วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

 

ญาณวิทยา ((Epistemology)


ญาณวิทยา  ((Epistemology)
                ญาณวิทยา  คือทฤษฎีความรู้  (theoyof  knowedge)  ที่ศึกษาว่าเรารู้ความจริงได้อย่างไร  ดังนั้น    ญาณวิทยา   จึงสัมพันธ์กับอภิปรัชญา  ญาณวิทยาตอบปัญหาว่าด้วยบ่อเกิดความรู้และมาตรการสำหรับตัดสินความถูกผิดของความรู้
                นักปรัชญาตะวันตกกล่าวถึงที่มาและบ่อเกิดของความรู้ไว้ ๓  ทางคือ
                ๑)  ผัสสาการ  (Sensation)  คือความรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัสทั้งห้า  คือ  การเห็น  การได้ยิน  การได้กลิ่น  การรู้รส  การสัมผัส
                ๒)  เหตุผล  (Reason)  คือความรู้ที่เกิดจากการคิดตามหลักเหตุผลในใจ
                ๓)  อัชฌัตติกญาณ  (Intuition)  คือ  ความรู้ผุดขึ้นในใจโดยตรง  ถ้าเป็นความรู้จากญาณวิเศษเรียกว่า  การตรัสรู้  (Enlightenment)  ถ้าเป็นความรู้ที่ได้จากการดลใจของพระเจ้าเรียกว่า  วิวรณ์  (Revelation)
                ปัญหาที่ตามมาก็คือว่า  บ่อเกิดของความรู้ทางไหนเล่าจึงให้ความรู้ที่ถูกต้องตามความเป็นจริง   ในเรื่องนี้  นักปรัชญามีความเห็นแตกกันเป็น  ๓  กลุ่มใหญ่ๆ
                ๑)  ลัทธิประสบการณ์นิยม  ( Empiricism)  ถือว่าประสาทสัมผัสเป็นมาตรการการตัดสินใจ
                ๒)  ลัทธิเหตุผลนิยม  (Rationalism)  ถือว่าเหตุผลเป็นมาตรการตัดสินใจความจริง
                ๓)  ลัทธิอัชฌัตติกญาณนิยม  (Intuitionism)  ถือว่าอัชฌัตติกญาณเป็นมาตรการตัดสินใจ
ญาณวิทยา 
                ในทัศนะของเอปิคิวรุส  ปรัชญามีเป้าหมายที่ช่วยให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข  มนุษย์มีความทุกข์  เพราะกลัวเทพเจ้า  กลัวปรากฏการณ์ธรรมชาติ    เช่น  ฟ้าร้อง  ฟ้าผ่า  และกลัวความตาย  ปรัชญาต้องปลดเปลื้องมนุษย์จากความกลัวเหล่านี้  เอปิคิวรุสเห็นว่า  ความกลัวเกิดจากความโง่เขลา  ไม่รู้เท่าความเป็นจริง  ญาณวิทยาหรือทฤษฎีความรู้มีส่วนสำคัญในการช่วยให้มนุษย์รู้ความจริงได้  เมื่อมนุษย์รู้ความจริง  ความกลัวต่างๆก็หมดไป  เมื่อปราศจากความกลัว  จิตใจมนุษย์จะมีความสุขขึ้นมาก
                ดังนั้น  ญาณวิทยาขิงเอปิคิวรุสจึงมีไว้เสริมจริยศาสตร์นั่นเอง ญาณวิทยาเสนอเกณฑ์หรือมาตรการการตัดสินว่า  ความรู้ใดจริงหรือเท็จ  เพื่อให้มนุษย์ค้นพบความจริงที่แท้  แล้วจะได้ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขต่อไป  โดยนัยนี้  เอปิคิวรุสเสนอเกณฑ์ตัดสินความจริงไว้  ๓  ประการคือ
                ๑)  สัญชาน  (Perception)  คือ  ความรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัสทั้งห้า  ได้แก่  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  และผิวกาย  เป็นเกณฑ์ตัดสินความจริงที่สำคัญที่สุด  ซึ่งไม่มีใครปฏิเสธได้  “ถ้าท่านปฏิเสธประสาทสัมผัสทั้งหมด  ท่านจะไม่มีมาตรฐานหรือวิธีการอื่นใดเหลือไว้พิสูจน์ว่าประสาทสัมผัสเหล่านั้นผิดพลาดอย่างไร”  สัญชานเป็นเกณฑ์ขั้นพื้นฐานที่รองรับการตัดสินด้วยวิธีอื่นๆแม้แต่การใช้เหตุผลก็ต้องอิงอาศัยข้อมูลจากสัญชานหรือประสาทสัมผัส  ถ้าข้อมูลผิดพลาด  การวินิจฉัยด้วยเหตุผลก็ผิดพลาดไปด้วย  สัญชานจึงเป็นมาตรการตัดสินความจริงที่สำคัญที่สุด  เพราะมันให้ความรู้ที่แท้จริงแก่เรา  คำถามที่ตามมาก็คือว่า   ถ้าสัญชานให้ความรู้ที่แท้จริงเสมอ  เหตุใดจึงเกิดภาพลวงตาและการรับรู้ผิดๆอย่างอื่น  เอปิคิวรุสตอบว่า ความผิดพลาดในกรณีนี้ไม่ได้เกิดในระดับสัญชาน  แต่เกิดในระดับการวินิฉัยตัดสินต่างหาก   เช่น  ในกรณีของการเห็นเชือกเป็นงู  ภาพที่ปรากฏเป็นความจริงในระดับตนเอง แต่พอตัดสินยืนยัยว่า  นั่นเป็นงูความผิดพลาดเกิดตรงนี้
                ทัศนะของเอปิคิวรุสได้ปูทางให้กับประสบการณ์นิยม  (Empiricism)  ซึ่งแพร่หลายในปรัชญาสมัยใหม่
                ๒)  มโนภาพ  (Concepts)  หมายถึงภาพที่เกิดในใจซึ่งป็นตัวแทนของสิ่งเฉพาะหลายสิ่งในประเภทเดียวกัน  สิ่งเฉพาะเหล่านี้มีลักษณะบ้างอย่างคล้ายกัน  เช่น มโนภาพของสุนัขเป็นมโนภาพทั่วไปที่เป็นตัวแทนของสุนัขทั้งหมด พลาโต้ถือว่ามโนภาพเป็นสิ่งสากลที่มีอยู่จริงภายนอกจิตที่รับรู้และเรียกมันว่าแบบหรือมโนคติ  แต่เอปิคิวรุสเห็นว่ามโนภาพเกิดจากความคิดรวบยอด  ภายหลังจากรับรู้สิ่งเฉพาะหลากหลายก็สรุปเอาลักษณะร่วมของสิ่งเหล่านั้นมาเป็นมโนภาพ  เอปิคิวรุสถือว่ามโนภาพให้ความรู้ที่แท้จริงได้เช่นกัน
                ทัศนะมโนภาพของเอปิคิวรุสมีส่วนคลายกับนามนิยม (Nominalism)  ในปรัชญาสมัยกลาง
                ๓)  เวทนา  (Feelings)  หรือความรู้สึกสุขและทุกข์  เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจว่า  ควรหรือไม่ควรทำอะไร  นั่นคือ  ถ้าเรื่องใดก่อให้เกิดความสุข  เควรเลือกทำเรื่องนั้น  ถ้าเรื่องใดก่อให้เกิดความทุกข์  เราควรตัดสินใจงดเว้นการทำเรื่องนั้น
                เอปิคิวรุสสรุปเรื่องญาณวิทยาไว้ว่า   “เกณฑ์สำหรับตัดสินความจริงก็คือ  ประสาทสัมผัส  มโนภาพ  และเวทนา
                ทฤษฎีความรู้ของโสคราตีส
                โสคราตีสถือว่าเหตุผลเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้  ในปรัชญาของโสคราตีส  เหตุช่วยให้ค้นพบมโนภาพ  เราได้ทราบจากคำอธิบายใน  มโนภาพคือความรู้จักสิ่งสากล  ดังนั้นความรู้ขั้นมโนภาพจึงเป็นความรู้เกี่ยวกับสิ่งสากลที่ทุกคนยอมรับ   ที่ใช้คำว่า  ทุกคนยอมรับ  เพราะมนุษย์ทุกคนมีเหตุผล   เมื่อทุกคนใช้เหตุผลค้นพบมโนภาพของสิ่งสากลอันใด   มโนภาพของสิ่งสากลนั้นย่อมจะตรงกัน   สิ่งสากลความรู้จึงเป็นความจริงมาตรฐาน  ที่ทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงได้เหมือนๆกันความรู้จึงไม่ใช้ทัศนะอัตนัย   โสคราตีสเห็นว่า  ความรู้จึงเป็นการค้นพบความจริงแบบปรนัย   หรือการเข้าถึงความจริงของสิ่งทั้งหลาย
                ปัญหาทางการปฏิบัติที่เกิดขึ้นก็คือ  ทำอย่างไรเราจึงจะค้นพบมโนภาพของสิ่งทั้งหลาย   คำตอบของโสคราติสมีอยู่ว่า  เราจะค้นพบมโนภาพสิ่งใดก็โดยอาศัยการสร้างคำจากคำจำกัดความ  (Definition)  เมื่อเราต้องการสร้างคำจำกัดความของสิ่งใด  นั่นแสดงว่า  เรากำลังหาลักษณะสากลของสิ่งนั้น  เช่น  การสร้างคำจำกัดความของ  สุนัข  เราจะรวมเอาลักษณะร่วมที่สุนัขทุกตัวทุกประเภทมีเหมือนกันเข้ามาไว้ในคำจำกัดความ  แต่เราจะกันลักษณะที่แตกต่างของสุนัขแต่ละตัวออกไปเสีย  คำจำกัดความที่ได้มาจะครอบคลุมประเภทของสุนัขทั้งหมด  ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ไหนก็ตาม  ล้วนแต่เป็นสุนัข ตามคำจำกัดความที่เราสร้างขึ้น  เหตุนั้นลักษณะสุนัขที่เราบรรยายในคำจำกัดความจึงเป็นลักษณะของสุนัขสาลกที่ไม่เจาะจงถึงสุขตัวใดตัวหนึ่งพันธุ์ใดพันธุ์หนึ่ง  ภาพของสุนัขที่มีอยู่ในใจจึงเป็นมโนภาพ  เราจึงกล่าวได้ว่า   มโนภาพกับคำจำกัดความเป็นสิ่งเดียวกัน  แต่มีข้อแตกต่างกันอยู่อย่างหนึ่งคือ   มโนภาพเป็นความรู้จักสิ่งสากลที่ยังอยู่ในใจ  แต่คำจำกัดความเป็นการบรรยายลักษณะของสิ่งสากลนั้นออกมาเป็นคำพูด
                ในปรัชญาของโสคราตีส  ความรู้คือการรู้จักมโนภาพของสิ่งทั้งหลายเราค้นพบมโนภาพของสิ่งต่างๆได้โดยอาศัยกรรมวิธีของการสร้างคำจำกัดความ   ดังนั้น   เมื่อโสคราตีสต้องการความรู้เกี่ยวกับเรื่องใด   ท่านจะข้อให้คนสร้างคำจำกัดความเกี่ยวกับเรื่องนั้น  ท่านจะตั้งปัญหาถามคนทั่วไปว่า   คุณธรรมคืออะไร   ความยุติธรรมคืออะไร  ความงามคืออะไร   แล้วท่านเริ่มการสนทนาแบบถาม – ตอบเพื่อหาคำจำกัดความที่ถูกต้องของเรื่องเหล่านั้น  โสคราตีสเชื่อว่าทุกคนมีมโนภาพเกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายอยู่แล้ว   ท่านเพียงทำหน้าที่กระตุนให้คนอื่นคิดอย่างมีระบบและเฉียบแหลมพอที่จะจับมโนภาพที่ชัดเจนของสิ่งทั้งหลาย   ท่านไม่ได้ยัดเยีบดความรู้ใหม่ให้แก่คนอื่น   งานของท่านจึงคลายกับอาชีพหมอตำแย   ท่านเรียกงานของท่านว่า  “การผดุงครรภ์ทางปัญญา  (Intellectual  Midwifery)”  เทคนิคการผดุงครรภ์ของท่านมีชื่อเรียกว่า  “วิธีของโสคราตีส (Socratic  Method)
                วิธีการของโสคราตีส
                วิธีการของโสคราตีสคือ   ศิลปะการสนทนาที่โสคราตีสใช้ประคับประคองการสนทนาให้ดำเนินไปสู่คำตอบของปัญหาที่กำลังอภิปรายกัน   วิธีนี้มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า  “วิภาษวิธี  (Dialectic)  ซึ่งประกอบด้วยลักษณะสำคัญ  ๕  ประการคือ
                ๑)  สงสัย  (Sceptical)  โสคราตีสเริมการสนทนาโดยการยกย่องคู่สนทนาว่า  เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ท่านเองก็ไคร่รู้อยู่พอดี  เนื่องจากท่านไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น  ท่านจึงข้อให้เขาช่วยตอบคำถามของท่านเกี่ยวกับเรื่องนั้น   การออกตัวทำนองนี้ถือกันว่าเป็นการถ่อมตัวของนักปรัชญาผู้มีวิจารณ์ว่า  นั่นเป็นการเสแสร้งของโสคราตีส  (Socratic Irony)
                ๒)  การสนทนา  (Conversational)  จากนั้นโสคราตีสก็เป็นฝ่ายตั้งปัญหาให้คู่สนทนาตอบ  การสนทนาจึงมีลักษณะเช่นเดียวกับเทศน์ปุจฉา  -  วิสัชนา  คู่สนทนาจะต้องหาคำจำกัดความของหัวข้อที่สนทนากัน โสคราตีสจะวิจารณ์ว่า  คำจำกัดความนั้นมีข้อบกพร่องทางไหนบ้าง   อีกฝ่ายหนึ่งจะเสนอคำจำกัดความใหม่ที่รัดกุมกว่า   โสคราตีสจะขัดเกลาคำจำกัดความนั้นอีก  การสนทนาจะดำเนินไปอย่างนี้  จนกว่าทั้งสองฝ่ายจะได้คำจำกัดความที่น่าพอใจ
                ๓)  หาคำจำกัดความ  (Definitional)  จุดมุ่งหมายของการสนทนาจึงอยู่ที่การหาคำจำกัดความที่ถูกต้องของสิ่งใด  นั่นแสดงว่า  เราพบความจริงแท้เกี่ยวกับสิ่งนั้น  ซึ่งเป็นเดียวกับการค้นพบมโนภาพของสิ่งนั้นนั่นเอง
                ๔)  อุปนัย  (Inductive)  การสร้างคำจำกัดความจะเริ่มจากสิ่งเฉาพะไปหาสิ่งสากล  เช่น  เมื่อคำจำกัดความของความดี  โสคราตีสและคู่สนทนาจะพิจารนาตัวอย่างจากความประพฤติชนิดต่างๆในสังคม  แล้วดึงเอาลักษณะที่เป็นแก่น  หรือเป็นสากล  เอามาสร้างเป็นคำนิยาม
                ๕)  นิรนัย  (Deductive)  คำจำกัดความที่มีผู้เสนอมาจะถูกพิสูจน์โดยการนำไปเป็นมาตราการการวัดสิ่งต่างๆว่ามีลักษณะร่วมกับลักษณะที่ระบุไว้ในคำจำกัดความนั้นหรือไม่  เช่น   ถ้าเราได้คำจำกัดความของความดีมาเราก็ตรวจสอบดูว่า   การทำทานหรือการปราบปรามโจรผู้ร้าย  จัดเป็นความดีตามคำจำกัดความที่เราตั้งไว้หรือไม่อย่างไร
                เดมอคริตุส
                เดทอคริตุสแบ่งความรู้ออกเป็น  ๒  ประเภท  คือ  ความรู้เทียมกับความรู้แท้  ความรู้ประเภทแรกเกิดจากประสาทผัส  เช่น  การเห็นภาพ  (Images)  ของตัวเองกระจายออกไปรอบด้าน  เมื่อเราผ่านเข้าใกล้วัตถุนั้น  ภาพเหมือนจะกระทบเข้ากับวัตถุตาของเรา  ประสาทตารายงานไปยังปรมาณูวิญญาณที่ทำหน้าที่เห็นภาพขณะนั้นการเห็นจึงเกิดขึ้น   หากบังเอิญว่าในเวลาที่ภาพเหมือนแล่นภาพอากาศเข้ากระทบประสาทตา  ปรากฏมีภาพเหมือนของวัตถุอื่นเข้าแทรกซ้อน   การเห็นจะสับสนกลายเป็นภาพลวงตา
                เดมอคริตุสกล่าวว่า   ความรู้ระดับผัสสะนี้เป็นความรู้เทียมเพราะผัสสะบิดเบือนข้อเท็จจริงของโลกภายนอก  ตัวอย่างเช่น  ตวงตารายงานแก่เราว่า  มีวัตถุสีขาวอยู่ตรงหน้า  สมมุติว่าเป็นสตรีสวมเสื้อสีขาว    ประสาทหูรายงานว่าเธอพูดกับเราด้วยเสียงอันไพเราะ  จมูกของเราได้กลิ่นน้ำหอมอ่อนๆเสียด้วย  เราเชื่อสนิทว่า  สี  เสียง  และกลิ่น  เหล่านั้น  มีอยู่จริงต่อหน้าเรา  เดมอคริตุสตั้งปัญหาว่า  สี  เสียง  และกลิ่นเหล่านั้นมาจากที่ใด  ไม่ใช้จากสตรีที่อยู่เบื้องหน้าเราอย่างแน่นอน เพราะสตรีอยู่เบื้องหน้าเรานั้น  แท้จริงเป็นเพียงกองปรมาณูเนื่องจากปรมาณูเป็นสิ่งไม่มีกลิ่นและรส  ดังนั้นวัตถุในโลกทั้งหมดจึงไร้สี  กลิ่น  และรสไปด้วย  สี  กลิ่น  และรสเป็นสิ่งที่เราสร้าวขึ้นมาหลังจากที่ภาพเหมือนของวัตถุมากระทบประสาทสัมผัสของเรา  คุณภาพเหล่านี้คือสิ่งที่นักปรัชญายุคต่อมาเรียกว่า  คุณภาพทุติยภูมิ  คุณภาพทุติยภูมิไม่ได้มีอยู่จริงในวัตถุ  การรับรู้  สี  เสียง  และกลิ่นเหล่านั้น  จึงเป็นความรู้เทียม  ความรู้ที่แท้จะต้องเป็นความรู้เกี่ยวกับปรมาณูตามที่เป็นจริง  คือรู้คุณภาพปฐมภูมิของปรมาณูว่า  มันมีรูปร่าง  ขนาด  และน้ำหนักเท่านั้น  แต่เราไม่สามารถที่จะเห็นปรมาณู  เพราะปรมาณูเล็กมาก  เราเพียงแต่คิดถึงความมีอยู่ของปรมาณูด้วยเหตุผล  (Reason)  ดังนั้น  ความรู้แท้ถึงความรู้จริงเรื่องปรมาณูจึงเกิดขึ้นจากความคิดที่มีเหตุผล  ความรู้แท้เป็นความรู้ระดับเหตุผล  ไม่ใช้ระดับผัสสะ  เดมอคริตุสจึงให้ความสำคัญกับเหตุผลมากกว่าผัสสะ  บางท่านถึงกับเรียกเดมอคริตุสว่าเป็นนักเหตุผลนิยม  (Rationlist)
                ทฤษฎีความรู้ของพลาโต้
                ก่อนจะศึกษาทฤษฎีมโนคติ  ขอให้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีความรู้ของเพลโตกันก่อน  ทั้งนี้เพราะในเรื่องเกี่ยวกับความรู้นี้   พลาโต้มีทัศนะบางอย่างคล้ายกับทัศนะของโสคราตีสผู้เป็นอาจารย์ของตน  ประการแรกทีเดียว  พลาโต้เห็นว่า  ความรู้ระดับผัสสะ  หรือ สัญชาน  ไม่ใช่  ความรู้  การรับรู้ในระดับสัญชานเป็นเพียงทัศนะ  การปฏิเสธสัญชานว่าเป็นบ่อเกิดความรู้นี้  มีเหตุผลอยู่  ๒  ประการคือ
                ๑)  สัญชานของแต่ละคนให้ความรู้ไม่ตรงกัน  หรือแม้สัญชานของคนคนเดียวก็รายงายข้อมูลต่างกันในเวลาต่างกัน  ความรู้ระดับสัญชานจึงเป็นเพียงทัศนะส่วนตัว
                ๒)  สัญชานไม่ช่วยให้เราค้นพบความจริงแท้   เพราะสิ่งที่เรารับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสเป็นเพียงสิ่งเฉพาะ   พลาโต้กล่าวว่าความจริงแท้เป็นสิ่งสากล  เช่น  คนสากล  แมงสากล  อันอยู่ในโลกแห่งมโนคติ  จึงเป็นการเหลือวิสัยที่สัญชานจะรับรู้ได้

ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]





<< หน้าแรก

This page is powered by Blogger. Isn't yours?

สมัครสมาชิก บทความ [Atom]