วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561
ศาสนากับความเชื่อ
ศาสนา เป็นคำที่บ่งบอกถึงสถาบันหรือกลุ่มผู้นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งในโลกซึ่งปัจจุบันศาสนามีมายมาก
เกิดขึ้นในโลกความเชื่อตามหลักศาสนาล้วนเกิดจากการปลูกฝังความเชื่อตามวัฒนธรรม
ถิ่นฐาน ชาติกำเนิด ซึ่งถูกปลูกฝังผ่านบิดา มารดา เครือญาติ จารีต
ประเพณี สภาพแวงล้อมของสังคมนั้น ๆ ศาสนาถือเป็นมรดกที่ถูกถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานที่นับถือสืบทอดกันมาเป็นรุ่นๆ
มีความเคารพศรัทธา เชื่อมั่น ปฏิบัติตาม คุ่มครองรักษาไว้เป็นมรดกของสังคม ชุมชน ร่วมกัน ศาสนาใดก็ตามย่อมมีความดี
เป็นหลักในการดำเนินชีวิตที่ดีงามทุกศาสนา มีหลักคำสอนประกอบด้วยข้อปฏิบัติที่ทำให้ผู้นับถือเข้าถึงหลักความดีงามในการดำเนินชีวิต
ทั้งหลักปฏิบัติที่ส่งเสริมให้เกิดความสุขในปัจจุบัน และ หลักปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงจุดหมายสูงสุดของศาสนา
การปฏิบัติต่อความศรัทธาความเชื่อของศาสนาเป็นหลักหรือเป็นแก่นอันนำไปสู่ความสงบสุขร่วมกันในสังคมแม้ว่าสังคมนั้นๆ
จะไม่ได้นับถือเคารพศาสนาเดียวกันก็ตามแต่เป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าศาสนาทุกศาสนาไม่ได้สอนให้เอารัดเอาเปรียบกัน
เกลียดชั่งกัน และเห็นบุคคลอื่นนอกเหนือจากศาสนิกชนของศาสนาที่ตนนับถือเป็นภัยต่อตนถ้าศาสนาเป็นเช่นนั้นแล้วศาสนาก็ไม่อาจเป็นประโยชน์สุขแก่มนุษยชาติได้
ซึ่งก็จัดเป็นลัทธิที่บังคับให้บุคคลปฏิบัติตามหลักการอุดมการของลัทธิตนเท่านั้น
หากเรามองเข้ามาในสังคมจักเห็นได้ว่าในสังคมหนึ่งๆ มีความเชื่อศาสนาและลัทธิเกี่ยวข้องอยู่กับประชากรในสังคมนั้นๆ
หลากหลายความเชื่อ ศาสนา ลัทธิ อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ชุมชน ประเทศชาติ ทุกคนล้วนปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของพระศาสดาของตนที่ทรงสั่งสอนให้ยึดมั่นในการปฏิบัติให้เข้าถึงความดี ความงาม ความจริงคือจุดหมายสูงสุดของศาสนาของตน
ทำให้สังคมมีความสุข มีความสงบ มีความปรองดอง รักใคร่สามัคคีกันของคนในสังคมร่วมกันได้นั้นอาจเป็นผลมาจากความหลากหลายในประชากรที่อาศัยร่วมกันปฏิบัติตามหลักคำสั่งสอนของศาสดาของแต่ละศาสนาที่สั่งสอนให้ปฏิบัติตั้งอยู่ในความดี
ความงาม ความปรองดอง
สามัคคีรักใคร่กันอยู่ร่วมกันของคนในสังคม จักเห็นได้ว่าศาสนา
ไม่ใช่เครื่องมือในการทำลายล้างกันของมนุษยชาติแต่เป็นเครื่องมือในการดำรงอยู่ร่วมกันของบุคคลในสังคมส่งเสริมให้เกิดความปรองดองสามัคคีมีความเคารพซึ่งกันและกันเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันเป็นเครื่องมือในการสร้างสังคม ชุมชน ที่มีความเป็นอยู่อย่างมีความสุข ความเจริญรุ่งเรืองของมนุษยชาติ อย่างไรก็ตามบุคคลบ้างกลุ่มก็ไม่ได้นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นเครื่องยึดเหนียวจิตใจแต่ก็อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีการนับถือศาสนา
ลัทธิ
ความเชื่อของประชากรในสังคมบุคคลเหล่านี้ก็ไม่ได้สร้างความแตกต่างให้สังคมอย่างชัดเจนเพียงแต่ไม่ยอมรับนับถือศาสนาเท่านั้นเอง
ผู้เขียนคงไม่อาจตอบคำถามของสาเหตุหรือเหตุผลของบุลคลเหล่านี้แทนได้แต่ก็พอเข้าใจได้ว่าเป็นเพราะความเจริญทาง
วิทยาศาสตร์ที่ตอบคำถามเชิงการ พิสูจน์ความจริงเชิงประจัก
ไม่ยอมรับความจริงเชิงตรรกะ แต่นั้นก็ไม่อาจทำให้เกิดสังคมใหม่หรือความเชื่อใหม่อย่างชัดเจนเพราะเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นมาพร้อมๆกันกับศาสนา
การที่จะให้บุคคลเชื่อเหมือนกัน หรือคิดเหมือนกันนั้นย่อมไม่อาจทำได้สังเกตง่ายๆ
จากในห้องเรียน นักเรียนเมื่อครูสอนวิชาความรู้ให้นักเรียนในเรื่องสังคม(เรื่องอื่นก็อาจเหมือนกัน)
ถ้านักเรียนในห้องมี 10 คน
อาจมีคนที่เชื่อครูสอนไม่ถึงครึ่งเพราะเหตุใดเพราะเหตุที่คนเราคิดไม่เหมือนกันนั่นเอง
จึงมีการตั้งคำถามเพื่อคลายความสงสัยและนำเข้าสู่ความเข้าใจที่ใกล้เคียงกันหรือตรงกันเป็นบ้างส่วนเท่านั้นเพราะการรับรู้ของแต่ละบุคคลแตกต่างกันเป็นผลมาจากการแสวงหาความรู้ที่แตกต่างกันดังนั่นประสบการณ์ในการรับรู้จึงแตกต่างกันนั่นเอง
คนที่ศึกษาแสวงหาความรู้มากกว่าและจากหลากหลายแหล่งความรู้ย่อมเข้าใจเรื่องที่ครูสอนตรงกันกับองค์ความรู้ที่ครูสอนแต่คนที่ไม่ได้แสวงหาความรู้เลยกล่าวคือไม่ได้รับรู้มาก่อนจากแหล่งความรู้ที่หลากหลายเพียงแต่อาศัยครูสั่งสอนอย่างเดียวย่อมตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ตนคิดว่าน่าจะเป็นความรู้ที่ตนจะได้รับเท่านั้น
ผู้เขียนได้แสดงเหตุการณ์ประกอบก็เพื่อต้องการให้เห็นภาพเท่านั้นอาจมีเหตุผลอื่นๆ
ที่ใช่อธิบายแนวคิดนี้ได้ดีกว่า ดังที่กล่าวมาแล้วแสดงให้เห็นแม้ว่าสังคมมีความแตกต่างทางด้านความเชื่อ
ศาสนา ลัทธิ
แต่สังคมนั้นย่อมหลีกเหลี่ยงการอาศัยร่วมกันอย่างเป็นอิสระไม่ได้เพราะสังคมประกอบด้วยความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นชนชาติ
เผาพันธ์ ศาสนา ความเชื่อ จารีต ประเพณี
ลัทธิอุดมการณ์ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นองค์ประกอบของสังคมที่อาศัยร่วมกันเป็นกลุ่ม
เป็นชุมชน เป็นประเทศชาติ และเป็นประชากรโลก
ย่อมอาศัยความแตกต่างเป็นเครื่องมือในการสร้างชุมชนให้ดำรงอยู่อย่างสงบสุขร่วมกัน ถ้าหากการตั้งชุมชน
สังคมที่ประกอบไปด้วยหลักการณ์ อุดมการณ์ ความเชื่อศาสนาเดียวกันแยกออกเป็นเอกเทศน์ออกไปจากสังคมอื่นที่มีความเชื่อศาสนา
วัฒนธรรม จารีต ประเพณี
ก็ย่อมขาดความหลากหลายทำให้การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลกลุ่มอื่นน้อยลง
ทำให้สังคมขาดความหลากหลายของประชากรในสังคมซึ่งมีผลเกี่ยวกับการปรับตัวให้เขากับวัฒนธรรมอื่น
ชนชาติอื่น ศาสนาอื่นเมื่อมีความจำเป็นต้องปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสังคมโลกก็ย่อมไม่เขาใจวิถีชีวิต
ธรรมเนียม จารีตของบุคคลที่ปฏิสัมพันธ์อยู่หรือมองกันคนละมุมมองนั้นเองดังเห็นตัวอย่างจากชนเผาต่างๆที่แยกตัวกันอยู่ซึ่งไม่นิยมมีความปฏิสัมพันธ์กัน
ทำให้มีความเขาใจในเรื่อง ความเชื่อ ศาสนา จารีต
ประเพณี ของชนเผาอื่นร่วมถึงภาษาที่ใช่ในการสื่อสารก็ทำให้เขาใจกันยากขึ้น
ทำให้ชนเผาแต่ละชนเผาอาศัยแยกตัวกันอยู่เป็นเอกเทศน์ มีความปฏิสัมพันธ์กันน้อย
แตกต่างจากสังคมที่ประกอบไปด้วยความหลากหลายของ เชื่อชาติ ศาสนา จารีต ประเพณี วัฒนธรรม เมื่อต้องการจะปฏิสัมพันธ์กันก็สามารถสื่อสารกันได้ตรงประเด่นเพราะรู้จักบุคคลที่ต้องการปฏิสัมพันธ์ด้วยว่าบุคคลนั้นนับถือศาสนาใดมีความเชื่ออย่างไร
จารีต ประเพณีของเขาเป็นอย่างไร นั้นเอง
ศาสนามีความจำเป็นต่อมนุษยชาติหรือไม่ ในมุมมองของผู้เขียนเห็นว่าศาสนาเป็นเครื่องมือของสังคมเพราะมีองค์ประกอบของความดี ความงาม
ความปรองดองรักใคร่สามัคคีของคนในสังคมเพราะสังคมประกอบไปด้วยเชื่อชาติ ความเชื่อ ศาสนา ลัทธิ จารีต ประเพณี
ที่ส่งเสริมให้สังคมนำหลักคำสอนของศาสดามาเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิต
และปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดหมายสูงสุดที่ศาสดาของแต่ละศาสนาได้ตรัสให้ปฏิบัติให้เกิดผลเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิตและจิตวิญญาณ
หากสังคมมนุษย์ไรซึ่งศาสนาแล้วสังคมมนุษย์จะเอาอะไรเป็นหลักดำเนินชีวิต
หรืออาจเป็นเสมือนสังคมสัตว์ที่อยู่ในป่า อยู่ในน้ำ กล่าวคือมีนักล่า และผู้ถูกล่า ใครแข็งแกรงกว่าเป็นผู้ชนะและรักษาเผาพันธ์ของตนไว้ได้ส่วนผู้ที่อ่อนแอ่ย่อมตกเป็นผู้ถูกล่าเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงชีพของผู้ที่แข็งแกรงกว่าการรักษาสกุล เผาพันธ์ของตนเองทำได้ยาก
ความอยู่รอดเป็นเรื่องลำบาก เพราะต้องคอยระแวดระวังอยู่ตลอดเวลา
และอาจเสียงต่อการสูญเผาพันธ์ได้ ฉะนั้นเมื่อเราเข้าใจศาสนาและความเชื่อว่าเป็นสิ่งสำคัญในการใช้เป็นหลักปฏิบัติตามหลักคำสั่งสอนของศาสดาของแต่ละศาสนาแล้วเราย่อมมองเห็นสังคมกว้างใหญ่ที่เราอาศัยอยู่เป็นส่วนหนึ่งของประชากรโลกที่มีความหลากหลายนั้นล้วนอาศัยหลักคำสั่งสอนของศาสดาของศาสนาเป็นแบบในการดำเนินชีวิตให้มีความสุขร่วมกัน
รักใคร่สามัคคีกันเป็นเครื่อญาติเผาพันธ์ที่อาศัยแผ่นดินคือโลกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
สมัครสมาชิก บทความ [Atom]
แสดงความคิดเห็น