม่เป็นนิยยานิกกะนำสัตว์ออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น กาลนั้นจึงไม่เป็นกาลสมควร แม้อายุกาล [ของสัตว์] ต่ำกว่าร้อยปีก็ยังไม่เป็นกาลสมควร   เพราะเหตุไร   เพราะกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายมีกิเลสหนาแน่น และโอวาทที่ประทานแก่สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสหนาแน่น ไม่อยู่ในฐานะควรโอวาท เพราะฉะนั้น กาลแม้นั้นก็ไม่เป็นกาลสมควร  อายุกาลอย่างต่ำตั้งแต่แสนปีลงมา อย่างสูงตั้งแต่ร้อยปีขึ้นไป ชื่อว่ากาลสมควร   บัดนี้ มนุษย์ทั้งหลายมีอายุร้อยปี เพราะเหตุนั้น ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงเห็นว่าเป็นกาลที่ควรบังเกิด  ต่อนั้น ทรงตรวจดูทวีป ทรงเห็นทวีปว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมบังเกิดในชมพูทวีปเท่านั้น ธรรมดาชมพูทวีปเป็นทวีปใหญ่มีเนื้อที่ประมาณหมื่นโยชน์   เมื่อทรงตรวจดูประเทศว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายบังเกิดในประเทศไหนหนอ ก็ทรงเห็นมัชฌิมประเทศ ต่อจากนั้นก็ทรงตรวจดูตระกูลว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายบังเกิดในตระกูลที่โลกสมมติ  บัดนี้ ตระกูลกษัตริย์เป็นตระกูลที่โลกสมมติ จำเราจักบังเกิดในตระกูลกษัตริย์นั้น พระราชาพระนามว่าสุทโธทนะจักเป็นพระชนกของเรา  แต่นั้นก็ตรวจดูพระชนนีว่า สตรีนักเลงสุราเหลวไหลจะเป็นพุทธมารดาไม่ได้ จะต้องเป็นสตรีมีศีล ๕ ไม่ขาด ดังนั้นพระราชเทวีพระนามว่ามหามายานี้ก็เป็นเช่นนี้ พระนางเจ้ามหามายานี้จักเป็นชนนีของเรา เมื่อทรงนึกว่าพระนางเจ้าจะทรงมี พระชนมายุได้เท่าไร ก็ทรงเห็นว่าได้ต่อไปอีก ๗ วันหลังครบทศมาสแล้ว

               ครั้นทรงตรวจมหาวิโลกนะ ๕ ประการนี้ดังนี้แล้วก็ประทานปฏิญญาแก่เทวดาทั้งหลายว่า เป็นกาลสมควรที่เราจะเป็นพระพุทธเจ้า ทรงดำรงอยู่ในภพดุสิตนั้นตลอดชนมายุแล้วจุติจากภพดุสิตนั้น ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์พระนางเจ้ามายาเทวีในราชสกุลศากยะ  ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวเป็นต้นว่า พระโพธิสัตว์จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิตแล้ว เสด็จ ลงในพระครรภ์ ในกาลใด ในกาลนั้น หมื่นโลกธาตุ ก็ไหว แผ่นปฐพีก็ไหวในราตรีกาลวันอาสาฬหปุรณมี เพ็ญเดือน ๘ นั้น พระนางเจ้ามายาราชเทวีทรงอธิฐานสมาทานอุโบสถศีล เสด็จบรรทมบนพระแท่นที่ ในเวลารุ่งสุริยรังษีปัจจุบันสมัย ทรงพระสุบินนิมิตว่า

        "ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ มายกพระองค์ไปพร้อมกับพระแท่นที่ผทม เอาไปวางไว้บนแผ่นมโนศิลา ภายใต้ต้นรังใหญ่ แล้วมีนางเทพธิดามาทูลเชิญให้เสด็จไปสรงน้ำในสระอโนดาษ ชำระล้างมลทินแห่งมนุษย์แล้ว ทรงผลัดด้วยผ้าทิพย์ ลูบไล้ด้วยเครื่องหอมอันเป็นทิพย์ ทั้งประดับด้วยทิพย์บุบผาชาติ ใกล้ภูเขาเงินภูเขาทอง แล้วเชิญเสด็จให้เข้าผทมในวิมานทอง บ่ายพระเศียรไปยังปราจีนทิศ (ตะวันออก) ขณะนั้นมีเศวตกุญชร ช้างเผือกเชือกหนึ่ง ชูงวงจับดอกปุณฑริกปทุมชาติ (บัวขาว) เพิ่งแย้มบาน กลิ่นหอมฟุ้งตระหลบ ลงจากภูเขาทองด้านอุตตรทิศ ร้องก้องโกญจนาทเดินเข้าไปในวิมาน ทำปทักษิณเวียนพระแท่นที่ผทมได้ ๓ รอบ แล้วปรากฏเสมือนเข้าไปสู่พระอุทรทางเบื้องขวาของพระราชเทวี" ก็พอดีพระนางเจ้าเสด็จตื่นบรรทม ขณะนั้นก็พลันบังเกิดกัมปนาทแผ่นดินไหว มีรัศมีสว่างไปทั่วโลกธาตุ เป็นบุพพนิมิตโดยธรรมนิยม ในเวลาพระบรมโพธิสัตว์เจ้าเสด็จลงปฏิสนธิในพระครรภ์พระนางเจ้ามายาราชเทวี

            เมื่อครรภ์พระนางแก่จวนครบทศมาส (๑๐ เดือน) ธรรมเนียมของคนอินเดียสมัยนั้น (ถึงแม้ขณะนี้ ยังปฏิบัติกันอยู่ แต่โดยมากเฉพาะลูกคนแรก) ฝ่ายหญิงจะเดินทางไปอยู่คลอดบุตร ที่บ้านพ่อแม่ของตน พระนางมายาเทวี จึงเสด็จกลับยังพระราชวังเดิมของกษัตริย์โกลิยะ (พระราชบิดาของพระนาง) ที่เมืองเทวทหะนคร ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์นัก เมื่อขบวนยาตราไปได้ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร จากกบิลพัสดุ์ถึงป่าลุมพินี พระนางเจ้าประชวรพระครรภ์หนักจะประสูติ จึงให้หยุดขบวนประทับ ใต้ต้นสาละ ทรงยืนเหนี่ยวกิ่งสาละ ณ วันวิสาขปุรณมี ดิถีเพ็ญเดือน ๖ แห่งปีก่อนพุทธศก ๘๐ เวลาสายใกล้เที่ยง เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร ก็ได้ประสูติ จากครรภ์พระมารดา ทรงเพียบพร้อมด้วย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการครบบริบูรณ์ อันเป็นลักษณะแห่ง องค์พุทธางกูรโดยเฉพาะ  และเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งที่พระองค์ได้เสร็จออกจากพระครรภ์แล้ว ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ก้าวพระบาทออกไปได้ ๗ ก้าว พร้อมกับกล่าววาจา ประกาศความสูงสุดว่า  อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส เชฏฺโฐ เสฏฺโฐ หมสฺมิ อยนฺติมา เม ชาติ นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว ฯ   "เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ภพใหม่ของเราจะไม่มีอีกแล้ว" ดังนี้เป็นบุพนิมิตหมายว่า พระองค์จะประกาศรัศมีแห่งธรรมของพระองค์ไปใน เจ็ดชนบทน้อยใหญ่ ของอินเดียสมัยนั้น พระองค์ประสูติบริสุทธิ์ ไม่เปรอะเปื้อนพระองค์ ด้วยครรภ์มลทิน มีหมู่เทพยดามาคอยรับ ก่อนที่พระวรกายจะถึงแผ่นดิน มีธารน้ำร้อนน้ำเย็น พร้อมที่จะสรงสนาน พระวรกาย



อสิตดาบสเยี่ยมพระราชโอรส-พราหมณ์ทำนายลักษณะ

            ครั้งนั้นมีดาบสองค์หนึ่งมีนามว่า กาฬเทวิล แต่มหาชนเรียกว่า อสิตะ ได้สมาบัติ ๘ มีฤทธิ์มาก เป็นกุลุปกาจารย์ของพระเจ้าสุทโธทนะ ได้ทราบข่าวจากเทพยดาว่า พระเจ้าสุทโธทนะได้พระราชโอรส จึงได้เดินทางเข้าไปยังกบิลพัสดุ์นคร เข้าเฝ้าพระเจ้าสุทโธทนะในพระราชนิเวศน์ ถวายพระพรถามข่าวถึงการประสูติของพระราชโอรส พระเจ้าสุทโธทนะทรงปีติปราโมทย์ รับสั่งให้เชิญพระโอรสมาถวายเพื่อนมัสการท่านอสิตะดาบส แต่พระบาททั้งสองของพระโอรส กลับขึ้นไปปรากฏบนเศียรเกล้าของอสิตะดาบสเป็นอัศจรรย์ พระดาบสเห็นดังนั้น ก็สดุ้งตกใจ ครั้นพิจารณาดูลักษณะของพระกุมาร ก็ทราบชัดด้วยปัญญาญาณ มีน้ำใจเบิกบาน หัวเราะออกมาได้ด้วยความปีติโสมนัส ประนมหัตถ์ถวายอภิวาทแทบพระยุคคลบาทของพระกุมาร และแล้วอสิตะดาบสกลับได้คิด เกิดโทมนัสจิตร้องไห้เสียใจในวาสนาอาภัพของตน

พระเจ้าสุทโธทนะได้ทอดพระเนตรเห็นอาการของท่านอาจารย์พิกล ก็แปลกพระทัย เดิมก็ทรงปีติเลื่อมใสในการอภิวาทของท่านอสิตะดาบสว่า อภินิหารของพระปิโยรสนั้นยิ่งใหญ่ประดุจท้าวมหาพรหม จึงทำให้ท่านอาจารย์มีจิตนิยมชมชื่นอัญชลี ครั้นเห็นท่านอสิตะดาบสคลายความยินดีโศกาอาดูร ก็ประหลาดพระทัยสงสัย รับสั่งถามถึงเหตุแห่งการร้องไห้ และการหัวเราะ เฉพาะหน้า อสิตะดาบสก็ถวายพระพรพรรณนาถึงมูลเหตุ ว่าเพราะอาตมาพิจารณาเห็นเป็นมหัศจรรย์ พระกุมารนี้มีพระลักษณะพระโพธิสัตว์เจ้าบริบรูณ์ จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าโดยแท้ และจะเปิดโลกนี้ให้กระจ่างสว่างไสวด้วยพระกระแสแห่งธรรมเทศนา เป็นคุณที่น่าโสมนัสยิ่งนัก แต่เมื่ออาตมานึกถึงอายุสังขารของอาตมาซึ่งชราเช่นนี้แล้ว คงจะอยู่ไปไม่ทันเวลาของพระกุมารจะได้ตรัสรู้เป็นพระบรมครูสั่งสอน จึงได้วิปฏิสารโศกเศร้า เสียใจที่มีอายุไม่ทันได้สดับรับพระธรรมเทศนา อาตมาจึงได้ร้องไห้

            ครั้นอสิตะดาบทถวายพระพรแล้ว ก็ทูลลากลับไปบ้านน้องสาว นำข่าวอันนี้ไปบอกนาลกะมานพ ผู้หลานชาย และกำชับให้พยายามออกบวชตามพระกุมารในกาลเมื่อหน้าโน้นเถิด

            วันที่ ๕ ปรึกษากันว่า จักเฉลิมพระนาม จึงฉาบทาพระราชนิเวศน์ด้วยของหอม

๔ ชนิด โปรยดอกไม้มีข้าวตอกครบ ๕ ให้หุงข้าวมธุปายาสไม่ผสม นิมนต์พราหมณ์ ๑๐๘ ผู้จบไตรเพท ให้นั่งในราชนิเวศน์ ให้บริโภคข้าวมธุปายาสกระทำสักการะแล้วให้ตรวจทำนายพระลักษณะว่าจักเป็นอย่างไร บรรดาพราหมณ์ ๑๐๘ นั้น พราหมณ์บัณฑิต ๘ ท่าน มีรามพราหมณ์เป็นต้น เป็นผู้ตรวจทำนายพระลักษณะ บรรดาพราหมณ์บัณฑิต ๘ ท่านนั้น ๗ ท่านยกสองนิ้ว พยากรณ์เป็นสองส่วนว่า ประกอบด้วยพระลักษณะเหล่านี้ เมื่ออยู่ครองฆราวาสวิสัยจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อผนวชจะเป็นพระพุทธเจ้า บรรดาพราหมณ์บัณฑิต ๘ ท่านนั้น พราหมณ์โดยโคตรชื่อโกณฑัญญะ หนุ่มกว่าเขาหมด เห็นพระวรลักษณสมบัติของพระโพธิสัตว์ ยกนิ้วเดียวเท่านั้น พยากรณ์เป็นส่วนเดียวว่า ท่านผู้นี้ ไม่มีเหตุอยู่ครองฆราวาสวิสัย จักเป็นพระพุทธเจ้า  ผู้มีหลังคาอันเปิดแล้วโดยส่วนเดียว  ครั้งนั้น พระประยูรญาติเมื่อถือพระนามของพระโพธิสัตว์นั้น จึงเฉลิมพระนามว่าสิทธัตถะ เพราะทรงทำความสำเร็จประโยชน์แก่โลกทั้งปวง



รายนามพราหมณ์ทั้งแปดที่ได้รับคัดเลือกจากพราหมณ์ทั้ง  ๑๐๘  ท่าน

            ๑.  รามพราหมณ์                     ๒.  ลักษณะพราหมณ์

            ๓.  ยัญญพราหมณ์                 ๔.  ธุชพราหมณ์

            ๕.  โภชพราหมณ์                    ๖.  สุทัตตพราหมณ์

            ๗.  สุยามพราหมณ์                 ๘.  โกณทัญญพราหมณ์



พระราชมารดาสิ้นพระชนม์

            ส่วนพระนางมายาเทวี เมื่อประสูติพระบรมโพธิสัตว์เจ้าล่วงไปได้ ๗ วัน ก็เสด็จทิวงคต ไปบังเกิดเป็นเทพธิดา สถิตในดุสิตเทวโลก ตามประเพณีพระพุทธมารดา พระเจ้าสุทโธทนะจึงได้มอบการบำรุงรักษาพระสิทธัตถะกุมาร ให้เป็นภาระแก่พระนางปชาบดี โคตมี พระเจ้าน้า ซึ่งก็เป็นพระมเหษีของพระองค์ด้วย แม้พระนางปชาบดี โคตมี ก็ทรงมีพระเมตตารักใคร่พระกุมารเป็นที่ยิ่ง เอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงพระกุมารเป็นอย่างดี แม้ต่อมาพระนางเจ้าจะทรงมีพระโอรสถึง ๒ พระองค์ คือ นันทกุมาร และรูปนันทากุมารี ก็ทรงมอบภาระให้แก่พี่เลี้ยงนางนมบำรุงรักษา ส่วนพระนางเจ้าทรงเป็นธุระบำรุงพระสิทธัตถะกุมารด้วยพระองค์เอง



อภิเสกสมรส

            เมื่อพระชนมายุ ๑๖ พรรษา ได้ทรงทำการอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงพิมพา ยโสธรา ราชธิดาพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งกรุงเทวทหะนคร 



เหตุการก่อนทรงผนวช

            วันหนึ่ง  พระโพธิสัตว์มีพระประสงค์จะเสด็จไปยังภาคพื้นที่พระอุทยาน ทรงเรียกสารถีมาแล้วตรัสสั่งว่า จงเทียมรถไว้ เราจะชมสวน สารถีนั้นรับพระดำรัสแล้ว ก็ประดับรถอันเป็นพาหนะที่สมควรยิ่งใหญ่ ไปสู่พระอุทยานลำดับนั้น เทวดาทั้งหลายดำริกันว่า ใกล้เวลาตรัสรู้ของพระสิทธัตถะกุมารแล้ว จำเราจักแสดงบุพนิมิตแด่พระองค์ จึงแสดงเป็นเทพบุตรองค์หนึ่งมีสรีระคร่ำคร่าเพราะชรา ฟันหัก ผมหงอก ตัวค้อมลง สั่นเทา พระโพธิสัตว์และสารถีต่างก็เห็นคนแก่นั้น แต่นั้น พระโพธิสัตว์จึงตรัสถามโดยนัยที่มาในมหาปทานสูตรว่า ดูก่อนสารถี บุรุษนั่นชื่ออะไร แม้แต่ผมของเขาก็ไม่เหมือนของคนอื่น ๆ เป็นต้น ครั้นฟังคำของสารถีนั้นแล้ว ก็ทรงสังเวชพระหฤทัยว่าท่านเอ๋ย น่าตำหนิชาติจริงหนอ ที่คนเกิดมาแล้ว ต้องปรากฏชราความแก่ดังนี้ เสด็จกลับจากที่นั้นแล้วก็เสด็จขึ้นปราสาทพระราชาตรัสถามว่า เพราะเหตุไร ลูกของเราจึงกลับ สารถีทูลว่าเพราะทรงเห็นคนแก่ พระเจ้าข้า แต่นั้น พระราชาทรงหวั่นพระหฤทัย ทรงวางกองรักษาการณ์ไว้ในที่กึ่งโยชน์วันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์เสด็จไปพระอุทยานทรงเห็นคนเจ็บ ซึ่งเทวดาเหล่านั้นนั่นแหละเนรมิต ทรงถามเหมือนนัยก่อนสังเวชพระหฤทัย เสด็จกลับขึ้นปราสาท พระราชาตรัสถามแล้ว ทรงจัดนักฟ้อนทั้งหลาย ทรงพระดำริว่า จำเราจักทำใจลูกเราให้แยกออกไปจากการบวชจึงทรงเพิ่มอารักขา ทรงตั้งกองรักษาการณ์ในที่ประมาณสามคาวุตโดยรอบแม้รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์ก็เสด็จไปพระอุทยาน ทรงเห็นคนตายที่เทวดาเนรมิตอย่างนั้นเหมือนกัน ทรงถามเหมือนนัยก่อน สังเวชพระหฤทัยแล้วเสด็จกลับขึ้นปราสาทเลย พระราชาตรัสถามถึงเหตุที่เสด็จกลับ ทรงเพิ่มอารักขาอีก ทรงดังกองรักษาการณ์ไว้ในที่โยชน์หนึ่งแม้รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์ก็เสด็จไปพระอุทยาน ทรงเห็นนักบวชนุ่งดี ห่มดี ที่เทวดาเนรมิตอย่างนั้นเหมือนกัน ตรัสถามสารถีว่าสหายสารถี ผู้นั้นชื่ออะไรสารถีไม่รู้จักนักบวชหรือคุณของนักบวช เพราะพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น เขาก็ตอบโดยอานุภาพของเทวดาว่า ผู้นี้ชื่อนักบวช พระเจ้าข้า แล้วพรรณาคุณของการบวชแก่พระโพธิสัตว์นั้นแต่นั้น พระโพธิสัตว์เกิดความชอบใจการบวช จึงเสด็จไปพระอุทยาน

            พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงสดับข่าวว่า พระมารดาพระราหุลประสูติโอรส ก็ทรงส่งข่าวไปว่า พวกเจ้าจงแจ้งความยินดีแก่ลูกของเราพระโพธิสัตว์ฟังข่าวนั้นแล้วตรัสว่า ห่วงเกิดแล้ว เครื่องผูกเกิดแล้ว พระราชาตรัสถามว่า ลูกของเราพูดอะไร ทรงสดับคำนั้นแล้วตรัสว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หลานเราจงมีชื่อว่า ราหุลกุมารแม้พระโพธิสัตว์ ก็ขึ้นทรงรถนั้นเสด็จเข้าสู่พระนคร ด้วยราชบริพารหมู่ใหญ่ ด้วยสิริโสภาคย์อันน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก สมัยนั้น นางกษัตริย์ พระนามว่า กีสาโคตมี เพราะไม่ทรามด้วยพระรูปสิริ และพระคุณสมบัติ เสด็จไปตามพื้นปราสาทชั้นบน ทรงเห็นพระรูปสิริของพระโพธิสัตว์กำลังเสด็จเข้าสู่พระนคร ทรงเกิดปีติโสมนัสขึ้นเอง ทรงเปล่งอุทานนี้ว่า

นิพฺพุตา นูน สา มาตา นิพฺพุโต นูน โส ปิตา

นิพฺพุตา นูน สา นารี ยสฺสายํ อีทิโส ปติ

            บุรุษเช่นนี้ เป็นบุตรของมารดาผู้ใด มารดาผู้นั้นก็เย็นใจแน่ เป็นบุตรของบิดาผู้ใด บิดาผู้นั้น ก็เย็นใจแน่ เป็นสามีของนารีผู้ใด นารีผู้นั้น ก็เย็นใจแน่พระโพธิสัตว์ทรงสดับอุทานนั้นแล้ว ทรงดำริว่า สตรีผู้นี้ให้เราได้ยินถ้อยคำที่น่าฟังอย่างดี ด้วยว่าเราก็กำลังเที่ยวแสวงหานิพพาน วันนี้นี่แหละควรที่เราจะละทิ้งฆราวาสวิสัยแล้วออกบวชแสวงหานิพพาน ทรงเปลื้องแก้วมุกดาหารออกจากพระศอ ทรงส่งแก้วมุกดาหารที่ทำความยินดีอย่างยิ่ง มีค่านับแสน แด่เจ้าหญิงกีสาโคตมี ด้วยหมายพระหฤทัยว่า แก้วมุกดาหารนี้ จงเป็นสักการะส่วนบูชาอาจารย์สำหรับเจ้าหญิงพระองค์นี้ เจ้าหญิงกีสาโคตมีนั้นเกิดโสมนัสว่า สิทธัตถะกุมารมีจิตปฏิพัทธ์ในเรา ทรงส่งบรรณาการมาประทานฝ่ายพระโพธิสัตว์ เสด็จขึ้นปราสาทที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ด้วยเหตุให้เกิดสิริยิ่งใหญ่ บรรทมเหนือพระที่บรรทม ในทันใดนั่นเอง เหล่าสตรีรุ่น ๆทั้งหลาย ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้องและบรรเลง มีรูปโฉมไฉไลเช่นเทพธิดา ถือดนตรีที่มีเสียงไพเราะ พากันมาห้อมล้อมพระมหาบุรุษนั้น ให้ทรงรื่นเริง ประกอบการฟ้อน การขับร้อง และบรรเลงแต่พระโพธิสัตว์ไม่ทรงยินดียิ่งในการฟ้อนการขับร้องเป็นต้น เพราะทรงมีจิตหน่ายในกิเลสทั้งหลาย บรรทมหลับไปครู่หนึ่งสตรีเหล่านั้น เห็นพระโพธิสัตว์นั้น คิดว่า พวกเราประกอบการฟ้อนเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นก็บรรทมหลับไปแล้วบัดนี้ พวกเราจะลำบากเพื่อประโยชน์อะไรเล่า แล้วก็นอนทับดนตรีที่ต่างถือกันอยู่หลับไป ประทีปน้ำมันหอมก็ยังติดโพลงอยู่ พระโพธิสัตว์ทรงตื่นบรรทมประทับนั่งขัดสมาธิอยู่เหนือหลังพระที่บรรทม ทรงเห็นสตรีเหล่านั้น นอนทับเครื่องดนตรี มีน้ำลายไหล มีแก้มและเนื้อตัวสกปรก บางพวกกัดฟัน บางพวกกรน บางพวกละเมอ บางพวกอ้าปาก บางพวกผ้าผ่อนหลุดลุ่ย ปรากฏที่น่ากลัวที่คับแคบ บางพวกมีผมปล่อยยุ่ง พระมหาสัตว์ทรงเห็นอาการแปลกๆ ของสตรีเหล่านั้น ก็ยิ่งทรงมีจิตหน่ายในกามทั้งหลายสุดประมาณ ทรงพร่ำบ่นว่า วุ่นวายจริงหนอ ขัดข้องจริงหนอ พระหฤทัยก็น้อมไปเพื่อบรรพชาอย่างยิ่ง พระองค์ทรงดำริว่าวันนี้นี่แหละ เราควรออกมหาภิเนษกรมณ์ทรงลุกจากที่พระบรรทม เสด็จไปใกล้ประตู ตรัสถามว่าใครอยู่ที่นั่น นายฉันนะ นอนศีรษะใกล้ธรณีประตู ทูลว่า ข้าพระบาทฉันนะพระลูกเจ้า ลำดับนั้น พระมหาบุรุษตรัสว่า วันนี้เราประสงค์จะออกการออกบวช เจ้าอย่าบอกใคร จงเตรียมสินธพเร็วฝีเท้าจัดไว้ตัวหนึ่งนะ นายฉันนะนั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ถือเครื่องประกอบม้าไปยังโรงม้า พบม้าฝีเท้าดีชื่อกัณฐกะ พระโพธิสัตว์คิดว่า เราจักดูลูกเสียก่อน จึงลุกจากที่ประทับยืนอยู่เสด็จไปยังที่ประทับอยู่ของพระมารดาพระราหุล ทรงเปิดประตูห้องพระโพธิสัตว์วางพระบาทที่ธรณีประตู ประทับยืนทรงมองดู ทรงดำริว่า ถ้าเราจักยกพระหัตถ์ของพระเทวีออกไปแล้วจับลูกเราพระเทวีก็จักตื่นเมื่อเป็นดั่งนั้น การออกบวชของเราก็จักเป็นอันตราย เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแล้วจึงค่อยมาดูลูกเรา เสด็จลงจากพื้นปราสาทแล้วเสด็จเข้า  ไปใกล้ม้าตรัสอย่างนี้ว่า พ่อกัณฐกะ วันนี้ เจ้าต้องให้เราข้ามไปราตรีหนึ่ง เราอาศัยเจ้าแล้ว จักเป็นพระพุทธเจ้า ยังโลกทั้งเทวโลกให้ข้ามโอฆะ แต่นั้นก็ทรงโดดขึ้นหลังม้ากัณฐกะม้ากัณฐะ โดยส่วนยาวนับตั้งแต่คอ ก็ยาว ๑๘ ศอกประกอบด้วยส่วนสูงพอเหมาะกับส่วนยาวนั้น ถึงพร้อมด้วยรูป ฝีเท้าและกำลังอันเลิศ ขาวปลอด สีสรรน่าดูเสมือนสังข์ขัด แต่นั้น พระโพธิสัตว์ ประทับอยู่บนหลังม้าทรง โปรดให้นายฉันนะจับหางม้า ถึงประตูใหญ่แห่งพระนครตอนครึ่งคืนครั้งนั้น แต่ก่อน พระราชาโปรดให้จัดบุรุษไว้คอยเปิดประตู ๆ ละพันคน บรรดาบานประตู ๒ ประตู เพื่อห้ามพระโพธิสัตว์เสด็จไป ทรงวางบุรุษไว้เป็นอันมาก กองรักษาการณ์ ณ บานประตูนั้น ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์ทรงกำลังเท่ากับบุรุษจำนวนแสนโกฏิ เท่ากับช้างจำนวนพันโกฏิ เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์นั้น จึงทรงดำริว่า ผิว่า ประตูไม่ยอมเปิด วันนี้เราจะนั่งหลังกัณฐกะ ให้นายฉันนะจับหาง เอาสองชาบีบกัณฐกะ โดดขึ้นผ่านกำแพง ๑๘ ศอก ไปพร้อมกับฉันนะเลย นายฉันนะก็คิดว่า ถ้าประตูไม่เปิดเราก็จะเอาพระลูกเจ้าขึ้นบนคอ เหวี่ยงกัณฐกะด้วยมือขวา หนีบไว้ที่รักแร้จะโดดขึ้นผ่านกำแพงไปได้ ม้ากัณฐกะก็คิดว่า เมื่อประตูไม่เปิด เราก็จักประดิษฐานพระลูกเจ้าตามที่ประทับนั่งอยู่ โดดขึ้นไปพร้อมกับนายฉันนะ ที่จับหางไว้โดดไว้ข้ามหน้ากำแพงไป ทั้งสามคิดเหมือนกันอย่างนี้ เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ประตูก็ช่วยกันเปิดประตูใหญ่ขณะนั้น มารผู้มีบาปคิดว่า จักให้พระมหาสัตว์กลับไป จึงมายืนอยู่กลางอากาศกล่าวว่า

มา นิกฺขม มหาวีร อิโต เต สตฺตเม ทิเน

ทิพฺพํ ตุ จกฺกรตนํ อทฺธา ปาตุ ภวิสฺสติ

            ดูก่อนมหาราช เรารู้ว่าจักกรัตนะ จะปรากฏแก่เรา แต่เราไม่ต้องการจักกวัตติราชย์ ไปเสียเถิดมารอย่ามาในที่นี้เลย

สกลํ ทสสหสฺสมฺปิ โลกธาตุมหํ ปน

อุนฺนาเทตฺวา ภวิสฺสามิ พุทฺโธ โลเก วินายโก

            แต่เราจักเป็นพระพุทธเจ้า ผู้นำพิเศษในโลกบันลือลั่นไปทั่วหมื่นโลกธาตุมารนั้น ก็อันตรธานไปในที่นั้นนั่นเอง  เมื่อพระมหาสัตว์กำลังเสด็จไป เทวดาทั้งหลายชูคบเพลิงจำนวนหกล้านดวงข้างหน้าพระมหาสัตว์นั้น ข้างหลังก็หกล้านดวงเหมือนกัน ข้างขวาก็หกล้านดวง ช้างซ้ายก็เหมือนกัน เทวดาพวกอื่น ๆ อีกก็สักการะด้วยพวงมาลัยดอกไม้หอม จุรณจันทน์ พัดจามรและธงผ้า ห้อมล้อมไป สังคีตทิพย์และดนตรีเป็นอันมาก ก็บรรเลงได้เองพระโพธิสัตว์ เสด็จไปด้วยเหตุที่ให้เกิดสิริอย่างนี้ เสด็จหนทาง ๓๐โยชน์ผ่าน ๓ ราชอาณาจักร ราตรีเดียวเท่านั้น ก็ถึงริมฝั่งแม่น้ำอโนมาลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ทรงยืน ณ ริมฝั่งแม่น้ำ ตรัสถามนายฉันนะว่า  พระโพธิสัตว์ทรงยืน ณ ริมฝั่งแม่น้ำ ตรัสถามนายฉันนะว่าแม่น้ำนี้ชื่อไร ทูลตอบว่า แม่น้ำอโนมา ทรงใช้ส้นพระบาท กระแทกม้าให้สัญญาณแก่ม้า ม้าก็โดดไปยืนอยู่ริมฝั่งโน้น พระโพธิสัตว์เสด็จลงจากหลังม้า ประทับยืนที่หาดทรายเสมือนกองแก้วมุกดา เรียกนายฉันนะมาตรัสสั่งว่า สหายฉันนะ เจ้าจงนำอาภรณ์ของเรากับกัณฐกะกลับไปเราจักบวช

            นายฉันนะทูลว่า แม้ข้าพระบาทก็จักบวช พระโพธิสัตว์ตรัสว่า เจ้ายังบวชไม่ได้ เจ้าต้องกลับไป ทรงห้าม ๓ ครั้งแล้ว ทรงมอบอาภรณ์และม้ากัณฐกะแล้วทรงดำริว่า ผมของเราอย่างนี้ ไม่เหมาะแก่สมณะจำจักตัดผมเหล่านั้นด้วยพระขรรค์ ทรงจับพระขรรค์อันคมกริบด้วยพระหัตถ์ขวา รวบพระจุฬาพร้อมด้วยพระเมาลีด้วยพระหัตถ์ซ้ายแล้วตัด เหลือพระเกศาสององคุลีเวียนขวา ตัดพระเศียร พระเกสาเหล่านั้นก็มีประมาณเท่านั้น จนตลอดพระชนมชีพ ส่วนพระมัสสุ ก็เหมาะแก่ประมาณพระเกสานั้น พระโพธิสัตว์ทรงรวบพระจุฬาพร้อมด้วยพระเมาลี อธิษฐานว่า ถ้าเราจักเป็นพระพุทธเจ้าไซร้ ผมนี้จงตั้งอยู่ในอากาศ ถ้าไม่เป็นไซร้ ก็จงหล่นลงเหนือพื้นดิน แล้วเหวี่ยงไปในอากาศ กำพระจุฬามณีนั้น ไประยะประมาณโยชน์หนึ่งแล้วก็ตั้งอยู่ในอากาศลำดับนั้น ท้าวสักกะเทวราชทรงตรวจดูด้วยจักษุทิพย์ ทรงเอาผอบรัตนะขนาดโยชน์หนึ่งรับกำพระจุฬามณีนั้น แล้วทรงสถาปนาเป็นพระจุฬามณีเจดีย์สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ ขนาด ๓ โยชน์ไว้ในภพดาวดึงส์ พระโพธิสัตว์ทรงดำริอีกว่า ผ้ากาสีเหล่านั้นมีค่ามาก ไม่เหมาะแก่สมณะของเรา ลำดับนั้น ฆฏิการมหาพรหม สหายเก่าครั้งพระกัสสปพุทธเจ้าของพระโพธิสัตว์นั้น ดำริโดยมิตรภาพที่ไม่ถึงความพินาศตลอดพุทธันดรหนึ่งว่า วันนี้สหายเราออก ผนวช จำเราจักถือสมณบริขารไปเพื่อสหายนั้นจึงนำบริขาร ๘ เหล่านั้นไปถวาย

ติจีวรญฺจ ปตฺโต จ วาสี สูจิ จ พนฺธนํ

ปริสฺสาวนญฺจ อฏฺเฐเต ยุตฺตโยคสฺส ภิกฺขุโน

            บริขาร ๘ เหล่านี้คือ ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม รัดประคด และผ้ากรองน้ำ เป็นของภิกษุผู้ประกอบความเพียรพระมหาบุรุษทรงครองผ้าธงชัยแห่งพระอรหันต์ ถือเพศบรรพชาสูงสุด ทรงเหวี่ยงคู่ผ้า [นุ่งห่ม] ไปในอากาศ ท้าวมหาพรหมรับคู่ผ้านั้นแล้วสร้างเจดีย์สำเร็จด้วยรัตนะขนาด ๑๒ โยชน์ในพรหมโลก บรรจุคู่ผ้านั้นไว้ข้างใน

            พระมหาสัตว์ตรัสกะนายฉันนะว่า ฉันนะเจ้าจงบอกแก่พระชนกพระชนนีตามคำของเราว่า เราสบายดี แล้วทรงส่งไปแต่นั้น นายฉันนะก็ถวายบังคมพระมหาบุรุษ ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ส่วนม้ากัณฐกะยืนฟังคำของพระโพธิสัตว์ ผู้ปรึกษากับนายฉันนะ รู้ว่า บัดนี้เราจะไม่เห็นนายของเราอีก พอละสายตาของพระมหาบุรุษนั้น ไม่อาจทนวิปโยคทุกข์ได้ ก็หัวใจแตกตายไปบังเกิดเป็นเทพบุตรชื่อกัณฐกะ ในภพดาวดึงส์ 



ทรงผนวชออกผนวชเมื่อพระชนม์ ๒๙

            เมื่อทรงทรงผนวชแล้ว ในประเทศนั้นนั่นแล มีสวนมะม่วงชื่อ อนุปิยะ อยู่ จึงทรงยับยั้งอยู่ ณ อนุปิยอัมพวัน นั้น ๗ วัน ด้วยความสุขในบรรพชาภายหลังเสด็จเดินทาง ๓๐ โยชน์ วันเดียวเท่านั้น ทรงข้ามแม่น้ำคงคา ซึ่งคลั่งด้วยฤดูและคลื่น แต่ไม่ขัดข้อง เสด็จเข้าสู่นครราชคฤห์ เมื่อพระมหาบุรุษเสด็จเที่ยวแสวงหาภิกษา พวกมนุษย์ชาวพระนคร เกิดความอัศจรรย์สำหรับผู้เกิดปีติโสมนัสเพราะเห็นพระรูปของพระมหาสัตว์ ก็ได้มีใจนึกถึงการเห็นพระรูปของพระโพธิสัตว์บรรดามนุษย์เหล่านั้น มนุษย์ผู้หนึ่งกล่าวกะมนุษย์ผู้หนึ่งอย่างนี้ว่าท่านเอย เหตุอะไรหนอ จันทร์เพ็ญ ที่มีช่อรัศมีที่ถูกภัยคือราหูกำบังแล้ว ยังมาสู่มนุษยโลกได้มนุษย์อื่นนอกจากนั้น ก็ยิ้มพูดอย่างนี้ว่า พูดอะไรกันสหายท่านเคยเห็นจันทร์เพ็ญมาสู่มนุษยโลกกันเมื่อไร นั่นกามเทพมีดอกไม้เป็นธงมิใช่หรือ ท่านถือเพศอื่นเห็นความเจริญของลีลาอย่างยิ่งของมหาราชของเราและชาวเมือง จึงเสด็จมาเล่นด้วย คนอื่นนอกจากนั้นก็ยิ้มพูดอย่างนี้ว่า ท่านเอย ท่านเป็นบ้ากันแล้วหรือ นั่น พระอินทรผู้มีสรีระร้อนเรืองด้วยความโหมของเพลิงยัญอันเรืองแรง ผู้เป็นท้าวสหัสนัยน์ เป็นเจ้าแห่งเทวดามาในที่นี้ด้วยความสำคัญว่า อมรปุระ คนอื่นนอกจากนั้น หัวร่อนิดหน่อยแล้วกล่าวว่า ท่านเอย พูดอะไรกัน ท่านผิดทั้งคำต้นคำหลัง ท่านผู้นั้นมีพันคาที่ไหน มีวชิราวุธที่ไหน มีช้างเอราวัณที่ไหน ที่แท้ ท่านผู้นั้นเป็นพรหม ท่านรู้ว่าคนที่เป็นพราหมณ์ประมาทกันจึงมาเพื่อประกอบไว้ในพระเวทแลเวทางค์เป็นต้นต่างหากเล่าคนอื่นที่เป็นบัณฑิตก็ปรามคนเหล่านั้นทั้งหมดพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้มิใช่พระจันทร์เพ็ญ มิใช่กามเทพ มิใช่ท้าวสหัสนัยน์ มิใช่พรหมทั้งนั้น แต่ท่านผู้นี้ เป็นอัจฉริยมนุษย์ จะเป็นศาสดาผู้นำโลกทั้งปวงเมื่อชาวนครเจรจากันอยู่อย่างนี้ พวกราชบุรุษก็กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระเจ้าพิมพิสารว่า ข้าแต่สมมุติเทพ เทพ คนธรรพ์ หรือนาคราช ยักษ์ หรือใครหนอเที่ยวแสวงหาภิกษาในนครของเรา พระราชาทรงสดับเรื่องนั้นแล้วทรงยืน ณ ประสาทชั้นบน ทรงเห็นพระมหาบุรุษเกิดจิตอัศจรรย์ไม่เคยมี ทรงสั่งพวกราชบุรุษว่า พวกท่านจงไปทดสอบท่านผู้นั้น ถ้าเป็นอมนุษย์ ก็จักออกจากนครหายไป ถ้าเป็นเทวดา ก็จักไปทางอากาศ ถ้าเป็นนาคราช ก็จักมุดดินถ้าเป็นมนุษย์ ก็จักบริโภคภิกษาตามที่ได้มาฝ่ายพระมหาบุรุษ มีอินทรีย์สงบ มีพระหฤทัยสงบเป็นประหนึ่งดึงดูดสายตามหาชน เพราะความงามแห่งพระรูป ทรงแลชั่วแอก รวบรวมอาหาร

ระคนกัน พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ เสด็จออกจากนครทางประตูที่เสด็จเข้ามา บ่ายพระพักตร์ไปทางตะวันออกแห่งร่มเงาภูเขาปัณฑวะ ประทับนั่งพิจารณาอาหาร ไม่มีอาการผิดปกติเสวย แต่นั้น พวกราชบุรุษก็ไปกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระราชา

            พระเจ้าแผ่นดินแคว้นมคธ พระนามว่าพิมพิสาร  ทรงมีความตื่นเต้นเพราะได้สดับคุณของพระโพธิสัตว์เหล่านั้น ทรงรีบเสด็จออกจากพระนคร บ่ายพระพักตร์ตรงภูเขาปัณฑวะ เสด็จไปแล้ว ลงจากพระราชยาน เสด็จไปยังสำนักพระโพธิสัตว์อันพระโพธิสัตว์ทรงอนุญาตแล้วประทับนั่งเหนือพื้นศิลา อันเย็นด้วยความรักของชนผู้เป็นพวกพ้องทรงเลื่อมใสในพระอิริยาบถของพระโพธิสัตว์ ทรงได้รับปฏิสันถารแล้ว ทรงถามถึงนามและโคตร ทรงมอบความเป็นใหญ่ทุกอย่างแด่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ข้าแต่พระมหาราช หม่อมฉันไม่ประสงค์ด้วยวัตถุกาม หรือกิเลสกาม หม่อมฉันปรารถนาแต่พระปรมาภิสัมโพธิญาณจึงออกบวช พระราชาแม้ทรงอ้อนวอนหลายประการ ก็ไม่ได้น้ำพระหฤทัยของพระโพธิสัตว์ จึงตรัสว่า จักทรงเป็นพระพุทธเจ้าแน่ จึงทูลว่าก็พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว โปรดเสด็จมาแคว้นของหม่อมฉันก่อน แล้วเสด็จเข้าสู่พระนคร

            จากนั้นเสด็จจาริก เข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร และ อุทกดาบส รามบุตร ยังสมาบัติ ๘ ให้เกิดแล้ว ทรงดำริว่า ทางนี้ไม่ใช่ทางแห่งพระโพธิญาณ ไม่ทรงใส่พระหฤทัยถึงสมาปัตติภาวนานั้นมีพระประสงค์จะทรงตั้งความเพียร จึงเสด็จไปยังอุรุเวลาทรงดำริว่าภูมิภาคนี้น่ารื่นรมย์จริงหนอ ทรงเข้าอยู่ ณ ตำบลนั้น ทรงตั้งความเพียรยิ่งใหญ่ชน ๕ คนเหล่านี้คือบุตรของพราหมณ์ผู้ทำนายพระมหาปุริสลักษณะ ๔ คนและพราหมณ์ชื่อโกณฑัญญะ บวชคอยอยู่ก่อน เที่ยวภิกษาจารไปในคามนิคมราชธานีทั้งหลาย บำรุงพระโพธิสัตว์ ณ ที่นั้น ลำดับนั้น เมื่อพากันบำรุงพระโพธิสัตว์ ผู้ตั้งความเพียรยิ่งใหญ่อยู่ถึง ๖ ปี ด้วยวัตรปฏิบัติมีกวาดบริเวณเป็นต้นด้วยหวังอยู่ว่า พระโพธิสัตว์จักทรงเป็นพระพุทธเจ้า อยู่ประจำสำนักของพระโพธิสัตว์นั้น แม้พระโพธิสัตว์ ก็ทรงยับยั้งอยู่ด้วยงาและข้าวสารเมล็ดเดียว ด้วยทรงหมายจักทำทุกกรกิริยาอันถึงที่สุด ได้ทรงตัดอาหารโดยประการทั้งปวง ครั้งนั้น พระวรกายที่มีสีทองของพระองค์ผู้มีพระกายถึงความซูบผอมอย่างยิ่ง เพราะไม่มีอาหารนั้นก็มีสีดำ  ทรงถึงที่สุดแห่งทุกกรกิริยา ทรงดำริว่า นี้ไม่ใช่ทางแห่งพระโพธิญาณ มีพระประสงค์จะเสวยอาหารหยาบ จึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาตณ คามนิคม เสวยพระกระยาหาร ลำดับนั้น



พระวรกายมีสีเหมือนสีทอง ขณะนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์เห็นพระองค์ ก็คิดว่า ท่านผู้นี้ แม้ทำทุกกรกิริยามา ๖ ปี ก็ไม่อาจแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณได้ มาบัดนี้ยังเที่ยวบิณฑบาตไปในคามนิคมราชธานีทั้งหลาย บริโภคอาหารหยาบ จักอาจได้อย่างไร ท่านผู้นี้มักมากคลายความเพียรประโยชน์อะไรของเราด้วยท่านผู้นี้ แล้วก็ละพระมหาบุรุษ พากันไปยังป่าอิสิปตนะ กรุงพาราณสี



ตรัสรู้

          วันวิสาขบูรณมี พระมหาบุรุษเสวยข้าวมธุปายาส ของนางสุชาดา ผู้บังเกิดในครอบครัวของเสนานีกุฎุมพีตำบลอุรุเวลา เสนานิคมถวายแล้ว ทรงถือถาดทองวางลงสู่กระแสแม่น้ำเนรัญชรา ปลุกพระยากาฬนาคราชผู้หลับให้ตื่นแล้ว  ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงพักกลางวัน ณ สาลวัน ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราเวลาเย็น เสด็จมุ่งตรงไปยังต้นโพธิพฤกษ์ตามทางที่เทวดทั้งหลายประดับแล้ว เทวดานาคยักษ์สิทธาเป็นต้น พากันบูชาด้วยดอกไม้ของหอมเครื่องลูบไล้  สมัยนั้น คนหาหญ้า ชื่อโสตถิยะถือหญ้าเดินสวนทางมา รู้อาการของพระมหาบุรุษ จึงถวายหญ้า ๘ กำ พระโพธิสัตว์ทรงรับหญ้าแล้วเสด็จเข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะทรงทำประทักษิณ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ๓ ครั้ง ประทับยืนทางทิศอีสาน ทรงจับยอดหญ้าเขย่า ทันใดนั่นเอง ก็มีบัลลังก์ ๑๔ ศอก

            เมื่อพระโพธิสัตว์ ประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์นั้น วสวัตดีมารเทพบุตรคิดว่าสิทธัตถกุมารประสงค์จะล่วงวิสัยของเรา บัดนี้เราจักไม่ให้สิทธัตถะกุมารนั้นล่วงวิสัย จึงบอกความนั้นแก่กองกำลังของมาร แล้วพากองกำลังมารออกไป ได้ยินว่า ทัพมารนั้น ข้างหน้าของมาร ก็ขนาด ๑๒ โยชน์ ข้างขวาและข้างซ้ายก็อย่างนั้น แต่ข้างหลัง ตั้งอยู่สุดจักรวาล เบื้องบนสูง ๙ โยชน์ได้ยินเสียงคำราม ดังเสียงแผ่นดินคำราม ตั้งแต่เก้าพันโยชน์

            ท้าวสักกเทวราช ทรงยืนเป่าสังข์ ชื่อวิชยุตตระ เขาว่าสังข์นั้น ยาวสองพันศอกคนธรรพ์เทพบุตรชื่อปัญจสิขะ ถือพิณสีเหลืองดังผลมะตูม ยาวสามคาวุตบรรเลง ยืนขับร้องเพลงประกอบด้วยมงคล ท้าวสุยามเทวราช ทรงถือทิพยจามร อันมีสิริดังดวงจันทร์ยามฤดูสารท ยาวสามคาวุต ยืนถวายงานพัดลมอ่อน ๆ ส่วนท้าวสหัมบดีพรหม ยืนกั้นฉัตรดังจันทร์ดวงที่สอง กว้างสามโยชน์ ไว้เบื้องบนพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้แต่มหากาฬนาคราช อันนาคฝ่ายฟ้อนรำแปดหมื่นแวดล้อม ร่ายคาถาสดุดีนับร้อยยืนนมัสการพระมหาสัตว์ เทวดาในหมื่นจักรวาล บูชาด้วยพวงดอกไม้หอมและจุรณธูปเป็นต้น พากันยืนถวายสาธุการลำดับนั้น เทวบุตรมารขึ้นช้างที่กันข้าศึกได้ เป็นช้างที่ประดับด้วยรัตนะ ชื่อคิริเมขละ งามน่าดูอย่างยิ่ง เสมือนยอดหิมะคิรี ขนาดร้อยห้าสิบโยชน์ เนรมิตแขนพันแขน ให้จับอาวุธต่าง ๆ ด้วยการจับอาวุธที่ยังไม่ได้จับแม้บริษัทของมารมีกำลังถือดาบ ธนู ศร หอก ยกธนู สาก ผาล เหล็กแหลมหอก หลาว หิน ค้อน กำไลมือ ฉมวก กงจักร เครื่องสวมคอ ของมีคม มีหน้าเหมือนกวาง ราชสีห์ แรด กวาง หมู เสือ ลิง งู แมว นกฮูก และมีหน้าเหมือนควาย ฟาน ม้า ช้างพลายเป็นต้น มีกายต่าง ๆน่ากลัว น่าประหลาดน่าเกลียด มีกายเสมือนมนุษย์ยักษ์ปีศาจ ท่วมทับพระมหาสัตว์โพธิสัตว์ ผู้ประทับนั่ง ณ โคนโพธิพฤกษ์ เดินห้อมล้อม ยืนมองดูการสำแดงของมารแต่นั้น เมื่อกองกำลังของมาร เข้าไปยังโพธิมัณฑสถาน บรรดาเทพเหล่านั้น มีท้าวสักกะเป็นต้น เทพแม้แต่องค์หนึ่ง ก็ไม่อาจจะยืนอยู่ได้ เทพทั้งหลายก็พากันหนีไปต่อหน้า ๆ นั่นแหละ ก็ท้าวสักกะเทวราช ทำวิชยุตตร

สังข์ไว้ที่ปฤษฎางค์ ประทับยืน ณ ขอบปากจักรวาล ท้าวมหาพรหม วางเศวตฉัตรไว้ที่ปลายจักรวาลแล้วก็เสด็จไปพรหมโลก กาฬนาคราชก็ทิ้งนาคนาฏกะไว้ทั้งหมด ดำดินไปยังภพมัญเชริกนาคพิภพลึก ๕๐๐ โยชน์ นอนเอามือปิดหน้า ไม่มีแม้แต่เทวดาสักองค์เดียว ที่จะสามารถอยู่ในที่นั้นได้ ส่วนพระมหาบุรุษ ประทับนั่งอยู่แต่ลำพัง เหมือนมหาพรหมในวิมานว่างเปล่า นิมิตร้าย ที่ไม่น่าปรารถนาเป็นอันมากปรากฏก่อนทีเดียวว่า บัดนี้ มารจักมา ดังนี้เมื่อเวลาการยุทธของพระยามาร และของพระผู้เผ่าพันธุ์แห่งไตรโลก ดำเนินไปอยู่อุกกาบาตอันร้ายกาจก็ตกลงโดยรอบ ทิศทั้งหลายก็มืดคลุ้มด้วยควันแผ่นดินแม้นี้ไม่มีใจ ก็เหมือนมีใจ ถึงความพลัดพราก เหมือนหญิงสาวพลัดพรากสามี แผ่นดินที่ทรงสระต่าง ๆ พร้อมทั้งสาครก็หวั่นไหว เหมือนเถาวัลย์ต้องลมพัดแรงมหาสมุทรก็มีน้ำปั่นป่วน แม้น้ำทั้งหลายก็ไหลทวนกระแส ลำต้นไม้ต่าง ๆ ก็คดงอแตกติดดินแห่งภูผาทั้งหลายลมร้ายก็พัดไปรอบ ๆ มีเสียงอึกทึกครึกโครมความมืดที่ปราศจากดวงอาทิตย์   ขณะที่มารมาส่วนหมู่เทพทั้งหลาย เห็นมารประสงค์จะประหารพระมหาสัตว์ ผู้เป็นเทพแห่งเทพนั้น ก็เอ็นดูพร้อมด้วยหมู่เทพก็พากันทำเสียงว่า หา หาแม้ภายหลัง ก็เห็นมารนั้น พร้อมทั้งกองกำลังเป็นอันมาก ที่ฝึกมาดีแล้ว พากันหนีไปในทิศใหญ่ทิศน้อย อาวุธในมือก็ตกไปพระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ผู้แกล้วกล้า ปราศจากภัย ประทับนั่งอยู่ท่ามกลางกองกำลังของมาร เหมือนพระยาครุฑอยู่ท่ามกลางฝูงวิหค เหมือนราชสีห์ผู้ยิ่งยงอยู่ท่ามกลางฝูงมฤคฉะนั้นครั้งนั้น มารคิดว่า จักยังพระสิทธัตถะให้กลัวแล้วหนีไป แต่ไม่อาจให้พระโพธิสัตว์หนีไปด้วยฤทธิ์มาร ประการ คือ ลม ฝน ก้อนหิน เครื่องประหาร ถ่านไฟ ไฟนรก ทราย โคลน ความมืด มีใจขึ้งโกรธ บังคับหมู่มารว่า พนาย พวกเจ้าหยุดอยู่ไย จงทำสิทธัตถะให้ไม่เป็นสิทธัตถะ จงจับ จงฆ่า จงตัด จงมัด จงอย่าปล่อย จงให้หนีไป ส่วนตัวเองนั่งเหนือคอคชสารชื่อคิรีเมขละ ใช้กรข้างหนึ่งกวัดแกว่งศร เข้าไปหาพระโพธิสัตว์กล่าวว่า ท่านสิทธัตถะ จงลุกขึ้นจากบัลลังก์ ทั้งหมู่มารก็ได้ทำความบีบคั้นร้ายแรงยิ่งแก่พระมหาสัตว์ครั้งนั้น พระมหาบุรุษตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนมาร ท่านบำเพ็ญบารมีเพื่อบัลลังก์มาแต่ครั้งไร แล้ว ทรงน้อมพระหัตถ์ขวาสู่แผ่นปฐพี ขณะนั้นนั่นเอง ลมและน้ำที่รองแผ่นปฐพี ซึ่งหนาหนึ่งล้านหนึ่งหมื่นสี่พันโยชน์ ก็ไหวก่อนต่อจากนั้น มหาปฐพีนี้ ซึ่งหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ก็ไหว ๖ ครั้ง สายฟ้าแลบและอสนีบาตหลายพันเบื้องบนอากาศ ก็ผ่าลงมา ลำดับนั้น ช้างคิรีเมขละก็คุกเข่า มารที่นั่งบนคอคิรีเมขละ ก็ตกลงมาที่แผ่นดิน แม้พรรคพวกของมารก็กระจัดกระจายไปในทิศใหญ่ทิศน้อย เหมือนกำแกลบที่กระจายไปฉะนั้นลำดับนั้น แม้พระมหาบุรุษ ทรงกำจัดกองกำลังของมารพร้อมทั้งตัวมารนั้น ด้วยอานุภาพพระบารมีทั้งหลายของพระองค์ มีขันติ เมตตา วิริยะและปัญญาเป็นต้น ปฐมยามทรงระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยมาแต่ก่อน มัชฌิมยามทรงชำระทิพยจักษุ ปัจจุสมัยใกล้รุ่ง ทรงหยั่งญาณลงในปัจจยาการที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมา ทรงยังจตุตถฌานมีอานาปานะเป็นอารมณ์ให้เกิดแล้ว ทรงทำจตุตถฌานนั้นให้เป็นบาทแล้ว ทรงเจริญวิปัสสนา ทรงยังกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยมรรคที่ ๔       (ญาณอันให้สำเร็จความเป็นพระอริยะ มี ๔ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค; บางทีเรียกมรรคมีองค์ ๘ ว่า อริยมรรค ก็มี แต่ควรเรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค)  ซึ่งทรงบรรลุมาตามลำดับมรรค ทรงแทงตลอดพระพุทธคุณทั้งปวง ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมา ทรงเปล่งพระพุทธอุทานว่า

อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ

คหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ

คหการก ทิฏฺโฐสิ ปุน เคหํ น กาหิสิ

สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ

วิสงฺขารคตํ จิตตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา

            เราแสวงหานายช่างผู้สร้างเรือนคือตัณหา เมื่อไม่พบ ก็ต้องท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมากการเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนนายช่างผู้สร้างเรือนคือตัณหา เราพบท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือนแก่เราอีกไม่ได้แล้ว โครงสร้างเรือนของท่าน เราก็หักหมดแล้ว ยอดเรือนคืออวิชชา เราก็รื้อเสียแล้ว จิตเราถึงวิสังขาร ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ เพราะเราบรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว

หลักธรรมที่สำคัญ         

อริยสัจ ๔

            อริยสัจ ๔ (Four Noble Truths) มาจากคำว่า อริยะ + สัจจะ ซึ่งรวมกันได้ว่า ความจริงอันประเสริฐ มี ๔ ข้อคือ

๑. ทุกข์ (The Nature of Suffering) คือ เหตุที่ทำให้ไม่สบายกาย หรือใจ

๒. สมุทัย (Suffering's Origin) คือ เหตุแห่งทุกข์

๓. นิโรธ (Suffering's Cessation) คือ ความดับทุกข์

๔. มรรค (The Way Leading to the Cessation of Suffering) คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

          อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ ๔ เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่ ๔ ประการ คือ

            ๑. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ ๕

            ๒. ทุกขสมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ

            ๓. ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง ๓ ได้อย่างสิ้นเชิง

            ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคอันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ ๖. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ ๗. สัมมาสติ-ระลึกชอบ และ ๘. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง

            มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้ ๑. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ๒. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ ๓. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ

อริยสัจ ๔ นี้ เรียกสั้น ๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

            วิธีคิดแบบอริยสัจจ์ คิดแบบแก้ปัญหา

วิธีคิดแบบอริยสัจจ์ มีลักษณะทั่วไป ๒ ประการคือ

   ) เป็นวิธีคิดตามเหตุและผล หรือเป็นไปตามเหตุและผล  สืบสาวจากผลไปหาเหตุแล้วแก้ไขและทำการที่ต้นเหตุ จัดเป็น ๒ คู่  คือ  

   คู่ที่ 1    ทุกข์ เป็นผล    เป็นตัวปัญหา  เป็นสถานการณ์ที่ประสบซึ่งไม่ต้องการ 

   สมุทัย เป็นเหตุ   เป็นที่มาของปัญหา   เป็นจุดที่จะต้องกำจัดหรือแก้ไข  จึงจะพ้นจากปัญหาได้ 

   คู่ที่ ๒   นิโรธ เป็นผล    เป็นภาวะสิ้นปัญหา   เป็นจุดหมายซึ่งต้องการจะเข้าถึง

   มรรค เป็นเหตุ    เป็นวิธีการ  เป็นข้อปฏิบัติที่ต้องกระทำในการแก้ไขสาเหตุ เพื่อบรรลุจุดหมายคือภาวะสิ้นปัญหาอันได้แก่ความดับทุกข์

)  เป็นวิธีคิดที่ตรงจุดตรงเรื่อง   ตรงไปตรงมา   มุ่งตรงต่อสิ่งที่จะต้องทำต้องปฏิบัติต้องเกี่ยวข้องของชีวิต   ใช้แก้ปัญหา   ไม่ฟุ้งซ่านออกไปในเรื่องฟุ้งเฟ้อที่สักว่าคิดเพื่อสนองตัณหามานะทิฏฐิ ซึ่งไม่อาจมาใช้ปฏิบัติ   ไม่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา

            ขั้นที่ ๑ ทุกข์ คือสภาพปัญหา ความคับข้อง ติดขัด กดดัน บีบคั้น บกพร่อง ที่เกิดมีแก่

ชีวิตหรือที่คนได้ประสบ ซึ่งเมื่อว่าอย่างกว้างที่สุดก็คือภาวะที่สังขารหรือนามรูปหรือขันธ์ ๕ หรือโลกและชีวิตตกอยู่ในอำนาจของกฎธรรมดา เป็นของไม่เที่ยงแท้คงที่ ถูกเหตุปัจจัยต่างๆ กดดันบีบคั้นและขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีตัวตนที่จะอยู่ในอำนาจครอบครองบังคับได้จริงนั่นเอง สำหรับทุกข์นี้เรามีหน้าที่เพียงกำหนดรู้ คือทำความเข้าใจและกำหนดขอบเขตให้ชัด เหมือนอย่างแพทย์กำหนดรู้หรือตรวจให้รู้ว่าเป็นอาการของโรคอะไร เป็นที่ไหน หน้าที่นี้เรียกว่า ปริญญา เราไม่มีหน้าที่เอาทุกข์มาครุ่นคิดมาแบกไว้หรือคิดขัดเคืองเป็นปฏิปักษ์กับความทุกข์หรือห่วงกังวลอยากหายทุกข์ เพราะคิดอย่างนั้นมีแต่จะทำให้ทุกข์เพิ่มขึ้น เราอยากแก้ทุกข์ได้ แต่เราก็แก้ทุกข์ด้วยความอยากไม่ได้ เราต้องแก้ด้วยรู้มันกำจัดเหตุของมัน ดังนั้น จะอยากไปก็ไม่มีประโยชน์ มีแต่โทษเพิ่มขึ้น ข้อนี้นอกจากกำหนดรู้แล้วก็เพียงวางใจวางท่าทีแบบรู้เท่าทันคติธรรมดาอย่างที่กล่าวในขั้นที่ ๑ ของวิธีที่ ๓ เมื่อกำหนดรู้ทุกข์หรือเข้าใจปัญหา เรียกว่าทำปริญญาแล้ว ก็เป็นอันปฏิบัติหน้าที่ต่อทุกข์หรือต่อปัญหาเสร็จสิ้น พึงก้าวไปสู่ขั้นที่สองทันที

            ขั้นที่ ๒ สมุทัย คือเหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ได้แก่ เหตุปัจจัยต่างๆ ที่

เข้าสัมพันธ์ขัดแย้งส่งผลสืบทอดกันมาจนปรากฏเป็นสภาพบีบคั้น กดดัน คับข้อง ติดขัด อึดอัด บกพร่อง ในรูปต่างๆแปลก ๆ กันไป อันจะต้องค้นหาให้พบ แล้วทำหน้าท่ต่อมันให้ถูกต้องคือ ปหาน ได้แก่ กำจัดหรือละเสีย ตัวเหตุแกนกลางที่ยืนพื้นหรือยืนโรงกำกับชีวิตอยู่ควบคู่กับความทุกข์พื้นฐานของมนุษย์ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ทั้งระดับหน้าโรงคือตัณหา  และระดับเต็มกระบวนหรือเต็มโรง คือ การสัมพันธ์สืบทอดกันแห่งเหตุปัจจัยตามหลักปฏิจจสมุปบาท เมื่อประสบทุกข์ หรือ ปัญหาจำเพาะแต่ละกรณีก็ต้องพิจารณาสืบสาวหาสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ใช้วิธีคิดแบบที่ ๑ (วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย) ถ้าเป็นปัญหาเกี่ยวกับปัจจัยด้านมนุษย์ ก็พึงนำเอาตัวเหตุแกนกลางหรือเหตุยืนโรงมาพิจารณาร่วมกับเหตุปัจจัยเฉพาะกรณีด้วย เมื่อสืบค้นวิเคราะห์และวินิจฉัยมูลเหตุของปัญหา ซึ่งจะต้องกำจัดหรือแก้ไขได้แล้ว ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการคิดขั้นที่สอง

            ขั้นที่ ๓ นิโรธ คือความดับทุกข์ ความพ้นทุกข์ ภาวะไร้ทุกข์ ภาวะพ้นปัญหา หมดหรือ

ปราศจากปัญหา เป็นจุดหมายที่ต้องการ ซึ่งเรามีหน้าที่ สัจฉิกิริยา หรือประจักษ์แจ้ง ทำให้เป็นจริง ทำให้สำเร็จ หรือบรรลุถึง ในขั้นนี้จะต้องกำหนดได้ว่าจุดหมายที่ต้องการคืออะไร การที่ปฏิบัติอยู่นี้หรือจะปฏิบัติเพื่ออะไร จะทำกันไปไหน จุดหมายนั้นเป็นไปได้หรือไม่ เป็นไปได้อย่างไร มีหลักการในการเข้าถึงอย่างไร มีจุดหมายรอง หรือจุดหมายลดหลั่นแบ่งเป็นขั้นตอนในระหว่างได้อย่างบ้าง

            ขั้นที่ ๔ มรรค คือทางดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือวิธีแก้ไขปัญหา ได้แก่

วิธีการและรายละเอียดสิ่งที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยของปัญหา ให้เข้าถึงจุดหมายที่ต้องการ



ไตรลักษณ์ ๓

ไตรลักษณ์ (ลักษณะ ๓ ประการ แห่งสังขารธรรมทั้งหลาย — the Three Characteristics)

       ๑. อนิจจตา (ความเป็นของไม่เที่ยง — impermanence; transiency)

       ๒. ทุกขตา (ความเป็นทุกข์ — state of suffering or being oppressed)

       ๓. อนัตตตา (ความเป็นของไม่ใช่ตน — soullessness; not-self)

                 ไตรลักษณ์ แปลว่า "ลักษณะ ๓ อย่าง" หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ๓ อย่าง ได้แก่

       ๑. อนิจจตา (อนิจจัง) - ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป

       ๒. ทุกขตา (ทุกขัง) - ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว

        ๓. อนัตตตา (อนัตตา) - ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร

            ลักษณะ ๓ อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิกาย คือกฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร





ปฏิจจสมุปบาท

            ปฏิจจสมุปบาท มีองค์หรือหัวข้อ ๑๒ (การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกัน, ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันๆ จึงเกิดมีขึ้น — the Dependent Origination; conditioned arising)

๑/๒. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี (Dependent on lgnorance arise Karma-Formations)

๓. สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี (Dependent on Karma-Formations arise Consciousness)

๔. วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูป จึงมี (Dependent on Consciousness arise Mind and Matter)

๕. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี (Dependent on Mind and Matter arise the Six Sense-Bases.)

๖. สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี (Dependent on the Six Sense-Bases arises Contact)

๗. ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี (Dependent on Contact arise Feeling)

๘. เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี (Dependent on Feeling arise Craving.)

๙. ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี (Dependent on Craving arises Clinging.)

๑๐. อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพ จึงมี (Dependent on Clinging arises Becoming.)

๑๑. ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ จึงมี (Dependent on Becoming arises Birth.)

๑๒. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ จึงมี (Dependent on Birth arise Decay and Death.)

โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ   ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม (There also arise sorrow, lamentation, pain, grief and despair.)

เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ. ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้  (Thus arises this whole mass of suffering.)



หลักพระพุทธศาสนาโดยสรุป

     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม

      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล



ปรินิพพาน

ครั้นพระอานนท์รับพระพุทธบัญชา ถวายบังคมลาออกไปนั่งอยู่ที่ร่มไม้แห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่วิเวก ไม่ไกลจากพระบรมศาสดาแล้ว ลำดับนั้น พญาวัสวดีมาร ผู้ใจบาป ก็ถือโอกาสเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทูลอาราธนา ปรารภถึงความหลัง เมื่อครั้งแรกตรัสรู้ เสด็จอยู่ ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธว่า เมื่อครั้งนั้น ได้ทูลอาราธนาให้เสด็จปรินิพพานแล้ว แต่พระองค์ทรงห้ามว่า ตราบใด บริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา สาวกของตถาคตยังไม่เจริญมั่นคงก็ดี ศาสนาของตถาคตยังไม่แพร่ไพศาลไปทั่วโลกธาตุก็ดี ตราบนั้น ตถาคตจะยังไม่ปรินิพพานก่อน ข้าแต่พระผู้มี พระภาคเจ้า บัดนี้ บริษัท ๔ ของพระผู้มีพระภาคได้เจริญแพร่หลายแล้ว พระศาสดาได้ดำรงมั่นเป็นหลักฐาน สมดังมโนปณิธานแล้ว ขออาราธนาพระองค์เสด็จปรินิพพานเถิด

              พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า "ดูกรมาร ท่านจงมีความขวนขวายน้อยเถิด อย่าทุกข์ใจไปเลย ไม่ช้าแล้ว ตถาคตก็จักปรินิพพาน กำหนดการแต่นี้ล่วงไปอีก ๓ เดือนเท่านั้น" ครั้นพญามารได้สดับพระพุทธบัญชาเช่นนั้น ก็มีจิตโสมนัสยินดี แล้วก็อันตรธานจากสถานที่นั้นไป

              เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า กำหนดพระทัย ทรงปลงพระชนมายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ ในวันมาฆะปุรณมี เพ็ญเดือน ๓ ครั้งนั้น ก็บังเกิดมหัศจรรย์บันดาล พื้นแผ่นพสุธาธารโลกธาตุ ก็กัมปนาทหวั่นไหว ประหนึ่งว่า แสดงความทุกข์ใจ อาลัยในพระผู้มีพระภาคเจ้า จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานในกาลไม่นาน ต่อนี้ไปอีก ๓ เดือนเท่านั้น

   "ดูกรอานนท์ สิ่งใดที่ตถาคตได้สละแล้ว คายแล้ว ปล่อยเสียแล้ว ละเสียแล้ว วางเสียแล้ว การที่ตถาคตจักคืนกลับมารับสิ่งนั้นเข้าไว้อีก เพราะเหตุแห่งชีวิต ไม่เป็นฐานะที่จะมีขึ้นได้เลย

              อานนท์ ทั้งคนหนุ่ม ทั้งคนแก่ ทั้งคนโง่ คนฉลาด คนจน คนมี ล้วนแต่มีความตายเป็นที่ไปในเบื้องหน้าด้วยกันสิ้น เหมือนภาชนะดิน ถึงจะเล็ก ใหญ่ ดิบ สุก ประการใด ก็ย่อมมีความแตกทำลายเป็นที่สุดเหมือนกันหมด ฉะนั้น

              สังขารทั้งหลาย มีความไม่เที่ยงเป็นธรรม มีความเกิดในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับทำลายลงในที่สุด พระนิพพาน เป็นคุณชาติดับเสียซึ่งชาติ ชรา มรณะ เป็นเอกันตสุข ประเสริฐ หาสิ่งเสมอมิได้

            ทรงตั้งพระทัยเสด็จไปทางทิศเหนือแถบเชิงเขาหิมาลัย อันเป็นสถานที่ที่พระองค์ทรงคุ้นเคยเป็นอย่างดีในวัยหนุ่ม พระองค์มีพระประสงค์จะเสด็จปรินิพพานในถิ่นนั้น จึงได้เสด็จออกจากนครราชคฤห์ไปด้วยพระบาท ซึ่งบัดนี้อยู่ในสภาพที่อ่อนล้า ตรงไปยังนครน้อยๆ ชื่อว่า นครกุสินารา เพื่อปรินิพพานที่นั่น ในระหว่างทางพระองค์ได้เสด็จผ่านเมือง ปาตลีบุตร ซึ่งบัดนี้เรียกกันว่าเมืองปัตตนะ แล้วยังคงเสด็จไปทางทิศเหนือ ผ่าน นครเวสาลี อันเป็นสถานที่ซึ่งพระองค์เคยประทับอยู่ และทรงรับวิหารแห่งหนึ่งซึ่งหญิงคณิกาชื่อ อัมพปาลี เป็นผู้ถวาย โดยการแข่งขันแย่งกันกระทำถวายทานในระหว่างหญิงคณิกาผู้นี้ กับบรรดาเจ้าชายจำนวนหนึ่งแห่งนครนั้น
      เมื่อพระองค์เสด็จถึงหมู่บ้าน เวฬุวคาม พระองค์รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายแยกย้ายกันจำพรรษาตามพอใจ ส่วนพระองค์เอง ทรงตั้งพระทัยจำพรรษา ณ หมู่บ้านนั้นพร้อมทั้งพระอานนท์ ซึ่งเป็นผู้อุปัฏฐาก แต่เมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ประทับอยู่ที่นั่น ไม่ได้นาน เนื่องจากประชวรหนัก พระองค์ทรงประสงค์ที่จะพบภิกษุทั้งหลาย เพื่อกล่าวคำชี้แจงและสนับสนุนให้เกิดความบากบั่นอย่างสูงสุด ในการประพฤติพรหมจรรย์อีกครั้งหนึ่ง จึงได้เสด็จจากหมู่บ้านเวฬุวคามนั้น ไปด้วยความพยายามอย่างสุดกำลังของพระองค์ ด้วยความอดกลั้นอดทนต่อทุกข์เวทนาอันเนื่องด้วยความเจ็บป่วย
      ครั้นพระองค์ทรงทุเลาขึ้นจากความเจ็บไข้ในระยะหนึ่ง ได้เสด็จประทับนั่งอยู่ ณ เงาวิหารแห่งหนึ่ง ในเวลาเที่ยงวันบนอาสนะซึ่งพระอานนท์จัดถวาย พระอานนท์ได้กราบทูลพระพุทธองค์ในที่นั้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์มีความยินดีอย่างสูงสุดที่ได้เห็นว่าพระผู้มีพระภาคเจ้ากลับทรงสบายดังเดิม จิตใจของข้าพระองค์มืดมัวแทบจะสิ้นสติไปในเมื่อได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประชวรหนัก เมื่อไม่นานมานี้ แต่ข้าพระองค์ยังคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เสด็จปรินิพพานเป็นแน่ จนกว่าจะได้ตรัสคำแนะนำสั่งสอนอันถึงที่สุดแก่พระภิกษุสงฆ์เสียก่อน พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายจักได้ถือเป็นหลักปฏิบัติกัน ในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จล่วงลับไปแล้ว

                กาลเวลาของเราจวนจะถึงที่สุด เรามีอายุ 80 ปีแล้ว เรามีอยู่เพียงอย่างเดียว ที่จะกล่าวแก่ท่านทั้งหลายว่า พวกท่านทั้งหลายจงมีแสงสว่างเป็นของตนเอง จงทุกคน, จงมีตนเองเป็นที่พึ่งของตนเอง จงทุกคน, จงอย่ามีผู้อื่นหรือสิ่งอื่น เป็นแสงสว่างหรือที่พึ่งของตนเลย ดูก่อนอานนท์, เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปใดทำตนให้เป็นแสงสว่างของตนเอง ทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนเอง ไม่ถือเอาผู้อื่นหรือสิ่งอื่น เป็นแสงสว่างหรือที่พึ่งแล้ว ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นสาวกอันแท้จริงของเรา อยู่ตลอดเวลา และเป็นผู้เดินไปในทางถูกโดยส่วนเดียว
      ในวันรุ่งขึ้น พระพุทธองค์ทรงรู้สึกสบาย จนถึงกับทรงสามารถเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในนครเวสาลี ในตอนเย็นรับสั่งให้พระอานนท์เรียกประชุมภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย บรรดาที่อยู่จำพรรษาในนครเวสาลี เพื่อมาฟังพระดำรัสของพระองค์พร้อมกัน เมื่อภิกษุทั้งหลายมาพร้อมกันแล้ว พระองค์ได้ตรัสถ้อยคำซึ่งเป็นการกระตุ้นเตือนอย่างสำคัญที่สุด และเป็นการแสดงความหวังครั้งสุดท้ายของบุคคลที่จะจากไป อย่างแท้จริง เพื่อให้ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นพากันประพฤติปฏิบัติตามทางที่ถูกต้อง อันพระองค์ได้ทรงสอนไว้ อย่างเคร่งครัด เพื่อเห็นแก่ชาวโลก เพื่อเป็นประโยชน์ เป็นความดี และเป็นความเกื้อกูลแก่ชาวโลกทุกคน ผู้หวังในอันที่จะประพฤติตามตัวอย่างในการประพฤติพรหมจรรย์ อันสมบูรณ์และบริสุทธิ์ พระองค์ได้ตรัสว่า ทุกอย่างที่อยู่ในวิสัยโลกย่อมเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลง ไม่ตั้งอยู่นาน จงแข็งข้อ จงบากบั่น เพื่อก้าวไปข้างหน้า จงเดินตามทางถูก จงเฝ้าระวังจิตของตัวเอง อย่างใกล้ชิด เมื่อเป็นดังนั้นพวกท่านจะประสบความรอดพ้นอันแท้จริง จากความเวียนเกิดและเวียนตายและความทุกข์ทั้งปวง
      ในวันรุ่งขึ้น พระองค์ได้เสด็จต่อไปยังนครกุสินารา ในระหว่างทาง ที่หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่ง อันเรียกกันว่า หมู่บ้านปาวา พระองค์ได้รับนิมนต์ของบุตรนายช่างทองคนหนึ่งมีนามว่า จุนทะ เพื่อรับอาหารบิณฑบาต ด้วยอาหารชนิดหนึ่ง อันเรียกกันว่า สูกรมัททวะ (สูกะระมัดทะวะ) เป็นเห็ดชนิดหนึ่งซึ่งหมูป่าชอบกิน จึงทำให้มันได้ชื่อเช่นนั้น ซึ่งคำๆ นั้นแปลว่า ของชอบของหมูพระพุทธองค์เสวยอาหารบิณฑบาตซึ่งนายจุนทะจัดถวาย หลังจากเสวยแล้วพระโรคอย่างที่พระองค์ประชวรที่หมู่บ้านเวฬุวคามได้กลับมาอีก ในครั้งนี้พระโรคได้กำเริบแรงกล้ากว่าครั้งแรก แทบจะเหลือกำลังที่พระองค์ทรงอดทนอดกลั้นได้ พระองค์ก็ยังคงเสด็จต่อไป เพื่อมุ่งไปสู่เมืองกุสินารา ด้วยความยากลำบาก จนกระทั่งมาถึงป่าไม้สาละนอกนคร อันเป็นที่เที่ยวเล่นของบรรดากษัตริย์แห่งนครนั้น
      เมื่อพระพุทธองค์ได้เสด็จมาในระยะใกล้กับป่านี้ และทรงรู้สึกว่าพระองค์ไม่สามารถจะทรงดำเนินได้ ต่อไปอีกแล้ว ได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์, จงเตรียมที่สำหรับเราจะนอนพัก ที่ระหว่างแห่งต้นสาละใหญ่ทั้งสองนั้น เรารู้สึกอ่อนเพลียมากนัก
      พระอานนท์ได้พับผ้าสังฆาฏิของพระพุทธองค์เข้าเป็นสี่ชั้น แล้วปูลาดลงบนแผ่นดิน ในระหว่างแห่งต้นสาละใหญ่ทั้งสองต้นนั้น ซึ่งเมื่อพระองค์ประทับนอนแล้ว จะมีศีรษะผันไปทางเหนือ พระพุทธองค์ทรงเอนกายลงบรรทมบนที่ซึ่งพระอานนท์จัดถวาย พระองค์ไม่ได้บรรทมหลับ เป็นแต่เพียงพักผ่อนบรรเทาความไข้และความเมื่อยล้า พระหฤทัยของพระองค์ยังคงสงบ และแน่วแน่เช่นเคยปราศจากความกระสับกระส่ายแต่ประการใด เพราะว่าพระหฤทัยของพระองค์ จักต้องเป็นเช่นนั้นเสมอ พระองค์ได้เคยตรัสแก่พระสารีบุตรครั้งหนึ่ง เมื่อนานมาแล้ว ในขณะที่พระองค์ทรงสบายดีอยู่ว่า แม้พระองค์จักอยู่จนกระทั่งแก่ชรา หากำลังมิได้ ถึงกับไม่อาจจะดำเนินด้วยพระบาท ถึงกับเขาต้องหามไปด้วยแคร่ ก็ตาม แม้กระนั้น พระหฤทัยของพระองค์ก็จักยังคงสงบและแจ่มใส สามารถอธิบายธรรมอันลึกซึ้ง และตอบปัญหาใดๆ ซึ่งนักปราชญ์แลนักศึกษาที่ฉลาดที่สุดจะมาถาม ได้ตลอดเวลาที่เขาอยากจะถาม ความมืดมัวและอ่อนเพลียในส่วนพระหฤทัยของพระองค์เป็นสิ่งที่มีไม่ได้เลย
            ต่อแต่นั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อน ล้วนแต่มีอุปัฏฐากอันเลิศ แต่ก็ไม่ยิ่งไปกว่าที่อานนท์ได้เป็นแก่เราในกาลนี้ แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายอันจักมีมาในอนาคต ก็ล้วนแต่จักมีอุปัฏฐากอันเลิศ แต่ก็จักไม่ยิ่งไปกว่าอานนท์ที่ได้เป็นแก่เราในกาลนี้ อานนท์ได้เป็นอุปัฏฐากที่ดีที่สุด และฉลาดเฉลียวของเรา อานนท์ย่อมรู้จักกาลเวลาอันเหมาะสม ที่จะให้แขกผู้มาเยี่ยมเยียนเข้ามาหาเรา อานนท์ปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านั้นด้วยถ้อยคำและท่าทางที่น่าปลาบปลื้มยิ่งนัก แขกทุกคนได้รับความพอใจอย่างสูงสุด จากการกระทำของอานนท์เสมอ เมื่ออานนท์กล่าวเรื่องราวใดๆ คนเหล่านั้นพากันสนใจฟังมากไปกว่าที่อานนท์ตั้งใจกล่าว อานนท์ได้เป็นอุปัฏฐากอันเลิศของเราเช่นนี้ตลอดมา
      พระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงอย่าได้เสด็จปรินิพพานในเขตของเมืองป่าเมืองดอนเมืองเล็กเมืองน้อย ณ ที่อันไม่สมควรเช่นนี้เลย นครใหญ่ๆ เช่นกรุงราชคฤห์ สาวัตถี เวสาลี และอื่นๆ ก็มีอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงพอพระทัยที่จะเสด็จปรินิพพาน ณ เมืองใด เมืองหนึ่ง ในบรรดาเมืองเหล่านั้นเถิด ในเมืองเหล่านั้นมีเศรษฐี และผู้มีอำนาจวาสนา ซึ่งเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่เป็นอันมาก เขาเหล่านั้นจักเอาภาระในการจัดพระศพของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้สมกัน

                  พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า อย่าเลยอานนท์ อย่ากล่าวดังนั้นเลย เธออย่าพึงกล่าวว่าเมืองนี้เป็นเมืองป่าเมืองดอน ในอดีตกาลนานไกลเมืองนี้เป็นนครอันมั่งคั่ง เป็นราชธานีที่ประทับของพระเจ้าจักรพรรดิมาแล้ว ดูก่อนอานนท์ เธอจะไปบอกกล่าวแก่ผู้เป็นอธิบดีและชนชาวเมืองกุสินาราว่า ในคืนนี้ในยามสุดท้ายแห่งราตรี ตถาคตจักปรินิพพานในป่านี้ คนเหล่านั้นควรจักเห็นตถาคตเสียแต่บัดนี้ ก่อนแต่ปรินิพพานจะมาถึง
      พระอานนท์ได้พาภิกษุบางรูปเดินทางเข้าไปนครกุสินารา และบอกกล่าวแก่บรรดาหัวหน้าและประชาชนตามที่พระพุทธองค์ตรัสสั่งทุกประการ ประชาชนเหล่านั้นได้ฟังพระอานนท์กล่าวแล้ว พากันเศร้าโศกและคร่ำครวญว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานเร็วเกินไปเสียแล้ว ดวงประทีปของโลกดับเร็วเกินไปเสียแล้วชาวเมืองกุสินาราทั้งผู้หญิงผู้ชายและเด็กๆ พากันโศกเศร้าคร่ำครวญ ออกมาสู่สวนไม้สาละ อันเป็นที่ซึ่งพระพุทธองค์ได้ประทับอยู่ในขณะนั้น เพื่อการเยี่ยมเยียนและกล่าวคำอาลัยเป็นครั้งสุดท้ายต่อพระองค์ ชาวนครกุสินาราคณะหนึ่งๆ โดยผู้นำคนหนึ่งๆ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทีละคนๆ โดยลำดับกัน และกล่าวคำถวายความอาลัยในพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยกันทุกคน
      ในขณะนั้นมีปริพาชก เป็นนักบวชผู้จาริกเป็นนิจคนหนึ่งนามว่า สุภัททะ พักอยู่ในเมืองกุสินารานั้น เมื่อเขาทราบว่า พระพุทธองค์กำลังจะปรินิพพานในคืนนี้ ก็ตั้งใจจะไปเฝ้าพระพุทธองค์โดยทันที เพื่อถามปัญหาบางประการ ซึ่งทำความยุ่งยากให้แก่เขาในขณะนั้น เขาเชื่อว่าพระพุทธองค์เท่านั้นที่จะสามารถแก้ปัญหานี้ ให้กระจ่างได้ ดังนั้น นักบวชชื่อสุภัททะได้ไปที่ป่าไม้สาละ และขออนุญาตกับพระอานนท์เพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ และทูลถามปัญหาของเขา ก่อนแต่ที่พระพุทธองค์จะเสด็จปรินิพพาน
      พระอานนท์ได้ตอบแก่เขาว่าอย่าเลย สุภัททะ อย่าเลย พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังทรงอิดโรยเป็นอย่างยิ่ง อย่ารบกวนพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยการถามปัญหาเลยแต่นักบวชชื่อสุภัททะนั้นมีความร้อนใจมากเกินไป จึงไม่ฟังคำปฏิเสธของพระอานนท์ ได้รบเร้าแล้วรบเร้าอีก เพื่อให้พระอานนท์ยินยอมให้เขาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าให้จนได้ พระอานนท์ได้ปฏิเสธแล้วปฏิเสธอีกโดยบอกว่า พระองค์กำลังประชวรหนัก ไม่ควรจะได้รับความรบกวนจากบุคคลผู้ใด
      แต่อย่างไรก็ตาม พระพุทธองค์ได้ทรงสดับเสียงของคนทั้งสอง จนทราบความประสงค์ของนักบวชชื่อสุภัททะ จึงรับสั่งให้พระอานนท์มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธออย่าห้ามกันสุภัททะ เพื่อไม่ให้เขามาหาเราเลย จงปล่อยสุภัททะให้เข้ามาหาเราตามความปรารถนา ข้อที่เขาจักถามเรานั้น จักเป็นความดีแก่การศึกษาในธรรมวินัยของเรา หาใช่เป็นการรบกวนเราโดยไร้ประโยชน์แต่อย่างไรไม่ เขาเป็นผู้ที่มีความเข้าใจได้รวดเร็วและจักเข้าใจข้อความที่เรากล่าวได้ในทันที
      พระอานนท์ได้ยินยอม ให้นักบวชชื่อสุภัททะเข้าไปหาพระพุทธองค์ เมื่อสุภัททะได้กล่าวถ้อยคำแสดงความเคารพ และทำความคุ้นเคยกับพระองค์พอสมควรแล้ว ได้กล่าวถามปัญหาต่อหน้าพระองค์ว่า ข้าแต่พระโคดม สมณพราหมณ์ เจ้าหมู่เจ้าคณะที่มีชื่อเสียงเหล่าอื่น นอกจากพระองค์ ได้บรรลุสัจธรรมจริงดังที่เขากล่าวหรือว่ามิได้บรรลุดังที่เขากล่าว หรือบางพวกที่ได้บรรลุ และบางพวกไม่ได้บรรลุ
      พระพุทธองค์ได้ตรัสว่าอย่าเลย สุภัททะ, อย่าคิดในปัญหาข้อนั้นเลย แต่จงฟังเรา จงสนใจในคำที่เราจะกล่าว เราจักทำให้ท่านเข้าใจในธรรมะของเรา ในบัดนี้ ดูก่อนสุภัททะ, ในธรรมวินัยของศาสดาองค์ใด ไม่ประกอบอยู่ด้วยธรรมอันเป็นเครื่องดำเนินไปอย่างถูกต้อง 8 ประการ ในธรรมวินัยนั้นย่อมไม่มีบุคคลผู้เป็นโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี หรืออรหันต์ ในธรรมวินัยใด มีธรรมเป็นเครื่องดำเนินไปอย่างถูกต้อง ๘ ประการดังกล่าวแล้ว ในธรรมวินัยนั้นย่อมมีบุคคลผู้เป็นโสดาบัน เป็นสกทาคามี อนาคามีและอรหันต์ ดูก่อนสุภัททะ, ในธรรมวินัยของเรานี้ประกอบอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องดำเนินไปอย่างถูกต้อง ๘ ประการดังกล่าวนั้น ในธรรมวินัยนี้จึงมีบุคคลผู้เป็นโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และอรหันต์ ดูก่อนสุภัททะ, หากภิกษุสาวกของเรา ยังคงปฏิบัติในธรรมเป็นเครื่องดำเนินไปอย่างถูกต้อง ๘ ประการนี้เพียงใดแล้ว โลกนี้ก็จักยังไม่ว่างจากพระอรหันต์อยู่เพียงนั้น

มรรค ๘

            . สัมมาทิฏฐิ - ความเห็นชอบ ความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง เห็นว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือเหตุแห่งทุกข์ สภาวะเช่นใดคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ วิธีการใดคือทางปฏิบัติเพื่อความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

            . สัมมาสังกัปปะ - ดำริชอบ คือ ดำริในการออกจากกาม ออกจากความพยาบาท ออกจากความเบียดเบียน

            . สัมมาวาจา - วาจาชอบ คือ งดเว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ

            . สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ หรือ ประพฤติชอบ (ทางกาย) คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม

            . สัมมาอาชีวะ - เลี้ยงชีพชอบ คือ การประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่ผิดศีลธรรม

            . สัมมาวายามะ - ความเพียรชอบ คือ

                        .) เพียรระวังบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น

                        .) เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

                        .) เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น

                        .) เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ตั้งมั่น มั่นคงต่อไป

                        . สัมมาสติ - ระลึกชอบ คือ ตามระลึกรู้ความเป็นไปของกาย เวทนา จิต ธรรม

                        . สัมมาสมาธิ - ตั้งใจมั่นชอบ ได้แก่ สมาธิในระดับต่างๆ อันเป็นไปเพื่อการกำจัดกิเลส

มรรคมีองค์แปด สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา

            ข้อ ๓--๕ เป็น ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)

            ข้อ ๖--๘ เป็น สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)

            ข้อ ๑-๒ เป็น ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)
            นักบวชชื่อสุภัททะ ได้ทูลขอพระพุทธานุญาตเพื่อบวชเป็นภิกษุในธรรมวินัยของพระองค์ พระพุทธองค์ได้ประทานโอกาส และตรัสสั่งให้พระอานนท์ประกอบการอุปสมบทให้แก่เขา โดยเหตุนี้ สุภัททะ จึงเป็นภิกษุผู้บวชเป็นองค์สุดท้าย ทำนองเดียวกันกับที่พระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้ฟังธรรมในป่าอิสิปตนะได้เป็นภิกษุองค์แรกที่ได้รับการอุปสมบท ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ พระสุภัททะผู้บวชแล้ว ได้มีความพากเพียรในธรรมวินัยอย่างแรงกล้า จนกระทั่งบรรลุความเป็นพระอรหันต์ได้ในเวลาอันไม่นานเลย

ประทานโอวาท
            ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า อานนท์ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว หากจะพึงมีภิกษุบางรูปดำริว่า พระศาสดาของเราปรินิพพานแล้ว บัดนี้ ศาสดาของเราไม่มี อานนท์ ท่านทั้งหลายไม่ควรดำริอย่างนั้น ไม่ควรเห็นอย่างนั้น แท้จริง วินัยที่เราได้บัญญัติแก่ท่านทั้งหลายก็ดี ธรรมที่เราได้แสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลายก็ดี เมื่อเราล่วงไป ธรรมและวินัยนั้น ๆ แล จักเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย

ปัจฉิมโอวาท

            "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อม ความสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลาย จงบำเพ็ญไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"

นิพพาน          

        เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสพระโอวาทประทานเป็นวาระสุดท้ายเพียงเท่านี้แล้ว ก็หยุด มิได้ตรัสอะไรอีกเลย ทรงทำปรินิพพานบริกรรมด้วยอนุปุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙ โดยอนุโลมเป็นลำดับดังนี้ คือ- 

      ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาณแล้ว

      ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว

      ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว

      ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว

      ทรงเข้าอากาสานัญจายตนะ          ออกจากอากาสานัญจายตนะแล้ว

      ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนะ            ออกจากวิญญาณัญจายตนะแล้ว

      ทรงเข้าอากิญจัญญายตนะ            ออกจากอากิญจัญญายตนะแล้ว

      ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ       ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว

      ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ       สมาบัติที่ ๙

              สัญญาเวทยิตนิโรธนี้ มีอาการสงบที่สุด ถึงดับสัญญาและเวทนา ไม่รู้สึกทั้งกายทั้งใจทุกประการ แม้ลมหายใจเข้าออกก็หยุด สงบยิ่งกว่านอนหลับ ผู้ไม่คุ้นเคยกับสมาบัตินี้ อาจคิดเห็นไปว่าตายแล้ว ดังนั้นพระอานนท์เถระเจ้า ผู้นั่งเฝ้าดูพระอาการอยู่ตลอดทุกระยะ ได้เกิดวิตกจิต คิดว่า พระบรมศาสดาคงจะเสด็จนิพพานแล้ว จึงได้เรียนถามพระอนุรุทธเถระเจ้า ผู้เชี่ยวชาญในสมาบัตินี้ว่า "ข้าแต่ท่านอนุรุทธ พระบรมศาสดาเสด็จนิพพานแล้วหรือยัง"

              "ยัง ท่านอานนท์ ขณะนี้พระบรมศาสดากำลังเสด็จอยู่ในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ" พระอนุรุทธบอก

              ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่ในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ตามเวลาที่พระองค์ทรงกำหนดแล้ว ก็เสด็จออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ ถอยออกจากสมาบัตินั้นโดยปฏิโลมเป็นลำดับจงถึงปฐมฌาน

      ต่อนั้นก็ออกจากปฐมฌานแล้ว      ทรงเข้าทุติยฌาน อีกวาระหนึ่ง

      ออกจากทุติยฌานแล้ว       ทรงเข้าตติยฌาน

      ออกจากตติยฌานแล้ว       ทรงเข้าจตุตถฌาน

      เมื่อออกจากจตุตถฌานแล้ว ก็เสด็จปรินิพพาน ณ ปัจฉิมยามแห่งราตรีวิสาขะปุรณมี เพ็ญเดือน ๖ มหามงคลสมัย ด้วยประการฉะนี้

              ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ก็บังเกิดมหัศจรรย์ แผ่นดินไหวกลองทิพย์ก็บันลือลั่น กึกก้องด้วยสัททสำเนียงเสียงสนั่นในนภากาศ เป็นมหาโกลาหล ในปัจฉิมกาล พร้อมกับขณะเวลาปรินิพพานของสมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นนาถะของโลก







This page is powered by Blogger. Isn't yours?

สมัครสมาชิก บทความ [Atom]