วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
นรกในพระพุทธศาสนา
บทที่ ๑ ความเชื่อเรื่องนรกในพระพุทธศาสนา
นรกเป็นความเชื่อที่ได้รับถ่ายทอดในเรื่องของผลของกรรมที่ทำไว้ในทางที่เป็นอกุศลกรร คือกรรมในทางชั่วซึ่งการกระทำนั้นมีการทำผิดศีลโดยเจตนาเป็นหลักจึงจัดว่าเป็นกรรมได้ ดังนั้นผู้ที่จะไปสู่แดนนรกได้ต้องมีเจตนาในการกระทำผิดศีลจึงจะสำเร็จกรรมได้ ความเชื่อเรื่องนรกแต่เดิมยังไม่มีถ่ายทอดเป็นลายลักษณ์อักษรเพราะในสมัยก่อนในยุกต์แรกๆของพระพุทธศาสนาไม่มีการเขียนหรือพิมพ์คำสอนเป็นตัวหนังสือ แต่ใช้การท่องจำเป็นหลักในสมัยนั้นยังคงเรียกว่าธรรมกับวินัยซึ่งพระภิกษุสามเณรเป็นผู้ท่องจำคำสอนของพระพุทธองค์เอาไว้ ต่อมาพระพุทธศาสนาได้เสื่อมเสียลงพระภิกษุในพระพุทธศาสนาได้กระทำผิดทางพระธรรมและวินัยมากขึ้นพระสงฆ์จึงพากันทำสังคาย พระธรรมคำสอนเรียกว่าพระไตรปิฎ และให้มีการจานอักษรลงใบลานเพื่อสะดวกแก่การศึกษาของพระสงฆ์ นี้เองเป็นที่มากของคำสอนในทางพระพุทธศาสนาที่ได้สอนกันสืบมาจนถึงทุกวันนี้ เดิมที่ความเชื่อในเรื่องนรกในยุกต์แรกใช้การเทศนาของพระสงฆ์ในการถ่ายทอดความเชื่อแต่มาระยะหลังได้มีการศึกษาที่ดีขึ้นคือประชาชนก็ได้รับการศึกษาพระพุทธศาสนามากขึ้นโดยได้เข้าไปเรียนที่วัดและมีพระสงฆ์เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้ประชาชนในสมัยนั้นโดยทางพระมหากษัตริย์ได้จัดให้มีการศึกษาของประชาชนโดยมีศูนย์กลางการศึกษาอยู่ที่วัดประชาชนผู้มีความรู้ความชำนาญในนิรุกติศาสตร์จึงได้เขียนวรรคดีและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาออกมาให้ได้ศึกษาโดยใช้ภาษาไทยเป็นสื่อกลางของวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้คำสอนอย่างทั่วถึง
เรื่องนรกนี้เป็นเรื่องที่มีการถ่ายทอดกันมานานดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นแต่จะเข้าใจเรื่องนี้ได้ดีว่ามีความเป็นมาอย่างไรจึงมีนรกสำหรับผู้ที่กระทำผิดศีลธรรมจึงต้องไปตกในนรกดังจะได้ชี้แจ้งต่อไปนี้ นรกตามความหมายเดิมหมายถึง ดินแดนที่ปราศจากความสุขคือแดนที่หาความสุขไม่ได้ต้องได้รับการลงโทษตามผลกรรมที่ทำไว้ นรกเป็นความเชื่อที่มีมากก่อนพระพุทธศาสนาจะอุบัติขึ้นโดยมีเค้ามาจากความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ซึ่งเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของโลกไม่มีบันทึกว่าผู้ใดเป็นผู้ให้กำเนินศาสนาพราหมณ์แต่มีมาก่อนศาสนาต่างๆทั่วโลกความเชื่อของพราหมณ์นี้เองเป็นที่มาของศาสนาเชน และศาสนาพุทธ เพราะฉะนั้นศาสนาของพราหมณ์จึงมีพิธีบูชาพระเจ้าเพื่อให้พระเจ้าพอใจและพระเจ้าประทานพรมาให้ แต่ตรงกันข้ามกำศาสนาที่มีต้นกำเนิดในอินเดียด้วยกัน คือ ศาสนาเชน และศาสนาพุทธ ทั้งสองศาสนานี้ก็มีเค้าความคิดมาจากศาสนาพราหมณ์เหมือนกันแต่ทั้งสองศาสนานี้ไม่ยอมรับว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและเป็นผู้บันดารความสุข ความทุกข์ให้กับเล่ามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายแต่ทั้งสองศาสนานี้รับเอาความเชื่อเรื่องนรกมาใช้ในศาสนาของตน แต่ศาสนาพุทธนั้นได้กล่าวถึงที่มาและเหตุที่ส่งผลให้เล่าสัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามผลของกรรมไว้อย่างชัดเจน โดยใช้คำสอนอย่างมีเหตุมีผลให้เชื่อตามสามารถพิจารนาตามด้วยเหตุและผลได้อย่างชัดเจน
ความเชื่อเรื่องกรรมในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นความเชื่อที่สามารถพิสูตรได้ด้วยตัวเองโดยมีวิธีพิจารนาอย่างแยบคายประกอบกันกับเหตุและผลตามที่กล่าวมาแล้วที่นี้เรามาเข้าใจความเชื่อเรื่องนรกที่มีให้ได้เห็นกันในปัจจุบันว่าความเชื่อเรื่องนรกนี้มีเค้าเดิมมาจากไหน ในปัจจุบันนอกจากพระไตรปิฎกที่กล่าวไว้แล้วในเรื่องนรก ยังมีหนังสือที่แต่งขึ้นมาในสมัยใหม่ซึ่งนำเอาเค้ามูลของเรื่องมาจากพระไตรปิฎกมาแต่งเป็นวรรณกรรมวรรณคดีอีกหลายเรื่อง คือ โลกทีปนี พระมาลัยท่องนรก พระมาลัยคำหลวง พระมาลัยสูตร ไตรภูมิกถา ไตรภูมิพระร่วง เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังมีบุคคลที่ระลึกชาติได้นำมาเล่าบอกกล่าวกันให้ได้รู้ถึงดินแดนที่มีชื่อว่านรกกันเป็นประจำ และยังมีบุคคลที่ตายแล้วฝืนขึ้นมาได้นำเอาสิ่งที่ตนพบประสบมาในครั้งที่ตายไปชั่วขณะหนึ่งได้นำมาเล่าเพื่อเตือนสติให้กลัวโทษที่ต้องไปตกนรกให้ถึงความทรมานของสัตว์ที่ต้องไปตกนรกว่ามีความทุกข์เพียงใดในการรับโทษในแดนนรก
บทที่ ๒ ประเภทของนรกในพระพุทธศาสนา
ประเภทของนรกในพระพุทธศาสนากล่าวไว้มีจำนวนทั้งสิ้น ๔๕๗ ขุม โดยแยกออกให้เห็นชัดดังนี้
๑. มหานรก ๘ ขุม
๒. อุสสุทนรก ๑๒๘ ขุม
๓. ยมโลกนรก ๓๒๐ ขุม
๔. โลกกันตนรก ๑ ขุม
รวม ๔๕๗ ขุม
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะมหานรก ๘ ขุม และนรกบริวารอีก ๑๐ ขุม เท่านั้นเพราะเป็นนรกที่เป็นนรกขุมใหญ่ที่สุดในโลกนรกทั้งหมดดังจะได้กล่าวถึงมหานรกแต่ละขุมและในนรกบริวาร ๑๐ ขุมโดยละเอียดดังต่อไปนี้
นรกขุมใหญ่ ขุมที่ ๑ สัญชีพนรก
ลักษณะพื้นเป็นเหล็กหนา เผาไฟจนแดงโชน ขอบด้านข้าง ๔ ขอบก็เช่นกัน มองออกไปไม่แลเห็นขอบบ่อ มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล แต่จะหาที่ว่างเว้นจากไฟไม่ได้เลย ระหว่างไฟจะมีสรรพาวุธต่างๆ เช่น หอก ดาบ ฯลฯ สารพัดจะมี ถูกไฟเผาแดงจนมีความคมจัด สัตว์นรกที่อยู่ในนั้นจะวิ่งพล่าน เพราะเท้าเหยียบไฟ ร่างกายก็จะถูกเผาไฟติดไฟตลอดเวลา เวลาวิ่งไปก็จะไปกระทบกับหอก ดาบ ฆ้อง หรืออาวุธต่างๆ มาฟัน แทง สับ ร้องครวญครางดิ้นเร่าๆ แต่พอร่างกายขาดแล้ว ก็จะมาต่อติดกันใหม่โดยทันที มาทรมานต่อไป ไม่มีวันตาย สรุปว่ามีไฟเผากายตลอดเวลา มีสรรพาวุธประหัตประหารตลอดเวลา
นรกขุมใหญ่ ขุมที่ ๒ กาฬปุตตะนรก
มีกำแพงทั้ง ๔ ด้านเป็นเหล็ก พื้นเป็นเหล็ก ถูกเผาไฟจนแดงโชน นายนิริยบาลจะจับเอาสัตว์นรกนอนลงไป นำเส้นบรรทัดมาตีเป็นเส้นที่ตัว จากหัวถึงท้ายบ้าง ตีตามขวางบ้าง ไม้บรรทัดนั้นทำจากสายเหล็กที่เผาไฟจนแดงโชน เมื่อตีเส้นเป็นแนวแล้ว ก็จะนำเลื่อยบ้าง ขวานบ้าง มีดอีโต้บ้าง มาสับลงตามรอยที่ตีไว้แล้วนั้น
นรกขุมใหญ่ ขุมที่ ๓ สังฆาฏนรก
มีกำแพงทั้ง ๔ ด้านเป็นเหล็ก พื้นเป็นเหล็ก ถูกเผาไฟจนแดงโชน มีภูเขาเหล็ก ๒ ลูก กลิ้งไปกลิ้งมาคอยบดทับสัตว์เหล่านั้น ภูเขาเองก็เป็นเหล็กที่ถูกเผาจนแดงโชนเช่นกัน เมื่อถูกบดจนละเอียดแล้วก็จะฟื้นขึ้นมาใหม่ ไม่ตาย รับการทรมานต่อไป คนที่วิ่งหนีก็จะถูกนายนิริยบาลตีบ้าง แทงบ้าง ฟันบ้าง ตลอดเวลา
นรกขุมใหญ่ ขุมที่ ๔ โรรุวนรก
มีกำแพงเหล็ก ๔ ด้าน ไฟลุกโชน จนหาเปลวไม่ได้ ยิ่งลึกมาก ก็ยิ่งร้อนมากขึ้นไปเรื่อยๆ ตรงกลางขุมจะมีดอกบัวเหล็ก กลีบเหล็กถูกเผาไฟจนแดงโชน กระแสแห่งไฟพุ่งออกจากกลีบตลอดเวลา ไม่มีนายนิริยบาล สัตว์นรกจะถูกกรรมทำให้ต้องเอาหัวมุดลงไปในดอกบัว มือและขาก็จะจุ่มลงไปเช่นกัน กลีบบัวจะงับเข้ามาหนีบขาไว้ถึงข้อเท้า หนีบมือไว้ถึงข้อมือ ส่วนหัวจะหนีบไปถึงคาง เพื่อให้ไฟนั้นเผาอยู่ตลอดเวลา
นรกขุมใหญ่ ขุมที่ ๕ มหาโรรุวนรก
มีดอกบัวขนาดใหญ่ ไฟร้อนจัด กลีบบัวมีความคมเป็นกรด วางตั้งอยู่ทั่วไป ระหว่างช่องที่ว่างอยู่จะมีแหลนหลาว ปักเอาไว้ โดยเอาปลายแหลมชี้ขึ้น เผาไฟจนแดงโชน แต่ดอกบัวนี้จะไม่งับแน่นนัก สัตว์นรกที่อยู่ในดอกบัวทั้งหลายจะร้อน และดิ้นไปโดนกลีบบัว เมื่อกระทบกลีบบัวก็จะขาดตกลงมา ถูกแหลนหลาวข้างล่างแทงรับไว้ แต่เนื่องจากแหลนหลาวนั้นเป็นไฟลุกแดง จึงทำให้เนื้อตัวของสัตว์นรกนั้นลุกร้อนเป็นไฟ ตกลงมาที่พื้น เมื่อตกถึงพื้น ก็จะมีหมาที่คอยกัดกินจนเหลือแต่กระดูก จนหมดเกลี้ยง แล้วก็จะก่อตัวขึ้นมาเป็นกายใหม่ จากนั้นนายนิริยบาลก็จะบังคับไล่แทงให้ไปอยู่บนดอกบัวต่อไปอีก
นรกขุมใหญ่ ขุมที่ ๖ ตาปะมหานรก
แสงเพลิงสว่างไสวมาก เป็นแสงไฟละเอียด มีความร้อนจัด สัตว์ร้องระงมเซ็งแซ่ไปหมด มีกำแพงล้อมรอบ ๔ ด้าน และพื้นเป็นเหล็กร้อน แดงฉาน มีแหลนหลาวไฟลุกแดงโชน พุ่งมาเสียบเอาสัตว์นรกแล้วเอาขึ้นตั้งไว้ พอไฟไหม้เนื้อหนังหล่นลงมา สัตว์นรกก็จะหล่นลงมาด้วย
ก็จะถูกสุนัขขนาดใหญ่เท่าช้าง เที่ยวไล่กัดกิน แทะจนหมดเหลือแต่กระดูกแล้วก็ไปเริ่มต้นใหม่ สัตว์นรกตัวใดไม่ยอมไป ก็จะถูกนายนิริยบาลเอาแหลนไปเสียบแล้วมาขึ้นตั้งไว้อย่างเดิม
นรกขุมใหญ่ ขุมที่ ๗ มหาตาปะนรก
มีกำแพงทุกด้าน มีไฟที่ความร้อนสูง คล้ายแสงสว่าง พุ่งเข้ามาจากรอบทิศ มารวมกันตรงกลาง มีภูเขาที่ตั้งอยู่ตรงกลางขุมนรก ก็จะมีไฟพุ่งเข้าพุ่งออกเป็นเหล็กที่เผาแดง นายนิริยบาลจะบังคับให้สัตว์นรกป่ายปีนขึ้นไปบนยอดเขา วิ่งขึ้นไป พอไปใกล้ถึงยอดก็จะทนไม่ไหว ร่วงหล่นลงมา
ก็จะถูกแหลนหลาวที่ปักเอาไว้โดยรอบแทงเข้า เมื่อหล่นจากแหลนหลาวนั้นร่างก็จะเต็ม แล้วถูกไฟเผาตามเดิม นายนิริยบาลก็จะมาไล่ให้ขึ้นไปยอดเขาต่อไป
นรกขุมใหญ่ ขุมที่ ๘ อเวจีมหานรก
พิเศษกว่าทุกขุม คือ ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ กระดูกแดงฉาน เนื่องจากถูกไฟเผาจนสุก ถูกให้ยืนกางแขนกางขา มีกำแพงปิดเฉพาะตัว ๖ ทิศ มีหอกแทงทะลุตรึงไว้ทั้งหมด จากบนลงล่าง ซ้ายทะลุขวา หน้าทะลุหลัง หลายสิบเล่ม จนไม่สามารถจะขยับได้เลยแม้แต่น้อย จำนวนสัตว์นรกที่อยู่ในขุมนี้ มีมากกว่าทั้ง ๗ ขุม ที่กล่าวมาแล้วรวมกันทั้งหมดเสียอีกนรกขุมใหญ่ พิเศษสุด "โลกันตนรก" ไม่มีอายุ หลังจากใช้กรรมจนหมดแล้วจะต้องไปต่อที่อเวจีมหานรกต่อไปทันที ลักษณะเป็นภูเขาที่ใหญ่โตประมาณมิได้ ภายในภูเขานั้น เป็นถ้ำขนาดใหญ่มาก มีความเย็นจัดจนบอกไม่ถูก เป็นการทรมานสัตว์นรกด้วยความเย็น ภายในถ้ำมีน้ำเป็นน้ำกรด แรงจัด และเย็นเฉียบ มีแต่ความมืดมิด ไม่มีแสงสว่าง สัตว์นรกทั้งหลายจะไต่ตามผนังข้างๆ ถ้ำ หินที่ผนังจะคมเป็นกรด สัตว์ทั้งหลายจะมองไม่เห็นกัน ต่างก็คิดว่าอยู่คนเดียว พอไต่มาพบกันก็จะนึกว่าเป็นอาหาร ก็กัดกินกันจนตกลงไปในน้ำ น้ำกรดก็จะกัดกร่อนทำลายเนื้อหนังจนหมดสิ้น เหลือแต่กระดูก ก็จะประกอบขึ้นมาเป็นร่าง ไต่ขึ้นมาตามผนังถ้ำใหม่อีกครั้ง ต่อไปเรื่อยๆ จนหมดกรรม
นรกขุมใหญ่ ๘ ขุม นรกแต่ละขุมไม่ได้อยู่ที่เดียวกัน ความจริงอยู่ไกลกันมาก จะเรียกว่าขุมหนึ่งๆเป็นโลกหนึ่งก็ได้ นรกแต่ละขุมนอกจากจะมีขุมที่ใหญ่สุดดังที่กล่าวมาแล้วยังมีขุมเล็กรองลงมาเป็นบริวารล้อมรอบอีก ๔ ทิศ ทิศละ ๔ ขุม รวมทั้งหมดเป็น ๑๖ ขุมด้วยกัน นรกขุมเล็ก ๑๖ ขุมนี้เรียกว่า
อุสสุทนรก เป็นบริวารล้อมรอบนรกขุมใหญ่ อุสสุทนรกนี้ มีอยู่ทั้งหมดด้วยกัน ๑๒๘ ขุมคือ
๑. ล้อมรอบสัญชีวมหานรก ๑๖ ขุม
๒. ล้อมรอบกาฬสุตตมหานรก ๑๖ ขุม
๓. ล้อมรอบสังฆาฏมหานรก ๑๖ ขุม
๔. ล้อมรอบโรรุวมหานรก ๑๖ ขุม
๕. ล้อมรอบมหาโรรุวมหานรก ๑๖ ขุม
๖. ล้อมรอบตาปนมหานรก ๑๖ ขุม
๗. ล้อมรอบมหาตาปนมหานรก ๑๖ ขุม
๘. ล้อมรอบอเวจีมหานรก ๑๖ ขุม
รวมเป็นอุสสุทนรก ๑๒๘ ขุม
จะเห็นได้ว่านรกนอกจากจะมีนรกขุมที่ใหญ่แล้วนรกยังมีสาขาล้อมรอบอีก ๔ ทิศ ขุมละ ๑๖ ขุมซึ่งแต่ละขุมก็มีการจำแนกการลงโทษตามกรรมของสัตว์ทั้งหลายที่ได้กระทำผิดไปตามกรรมนั้นๆเมื่อหมดกรรมในขุมหนึ่งแล้วหากยังมีผลกรรมที่จะต้องใช้ในนรกก็จะต้องไปใช้กรรมในนรกขุมใหม่ต่อไปตามผลกรรมนั้นๆ แต่ถ้าหมดกรรมที่จะต้องใช้ในนรกแล้วก็จะพ้นจากนรกไปสู่ภพภูมิที่สู่งกว่าตามกรรมที่ให้ผลในขณะนั้น ดังได้กล่าวมาแล้วนรกบริวารของนรกขุมใหญ่ทั้ง ๘ ขุม ซึ่งก็มีอยู่ถึง ๑๒๘ ทั้งหมดด้วยกันเรียกว่าอุสสทนรก ในที่นี้จะขอกล่าวถึงนรกบริวารของมหานรกที่ ๑ คือ สัญชีวนรกเท่านั้น เพราะว่า อุสสุทนรกที่เหลือในทิศอื่นก็ดี และที่ล้อมรอบเป็นบริวารมหานรกอื่นก็ดี ก็มีชื่อเหมือนกันต่างกันแต่เพียงโทษหนักเบาตามชั้นของมหานรกทั้งหลายเท่านั้น ซึ่งจะขอชี้แจ้งโดยละเอียดดังต่อไปนี้
๑. คูถนรก
ในคูถนรกนี้เต็มไปด้วยหมู่หนอนทั้งหลายเป็นอันมาก ซึ่งหนอนแต่ละตัวมีปากแหลมดังเข็ม แต่ละก็อ้วนพีตัวโตดังช้างสาร เมื่อตกลงไปหมู่หนอนทั้งก็แสดงอาการดีอกดีใจล้อมกายกัดกินเนื้อของสัตว์นรกจนเหลือแต่กระดูก เมื่อเหลือแต่กระดูกก็พากันแทะกัดกินกระดูก ส่วนหนอนตัวเล็กก็เข้าไปกัดกินข้างในร่างกายของสัตว์จนหมดสิ้นแล้วก็ออกมาทางปากของสัตว์นรก
๒. กุกกุฬนรก
นรกขุมนี้มีเถ้าถ่านซึ่งรุ่มร้อนอย่างมากไว้เผาสัตว์นรกในขุมนี้เถ้าถ่านนี้จะเผาสัตว์นรกจนเป็นจุนและก็เผาอยู่อย่างนี้จนหมดกรรม
๓. อสิปัตตนรก
ในนรกขุมมีป่ามะม่วงดูเหมือนว่าจะเป็นที่พักอันแสนสบายพอสัตว์นรกเข้ามาพักใต้รมไม้มะม่วงใบมะม่วงก็กลายเป็นหอกแหลมตกลงมาทิ่มแทงสัตว์นรก ทำให้มีแผลเหวอะหวะ บางที่ก็แขนขาขาดออกจากกัน เมื่อสัตว์นรกกลัวก็วิ่งนี้ไปแต่ในนรกขุมนี้มีกำแพงเหล็ก มีเปลวไฟลุกแดงโร่ ชำแรกปฐพีผุดขึ้นมาขวางหน้าไว้ สัตว์นรกต่างวิ่งนี้ไปมาแต่ก็มีสุนัขตัวใหญ่วิ่งเข้ามากัดกินเนื้อของสัตว์นรกจนเหลือแต่กระดูก แต่ก็ยังมีอีแร้งนรกเข้ามาแย่งจิกกินเนื้อเป็นอาหารจนกว่าจะหมดกรรม
๔. เวตรณีนรก
ในนรกขุมนี้เต็มไปด้วยน้ำเค็มทั้งหมดสัตว์นรกที่ตกมาในขุมนี้เมื่อเห็นสระน้ำเต็มไปด้วยดอกบัวก็พากันดีใจวิ่งเข้าไปเล่นน้ำนั้นโดยนึกว่าจะได้อาบได้กินอย่างสบายใจแต่เมื่อสัตว์ลงไปก็มีเครือหวายเหล็กซึ่งคมเหมือนหอกเหมือนดาบก็บาดร่างกายให้เป็นแผลแช่อยู่ในน้ำเค็มนั้นได้รับความทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก แต่เหตุการณ์ก็ไม่ได้จบเพียงเท่านี้ยังมีเปลวไฟลุกไหม้ทั้งที่อยู่ในน้ำ ดอกหลวงที่อยู่ในน้ำซึ่งลุกเป็นไฟพร้อมกลีบที่คมดังหอกก็แทงสัตว์นรกเหล่านั้นให้ได้รับทุกข์ทรมานอย่างสาหัสอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดสายทำให้สัตว์นรกมีทั้งบาดแผลจากเครือหวายและกลีบบัวหันสัตว์ให้เป็นชิ้นขาดจากกันก็มีและยังถูกไฟอยู่ในดอกบัวไหม้สัตว์นรกให้ร้องด้วยความเจ็บปวดแสนสาหัส ยังมีนายนิรยบา ผู้มีอำนาจในขุมนรกนี้ทุบตีซ้ำบนศีรษะซ้ำแล้วซ้ำเล่า สัตว์นรกทนไม่ได้ก็ลุกขึ้นแต่มือทั้งสองข้างก็ติดอยู่กับแผ่นเหล็ก แต่เมื่อลงไปในน้ำก็ถูกใบบัวเหล็กทิมให้เป็นแผลน้อยใหญ่แช่อยู่ในน้ำเค็มได้รับความทุกทรมานเป็นอันมาก เท่านี้ยังไม่พอยังมีนายนิรยบาล มือถือหอกแหลมคมแทงเอาอีก เมื่อถึงเวลานายนิรยบาลก็เอาเบ็ดนรกเกี่ยวลากขึ้นมาบังคับให้นอนหงายบนแผ่นเหล็กแดง แล้วเอาหลาวเหล็กงัดปากให้อ้าขึ้นแล้วเอาก้อนเหล็กแดงระอุยัดเข้าไปในปาก พอถึงปากก็ไหม้จนกระทั้งถึงลำไส้ใหญ่ก็ทะลักออกมาได้รับทุกขเวทนาอย่างสาหัส
ยมโลกนรก
ยมโลกนรกสัตว์ที่เสวยกรรมในอุสสุทนรกที่กล่าวมาแล้วหากยังไม่หมดกรรมก็จะมาจุติที่ยมโลกนรกนี้ ในยมโลกนรกนี้เป็นแดนที่เหล่าสัตว์นรกที่กระทำกรรมไม่ถึงขั้นที่จะไปจุติที่แดนมหานรก ในยมโลกนี้ล้อมรอบเป็นบริวารชั้นนอกของมหานรกทั้ง ๘ ดังที่กล่าวมาแล้ว ขุมหนึ่งมียมโลกล้อมรอบเป็นบริวารอยู่ทิศหน้า ๑๐ ขุม ทิศหลัง ๑๐ ขุม ทิศซ้าย ๑๐ ขุม ทิศขวา ๑๐ ขุม รวมทั้ง ๔ ทิศ เป็น ๑๐ ขุม จึงรวมยมโลกนรกนี้ทั้งหมดเป็น ๓๒๐ ขุม ทั้งหมดด้วยกัน โดยจะแยกให้เห็นได้ดังนี้
๑. ล้อมรอบสัญชีวมกานรก ๔๐ ขุม
๒. ล้อมรอบกาฬสุตตมหานรก ๔๐ ขุม
๓. ล้อมรอบสังฆาฏมหานรก ๔๐ ขุม
๔. ล้อมรอบโรรุวมหานรก ๔๐ ขุม
๕. ล้อมรอบมหาโรรุวมหานรก ๔๐ ขุม
๖. ล้อมรอบตาปนมหานรก ๔๐ ขุม
๗. ล้อมรอบมหาตาปนมหานรก ๔๐ ขุม
๘. ล้อมรอบอเวจีมหานรก ๔๐ ขุม
รวม ๓๒๐ ขุม
ในที่นี้จะข้อกล่าวถึงยมโลกที่อยู่ล้อมรอบสัญชีวมหานรกเท่านั้นเพียงทิศเดียวซึ่งมี ๑๐ ขุมเท่านั้น เพราะยมโลกอื่นก็ชื่อ มีโทษและเสวยผลกรรมเช่นเดียวกันทั้งนั้น
๑. ยมโลกกุมภีนรก
ยมโลกกุมภีนรกนี้มีหม้อเหล็กขนานใหญ่เท่าภูเขา เต็มไปด้วยน้ำแสบร้อนเดือดอยู่ตลอดเวลา นายนิรยบาลจับสัตว์นรกที่ข้อเท้าแล้วหย่อนลงทิ้งลงไปในหม้อเหล็ก สัตวันรกในขุมนี้ได้ทุกขเวทนาจนกว่าจะหมดกรรมที่ทำไว้
๒. สิมพลีนรก
นรกขุมนี้เต็มไปด้วยป่าต้นงิ้ว ต้นงิ้วแต่ละต้นมีหนามเหล็กอันแหลมคม ลุกเป็นไฟอยู่ตลอดเวลา สัตว์ที่ตกลงมาในนรกขุมนี้ นายนิรยบาลใช้หอกทิ่มแท้งบังคับให้ปีนต้นงิ้วให้ได้รับทุกข์ทรมานอย่างสาหัส สัตว์นรกที่ขึ้นช้านายนิรบาลก็เอาด้ามหอกตีที่ศีรษะให้ได้รับความเจ็บปวดเป็นอันมาก กระนั้นยังไม่พอนายนิรยบาลใช้หอกอันแหลมคมแทงสัตว์ระหว่างการปีนต้นงิ้วนั้นด้วยจนกว่าจะสิ้นกรรมจึงเป็นอันจบการทรมาน
๓. อสินขนรก
สัตว์นรกที่มาจุติในนรกขุมนี้มีรูปร่างแปลก เล็บมือเล็บเท้ายาวแหลมคมเป็นอาวุธ เป็นดาบบ้าง หอกบ้าง จอบบ้าง เป็นต้น สัตว์นรกในขุมนี้จะใช้อาวุธของตนถากตะกุยเนื้อหนังของตนมากินเป็นอาหาร เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา จนกว่าจะหมดกรรม
๔. ตามโพทะนรก
นรกขุมนี้มีหม้อที่ต้มด้วยทองแดงและมีก้อนกรวดก้องหินปนอยู่ สัตว์นรกที่ตกมาในขุมนี้นายนิรยบาลก็จับให้นอนหงายบนแผ่นเหล็กที่ร้อนระอุแล้วนำเอาน้ำทองแดงที่ปนกับก้อนกรวดก้อนหินมาเท่ลงปากสัตว์นรกให้ได้รับความทุกทรมานอย่างแสนสาหัส พอน้ำไหลลงเข้าไปในปากถึงท้องก็แตกสลาย แล้วก็กลับมีชีวิตขึ้นมาอีกนายนิรยบาลก็กระทำอย่างเดียวกันอีกจนกว่าจะหมดกรรมที่ทำไว้
๕. อโยคุฬะนรก
นรกขุมนี้เต็มไปด้วยก้อนเหล็กแดงเต็มไปหมดจะมองไปทางไหนก็มีแต่ก้อนเหล็กที่ลุกเป็นไฟทั้งสิ้นสัตว์นรกขุมนี้ล้วนมีแต่ความหิวโหย สัตว์นรกเหล่านั้นก็พากันเก็บกินเพราะผลกรรมจึงไม่รู้ว่าเป็นก้อนเหล็กที่ร้อนระอุเมื่อสัตว์นรกเคี้ยวกลืนลงไปก็ไหม้ไส้พุงให้ขาดกระจัดกระจายเรี่ยรายออกมา สัตว์นรกเอามือกุมท้องที่ทะลักร้องด้วยความทุกขเวทนาอย่างสาหัส
๖. ปิสสกปัพพตะนรก
นรกขุมนี้ตั้งอยู่ใน ๔ ทิศ มีภูเขาเคลื่อนที่ได้และไม่มีทีท่าว่าจะหยุด กลิ้งบดสัตว์ให้บี้แบนกระดูกแตกหักจนสลายไปได้รับความทุกขเวทนาด้วยความเจ็บปวดจนตายไปแล้วกับมาเกิดให้ภูเขากลิ้งทับอยู่อย่างนี้จนกว่าหมดกรรมที่ทำไว้
๗. ธุสะนรก
นรกขุมนี้สัตว์นรกที่มาจุติมีแต่หิ้วกระหายน้ำทั้งสิ้น วิ่งวุ่นกระเสือกกระสนไปทั่วนรก เมื่อสัตว์นรกเห็นสระน้ำก็พากันอาบกินน้ำ แต่แล้วด้วยผลกรรมน้ำนั้นกลายเป็นแกลบเป็นข้าวลีบ ลุกเป็นไฟไหม้ลำไส้ ตับ ปอดเครื่องใน ก็ไหลออกมาทางทวารหนัก ให้ได้รับความเจ็บปวดทุกขเวทนาแสนสาหัสจนกว่าจะหมดกรรมที่ทำไว้
๘. สีตโลสิตะนรก
นรกขุมนี้มีน้ำเย็นยะเยือกยิ่งกว่าความเย็นทั้งหลาย เมื่อสัตว์นรกตกลงมาในนรกขุมนี้ก็ตายเพราะความเย็น แต่แล้วก็กลับเป็นขึ้นมาสัตว์นรกพากันคลานขึ้นมาข้างบนแต่นายนิรยบาลก็ใช้หอกทิมแทงให้ตกลงไปก็ตายอีกเป็นอย่างนี้อยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะหมดกรรมที่ทำไว้
๙. สุนขะนรก
นรกขุมนี้เต็มไปด้วยสุนัขนรก และหมานรกนั้นมีอยู่ ๕ จำพวก คือ ๑. หมาดำ ๒. หมาขาว ๓. หมาเหลือง ๔. หมาแดง ๕. หมาลาย หมาทั้ง ๕ จำพวกนี้รูปร่างใหญ่น่ากลัวหนักน่า ส่งเสียเห่าฟ้าลั่นฟ้าร้อง สัตว์นรกที่ตกมาในขุมนี้จะถูกหมานรกทั้งหลายไล่ขบกัดอยู่ตลอดเวลาไม่มีหยุดยั้ง นอกจากนี้ ในนรกขุมนี้ยังมีฝูงแร้งและฝูงกาเป็นอันมาก แร้งกาเหล่านี้มีลักษณะที่แปลกประหลาด คือที่ปากและท้าวเป็นเหล็กลุกแดงเป็นไฟ บินมาจิกตรงลูกตาของสัตว์นรกให้แตกกระจุยกระจายและเคี้ยวกินจนกว่าจะตาย ถ้าหากกรรมยังไม่หมดสัตว์นรกก็จะเกิดมาอีกให้เหล่าหมา ฝูงแร้ง ฝูงกากระทำอย่างนี้อยู่ตลอดจนกว่าจะหมดกรรมที่ทำไว้
๑๐. ยันตปาสาณะนรก
ยมโลกนรกขุมสุดท้ายนี้ปรากฏว่ามีภูเขา ๒ ลูก แต่เป็นภูเขาประหลาด คือมีเครื่องยนต์หมุนภูเขาให้หันกระทบกันเป็นจังหวะไม่ขาดระยะ เมื่อสัตว์นรกมาจุติในนรกขุมนี้นายนิรยบาลซึ่งมีกำลังเป็นอันมากก็จับสัตว์นรกเข้าระหว่างภูเขาทั้งสองภูเขากระทบกันก็กระทบศีรษะของสัตว์นรกนั้นให้แตกละเอียด เลือดไหลโซม ดุจหีบอ่อยฉันนั้น สัตว์นรกจะถูกนายนิรยบาลกระทำอยู่อย่างนี้จนกว่าจะหมดกรรม แต่ถ้ายังไม่หมดก็จะกลับฝืนขึ้นมาอีกนายนิรยบาลก็จะทำการแบบนี้จนกว่าจะหมดกรรม
บทที ๓ มูลเหตุที่ทำให้ต้องตกนรก
มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาแล้วด้วยกำเนิดใดก็ตามต้องกระทำกรรมด้วยกันทั้งนั้นทั้งนี้สัตว์ที่มีความรู้ความฉลาดในการกระทำกรรมก็จะเลือกกระทำแต่กรรมดีแต่สัตว์ที่มี อวิชชา ห่อหุ้มอย่างแน่นหน้าย่อมไม่รู้ว่าการกระทำกรรมอันเลวทรามนั้นจะนำไปสู่แดนที่เรียกว่านรกและไม่รู้ว่าผลกรรมที่ทำนั้นเป็นสิ่งติเตียนของบัณฑิตผู้ปรารถนากระทำแต่คุณงามความดี ดังนั้นมูลเหตุที่ทำให้ต้องตกนรกนั้นมาจาก อวิชชา คือความไม่รู้ หรือความไม่ฉลาดในการกระทำกรรมนั้นเอง
สิ่งที่จะนำเราท่านทั้งหลายไปสู่แดนนรกได้นั้นคือการกระทำผิดทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ ที่ประกอบด้วยเจตนาในการกระทำแต่เราทุกคนที่เกิดมาแล้วต้องทำกรรมทั้งที่เป็นกรรมที่เจตนาบ้าง ไม่เจตนาบ้างแต่กรรมนั้นไม่ได้ไปไหนแต่จะรอให้ผลของกรรมถ้ากรรมข้างใดข้างหนึ่งอ่อนกำลังลงผลกรรมจึงจะให้ผลได้ดังจะได้อธิบายเรื่องกรรมเพื่อให้เข้าใจชัดเจนดังนี้
กรรม ๒
กรรม ๒ (การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ทางกายก็ตาม ทางวาจาก็ตาม ทางใจก็ตาม - Kamma: action; deed)
อกุศลกรรม (กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, การกระทำที่ไม่ดี ไม่ฉลาด ไม่เกิดจากปัญญา ทำให้เสื่อมเสียคุณภาพชีวิต หมายถึง การกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ หรือโมหะ - Akusala-kamma: unwholesome action; evil deed; bad deed)
กุศลกรรม (กรรมที่เป็นกุศล, กรรมดี, การกระทำที่ดี ฉลาด เกิดจากปัญญา ส่งเสริมคุณภาพของชีวิตจิตใจ หมายถึง การกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คืออโลภะ อโทสะ หรืออโมหะ -Kusala-kamma: wholesome action; good deed)
การจำแนกประเภทของกรรม
กรรมดี หรือ กรรมชั่วก็ตาม กระทำทางกาย วาจา หรือทางใจก็ตาม สามารถจำแนกอีก เป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลายแบบ ดังนี้
กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) ๔ อย่าง
กรรมจำแนกตามหน้าที่ของกรรม (กิจจตุกะ) ๔ อย่าง
กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกะ) ๔ อย่าง
กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม (ปากฐานจตุกะ) ๔ อย่าง
จำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม
การกระทำทางกาย วาจา ใจ ทั้งที่เป็นฝ่ายดีหรือไม่ดีก็ตาม ย่อมตอบสนองแก่ผู้กระทำ ไม่เร็วก็ช้า เวลาใดเวลาหนึ่ง กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) แสดงกำหนดเวลา แห่งการให้ผลของกรรม มี ๔ อย่าง คือ
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
อุปปัชชเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
อปราปริเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆไป
อโหสิกรรม หมายถึง กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก
จำแนกตามหน้าที่ของกรรม
กรรมจำแนกตามหน้าที่การงานของกรรม (กิจจตุกะ) กรรมมีหน้าที่ ที่จะต้องกระทำสี่อย่าง คือ
ชนกกรรม หมายถึง กรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด กรรมแต่งให้เกิด
อุปัตถัมภกกรรม หมายถึง กรรมสนับสนุน กรรมที่ช่วยสนับสนุนหรือซ้ำเติม ต่อจากชนกกรรม
อุปปีฬิกกรรม หมายถึง กรรมบีบคั้น กรรมที่มาให้ผล บีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภก
กรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นไปได้นาน
อุปฆาตกกรรม หมายถึง กรรมตัดรอน กรรมที่แรงฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมทั้งสองอย่างนั้น ให้ขาดไปเสียทีเดียว
[แก้] จำแนกลำดับการให้ผลของกรรม
กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกะ) จำแนกตามความยักเยื้อง หรือ ลำดับความแรงในการให้ผล ๔ อย่าง
ครุกกรรม (หนังสือพุทธธรรมสะกดครุกกรรม หนังสือกรรมทีปนีสะกดครุกรรม) หมายถึง กรรมหนัก ให้ผลก่อน เช่น ฌานสมาบัติ ๘ หรือ อนันตริยกรรม
พหุลกรรม หรือ อาจิณกรรม หมายถึง กรรมที่ทำมาก หรือ ทำจนเคยชิน ให้ผลรองจากครุกรรม
อาสันนกรรม หมายถึง กรรมจวนเจียน หรือ กรรมใกล้ตาย คือกรรมที่ทำเมื่อจวนจะตาย จับใจอยู่ใหม่ๆ ถ้าไม่มีสองข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนอื่น
กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม หมายถึง กรรมอื่นที่เคยทำไว้แล้ว นอกจากกรรม ๓ อย่างข้างต้น, ฏีกากล่าวว่า กรรมนี้ให้ผลในชาติที่ ๓ เป็นต้นไป(กตตฺตา-สิ่งที่เคยทำไว้, วา ปน-ก็หรือว่า, กมฺม-กรรม)
จำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม
กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม (ปากฐานจตุกะ) แสดงที่ตั้งแห่งผลของกรรมสี่อย่าง เป็นการแสดงกรรมโดยอภิธรรมนัย (ข้ออื่นๆข้างต้นเป็นการแสดงกรรมโดยสุตตันตนัย)
อกุศลกรรม
กามาวจรกุศลกรรม
รูปาวจรกุศลกรรม
อรูปาวจรกุศลกรรม
กรรมดำ กรรมขาว
นอกจากเรื่องของกรรมดีกรรมชั่วแล้ว ยังมีการอธิบายกรรมอีกนัยหนึ่ง โดยอธิบายถึงกรรมดำกรรมขาว จำแนกเป็นกรรม ๔ ประการ คือ
กรรมดำมีวิบากดำ ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีความ เบียดเบียนบุคคลอื่น ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เช่น เป็นผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ มีจิตประทุษร้ายต่อพระตถาคต ยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมา
กรรมขาวมีวิบากขาว ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีไม่ความเบียดเบียนบุคคลอื่น ย่อมได้เสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เช่น เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มากไปด้วยความเพ่งเล็งอยากได้ มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ
กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีความเบียดเบียนบุคคลอื่นบ้าง ไม่ความเบียดเบียนบุคคลอื่นบ้าง ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีทั้งสุขและทั้งทุกข์ระคนกัน
กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ได้แก่ เจตนาใดเพื่อละกรรมดำอันมีวิบากดำ เจตนาใดเพื่อละกรรมขาวอันมีวิบากขาว และเจตนาใดเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม เช่น ผู้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด โพชฌงค์เจ็ด
กฎแห่งกรรม
กฎแห่งกรรม คือ กฎธรรมชาติ ข้อหนึ่ง ที่ว่าด้วยการกระทำ และผลแห่งการกระทำ ซึ่ง การกระทำและ ผลแห่งการกระทำนั้น ย่อมสมเหตุ สมผลกัน เช่น ทำดี ย่อมได้รับผลดี ทำชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว เป็นต้น
กรรมใดใครก่อ ตนเองเท่านั้นที่จะได้รับผลของสิ่งที่กระทำ กรรมในปัจจุบันเป็นผลมาจากการกระทำในอดีต และกรรมที่ก่อไว้ในปัจจุบันเป็นเหตุที่จะส่งผลสืบเนื่องต่อไปยังอนาคต กรรมดี-กรรมชั่ว ลบล้างซึ่งกันและกันไม่ได้ ถึงแม้ว่าการทำกรรมดีจะลบล้างกรรมชั่วเก่าที่มีอยู่เดิมไม่ได้ แต่มีส่วนช่วยให้ผลจากกรรมชั่วที่มีอยู่เดิมผ่อนลง คือ การผ่อนหนักให้เป็นเบา (ข้อนี้ อุปมาได้กับ การที่เรามีน้ำขุ่นข้นอยู่แก้วหนึ่ง หากเติมน้ำบริสุทธิ์ลงไปแล้ว มิสามารถทำให้น้ำขุ่นกลับบริสุทธิ์ได้ แต่ทำให้น้ำขุ่นข้นนั้นกลับเจือจางลงและใสยิ่งขึ้นกว่าเดิม) สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ [๒] พุทธพจน์ จากพระไตรปิฎก
ดังที่ได้อธิบายเรื่องกรรมให้ทราบโดยละเอียดแล้วการที่เราท่านทั้งหลายจะไปยังโลกนรกได้ต้องประกอบด้วยอกุศลกรรมคือกรรมที่จะนำไปสู่โลกนรกได้ดังนั้นจึงจะอธิบายคำว่าอกุศลกรรมให้เข้าใจชัดเจนดังนี้
อกุศลกรรม แปลว่า กรรมที่เป็นอกุศล กรรมไม่ดี การกระทำของคนไม่ฉลาด
อกุศลกรรม หมายถึงบาป กรรมชั่ว ความชั่วร้าย ความเสียหาย ความไม่ถูกต้อง ซึ่งให้ผลเป็นความทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรเว้น การกระทำบาป กระทำความชั่ว เรียกว่าทำอกุศลกรรม เรียกย่อว่า ทำอกุศล หรือเรียกว่า ทำบาปอกุศล
อกุศลกรรม เกิดมาจากอกุศลมูลอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ อย่างคือ โลภะ โทสะ โมหะ เพราะเมื่อเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็เป็นเหตุชักนำใจให้คิดทำอกุศลกรรม เช่นเมื่อโลภะเกิดขึ้นก็เป็นเหตุให้คิดอยากได้ เมื่ออยากได้ก็แสวงหา เมื่อไม่ได้ตามต้องการด้วยวิธีสุจริต ก็เป็นเหตุให้ทำอกุศลกรรมอื่นต่อไป เช่น ลักขโมย ปล้น จี้ ฉ้อโกง เป็นต้น
ทางที่จะนำไปสู่แดนนรกก็คือการกระทำผิดในหลักธรรมที่มีชื่อว่าอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการดังจะได้อธิบายให้เข้าใจดังนี้
อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ หนทางสู่ นรก
พระพุทธเจ้าตรัสว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐ นี้ ผู้ใดเผลอกระทําไป ครั้นเมื่อตายลง
ก็จะไปสู่นรก ท่านตรัสว่า เหมือนกับถูกจับตัวไปวางไว้ เลยทีเดียว คือ หนีไม่ได้
อกุศลกรรมบถ ๑๐ คืออะไร
ประกอบด้วย
๑. ปาณาติบาต ทำให้สัตว์ให้ตกล่าง คือ ฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทาน ถือ เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วย อาการแห่งขโมย
๓. กาเมสุ มิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาท พูดเท็จ
๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
๘. อภิชญา โลภอยากได้ของเขา
๙. พยาบาท ปองร้ายเขา
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม
นอกจากนี้แล้วศีลก็เป็นทางที่นำไปสู้อบายภูมิได้เช่นกันเมื่อเราท่านได้กระทำผิดศีลแล้วผลของการกระทำผิดศีลก็จะนำเราท่านไปชดใช้ผลกรรมในนรกได้โดยผลกรรมที่กระทำผิดศีลนั้นจะส่งผลให้ไปสู้อบายภูมิแดนนรกเพื่อใช้กรรมที่ทำไว้ตามแรงเวียงของกรรมว่ากรรมนักมากหรือน้อยและผลกรรมนั้นจะต้องไปนรกขุมไหนหรือต้องไปใช้กรรมหลายขุมจนกว่าจะหมดกรรม ดังจะได้แยกประเภทของศีลให้เข้าใจดังนี้
ศีล 5 มีความหมายคือ
๑. เว้นจากทำลายชีวิต
๒. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
๓. เว้นจากประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นจากพูดเท็จ
๕. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ศีล ๘ มีความหมายคือ
สำหรับฝึกตนให้ยิ่งขึ้นไปโดยรักษาในบางโอกาส หรือมีศรัทธาจะรักษาประจำก็ได้ เช่น แม่ชีมักรักษาประจำ หัวข้อเหมือนศีล ๕ แต่เปลี่ยนข้อ ๓ และเติมข้อ ๖-๗-๘ คือ
๑. เว้นจากทำลายชีวิต
๒. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
๓. เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี
๔. เว้นจากพูดเท็จ
๕. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
๖. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป
๗. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง
๘. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ หรูหราฟุ่มเฟือย
ศีล ๑๐ มีความหมายคือ
สำหรับสามเณร แต่ผู้ใดศรัทธาจะรักษาก็ได้ หัวข้อเหมือนศีล ๘ แต่แยกข้อ ๗ เป็น ๒ ข้อ (= ๗-๘) เลื่อนข้อ ๘ เป็น ๙ และเติมข้อ ๑๐ คือ
๑. เว้นจากทำลายชีวิต
๒. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
๓. เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี
๔. เว้นจากพูดเท็จ
๕. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
๖. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป
๗. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง ฯลฯ
๘. เว้นจากการทัดทรงดอกไม้ ฯลฯ
๙. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ ฯลฯ
๑๐. เว้นจากการรับทองและเงิน
ศีล ๒๒๗ มีความหมายคือ ศีลสำหรับพระภิกษุ ซึ่งพระภิกษุต้องถือศีล ๒๒๗ ข้อ โดยอยู่ในภิกขุปาฏิโมกข์
ศีล ๒๒๗ ข้อที่เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุดได้ดังนี้ ได้แก่
ปาราชิก มี ๔ ข้อ
สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ
อนิยต มี ๒ ข้อ (อาบัติที่ไม่แน่ว่าจะปรับข้อไหน)
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ข้อ)
ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่พึงแสดงคืน) เสขิยะ (ข้อที่ภิกษุพึงศึกษาเรื่องมารยาท) แบ่งเป็น สารูปมี ๒๖ ข้อ (ความเหมาะสมในการเป็นสมณะ)
โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อ (ว่าด้วยการฉันอาหาร)
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อ (ว่าด้วยการแสดงธรรม)
ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ (เบ็ดเตล็ด)
อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อ (ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์)
รวมทั้งหมดแล้ว ๒๒๗ ข้อ ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิกษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิดได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว
ปาราชิก มี ๔ ข้อได้แก่
๑. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
๒. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
๓. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน) หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
๔. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)
สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ ถือเป็นความผิดหากทำสิ่งใดต่อไปนี้
๑.ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน
๒.เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ
๓.พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี
๔.การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน
๕.ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ
๖.สร้างกุฏิด้วยการขอ
๗.สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น
๘.แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๙.แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๑๐.ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
๑๑.เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๑๒.เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
๑๓. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์
อนิยตกัณฑ์ มี ๒ ข้อได้แก่
๑. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
๒. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียว และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี ๓๐ ข้อ ถือเป็นความผิดได้แก่
๑.เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒.อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว
๓.เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน
๔.ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า
๕.รับจีวรจากมือของภิกษุณี
๖.ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย
๗.รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
๘.พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม
๙.พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย
๑๐.ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง
๑๑.หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม
๑๒.หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน
๑๓.ใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง
๑๔.หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง ๖ ปี
๑๕.เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย
๑๖.นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
๑๗.ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
๑๘.รับเงินทอง
๑๙.ซื้อขายด้วยเงินทอง
๒๐.ซื้อขายโดยใช้ของแลก
๒๑.เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒๒.ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง
๒๓.เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย) ไว้เกิน ๗ วัน
๒๔.แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด ๑ เดือนก่อนหน้าฝน
๒๕.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
๒๖.ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
๒๗.กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
๒๘.เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
๒๙.อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน
๓๐.น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน
ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อได้แก่
๑.ห้ามพูดปด
๒.ห้ามด่า
๓.ห้ามพูดส่อเสียด
๔.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน
๕.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน (ผู้ไม่ใช้ภิกษุ) เกิน ๓ คืน
๖.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง
๗.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง
๘.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช
๙.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช
๑๐.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด
๑๑.ห้ามทำลายต้นไม้
๑๒.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน
๑๓.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ
๑๔.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง
๑๕.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ
๑๖.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน
๑๗.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์
๑๘.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน
๑๙.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น
๒๐.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน
๒๑.ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย
๒๒.ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว
๒๓.ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่
๒๔.ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ ๒๕.ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
๒๖.ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
๒๗.ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี
๒๘.ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน
๒๙.ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย
๓๐.ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี
๓๑.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๓ มื้อ
๓๒.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม
๓๓.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น
๓๔.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร
๓๕.ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว
๓๖.ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด
๓๗.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล
๓๘.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน
๓๙.ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง
๔๐.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน
๔๑.ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่นๆ
๔๒.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ
๔๓.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน
๔๔.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง)
๔๕.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม
๔๖.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา
๔๗.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้
๔๘.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป
๔๙.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน
๕๐.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
๕๑.ห้ามดื่มสุราเมรัย
๕๒.ห้ามจี้ภิกษุ
๕๓.ห้ามว่ายน้ำเล่น
๕๕.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว
๕๔.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย
๕๖.ห้ามติดไฟเพื่อผิง
๕๗.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆเว้นแต่มีเหตุ
๕๘.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม
๕๙.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน
๖๐.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
๖๑.ห้ามฆ่าสัตว์
๖๒.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์(หมายถึงแมลงในน้ำและลูกยุงอาศัยอยู่คือห้ามนำมาฉันและรดต้นไม้)
๖๓.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์ (คดีความ-ข้อโต้เถียง) ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
๖๔.ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น
๖๕.ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐ ปี
๖๖.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน
๖๗.ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน
๖๘.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน ๓ ครั้ง)
๖๙.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๐.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๑.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
๗๒.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท
๗๓.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์
๗๔.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
๗๕.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
๗๖.ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
๗๗.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
๗๘.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
๗๙.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน
๘๐.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ
๘๑.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง
๘๒.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
๘๓.ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา
๘๔.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่
๘๕.เมื่อจะเข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องบอกลาภิกษุก่อน
๘๖.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์
๘๗.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ
๘๘.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น
๘๙.ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ
๙๐.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ
๙๑.ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ
๙๒.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ
ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อได้แก่
๑. ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน
๒. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
๓. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์)
๔. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า
เสขิยะ สารูป มี ๒๖ ข้อได้แก่
๑.นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)
๒.ห่มให้เป็นปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)
๓.ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน
๔.ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน
๕.สำรวมด้วยดีไปในบ้าน
๖.สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน
๗.มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)
๘.มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน
๙.ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน
๑๐.ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน
๑๑.ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน
๑๒.ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน
๑๓.ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน
๑๔.ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
๑๕.ไม่โคลงกายไปในบ้าน
๑๖.ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
๑๗.ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
๑๘.ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
๑๙.ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
๒๐.ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
๒๑.ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
๒๒.ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
๒๓.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
๒๔.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
๒๕.ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
๒๖.ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน
โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อคือหลักในการฉันอาหารได้แก่
๑.รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ
๒.ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร
๓.รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)
๔.รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร
๕.ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ
๖.ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร
๗.ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง)
๘.ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป
๙.ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป
๑๐.ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก
๑๑.ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้
๑๒.ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ
๑๓.ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป
๑๔.ทำคำข้าวให้กลมกล่อม
๑๕.ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง
๑๖.ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
๑๗.ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
๑๘.ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
๑๙.ไม่ฉันกัดคำข้าว
๒๐.ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
๒๑.ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
๒๒.ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
๒๓.ไม่ฉันแลบลิ้น
๒๔.ไม่ฉันดังจับๆ
๒๕.ไม่ฉันดังซูด ๆ
๒๖.ไม่ฉันเลียมือ
๒๗.ไม่ฉันเลียบาตร
๒๘.ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
๒๙.ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
๓๐.ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อคือ
๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ
๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ
๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ
๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ
๕.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้)
๖.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า
๗.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน
๘.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน
๙.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
๑๐.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
๑๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
๑๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
๑๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
๑๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
๑๕.ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
๑๖.ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง
ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ
๑. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
๒. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
๓. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อได้แก่
๑. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)
๒. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
๓. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
๔. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
๕. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
๖. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
๗. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป
ดังที่กล่าวมาแล้วว่าศีลก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราท่านผู้กระทำผิดศีลต้องไปใช้กรรมในแดนนรกไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ ศีล ๑๐ หรือศีล ๒๒๗ ถ้ากระทำผิดแล้วไม่อาจที่แก้ไข้หรือล้างบาปกรรมได้โดยประการทั้งปวงไม่มีการชำระกรรมได้เลยแต่กรรมนั้นจะให้ผลตามที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นตามแรงเวียงของกรรมที่คอยให้ผลนี้เองเป็นทางที่ต้องนำพาไปสู้แดนนรกให้ได้รับความทุกขเวทนาแสนสาหัสดังที่กล่าวมาแล้วในเรื่องนรก
บทที่ ๔ บทสรุปนรกในพระพุทธศาสนา
นรกเป็นแดนที่มีแต่ความทุกขเวทนาอันหาความสุขไม่ได้แม้แต่น้อยนิดเพราะเป็นแดนที่ทรมานสัตว์ผู้กระทำผิดในหลัก ศีลธรรม แม้ว่านรกแต่ละขุมจะมีวิธีการทรมานสัตว์ให้ได้รับความทุกขเวทนาในแบบต่างๆกันออกไปแต่จุดประสงค์ของนรกนั้นก็คือการชดใช้กรรมที่ตนได้กระผิดในครั้งที่มีชีวิตอยู่การนำเอาเรื่องนรกนี้มาบอกกล่าวแก่ท่านทั้งหลายของพุทธองค์และบัณฑิตผู้รู้หลักธรรมก็เพื่อบอกกล่าวถึงโทษของอกุศลกรรมเพื่อไม่ให้ประพฤติผิดไปจากธรรมนองคลองธรรมแม้แต่ผู้ที่จำชาติได้หรือผู้ที่ตายแล้วฝืนที่จำอดีตที่ตนเคยประสบพบมาก็เพื่อเตือนสติให้กระทำแต่กุศลกรรมอันดีเพื่อเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และเป็นมนุษย์อันประเสริฐเป็นผู้เจริญทั้งด้านความคิดสติปัญญาให้สมกับที่ได้มาเกิดเป็นมนุษย์ผู้มีวัฒนธรรมอันเจริญแล้ว อย่างไรก็ตามนรกยังเป็นดินแดนที่ทางวิทยาศาสตร์ยังพิสูตรไม่ได้เหมือนกับจักรวาลที่กล่าวไว้ในพระพุทธศาสนาแต่สำชาวพุทธแล้วนรกนั้นให้ผลตั้งแต่ยังไม่ได้ตายจากโลกนี้ไปดังที่ผู้รู้กล่าวไว้ว่านรกมีความร้อนรุมทั้งทางกายและทางใจแก่ผู้ที่กระทำผิดศีลธรรมทำให้เกิดความทุกขเวทนา บางก็ถึงต้องถูกกักขังในตาราง บางถูกความร้อนรุมทางจิตใจทำให้จิตกระซับกระสนผิดมนุษย์ หรือกลายเป็นคนพิการเพราะอำนาจของกรรม นั้นเป็นเพราะโทษของกรรมของเขาที่กระทำไว้ด้วยอำนาจของกรรมเขาเหล่านั้นต้องได้รับโทษทั้งที่ยังไม่ตายจากโลกนี้ได้รับความทุกขเวทนาทั้งในชาตินี้และชาติหน้าที่จะละสังขารไปก็จะต้องไปชดใช้กรรมตามแรงเวียงของกรรม อกุศลกรรมที่ทำไว้นั้นต้องไปสู้แดนนรกขุมใดและต้องชดใช้นานเท่าใดจนกว่าจะหมดกรรม
ดังที่กล่าวมาแล้วนรกเป็นที่ซึ่งไม่มีใครปรารถนาที่จะไปสู่โลกที่มีแต่ความทุกข์ มีแต่ความเจ็บปวดทรมาน อันหาความสุขไม่ได้ฉะนั้นแล้วผู้ที่มีความรู้ความฉลาดในการกระทำกรรมควรเว้นเสียจากอกุศลกรรมอันให้ตกลงไปสู่แดนที่ไรซึ่งความสุข ข้อท่านจงกระทำแต่กรรมดีเพื่อความสุขเป็นผลทั้งในโลกนี้และโลกหน้าอย่างยิ่งดังสุภาษิตที่ว่า กรรมมุนา วตฺตีโลโก สัตว์โลกยอมเป็นไปตามกรรม
อ้างอิง
ธรรมมาธิบายหลักธรรมในพระไตรปิฎก อาจารย์ปัญญา ใช้บางยาง และขณะในนามธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๘
โลกทีปนี พระพรหมโมลี ( วิลาศ ญาณวโร) ป.ธ.๙ สำนักพิมพ์ดอกหญ้า ๒๕๔๕
เว็บไซต์ ไตรภูมิพระร่วงวิกิพีเดีย
เว็บไซต์ http://www.larnbuddhism.com/webboard/forum8/thread1074.html
เว็บไซต์ http://www.larnbuddhism.com/grammathan/siil227.html
สมัครสมาชิก บทความ [Atom]
แสดงความคิดเห็น