วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561

 

อยู่ตามได้ใช้ตามมีตามหลักวิถีพุทธ
บทนำ
การดำเนินชวิตโดยยึดหลักความพอดีพึ่งพาตนเองโดยรู้จักการใช้ จ่าย รู้จักอดออม ไม่ใช้จ่ายแสวงหาจนเกินกำลังความสามารถของตนย่อมนำมาซึ่งความสุขความมั่นคงให้แก่บุคคลผู้ปฏิบัติตนตามหลักความสันโดษ รู้จักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์(ทิด-ถะ-ทำ-มิ—กัด-ถะ-ประโยชน์) คือประโยชน์สุขในปัจจุบัน
เนื้อหา
การดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันมีความลำบากมากขึ้นเพราะส่วนใหญ่เรามักจะมีค่านิยมในการบิริโภคใช่สอยมากขึ้นหรือมีกิเลสมากขึ้นทำให้ต้องดิ้นรนแสวงหาวัตถุสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อนำมาตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นตามวัฒนธรรมค่านิยมใหม่ที่สร้างขึ้นเชิงการตลาดและความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งเรียกได้ว่ากระแสสังคมสมัยใหม่ที่ต้องการพัฒนาความสะดวกความสบายในการดำเนินชีวิตทำให้เกิดความต้องการบริโภคใช้สอยในรูปแบบใหม่ๆอย่างไม่มีที่สิ้นสุดและละทิ้งวัฒนธรรมคุณค่าทางสังคมแบบสมัยเก่าอย่างสิ้นเชิง การดำเนินชีวิตแบบสันโดษคือคำตอบที่มีคุณค่าในการนำมาปฏิบัติตนเพื่อตั้งอยู่ในความพอเพียง พอดี พอใช้ เพื่อให้เกิดความสุขและยั้งยืนในการดำเนินชีวิต  หลักสันโดษ คือความยินดีพอใจในสิ่งที่มีหรือได้มา ตามความสามารถตามกำลังสติปัญญาของตนมีความยินดีพอใจในสิ่งที่ตนมีไม่แสวงหาจนเกินความสามารถของตนทั้งใด้มาแบบสุจริตก็ตาม ทุจริตก็ตามล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดความเดือนร้อนทั้งสิ้น การยินดีพอใจตามกำลังความสามารถของตนถือว่าไม่เบียดเบียนตนเองเพราะไม่ต้องก่อหนี้สินทำให้ทุกข์กายทุกข์ใจในการแสวงหามาผ่อนชำระหนี้ ยินดีพอใจไม่เกินเลยหรือรู้จักอิ่มรู้จักประมาณในการบริโภคใช้สอยทรัพย์ที่หามาได้และมีนิสัยรักการออมเพื่อไว้ใช้ในยามจำเป็น ความสันโดษจึงเป็นหลักดำเนินชีวิตและรู้จักใช้สอยอย่างรู้คุณค่า รู้จักประมาณ รู้จักความพอดี รู้จักอดออมอย่างมีเหตุมีผล คือทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ความถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร ต่อสู้อุปสรรค อย่างไม่ย่อท่อ ในการแสวงหาบริโภคอุปโภคใช้สอยอย่างสุจริต  รู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้ให้คงอยู่เห็นคุณค่าและใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า รู้จักคบหากัลยาณมิตร คือบุคคลผู้เป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตไม่ใช่บุคลที่แนะนำไปตามหลักกระแส่สังคมที่มุ่งแต่แข่งขันด้านวัตถุ ดังสุขของคฤหัสถ์ 4 คือความสุขกายสบายใจไม่วิตกทุกข์ร้อนในการดำเนินชีวิต อัตถิสุข  ความสุขเกิดจากการมีทรัพย์ คือความสุขที่แสวงหาทรัพย์ได้มาโดยสุจริตไม่มีโทษเป็นการขยันอดทนอดออม  ทรัพย์ที่หามาได้ด้วยสติปัญญา แรงกายแรงใจของตนเอง  ทรัพย์ที่ได้มาจึงเป็นทรัพย์ที่ได้จากการแสวงหาของตนทรัพย์นั้นจึงเป็นหลักในการสร้างฐานะความเป็นอยู่อย่างภาคภูมิใจ  โภคสุข คือสุขที่เกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ เมื่อมีทรัพย์ก็รู้จักบำรุงตนให้สะดวกสบายควรแก่อัตถาพและระมัดระวังอย่าใช้เกินความจำเป็น อนณสุข(อะ-นะ-ณะ-สุข) คือสุขเกิดจากความไม่มีหนี้ เมื่อหาทรัพย์มาได้อุปโภคบริโภคใช้สอยให้พอดีตามกำลังที่หามาได้ไม่ต้องการมากเกินกำลังความสามารถก็ไม่ก่อให้เกิดหนี้สินอันก่อให้เกิดความร้อนกายเดือดร้อนใจดังพุทธเจ้าตรัสว่า การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก  อนวัชชสุข(อะ-นะ-วัด-ชะ-สุข) คือสุขจากการประกอบอาชีพสุจริต การแสวงหาเพื่อเลี้ยงชีพนั้นต้องมีความสุจริตเพราะทรัพย์ที่ได้จากการแสวงหาโดยสุจริตไม่ก่อโทษแก่ตนเองและผู้อื่นจึงเป็นที่น่าภาคภูมิใจในการแสวงหาทรัพย์นั้นมาได้
            การดำเนินชีวิตที่ตั้งอยู่ในความประมาทไม่มีความพอดีพอใช้ไม่รู้จักบริโภคใช้สอยอย่างมีสติหลงไปตามกระสังคมและเทคโนโลยีจนเกินความพอดี เกินกำลังความสามารถขอนตนทำให้เกิดความเดือดร้อนก่อหนี้สินและทรัพย์ที่หามาได้ก็หมดลงโดยไม่อดออมเก็บไว้ในยามจำเป็นจึงทำให้เกิดความเดือดร้อนเป็นทุกข์จึงทำให้อาจสร้างอกุศลกรรมประกอบอาชีพทุจริตเพื่อให้ได้ทรัพย์มากเป็นเหตุให้สร้างความเดือนร้อนแก่ตนเองและสังคมได้
สรุป
การดำเนินชีวิตโดยยึดหลักความสันโดษ รู้จักบริโภคอุปโภคใช้สอยทรัพย์ย่อมนำพาให้ผู้ประพฤติปฏิบัติได้รับความสุขความเจริญและความภาคภูมิใจดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาทรู้คุณค่าและแสวงหาอย่างสุจริตไม่เกิดโทษสร้างความเดือนร้อนให้ตนเองและสังคมนำความสุขความเจริญตามหลักวิถีพุทธ


ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]





<< หน้าแรก

This page is powered by Blogger. Isn't yours?

สมัครสมาชิก บทความ [Atom]