วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561
สุจริตชีวิตสดใสสังคมไทยเป็นสุข
บทนำ
ความเห็นชอบเป็นสัมมาทิฏฐิคือเห็นคุณประโยชน์ไม่เกิดโทษเบียดเบียนตนเองและบุคคลอื่นคือบุคคลผู้มีคุณธรรมนำจิตใจเป็นบาททางในการดำเนินชีวิตอย่างมีสติไม่ประมาทอันเป็นทางนำไปสู่ความเสือม
ความสุจริตเป็นเครื่องหมายของคนดีเพราะไม่นำความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและสังคม
เนื้อหา
ความชื่อสัตย์สุจริตเป็นคุณธรรมกำกับความประพฤติทางกาย ทางวาจา ทางใจ หรือความประพฤติชอบซึ่งส่งเสริมให้งดเว้นความประพฤติผิดทำให้ตนเองและสังคมเกิดความเดือดร้อน
การประพฤติดีสุจริตเรียกว่ากุศลกรรมบถ
คือทางแห่งการทำความดีนำความสุขความเจริญมาให้แก่ตนเองและสังคม การประพฤติดีทางกายคืองดเว้นจากการปลงชีวิต
ทำให้ได้รับบาทเจ็บและความทุกข์ลำบาก
งดเว้นจากการลักขโมยของบุคคลอื่นที่เจ้าของไม่ได้อนุญาต งดเว้นจากการจากประพฤติผิดในคู่ครองของคนอื่นและผู้ที่อยู่ในการปกครองดูแล่ของคนอื่น
การประพฤติดีทางวาจา งดเว้นจากพูดเท็จ
เป็นเหตุให้เกิดความเข้าใจผิดคลาดเคลือนไปจากความเป็นจริง
งดเว้นจากการพูดส่อเสียดทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
อันเป็นการหักหารน้ำใจกัน งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อไม่เป็นสาระเป็นประโยชน์
การประพฤติดีทางใจ คือไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
การไม่คิดร้ายหรือผูกพยาบาทต่อผู้อื่น
มีความคิดความเห็นชอบคือเห็นว่าสิ่งใดเป็นโทษมีผลอย่างไร
สิ่งใดเป็นประโยชน์มีผลอย่างไร เรียกว่าประพฤติสุจริตดังในอัฏฐังคิกมรรค กล่าวถึงสัมมาทิฏฐิ
ความเห็นชอบคือเห็นว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์สิ่งใดเป็นโทษ
ก็เลือกกระทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือความนึกคิด ไม่ประกอบด้วย ความโลภ ความโกธ ความหลง สัมมาวาจา เจรจาชอบ เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดคำหยาบ เว้นจากการพูดส่อเสีย
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ สัมมากัมมันตะ
การกระทำชอบ คือการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ การงดเว้นจากการลักทรัพย์ การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม สัมมาอาชีวะ
เลี้ยงชีพชอบ คือการประกอบอาชีพสุจริต ไม่คดโกงเอารัดเอาเปรียบ สัมมาวายามะ
สัมมัปปธาน คือเพรียรระงับจิตใจไม่ให้นำไปในทางที่ผิดเป็นโทษแก่ตนเองและสังคม
เพียรละเว้น อกุศลคือความโลภ ความโรธ ความหลง อันเป็นทางนำไปสู่การก่อให้เกิดทุจริต
เพรียรรักษากุศลคือกรรมดีไม่ประมาทนำไปสู่ความหลงผิดคลาดเคลื่อนจากทำนองคลองธรรม
เพรียรเจริญกุศลกรรมดีที่ได้กระทำมาแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น
ดังนั้นความสุจริตจึงเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญโดยส่วนเดี่ยวสร้างความรักใคร่สามัคคีปรองดองกันในสังคมดังอานิสงสงส์
ของสุจริตคือ แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้
ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วสรรเสริญ
กิตติศัพท์อันดีกระฉ่อนไป
ส่วนบุคคลผู้ประกอบทุจริต คือการประพฤติชั่ว ประพฤติไม่ดีด้วยกายก็ดี ทำให้เกิดโทษต่อตนเองและสัมคมประเทศชาติ
ทำผิดกฏหมายบ้านเมืองทั้งยังถูกติเตียนและอาจได้รับโทษตามเจตนากระทำผิดนั้นด้วย
การทุจริตทางวาจา
ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือเป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาทสร้างความแต่แยกกันในสังคมไม่ส่งเสริมความสามัคคีเกิดโทษน่าติเตียนและผิดกฏหมายบ้านเมือง
การทุจริตทางใจ มีความโลภ ความโกรธ ความหลงเป็นอาหารทำให้คิดแต่ในสิ่งที่ผิดนำมาซึ่งความประพฤติผิดเกิดโทษต่อตนเองและสังคมประเทศชาติเป็นเหตุสร้างความแตกแยกขาดความสามัคคีรักใคร่ปรองดองกันทำให้มิอาจพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าและความเป็นอยู่ที่ผาสุขของสังคมได้
สรุป
ความสุจริตคือหลักที่ควรยึดมั่นน้อมนำมาปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดความสุขความเจริญและเป็นหลักในการพัฒนาจิตใจพัฒนาสังคมให้มีความสุขโดยยั้งยืนเพราะเมื่อบุคคลมีความสุจริตเป็นที่ตั้งแล้วย่อมได้รับการสรรเสริญยกย่องเป็นแบบอย่างให้กับสังคมเมื่อสังคมเห็นคุณค่าและปฏิบัติตามก็นำมาชึ่งความสามัคคีปรองดองรักใคร่กัน
สมัครสมาชิก บทความ [Atom]
แสดงความคิดเห็น