วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

 

จิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม

จิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม
ขอขอบคุณท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านในการจัดทำหนังสือจิตวิทยาการเรียนการสอนข้าพเจ้าขอนำข้อมูลส่วนนี้มาเผยแพร่เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่คนที่สนใจต้องการศึกษา
แนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม
กลุ่มพฤติกรรมนิยม Bwhavironmentalst - associationint ให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เห็นได้ชัด ซึ่งสามารถวัดได้ สังเกตได้ และทดสอบได้ แนวความคิดของกลุ่มนี้ถือว่าสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม และการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง การแสดงพฤติกรรมจะมีความถี่มากขึ้นถ้าหากได้รับการเสริมแรง แต่นักจิตวิทยาบางคนในกลุ่มนี้ก็ไม่เห็นด้วยกับการเสริมแรง ถือว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ถ้ามีความใกล้ชิดระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
นักทฤษฎีคนสำคัญๆ ซึ่งมีบทบาทต่อการจัดการศึกษาในปัจจุบัน มีดังนี้
แนวคิดของ IVAN PAVLOV (1849-1936)
IVAN PAVLOV เป็นชาวรัสเซีย จบการศึกษาทางด้าน physiology เป็นคนแรกที่ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ การทดลองของเขาเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงว่า การเรียนรู้เป็นเรื่ององการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยการทดลองให้หมาน้ำลายไหลด้วยเสียงกระดิ่ง การทดลองของเขาพบว่า “classical conditioning”
วิธีศึกษา
ครั้งแรก PAVLOV ให้ข้อสังเกตว่า หมายไม่มีปฏิกิริยาใดๆกับกระดิ่ง แต่หมาจะน้ำลายไหลเมื่อเห็นอาหาร ในขั้นของการทดลอง PAVLOV สั่นกระดิ่งและให้อาหารทันที ปรากฏว่าหมาก็น้ำลายไหล PAVLOV สรุปว่า ในช่วงนี้หมาเกิดการเรียนรู้ ( conditioned หรือ learned ) เพราะรู้จักเชื่อมโยงระหว่างเสียงกระดิ่งและอาหาร และมีการตอบสนองต่อเสียงกระดิ่งดังเช่นสนองตอบต่อการเห็นอาหาร
การทดลองของ IVAN PAVLOV พบว่า
1. ถ้าสั่นกระดิ่งหลายๆครั้งโดยไม่ให้อาหาร จำนวนน้ำลายที่ไหลจะค่อยๆน้อยลงและหายไปในที่สุด
2. หมาจะมีการตอบสนอง (น้ำลายไหล) ต่อเสียงทุกเสียงที่คล้ายกระดิ่ง เช่น เสียงนกหวีด เรียกว่า หมาเกิดการเรียนรู้ Generalization PAVLOV ทดลองต่อไปเพื่อให้หมาเรียนรู้เฉพาะสิ่งที่ต้องการให้เรียนรู้เท่านั้น (discrimination) โดยการให้อาหารทันทีเฉพาะเสียงกระดิ่งเท่านั้นแต่ไม่ให้อาหารภายหลังเสียงอื่นๆที่คลายคลึงกับเสียงกระดิ่ง ในที่สุดหมาจะน้ำลายไหลเฉพาะเสียงกระดิ่งเท่านั้น
การเรียนรู้ที่เรียกว่า “Classical conditioning” ของ IVAN PAVLOV หมายถึง การเรียนรู้ใดๆก็ตามซึ่งมีลักษณะตามลำดับขั้น ดังนี้
1. ผู้เรียนมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง โดยไม่สามารถบังคับได้ มีลักษณะ reflex เกิดขึ้นเองโดยไม่มีการเรียนรู้ ( unlearned หรือ unconditioned ) เป็นไปโยอัตโนมัติผู้เรียนไม่สามารถควบคุ่มพฤติกรรมได้ พฤติกรรมชนิดนี้มีทั้งสัตว์และคน หมาเห็นอาหารแล้วน้ำลายไหล หรือ คนที่กระพริบตาเพราะมีกระแสลมผ่าน
2. การเรียนรู้เกิดขึ้นเพราะความใกล้ชิด และการฝึกหัดโดยนำสิ่งเร้าที่มีลักษณะเป็นกลาง คือไม่สามารถทำให้เกิดการตอบสนองมาเป็น conditioned stimulus ( CS ) โดยนำมาควบคู่กับสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองโดยอัตโนมัติทำในเวลาใกล้เคียงกัน และทำซ้ำๆในที่สุดสิ่งเร้าที่เป็นกลางจะมีผลทำให้ผู้เรียนเกิดการตอบสนอง ในช่วงที่ผู้เรียนเกิดการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เคยเป็นกลางนั้นเรียกว่า เกิดการเรียนรู้ ชนิดมี conditioned ดังเช่น หมาน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง ทั้งๆที่ครั้งหนึ่งเสียงกระดิ่งไม่สามารถทำให้หมาน้ำลายไหลได้ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการทดลองของ PAVLOV เป็นตัวอย่างที่ดีที่จะอธิบายว่า การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม คือครั้งแรกหมาไม่มีปฏิกิริยาใดๆต่อเสียงกระดิ่ง แต่เมื่อเกิดการเรียนรู้ว่าเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งก็จะได้อาหาร ครั้งต่อๆมาหมาก็มีปฏิกิริยาต่อเสียงกระดิ่ง คือ น้ำลายไหล คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นเอง เมื่อเกิดการเรียนรู้ถ้าต้องการให้อยู่คงทนจะต้องมีการฝึกหัด
แนวคิดของ John B. Watson (1878-1958)
Watson เป็นผู้ที่ให้ทฤษฎีการเรียนรู้ของ PAVLOV เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวางมาก วัตสันเป็นนักจิตวิทยาชาอเมริกัน เป็นผู้ตั้งศัพท์ “BEHAVIORISM” เพราะเห็นว่าจิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริงนั้นจะต้องจะต้องศึกษาพฤติกรรมเฉพาะในสิ่งที่สังเกตได้อย่างเด่นชัดมีความเห็นว่า การศึกษาทางจิตวิทยาควรเป็นการศึกษาสิ่งที่เป็นปรนัย ( objective) มิใช้เป็นอัตนัย ( subjective) ซึ่งเกี่ยวกับการรู้สึกนึกคิดของคน
วัตสันได้นำความคิดของ PAVLOV มาทำการทดลองกับคน เพื่อจะศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของคน
วิธีศึกษา/การทดลอง
Watson & Rayner ( 1920 ) ได้ทดลองเกี่ยวกับการเรื่องการเรียนรู้ของคน โดยใช้เด็กชาย Albart อายุประมาณ 2 ขวบ เป็นตัวทดลอง โดยที่เขาให้ข้อสังเกตว่า โดยธรรมชาติแล้วเด็กๆจะกลัวเสียงที่ดังขึ้นอย่างกะทันหัน และก็โดยธรรมชาติเด็กมักจะไม่กลัวสัตว์ประเภท หนู กระต่าย ฯลฯ ในช่วงของการทดลอง เขาปล่อยให้ Albart เล่นกับหนูขาวขณะที่ Albart เอื้อมมือจะจับหนู Watsonใช้ค้อนตีแผ่นเหล็กเสียงดังสนั่น เด็กแสดงอาการตกใจกลัวหลังจากนั้นเด็กแสดงอาการกลัวหนู ถึงแม้จะไม่ได้ยินเสียงค้อนตีดังๆก็ตาม
ในสถานการณ์เช่นนี้ เด็กเกิดการเรียนรู้ชนิดเชื่อมโยงระหว่างเสียงดัง ซึ่งทำให้เด็กเกิดความกลัวขึ้นตามธรรมชาติ ( เป็น unconditioned stimulus-response) กับหนู ซึ่งครั้งแรกเด็กไม่กลัว แต่เมื่อนำมาคู่กับเสียงดัง เด็กเกิดการเชื่อมโยงระหว่างเสียงดังกับหนู ในที่สุดทำให้เด็กกลัวได้ ดังนั้นหนูจึงกลายเป็น CS ซึ่งทำให้เกิดความกลัว CR
จากการทดลองของวัตสันปรากฏว่า Albart มิได้กลัวแต่เพียงหนูเท่านั้น แต่จะกลัวสัตว์มีขนทุกชนิด ความสำเร็จครั้งนี้ วัตสัน ทำให้เขาคิดว่าเขาจะควบคุมพฤติกรรมทุกชนิดของคนได้ สามารถจะให้ใคร เป็นอะไรก็ได้ทั้งนั้น โดยมิต้องคำนึงถึงสติปัญญา ความสามารถ
วัตสันมิได้นำความคิดของเขาไปใช้โดยตลอดรอดฝั่ง ทั้งนี้เพราะเขาได้ผละออกจากวงการศึกษา และหันไปสนใจกับงานด้านธุรกิจ
แนวคิดของ Edward Lee Thorndike (1874-1949)
Thorndike ได้ชื่อว่าเป็น “connectionism” โดยมีความเห็นว่าการเรียนรู้การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเนื่องจากการมีการเชื่อมโยงระหว่าง S-R (ซึ่งต่างจาก Watson ซึ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่าง stimulus หมายถึงการเชื่อมโยงระหว่าง UCS กับ แห ดังนั้นการเรียนรู้ของWatsonคือ S-S Model ส่วนของ Thorndike นั้นเน้นว่าสิ่งสำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ คือ “reinforcement” ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่าง S-R มากขึ้น หมายความว่า สิ่งเร้าใดทำให้เกิดการตอบสนอง และการตอบสนองนั้นได้รับการเสริมแรงจะก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่าง S-R นั้น มากขึ้น
วิธีศึกษา/การทดลอง
Thorndike ทดลองกับแมวที่กำลังหิว โดยจับใส่ใน “กล่องปัญหา”แล้วว่างจานอาหารไว้นอนกรงแมวจะเปิดประตูออกมาได้ถ้าสามารถถอดสลักได้ แมวเดินไปเดินมาในกรงพยายามหาทางออกดเพื่อจะได้กินอาหาร โดยบังเอิญไปถูกสลักที่ติดกับประตูอยู่ มันจึงออกมากินอาหารได้ Thorndike สังเกตว่า ในการทดลองครั้งต่อๆมาแมวจะใช้เวลาน้อยลงๆในการที่จะหาทางออกมากินอาหารเพราะมันรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะออกมากินอาหารได้ เขาจึงสรุปว่า การเรียนรู้ของแมวมีลักษณะ “trial and error” มิใช้เป็นเนื่องมาจากสติปัญญา ซึ่งการทดลองนี้ทำให้เกิดกฎแห่งการเรียนรู้ ของเขา คือ “law of Effect” ซึ่งอธิบายว่า สิ่งเร้าใดที่กระตุ่นให้ทีการตอบสนอง และคนและสัตว์ได้รับความพึ่งพอใจจากการกระทำนั้นๆคนหรือสัตว์จะทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก ส่วนการกระทำใดซึ่งไม่มีผลที่พึงพอใจ คนและสัตว์จะเลิกทำพฤติกรรมนั้นตามความหมายของ Thorndike อธิบายว่า การแสดงพฤติกรรมเป็นไปในลักษณะของการลองผิดลองถูก ดังนั้นสิ่งเร้า (S)ใดก็ตามซึ่งกระตุ่นให้แสดงพฤติกรรม (R) และได้รับความพึงพอใจจากการแสดงพฤติกรรมนั้น(reinforce)จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่าง S-R คู่นั้นอย่างแน่นแฟ้น ซึ่งจากการทดลองนี้หมายถึงการที่แมวนี้ลองผิดลองถูกมาหลายครั้ง จนในที่สุดแมวเห็นสลัก (S)และดึงสลัก (R) ซึ่งทำให้ออกไปนอกกรงได้และได้กินอาหาร(reinforce) ดังนั้นก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสลัก(S)และการดึง(R) อย่างแน่นแฟ้น นั่นคือแมวกระทำพฤติกรรมซ้ำๆจนได้รับความพึงพอใจ ในทำนองตรงกันข้าม ถ้าแมวเห็นสลัก (S)แล้วดึง (R) และได้ออกไปนอกกรง แต่แทนที่จะได้อาหารกลับโดนตี แมวจะคอยๆเพิกพฤติกรรม เห็นสลักแล้วดึง เพราะการกระทำนั้นมีผลไม่พึงพอใจ
กฎการเรียนรู้ “law of Effect” ของ Thorndike มีอิทธิผลมากทางการศึกษา เขาเป็นคนแรกของกลุ่ม “reinforcement theorists” เป็นผู้ที่เน้นการให้ความสำคัญของการให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ กฎอื่นๆที่ตามมาจากกฎการเรียนรู้กฎแรกของเราคือ “Law of readiness” และ Law of exercise”
แนวคิดของB.F. Skinner (1940)
Skinner ขณะนี้เป็นศาสตราจารย์ทางจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัย Harvard เป็นผู้คิดสร้าง “Skinner box”และ”teaching machines” เป็นผู้ใช้คำว่า Operant reinforcement (หรือ instrumental learning) เป็นผู้ที่มรความเห็นสอดคล้องกับ Thorndike ว่า reinforcement เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ เขากล่าวว่า “ การกระทำใดๆถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มให้เกิดการกระทำนั้นอีก ส่วนการกระทำใดที่ไม่มีการเสริมแรง ย่อมมีแนวโน้มให้ความถี่ของการกระทำนั้นค่อยๆหายไป และหายไปในที่สุด” ความเห็นของ Skinner เกี่ยวกับ reinforcement แตกต่างจากของ Thorndike ตรงที่เขากล่าวว่า การเชื่อมโยงจะเกิดขึ้นระหว่าง reward และ response มิใช้ระหว่าง stimulus และ response ดังที่ Thorndike กล่าว
ความคิดเห็นของ Skinner เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้
Skinner เห็นว่า การเรียนรู้มี 2 ชนิดคือ
1. Classical conditioning ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการมีสิ่งเร้าสิ่งเร้าจากภายนอกมากระตุ้น ให้แสดงพฤติกรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นไปโดยอัตโนมัติ (การแสดงพฤติกรรมของเรามีเป็นจำนวนไม่น้อยมีลักษณะ reflex ) และมีสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับ UCS ซึ่งทำให้เกิด UCR ในที่สุดสิ่งเร้าใหม่นั้น (CS) จะทำให้คนเกิดการเรียนรู้ขึ้นได้ (CR) การเรียนรู้ชนิดนี้ Skinner เรียก respondent behavior ซึ่งมีลักษณะเช่นเดี่ยวกับการเรียนรู้ของ Watson แต่แตกต่างกันตรงที่ Skinner เน้นเกี่ยวกับ UCS ซึ่งให้ทันทีหลังจากที่ให้ Stimulus ใหม่ (CS) ว่าเป็น reinforce (มีลักษณะเดียวกันกับ Pavlov)
2. Operant conditioning การเรียนรู้ชนิดนี้ ผู้เรียนต้องเป็นผู้กระทำเอง มิต้องรอให้สิ่งเร้าจากภายนอกมากระตุ้น แต่เกิดจากสิ่งเร้าภายในตัวผู้เรียนเป็นตัวกระตุ้นให้คนแสดงพฤติกรรม การแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ เช่น การเดิน การพูด การเล่น การทำงาน ฯลฯ การที่เรากินอาหาร จะมีสาเหตุเนื่องมาจากความหิว ซึ่งเป็นความต้องการทางร่างกาย มิใช้เนื่องมาจากเห็นอาหาร (S) แล้วก็กิน (R) แต่เรากินอาหารเพราะเราหิวซึ่งเป็นความต้องการทางร่างกาย การแสดงพฤติกรรมกินอาหาร เป็นสิ่งที่ผู้เรียนเป็นฝ่ายกระทำ (operant response) เห็นว่า พฤติกรรมของคนส่วนใหญ่มีลักษณะเป็น operant learning และสิ่งสำคัญที่ทำให้คนแสดงพฤติกรรมซ้ำเดิม คือ reinforcement
การทดลอง
เพื่อแสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้เกิดจากการกระทำของผู้เรียน Skinner ใช้หนูทดลองในกล่อง (Skinner box) ซึ่งสร้างขึ้นสำหรับการทดลองนี้โดยเฉพาะ ในกล่องมีคานซึ่งเมื่อหนูกดจะได้กินอาหาร และการได้กินอาหารนี้มีเงื่อนไขบางอย่างเช่นเดี่ยวกับแกร็ก และมาดสำหรับรองรับอาหาร Skinner จับหนูซึ่งกำลังหิวใส่ลงในกล่องทดลอง ปรากฏว่า หนูวิ่งไปมา และโดยบังเอิญหนูไปเหยียบคานเข้า ซึ่งมันได้ยินเสียงดังแกร็ก และหลังจากนั้นมีอาหารหล่นมาตามท่อสู่ถาด หนูรีบหยิบอาหารนั้นกิน จากนั้นหนูก็วิ่งไปวิ่งมาอีก ในที่สุดหนูจะเฝ้ากดคาน และวิ่งไปคอยรับอาหาร ครั้งแรกหนูจะเกิดการเรียนรู้ชนิด generaxation คือรู้ว่า เมื่อคิดว่ากดคานทุกครั้งก็จะได้รับอาหาร ต่อมาเกิดการเรียนรู้ชนิด discrimination เมื่อได้ยินเสียงแกร็กเท่านั้นจึงจะได้รับอาหาร ต่อจากนั้น Skinner เปลี่ยนการทดลอง งดการให้อาหารเมื่อหนูกดคาน แต่ยังมีเสียงแกร็กตามปกติ ปรากฏว่าหนูกดคานต่ออีก 2-3 ครั้งก็เลิกกด
ต่อมา Skinner ทำการทดลองเปรียบเทียมกับหนู 2 ตัวตัวหนึ่งเมื่อกดคานก็จะได้อาหารทุกครั้ง อีกตัวหนึ่งเมื่อกดคานก็บางทีก็ได้บางทีก็ไม่ได้ ผลปรากฏว่า หนูตัวแรกเมื่อหยุดให้อาหารหนูก็แทบจะเลิกกดทันทีเหมือนกัน ส่วนอีกตัวหนึ่ง ยังเฝ้ากดอยู่แม้ว่าจะเหนื่อยจนหลับไปเมื่อตื่นขึ้นมาก็ยังเฝ้ากดคานต่อไป ลักษณะการให้ reinforcement เช่นนี้ เหมือนกับคนเล่นการพนัน ถึงแม้ว่าจะได้บ้าง เสียบ้าง คนก็ยังเล่น เพราะคิดว่าอาจจะได้
Skinner กล่าวว่าการเรียนรู้ชนิด operant conditioning หรือ Type -R conditioning นั้น ผู้เรียนจะต้องกระทำเอง มิใช้เป็นการแสดงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้น ดังเช่น การเรียนรู้ชนิด classical conditioning ดังตัวอย่างของการทดลอง การที่หนูได้กินอาหาร เพราะหนูเป็นผู้กดคานจึงได้กินอาหาร หรือการที่เราหิว แล้วได้กินอาหาร เพราะเราเป็นผู้ทำหรือสั่งให้คนอื่นทำ
แนวคิดของสกินเนอร์เกี่ยวกับเรื่องการแสดงพฤติกรรมในลักษณะที่ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำ และได้รับการเสริมแรงจะทำให้ผู้นั้นมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมซ้ำเดิมอีกนั้นสามารถอธิบายพฤติกรรมที่ปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวันได้อย่างกว้างขวาง เช่น คนที่เคยไปทะเลแล้ว นอนเอาทรายกลบตัว เมื่อมีโอกาสไปเที่ยวทะเลอีกก็มักจะทำพฤติกรรมนั้นซ้ำเดิม เพราะเกิดความสบาย หรือการที่เราทุกคนนั่งตัวตรงเขียนหนังสือแทนการนอนพังพาบเขียน ก็นั่งเขียนสบายกว่านอนเขียน หรือการที่เด็กบ้างคนร้องให้ แผลงฤทธิ์ต่างๆนานาเมื่อต้องการที่เอาของที่ต้องการ ก็สามารถอธิบายด้วยหลักการเรียนรู้ของสกินเนอร์ได้เช่นกัน เพราะการที่เด็กแผลงฤทธิ์แล้วผู้ใหญ่เกิดอาการรำคาญใจก็รีบหาของที่เด็กต้องการให้ การให้ของที่เด็กต้องการภายหลังที่แสดงพฤติกรรมเช่นนั้นแล้ว จะได้ของที่ต้องการ ซึ่งเป็นการส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ไม่ดีให้กับเด็ก หลักเรียนรู้ของสกินเนอร์สามารถอธิบายได้ แม้แต่พฤติกรรมเชื่อถือโชคลางต่างๆ เช่น นักการพนันบ้างคนจะเชื่อว่าเสื้อบางตัวเมื่อใส่แล้วจะนำโชค เพราะครั้งแรกที่ใส่เสื้อตัวนั้นแล้วโชคดี ทุกครั้งที่ออกไปเล่นการพนัน
หลักการเรียนรู้ของสกินเนอร์สามารถนำไปใช้ได้ผลดีในการเลี้ยงดูเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเติบโตขึ้นมาเป็นคนเจ้าอารมณ์ นักจิตวิทยากลุ่มนี้กล่าวว่าสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเก่าได้ โดยการให้เรียนรู้พฤติใหม่ที่พึงประสงค์
ความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้แบบ Operant และ classical conditioning
ในการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้ทั้ง 2 ประเภทนี้คือ operant และ classical conditioning นั้น มีประเด่นใหญ่ๆที่ควรคำนึง 2 ประเด่นคือ
1. แหล่งของพฤติกรรม จากการทดลองของ Pavlov สุนัขจะมีลักษณะ passive เพราะการที่สุนัขเรียนรู้ที่จะมีน้ำลายไหลเกิดจากการทดลองเป็นผู้ทำให้เกิดขึ้น ส่วนพฤติกรรมของหนูใน (Skinner box) หนูเป็นผู้ลงมือกระทำพฤติกรรมด้วยตัวเอง โดยการกดคาน ๙นสภาพการเช่นนี้เรียก operant สำหรับ Skinner และนักจิตสิทยาบางคนเรียก instrumental learning ทั้งนี้การแสดงพฤติกรรมเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือที่นำมาซึ่งการเสริมแรง ซึ่งหมายถึงอาหารนั้นเอง
2. สาระของกระบวนการเรียนรู้ การเรียนรู้แบบ classical นั้น เกิดจากการนำสิ่งเร้า 2 ชนิดมาควบคู่ในเวลาเดียวกัน คือครั้งแรกนำสิ่งเร้าที่มีลักษณะเป็นกลางที่ต้องการให้เรียนรู้ (CS-Conditioner stimulus ) ตามด้วยสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดการตอบสนองโดยอัตโนมัติ (UCS-unconditioned stimulus ) ซึ่งการนำสิ่งเสนอในเวลาเดี่ยวกันนี้ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ต้องการให้เรียนรู้ (CS)เช่นเดี่ยวกับสิ่งเร้าที่ต้องการตอบสนองอัตโนมัติ (UCS) ส่วนการเรียนรู้แบบ operant เป็นการเรียนรู้ที่เป็นไปอย่างรู้ตัว ได้รับอิทธิผลจากผลที่เกิดตามมาของพฤติกรรม (consequence) ถ้าผลที่เกิดตามมาของพฤติกรรมทำให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจ ผู้เรียนจะแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น (reinforcement) แต่ถ้าผลที่ตามมาเป็นการลงโทษ ก็จะก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ ทำให้การแสดงพฤติกรรมลดลง
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การเรียนรู้แบบ Classical จะเน้นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นก่อน (CS ตามด้วย UCS) กับการตอบสนองในขณะที่ operant จะเน้นความสัมพันธ์ ระหว่างการตอบสนองและผลที่เกิดตามของพฤติกรรม (consequence)
หลักการพื้นฐานของการเรียนรู้แบบ Operant (Basic principles of operant conditioning)
ความคิดพื้นฐานของการเรียนรู้แบบ Operant เป็นเรื่องที่ค่อนข้างง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนถือว่าการแสดงพฤติกรรมทุกชนิดจะเกี่ยวข้องกับผลที่เกิดตามมาของพฤติกรรม และผลที่ตามมาเหล่านี้จะมีอิทธิผล หรือเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม
โดยทั่วไปแล้วผลที่เกิดตามมาของพฤติกรรมจะบวกหรือลบก็ได้ ถ้าผลที่ตามมานั้นทำให้คนๆนั้น แสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำเดิม หรทอทำให้ความถี่ของการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้นเรียกว่า “การเสริมแรง” (reinforcement) ซึ่งอาจจะเป็นการเสริมแรงทางบวกหรือการเสริมแรงทางลบ แต่ถ้าผลที่ตามมานั้น ทำให้การแสดงพฤติกรรมน้อยลง เรียกว่าเป็นการลงโทษ (punishment) หรือ การหยุดการเสริมแรง (extinction) การลงโทษจะมีสองลักษณะ คือ type I punishment) และ type II punishment (type I punishment หมายถึง การให้สิ่งที่เด็กไม่ชอบหรือให้สิ่งเร้าลบ ส่วน type II punishment หมายถึงการเอาสิ่งที่เด็กชอบหรือสิ่งเร้าบวกออกไป)
การเสริมแรงบวก (Positive reinforcement)
การที่คนเราแสดงพฤติกรรมในทุกๆวันแล้วได้รับสิ่งที่พึงพอใจ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งเร้าทางบวก หรือตัวเสริมแรงบวก (Positive reinforcer) ซึ่งหมายถึง คำชม เงิน ขนม โอกาสที่จะได้เล่นอย่างอิสระ ฯลฯ ตัวเสริมแรงอาจเป็นทั้งรูปธรรมหรือนามธรรม
การเสริมแรงลบ (Negative reinforcement)
การเสริมแรงลบ มีเป้าหมายเช่นเดียวกัน คือ สามารถเพิ่มความคงทนของพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เพียงแต่มีวิธีที่ต่างกัน ข้อสังเกต การให้การเสริมแรงลบ จะต้องเคยให้สิ่งที่เด็กไม่พึงพอใจมาก่อน หรือเคยได้รับการลงโทษมาก่อน แต่ไม่สามารถแก้พฤติกรรมให้เป็นไปตามที่ผู้ใหญ่ต้องการได้ ผู้ใหญ่ควรเปลี่ยนวิธีมาใช้ การให้แรงเสริมลบแทน เพราะจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการลงโทษ
วิธีที่ทำให้พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลดลงมี 3 วิธีคือ
การลงโทษ Punishment
นักจิตวิทยากลุ่มผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำ (operant) ได้ให้คำอธิบายไว้ดังนี้ การลงโทษหมายถึงการให้สิ่งเร้าที่ผู้เรียนไม้พึงพอใจและไม่ต้องการ ซึ่งเรียกว่า aversive stimuli ซึ่งได้แก้ การดุ การตำหนิ การตบตี การเยาะเย้ย หรือการทำโทษให้เด็กคัดลายมือเป็นร้อยๆครั้ง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ไม่มีใครชอบ
คนส่วนมักจะมีการเข้าใจสับสนระหว่างการเสริมแรงลบกับการลงโทษ ทั้งลักษณะเกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าที่เด็กไม่พึงพอใจ แต่ให้ผลต่างกัน เพราะการเสริมแรงลบเป็นการงด หรือไม่ให้หรือดึงสิ่งที่เด็กไม่พอใจออกไป จะมีผลทำให้พฤติกรรมที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น หรือมั่นคงขึ้น ส่วนการลงโทษ จะเป็นการให้สิ่งที่เด็กไม่พึงพอใจ โดยหวังที่จะแก้พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
การพักชั่วคราว Time – out
มีลักษณะเช่นเดียวกับ type I punishment คือลดความถี่หรือจำกัดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ หรือทำให้พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์อ่อนตัวลง โดยการนำสิ่งที่ไม่พึงพอใจ หรือแรงเสริมบวกออกไปชั่วคราว เป็นการตัดโอกาส ที่จะทำให้เด็กได้รับแรงเสริมบวกเช่นเด็กที่ชอบก่อกวนในห้องเรียน เพราะเรียกร้องความสนใจ ครูอาจจะให้ไปอยู่ในห้องว่างๆตามลำพัง สัก 10 นาที แล้วจึงให้กลับเขามาเรียนใหม่
การหยุดการเสริมแรง (Extinction)
หมายถึงการหยุดไม่ให้ความสนใจ (Ignore) หรือไม่ให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ครูไม่ให้ความสนใจกับนักเรียนที่ตะโกนตอบ หรือตอบโดยที่ครูยังไม่ได้เรียก หรือการที่แม่ทำเพิกเฉยไม่สนใจต่อลูกที่ทำเสียงงอแง โยเย ตลอดจนผู้ให้การปรึกษาไม่ให้ความสนใจต่อการพูดตำหนิติเตียนตนเองของผู้มารับคำปรึกษา เป็นต้น
การลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์โดยใช้วิธี หยุดการเสริมแรง (Extinction) และการพักชั่วคราว (time – out) จะมีประสิทธิภาพ ถ้าร่วมกับวิธีอื่น เช่น การเสริมแรงบวก
การกลับมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป Spontaneous recovery
พฤติกรรมที่ไม่ได้รับการเสริมแรง อาจจะค่อยๆกลับมาใหม่ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปทั้งนี้เพราะการใช้วิธี หยุดการเสริมแรง (Extinction) เป็นวิธีให้ผลเพียงชั่วคราวที่จะลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ถ้าหากว่าใช้วิธีนี้เพียงวิธีเดียว เพราะพฤติกรรมที่ถูกทำให้หายไปนั้นจะค่อยๆกลับมาใหม่
การสรุปนัยทั่วไป Generalization
เมื่อคนเราเรียนรู้ที่จะตอบสนองสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่งโดยเฉพาะ ย่อมจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน หรือต่างออกไปเล็กน้อยในลักษณะเดียวกัน โดยที่คิดว่าสิ่งเร้านั้นๆเหมือนกัน เช่น นกพิราบของสกินเนอร์ ได้รับการฝึกให้จิกพลาสติกสีแดง ถ้าจิกถูกจะได้อาหารเป็นการเสริมแรง ปรากฏว่านกจะจิกแผ่นสีอื่นๆที่มีสีต่างออกไปเล็กน้อย เช่น สีส้ม และ สีเหลือง แม้จะต่างทั้งสี ขนาด รูปร่าง
การเรียนรู้ในลักษณะ (Generalization) จะเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เช่น ทั้งครูและพ่อแม่จะมีความรู้สึกพอใจมากถ้าเด็กซึ่งได้รับการเสริมแรงทางบวกในการใช้วิธีศึกษาหาความรู้อย่างมีประสิทธิภาพในวิชาประวัติศาสตร์ไปใช้ในวิชา เคมี พีชคณิต และวิชาอื่นๆแต่ในบางสถานการณ์เด็กอาจจะทำให้ครูไม่พอใจ เพราะนิ่งที่ตนได้รับการเสริมแรง จากทางบ้านไปใช้ในโรงเรียน เช่น การแสดงความคิดเห็น การโต้แย้ง หรือแสดงความไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของครู ทั้งนี้เพราะเห็นว่าทั้งพ่อแม่และครูเป็นผู้ให้เหมือนกัน
การจำแนกแยกแยะ Discrimination
เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เหมือนกันด้วยวิธีที่ต่างกัน เมื่อเกิดการเรียนรู้ในลักษณะ Generalization ที่ไม่เหมาะสมดังดังตัวอย่างดังกล่าว เป็นความจำเป็นที่จะต้องสอนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในลักษณะจำแนกแยกแยะ รู้ว่าจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เหมือนกันด้วยวิธีที่ต่างกันอย่างไร เช่น ครูไม่ใช่พ่อแม่ แม้ว่าจะเป็นผู้ใหญ่เหมือนกันก็ตาม และรู้จักที่จะตอบสนองด้วยวิธีการที่แตกต่างกันในแต่ละสถานการณ์ โดยกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะนี้จำเป็นจะต้องให้แรงเสริมบวก เฉพาะพฤติกรรมที่พึงประสงค์เท่านั้น เช่นเมื่อใดที่เด็กให้ความสนใจตั้งใจเรียน เชื่อฟัง ให้ความร่วมมือ ฯลฯ และจะไม่ให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การไม่สนใจเรียน การดื้อไม่เชื้อฟัง ให้ความร่วมมือ ฯลฯ เป็น
โดยแท้ที่จริงแล้ว การแสดงพฤติกรรมในแต่ละวันถูกควบคุ่มโดยกระบวนการเรียนรู้ ในลักษณะจำแนกแยกแยะในแต่ละวันเป็นส่วนใหญ่ เช่น การขับขี่รถที่ปลอดภัยในสังคม เพราะคนขับทุกคน เพราะคนขับทุกคนเรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อลักษณะของไฟแตะละสีด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน คือไฟเขียว ไฟแดง และไฟสีเหลือง
การแต่งพฤติกรรม Shaping
พฤติกรรมของมนุษย์ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งสามารถปรับให้เป็นไปตามต้องการได้โดยให้เสริมแรงพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับพฤติกรรมปลายทาง หรือพฤติกรรมที่พึงประสงค์ (คำส่าพฤติกรรมปลายทาง - Terminal behavior เป็นคำที่สกินเนอร์ใช้ – Biehler & Snowman 1990) (p.326) และในขณะเดียวกันไม่ให้ความสนใจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ กุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จในการปรับพฤติกรรมคือ จะต้องให้การเสริมแรงทันทีไปทีละขั้น
Nye(1979) กล่าวว่าในการปรับแต่งพฤติกรรมให้มีประสิทธิภาพนั้น มีสิ่งที่ต้องคำนึง 3 ประการคือ
1. ให้การเสริมแรงทางบวกอย่างมากๆในช่วงแรกๆเพราะว่าผู้เรียนแสดงพฤติกรรมแล้วไม่มีผู้ใดสนใจ จะทำให้ผู้เรียนไม่มีกำลังใจที่จะพยายามทำพฤติกรรมนั้นๆอีก
2. อย่าคาดหวังที่ให้เกิดความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วนัก เพราะจะทำให้ไปลดการตอบสนองที่เหมาะสม เช่น การที่จะคาดหวังที่จะให้เด็กขยันมั่นเพียรในการทำการบ้านเป็นเวลา 90 นาทีภายหลังที่เด็กได้รับการแต่งพฤติกรรมมาเพียง 45 นาที ย่อมเป็นการคาดหวังที่มากเกิดไปเพราะเด็กอาจจะเกิดความท้อ และความเบื่อซึ่งอาจทำให้มีพฤติกรรมย้อนกลับไปที่เดิมอีก เนื่องจากขาดการเสริมแรงที่เพียงพอ
3. การถ่วงเวลาการให้แรงเสริมกับพฤติกรรมปลายทางออกไป โดยการเพิ่มเวลาให้มากขึ้นจะทำให้มีพฤติกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นตามมาด้วย เพราะลักษณะของการเสริมแรงนั้นจะมีผลต่อพฤติกรรมที่เพิ่งเกิด หรือที่ใกล้ๆกัน มากกว่าจะส่งไปถึงพฤติกรรมปลายทาง เช่น ครูแต่งพฤติกรรมการศึกษาเล่าเรียนของเด็กโดยให้ศึกษาแต่ละวิชาเป็นเวลาหลายชั่วโมง ในแต่สัปดาห์ (เป็นกลยุทธ์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ) โดยที่ไม่ให้เกรดเป็นรายสัปดาห์เมื่อถึงเวลาสอบกลางปี ปรากฏว่านักเรียนดูหนังสือแบบยัดเหยียดจนดึกดื่นเทียงคืน การที่นักเรียนทำคะแนนได้สูงโดยวิธีดูหนังสือแบบยัดเหยียดนี้ จะเป็นแรกเสริมมากกว่าค่อยๆดูไปเรื่อยๆโดยแยกเป็นส่วนๆจากข้อคิดนี้ทำให้ได้ข้อคิดว่า ครูควรจัดให้มีการสอบบ่อยๆเพื่อจะได้เสริมแรงทันท่วงที
ช่วงเวลาการเสริมแรง Schedules of reinforcement
มีคำถามเกี่ยวกับการเสริมแรงว่า จำเป็นจะให้ทุกคนหรือไม่ คำตอบคือ ในบางสถานการณ์อาจจะต้องให้ทุกครั้ง แต่บางครั้งก็ไม่จำเป็น ในกรณีที่ต้องให้ทุกครั้งคือ เมื่อต้องการจะให้เด็กเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ที่มีลักษณะซับซ้อน ซึ่งเป็นไปในลักษณะปรับพฤติกรรมการเรียนจะดำเนินไปได้ดีที่สุดเมื่อเด็กได้รับการเสริมแรงทางบวกในทุกครั้งที่แสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และไม่ให้ความสนใจพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ โดยวิธีการนี้เรียกว่า เป็นการให้แรงเสริมทุกครั้งอย่างต่อเนื่อง (continuous reinforcement schedule) เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์แล้ว การให้แรงเสริมทุกครั้งก็ไม่จำเป็นอาจจะให้เป็นครั้งคราว (noncontiguous หรือ intermittent) สกินเนอร์ได้แบ่งการให้เสริมแรงแบบเป็นคราว ออกเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้คือ
ก. การให้แรงเสริมในช่วงเวลาที่แน่นนอน (Fixed interval-FI)
ข. การให้แรงเสริมในช่วงเวลาที่ไม่แน่นนอน (Variable interval – VI)
ค. การให้แรงเสริมอัตราส่วนที่แน่นนอน (Fixed ratio – FR)
ง. การให้แรงเสริมในอัตราส่วนที่ไม่แน่นนอน (Variable ratio – VR)
ก. การให้แรงเสริมในเวลาที่แน่นนอน (fixed interval –FI) หมายถึงการให้แรงเสริมด้วยกำหนดระยะเวลาที่แน่นนอน หลังจากที่ผู้เรียนได้แสดงพฤติกรรมที่พึงปรารถนาในครั้งแรก และครั้งต่อไป ได้อย่างถูกต้อง เช่น 5 นาที 1 ชั่วโมง หรือ 7 วัน เป็นต้น ทำให้ผู้เรียนคาดคะเนถูกว่าเมื่อใดจะได้รับแรงเสริม เป็นที่น่าสังเกตว่า โดยกระบวนการนี้ พฤติกรรมจะเพิ่มขึ้นเมื่อจวนจะถึงกำหนดเวลา หลังจากนั้นพฤติกรรมอาจจะเฉือยลง
ข. การให้แรงเสริมในช่วงเวลาไม่แน่นนอน (Veriable interval – VI) การให้แรงเสริมครั้งแรก และครั้งต่อๆไปไม่แน่นนอน แปรเปลี่ยนอยู่เสมอ ผู้เรียนไม่สามารถเดา หรือคาดคะเน หรือคาดคะเนได้ว่าจะได้รับแรงเสริมเมื่อใด การให้แรงเสริมในลักษณะนี้สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมได้อย่างดี เพราะผู้เรียนจะไม่หยุดแสดงพฤติกรรมในระหว่างที่ไม่ได้รับแรงเสริมอีกเมื่อไร
ค. การให้แรงเสริมในอัตราส่วนที่แน่นอน (fixed ratio – FR) เป็นการให้แรงเสริมตามจำนวนครั้งของพฤติกรรม โดยจัดในอัตราส่วนที่แน่นอน หรือคงที่ระหว่างตอบสนองที่ไม่ได้รับการเสริมแรงกับการตอบสนองที่ไม่ได้รับการเสริมแรง เช่น ให้แรงเสริม ถ้าพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดซ้ำๆ 5 ครั้ง อัตราส่วนที่ได้รับการตอบสนองที่ได้รับแรงเสริม กับการตอบสนองที่ไม่ได้รับแรงเสริมจะเป็น 5: 1 การให้แรงเสริมในลักษณะนี้ จะทำให้พฤติกรรมที่ต้องการในอัตรารวดเร็วมาก แต่ผู้เรียนจะหยุดการแสดงพฤติกรรมชั่วคราวหลังจากที่ได้รับการเสริมแรงแล้วหลังจากนั้นจึงจะเริ่มใหม่
ง. การให้แรงเสริมในอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน (variable ratio – VR) เป็นการให้แรงเสริมในลักษณะที่ผู้เรียนไม่สามารถคาดคะเนได้ถูกว่า เมื่อไรจึงจะได้รับแรงเสริมเป็นการให้แรงเสริมพฤติกรรมตามจำนวนครั้งที่แปรเปลี่ยนไปเสมอ เช่น ครั้งแรกอาจจะเป็น 4 ครั้ง จึงได้แรงเสริมครั้งที่ 2 เป็น 10 ครั้ง จึงจะได้แรงเสริมเป็นต้น โดยวิธีให้แรงเสริมลักษณะนี้จะสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมได้ต่อไปอีกนาน การให้แรงเสริมลักษณะนี้เป็นหลักการใช้เครื่องมือ slot machines, นอกจากนั้นหลักการเสริมแรงแบบ VR ยังช่วยอธิบายของการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ว่า ทำไมจึงศึกษาค้นคว้าวิจัยในเรื่องเดียวกันต่อเนื่องกันไปโดยไม่หยุดหย่อน
การนำหลัก Operant conditioning ไปใช้ในการศึกษา
1. บทเรียนสำเร็จรูป
2. การปรับพฤติกรรม
บทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Instruction)
จากการที่สกินเนอร์ได้สนใจศึกษานกพิราบ โดยการนำการเสริมแรง ไปแต่งพฤติกรรม (Shaping) เพื่อให้นกแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการ ในครั้งแรกนกพิราบจะได้เมล็ดถั่วเป็นอาหาร เมื่อเดินมาถึงจานอาหาร และเมื่อนกผงกหัวก็จะได้รับเมล็ดถั่วเป็นรางวัลอีก และเมื่อนกจิกอาหาร ก็ได้รับเมล็ดถั่วเป็นอาหารอีกเช่นกัน หลังจากที่ Skinner) ได้วางเงื่อนไขเช่นนี้แล้ว เขาได้โยนเมล็ดถั่วเขาไปในกรง ปรากฏว่าก่อนที่นกพิราบจะกินเมล็ดถั่วนั้น มันแสดงพฤติกรรมทุกอย่างตามที่ได้รับการวางเงื่อนไข จากการทดลองนี้เสดงให้เห็นว่าเราจะสามารถนำ reinforcement มาใช้เพื่อให้สัตว์แสดงพฤติกรรมตามต้องการ Skinner ได้นำแนวความคิดนี้มาฝึกสัตว์ให้ทำกิจกรรมต่างๆ อีกมากมาย นั้นคือการให้การเสริมแรงอย่างทันท่วงทีทุกครั้งที่สัตว์แสดงพฤติกรรมตามต้องการ
จากการทดลองกับหนูและนกพิราบ Skinner ได้นำความคิดมาใช้ในการสอน และสร้างบทเรียนสำเร็จรูปขึ้น โดยยึดหลัก reinforcement
สกินเนอร์ผู้เป็นเจ้าของทฤษฎี Operant conditioning เป็นผู้ที่ได้รับความสนใจจากวงการศึกษามากที่สุด เพราะเป็นผู้ที่เขียนวิจารการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องที่ครูไม่มีเวลาที่จะให้แรงเสริมกับนักเรียน ทำให้นักเรียนขาดความสนใจในการเรียน ในปี 1954 สกินเนอร์ได้เสนอแนะวิธีโดยใช้เครื่องช่วยสอน และบทเรียนสำเร็จรูป โดยที่เขามีความคิดเห็นดังนี้
ความคิดเห็นของ Skinner เกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบัน
Skinner มีความเห็นว่า การจัดการศึกษาในปัจจุบันนี้ ไม่เพียงแต่จะไม่ใคร่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังมีอันตรายอีกด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะความพยายามที่จะปรับปรุงการศึกษาในปัจจุบันได้ละเลยสิ่งสำคัญ คือ วิธีการ บุคคลที่ถูกตำหนิมากคือนักจิตวิทยาการศึกษาทั้งนี้เพราะพวกนี้สนใจแต่เพียง ผลการเรียน แต่มิได้คำนึงถึง วิธีการที่จะช่วยการเรียนให้มีผลดี
ข้อเสียของการจัดการศึกษาตั้งแต่อดีต – ปัจจุบันตามความเห็นของ Skinner
1. ครูไม่สามารถให้การเสริมแรงได้ทันท่วงที ต้องใช้เวลามาก กว่าจะตรวจงานของเด็กแต่ละคนเสร็จ และเมื่อเด็กสอบเสร็จแล้ว ก็ไม่สามารถทราบผลได้ทันท่วงที
2. เนื้อหาต่างๆที่นำมาสอนขาดการจัดขั้นตอนอย่างมีระบบ ระเบียบ บางครั้งอยากเกินกว่าที่เด็กจะเข้าใจได้ การให้แบบฝึกหัดไม่มีความสัมพันธ์กัน
3. การให้การเสริมแรงไม่สม่ำเสมอ และไม่ทั่วถึง เพราะมีนักเรียนเป็นจำนวนมาก
การให้การเสริมแรงในขณะที่กำลังสอนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะ
1. เป็นการกระตุ่นผู้เรียนโดยให้ทราบว่า เขาได้บรรลุเป้าหมายที่ว่างไว้
2. สร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้น โดยการเสริมสร้างบรรยากาศระหว่างครู – นักเรียน
3. เป็นเครื่องแนะให้ผู้เรียนทราบว่าขณะนี้เขาทำผิดหรือถูก
4. เป็นการให้แรงกระตุ้นให้เด็กแสวงหาการเสริมแรงต่อไป
นักเรียนแต่ละคนมีความต้องการ การเสริมแรงที่แตกต่างกัน บางคนต้องการสิ่งของรางวัลที่เป็นสิ่งของ แต่บ้างคนต้องการเพียงคำว่า “ถูก”หรือ”ทำต่อไปได้”
ข้อควรระวังในการใช้การเสริมแรง
1. คำพูดหลายๆคำที่ใช้แล้วแทนที่จะได้ผลดี กลับยั่วให้เด็กเกิดอารมณ์ เกิดความรู้สึกต่อต้าน เกิดความรู้สึกสับสน เพราะไม่ได้รับข้อเสนอแนะตามที่ต้องการ เช่น
“ทำไมจึงต้องให้บอกกันซ้ำแล้วซ้ำอีก”
“เธอจะตั้งใจฟังไม่ได้หรือ”
2. จากการวิจัยพบว่า คำชมเชย บางครั้งไม่ใช้เป็นการจูงใจที่สำคัญเช่นที่เราคิดว่าควรจะเป็น ฉะนั้นการแสดงการยอมรับโดยการ “พยักหน้า” หรือใช้คำพูดว่า “ถูก” จะมีประสิทธิภาพมากกว่าคำชมเชยที่เหลือเฟือ
ผลการวิจัยยังพบอีกว่า คนที่มีแรงจูงใจใฝ่สมฤทธิ์สูงจะพอใจกับ Feedback ที่เที่ยงตรงมากกว่า Feedback หรือ การกระตุ้นที่มากเกินกว่าเหตุ
ข้อดีของการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปตามความเห็นของ Skinner
จากการทดลองกับนกพิราบพบว่า การจะให้นกแสดงพฤติกรรมเช่นไรนั้นขึ้นอยู่กับการเสริมแรง ทำให้ Skinner ได้ความคิดว่าการจัดการเรียนในโรงเรียนก็จะสามารถแต่ง (Shape) ให้เป็นไปตามทิศทางที่ต้องการได้ด้วยการใช้การเสริมแรงเป็นอนุกรมซึ่งมีความต่อเนื่องกัน ดังเช่นที่เขาให้กับนกพิราบ
ความเห็นของ Program เกี่ยวกับบทเรียนสำเร็จรูป
1. สามารถให้การเสริมแรงได้ทันท่วงที
2. เด็กสามารถทำงานได้ตามลำพัง พ้นจากการถูกดุถูกว่าจากครู ไม่ต้องฟังคำวิพากษ์วิจารณ์หรือเยาะเย้ยจากเพื่อนๆซึ่งทำให้เกิดความสบายใจ ก่อให้เกิดความรู้สึกที่เป็นอิสระ
3. ทำให้เกิดการพึงตนเอง และมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น
ประเภทของบทเรียนสำเร็จรูป
ผู้ที่เป็นต้นความคิดบทเรียนแบบโปรแกรม คือ Sidney pressey เข้าได้สร้าง teaching machine ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1932 บทเรียนที่สร้างขึ้นเพื่อใช้กับบทเรียนที่ใช้เครื่องช่วยการสอนในระยะแรกเป็นแบบให้เลือกตอบ ซึ่งยึดทฤษฎีของการเรียนรู้ของ Thorndike เป็นหลัก ซึ่งถือว่าการเรียนรู้มีลักษณะการลองผิด – ลองถูก ต่อมาบทเรียนประเภทนั้นเสื่อมความนิยมลง ไม่เป็นที่นิยมใช้
ปัจจุบันมีบทเรียนแบบโปรแกรมอยู่ 2 แบบ (เป็นการแบ่งตามการตอบสนองของผู้เรียน) ถ้าเป็นการแบ่งตามสื่อจะมี 3 แบบ คือ 1. บทเรียนแบบโปรแกรม 2. เครื่องช่วยสอน 3. บทเรียนประกอบสื่อประสม
1. Linear program หรือ Constructed response program ของ Skinner (1954)
2. Branching program หรือ intrinsic program ของ Crowder (1961-1963)
1. Linear program
บทเรียนแบบโปรแกรมของ Skinner มีพื้นฐานอยู่บท operant conditioning โดยมีการจัดเนื้อหาที่จะให้เรียนเพื่อที่จะให้ผู้เรียนตอบถูก โดยที่ถือว่าการที่ตอบสนองของเด็กเป็น operant และคำเฉลยเป็น reinforcement ฉะนั้น บทเรียนประเภทนี้นักเรียนจะต้องเป็นผู้คิดหาคำตอบเอง (constructed response) โดยที่สร้างขึ้นให้เด็กตอบถูกมากที่สุด
ลักษณะของโปรแกรม
1. บทเรียนแต่ละชุดประกอบด้วยหลายๆกรอบ แต่ละกรอบจะมีข้อมูลเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะให้เรียนทีละนิด (Small step) ติดต่อเชื่อมโยงกันไปตลอด การให้ข้อมูลที่ละนิดเพื่อช่วยให้ผู้เรียนจำเรื่องราวที่จะให้เรียนได้ติดต่อกันไปโดยตลอดไม่ขาดตอน ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จัดเรียงลำดับไว้ เป็นระเบียบต่อเนื่องกัน จากงายไปหายาก
2. ในการเรียนนั้นกำหนดไว้ว่า จะให้นักเรียนตอบได้ถูกมากที่สุด โดยทั่วๆไป 1 คำ ตอบ ใน 1 กรอบ แต่อาจจะเป็น 4-5 คำตอบในหนึ่งกรอบก็ได้ นักจะต้องเป็นผู้คิดหาคำตอบเองตอนแรกๆของบทเรียนจะมีลักษณะชี้ช่องทางให้ (prompt) เพื่อให้ตอบถูก และมีลักษณะที่จะให้นักเรียนสามารถทำความเข้าใจได้ด้วยตนเอง และการชี้ช่องทางนี้จะค่อยๆหายไป และหายไปในที่สุด
3. บทเรียนแต่ละกรอบจะมีลักษณะ teach - test สลับกันไปโดยที่บทเรียนตอนต้นๆจะมีลักษณะสอน และกรอบต่อไปเป็นการทดสอบ หรือบางกรอบอาจจะเป็นการทดสอบอย่างเดียว ถ้าเนื้อเรื่องนั้นยังเกี่ยวกับข้อความข้างต้น
4. ให้รู้ผลของการกระทำอย่างทันทีทันใด ว่าคำตอบนั้น ถูก – ผิด ซึ่งถือว่าเป็น reinforcement เพราะถือว่าการรู้ผลของการเรียนจะช่วยให้การเรียนดีขึ้น มีผลการวิจัยยืนยันโดยเฉพาะการที่รู้ว่าอะไรถูก (positive feedback) มีประสิทธิภาพมากกว่าที่รู้อะไรผิด (negative feedback) ฉะนั้น Linear Program จึงพยายามใช้ cue และแบ่งเนื้อเรื่องที่จะให้เรียนเป็นกรอบเล็กๆติดต่อกันไป เพื่อช่วยให้นักเรียนตอบถูกต้องมากที่สุด (95%) และให้ positive feedback คือให้ทราบแต่ข้อที่ถูก ทั้งนี้เพื่อช่วยให้นักเรียนแต่ละคนเกิดความมั่นใจและกำลังใจที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ต่อไป
โปรแกรมอื่นๆของสกินเนอร์ เช่น การสอนคัดลายมือให้กับเด็กประถม ตัวหนังสือต่างๆพิมพ์ไว้บนกระดาษอาบน้ำยาเคมี ถ้าเด็กลากเส้นไปตามตัวหนังสือได้ถูกต้อง จะปรากฏเป็นเส้นสีเทา แต่ถ้าเด็กลากเส้นเฉออกจากตัวหนังสือจะปรากฏเป็นสีเหลือง ครั้งแรกตัวหนังสือที่จะให้เด็กหัดคัดนั้นจะพิมพ์ไว้อย่างเรียบร้อย (Prompt, cue) เมื่อเด็กค่อยๆมีพัฒนาการขึ้น ส่วนต่างๆจะค่อยๆหายไป จะเหลือเพียงจุด หรือเส้นบางเส้นเท่านั้น
ความคิดของ Skinner เห็นว่า จะสามารถนำวิธีของ operant conditioning มาใช้สอนได้แม้แต่เรื่องที่เกี่ยวกับการคิด หรือความคิดสร้างสรรค์
หมายเหตุในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปให้มีประสิทธิภาพนั้นได้ใช้เกณฑ์ 90/90 โดยลดจากเกณฑ์การตอบถูก 95% ตามที่สกินเนอร์ได้เสนอไว้ เพราะเป็นการยากที่ครูจะสามารถสร้างบทเรียนให้ง่าย จนกระทั้งเด็กทุกคนทำได้ร้อยละ 95 แต่ตามสภาพที่จริงไม่ใคร่มีใครสามารถมีใครสร้างบทเรียนได้ง่ายพอให้เด็กตอบถูกได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 นั้นแสดงให้เห็นว่าบทเรียนยังมีความยาก ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สกินเนอร์ตั้งไว้
2. Branching program
ผู้ที่เป็นต้นความคิดคือ Norman Cowder (1963) เห็นว่าการที่จะช่วยให้การเรียนของเด็กก้าวหน้าไปนั้น โดยการที่จัดความรู้ให้เป็นไปทีละขั้น มีลักษณะเป็น larger steps มิใช้เป็น small staps ดังของ
สกินเนอร์ และเห็นว่าเครื่องมือที่ช่วยสอนนั้นควรมีลักษณะ “talk back” ให้เด็กเกิดการเรียนรู้เหมือนว่ามีครูคอยอธิบายอยู่ข้างๆโปรแกรมชนิดนี้บ้างครั้งเรียกว่า “intrinsic program”
ความแตกต่างของ . Branching program และ linear program
1. นักเรียนทุกคนไม่สามารถทำเสร็จในเวลาใกล้เคียงกัน ผู้ที่ทำได้ถูกต้องทั้งหมด จะใช้เวลาทำน้อยก็จบบทเรียน ส่วนผู้ที่ทำผิดจะใช้เวลาทำนานกว่า เพราะจะต้องไปอ่านคำอธิบายในกรอบแขนงแล้วจึงจะกลับมาตั้งต้นที่กรอบยืนซึ่งทำผิดไว้
2. เด็กเลือกคำตอบจากตัวเลือกต่างๆ ซึ่งจะมีคำอธิบายให้ทราบว่าที่เลือกนั้นถูกหรือผิดและจะมีทิศทางบอกให้ทราบว่าควรจะไปอ่านข้อไหนต่อไป ซึ่งต่างจาก Linear program เด็กจะต้องคิดหาคำตอบเอง
3. กรอบแต่ละกรอบของ Branching ยาวกว่า linear บางครั้งเกือบทั้งหน้าเป็น 1 กรอบและต้องการเพียงคำตอบเดียว
หมายเหตุ
1. ในปัจจุบัน Pressey ได้ปรับปรุงบทเรียนแบบโปรแกรมของเขาขึ้นใหม่เรียกว่า Adjunct Autoinstruction (1964) โดยใช้วิธีนำบทเรียนแบบโปรแกรม หรือแบบทดสอบต่างๆไว้ในหนังสือตำราเรียน หรืออาจจะนำคู่มือการใช้และวัสดุอื่นๆที่เห็นว่าจำเป็นไว้ด้วยก็ได้
2. ได้มีการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบระหว่างการสอนปกติ และใช้บทเรียนสำเร็จรูป ซึ่งผลการวิจัยส่วนใหญ่พบว่าไม่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าบทเรียนสำเร็จรูปนั้นมีประสิทธิภาพพอที่จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้พอๆกับที่ครูสอนเอง
การปรับพฤติกรรม (Behavior Modification)
คำว่าการปรับพฤติกรรม (Behavior Modification) หมายถึง การนำเทคนิคของ Operant conditioning มาใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นพฤติกรรมที่ต้องการ โดยการไม่ให้ความสนใจกับพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา และให้ความสนใจที่พึงปรารถนา สำหรับคนที่ใช้เทคนิคนี้พยายามที่จะจัดการกับพฤติกรรม โดยการให้รางวัลในลักษณะที่ไม่แน่นอน (reward contingent) กับพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งที่ต้องการ ดังนั้นบางครั้งจึงใช้คำว่า “contingency management”
ภายหลังที่สกินเนอร์และเพื่อนร่วมงานประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ในการใช้เทคนิคของ operant conditioning ปรับพฤติกรรมสัตว์ จึงสรุปว่า เทคนิคที่ใช้กับสัตว์เหล่านั้นสามารถนำมาใช้กับคนได้ เทคนิคที่นำมาใช้ในการศึกษา เพื่อให้พฤติกรรมที่พึงปรารถนาเพิ่มขึ้น คือ การแต่งพฤติกรรม (shaping) เบี้ยเศรษฐกิจ (token economies) และการกระทำเงื่อนไขสัญญา (contingency contractiong) สำหรับเทคนิคที่นำมาใช้ เพื่อทำให้พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาลดลง คือ การหยุดการเสริมแรง (extinction) การพักชั่วคราว (time -out)และการลงโทษ (punichment)
การแต่งพฤติกรรม (Shaping)
ความพยายามของนักจิตวิทยาที่จะใช้วิธีการ Shaping ปรับพฤติกรรมที่สำคัญๆในชั้นเรียนจะประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
1. เลือกพฤติกรรมเป้าหมาย
2. หาข้อมูลพื้นฐาน (Baseline data) ที่เชื่อถือได้ เพื่อจะได้กำหนดว่าพฤติกรรมที่ต้องการจะ shape นั้น เกิดขึ้นบ่อยเพียงใด ในสถานการณ์ปกติ
3. เลือกตัวเสริมแรงที่เหมาะสม
4. ให้การเสริมแรงกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในลักษณะเช่นเดี่ยวกับพฤติกรรมที่ต้องการจะ shape ทุกครั้งที่เกิดขึ้น
5. ให้การเสริมแรงกับพฤติกรรมใหม่ที่ต้องการ ในทุกๆครั้งที่เกิด
6. ให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราวกับพฤติกรรมที่ต้องการ
เบี้ยเศรษฐกิจ (Token economies)
เทคนิคที่ 2 ที่ใช้ในการเพิ่มพฤติกรรมที่ต้องการในชั้นเรียน คือ การให้เบี้ยเศรษฐกิจถือว่าเป็นระบบการให้แรงเสริมที่มีลักษณะยืดหยุ่น โดยกระบวนการนี้ผู้เรียนสามารถนำเบี้ยไปแลกซื้อของได้เช่นเดียวกับเงิน อาจจะใช้ได้ผลดีกับนักเรียนที่ไม่ใคร่เห็นความสำคัญของการศึกษา หรือนักเรียนที่ขาดแรงจูงใจในการเรียน และนักเรียนปัญญาอ่อนที่ไม่สามารถเข้าใจได้เองว่าการศึกษามีประโยชน์อย่างไร แต่การใช้แรงเสริมที่เป็นสิ่งของมักมีปัญหา ในเรื่องการอิ่มตัว คือถ้าใช้บ่อยเกินไป สิ่งของนั้นก็ไม่มีคุณค่า หรือไม่มีความหมายสำหรับผู้เรียน การใช้แรงเสริมประเภทนี้ อาจจะใช้ประโยชน์ได้อย่างดีในโรงเรียนชนบท หรือโรงเรียนที่นักเรียนชอบขาดเรียนบ่อยๆเพราะไม่เห็นคุณค่าของการศึกษา โดยให้นักเรียนจับฉลากเป็นตัวเลขที่มีค่า ซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปแลกเป็นสิ่งของได้
เนื่องจากการใช้แรงเสริมที่เป็นสิ่งของ ดาว หรือเบี้ย อาจจะเสื่อมค่าลงได้ นักจิตวิทยาจึงได้ทำการวิจัย หาวิธีการที่จะใช้เบี้ยเป็นการเสริมแรงที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งได้ให้ข้อเสนอแนะดังนี้
1. ก่อนที่จะใช้ ควรแน่ใจว่าสามารถที่จะหาของมาให้เด็กแลกกับเบี้ยได้ตามสัญญา
2. เวลาใช้เบี้ยเป็นแรงเสริมควรจะใช้คู่กับคำชม เช่น “ดีมาก”แก่ง” เป็นต้น
3. ควรระวังอย่างให้จนอิ่มตัว เพราะจะกลายเป็นสิ่งที่มีมีคุณค่า
4. ควรพยายามลดการใช้เบี้ยไปที่ละน้อย และให้คำชมแทน
การทำเงื่อนไขสัญญา (Contingency contracting)
เทคนิคที่ 3 ที่นำมาเพิ่มพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้เพิ่มขึ้น คือ การทำเงื่อนไขสัญญา (Contingency contracting) เป็นการให้การเสริมแรงภายหลังที่ได้ทำตามสัญญาที่ตกลงกันซึ่งสัญญานี้อาจจะเป็นคำพูด หรือเขียนไว้อย่างชัดเจน ระหว่างครูกับนักเรียน แม่กับลูก หรือผู้ให้บริการปรึกษากับผู้มารับการบริการ โดยที่ฝ่ายผู้เรียนได้ตกลงที่จะแสดงพฤติกรรมให้เป็นที่ยอมรับของสังคม เช่น เด็กสัญญาว่าจะนั่งทำงานเป็นเวลา 30 นาที โดยไม่ลุกเดินไปก่อกวนเพื่อนคนอื่นๆถ้าผู้เรียนทำได้ตามสัญญา ครูก็จะเสริมแรงด้วยการให้เวลาอิสระ 10 นาที หรือให้ของเล่น หรือเบี้ยเศรษฐกิจเป็นต้น การทำสัญญาอาจจะทำทั้งห้อง หรือทำเฉพาะบางคน เทคนิคมีความยืดหยุ่นพอสมควรที่จะใช้เบี้ย หรือการแต่งพฤติกรรม (Shaping)
วิธีการดังกล่าวมาทั้งหมด คือ Shaping, Token economies และ Contingency contracting จะใช้ปรับพฤติกรรม เมื่อต้องการให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น ในบางกรณีที่ต้องการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ หรือทำหีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์อ่อนตัวลง ให้ใช้วิธีหยุดการเสริมแรง การพักชั่วคราว การลงโทษ
การประยุกต์ใช้ Operant conditioning ในชั้นเรียน
1. ระวังการคุ่มชั้นโดยวิธีลงโทษ จากการทดลอง shock หนูด้วยไฟฟ้าจะเห็นว่า หนูเรียนได้เร็วและลืมเร็ว และกลัวสิ่งแวดล้อมนั้น ดังนั้นถ้าลงโทษอย่างรุนแรง พูดจาถากถางจะทำให้เกิดผลเสียงเช่นเดียวกัน คือ ลืมเร็ว และกลัว และเกิดเจตคติที่ไม่ดีต่อโรงเรียน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการเรียน
2. ให้การเสริมแรงเท่าที่จะทำได้ พยายามให้ทันทีที่นักเรียนตอบถูก ในการถามคำถามควรถามในสิ่งที่คิดว่าเด็กจะตอบได้ บางครั้งอาจใช้การเสริมแรงเป็นระยะๆเพื่อเรียกร้องความสนใจจากเด็ก หลักจากที่ให้แบบฝึกหัดหรือการสอบ ควรให้เด็กรับรู้คำตอบทันทีด้วยการนำมาเฉลยและอภิปราย
3. ถ้านักเรียนเกิดการเรียนรู้ชนิด Generalize ที่ผิด ให้ใช้ selective reinforcement เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ชนิด discrimination เช่น ให้เด็กเขียน ถ แต่เด็กเขียน ภ ให้เด็กรู้แต่เพียงว่าผิดและให้เขียนใหม่โดยแนะนำให้สังเกตสิ่งที่ต่างกัน และเขียนได้ถูกต้องให้คำชมได้อย่างทันท่วงที
4. จัดเนื้อหาวิชาต่างๆที่จะสอนให้เป็นหน่วยย่อยๆโดยเรียงตามความยากง่าย เพื่อให้โอกาสเด็กตอบถูกมาที่สุด จะได้เป็นกำลังใจในการเรียน
5. บทเรียนสำเร็จรูป จะมีคุณค่ามากสำหรับเด็กที่เรียนช้า เรียนอ่อน เด็กที่มีแรงจูงใจใฝ่สำฤทธิ์ต่ำ หรือเด็กที่ขาดความมั่นใจในตนเอง
6. การนำการปรับพฤติกรรมมาใช้ในชั้นเรียน ทฤษฎีพฤติกรรมแนะนำว่า การที่แสดงความสนใจกับพฤติกรรมที่ไม่ดีของเด็กเป็นการเสริมแรงให้เด็กแสดงพฤติกรรมนั้นยิ่งขึ้น และเด็กจะหยุดทำเหลวไหล ถ้าเราไม่ให้ความสนใจ แต่ทั้งนี้ไม่ได้รวมถึงการที่เด็กทำลายทรัพย์สมบัติของโรงเรียน หรือการเล่นเกเรแกล้งเพื่อนแรงๆจนได้รับบาดเจ็บ
แนวคิดที่สำคัญของกลุ่มพฤติกรรมนิยม
องค์ประกอบสำคัญในการเรียนรู้
กลุ่ม Classical conditioning หรือ Type – S Conditioning
1. ความใกล้ชิด
2. การฝึกหัด
กลุ่ม Operant conditioning หรือ Type – R conditioning
1. การเสริมแรง
2. ความใกล้ชิด
3. การฝึกหัด
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้ของกลุ่ม S-R
1. ความใกล้ชิด
2. การฝึกหัด
3. การเสริมแรง
4. การสรุปนัยทั่วไป
5. การจำแนกแยกแยะ
ข้อสังเกต
1. การแสดงพฤติกรรมตอบสนอง มี 2 ลักษณะ คือ Respondent และOperant
1.1 Respondent เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เคยมีลักษณะเป็นกลาง ซึ่งนำมาอยู่คู่กับสิ่งเร้าที่เป็น UCS ทำให้เกิดการตอบสนองโดยอัตโนมัติ (UCR) ในลักษณะเช่นเดี่ยวกันซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบ classical conditioning เป็นการเรียนรู้ซึ่งผู้เรียนจะมีปฏิกิริยาตอบสนองไปโดยอัตโนมัติ ไม่สามารถควบคุ่มได้ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก
1.2 Operant เป็นการตอบสนองซึ่งผู้เรียนเป็นฝ่ายแสดงพฤติกรรมเอง โดยมิต้องอาศัยสิ่งเร้าจากภายนอก และผู้เรียนจะทำพฤติกรรมนั้นซ้ำเดิมอีกถ้าได้รับการเสริมแรง ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบ Operant conditioning
2. นักจิตวิทยากลุ่ม S – R theories ประกอบไปด้วยผู้ที่มีความคิดต่างๆกัน ดังนั้นคำว่า theory จึงเป็น theories เสมอ เราสามารถแยกความคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
2.1 กลุ่ม Reinforcement theorist มีความเห็นว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีการเสริมแรง บุคคลสำคัญในกลุ่มนี้ คือ POVLOV Thorndike และSkinner
2.2 กลุ่ม nonreinforcement theorist มีความเห็นว่าการเรียนรู้เกิดจาก ความใกล้ชิดระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองไม่จำเป็นต้องมีการเสริมแรง บุคคลสำคัญในกลุ่มนี้ คือ Watson และ Guthrie ((เสนอกฎแห่งการใกล้ชิด -Law of contiguity)
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social learning theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงได้ โดยการสังเกต และการเลียนแบบ บุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ในระยะแรก คือ Miller & Dorlard ซึ่งเขาได้เขียนหนังสือชื่อ “Social learning and Imitation (1941)” โดยที่ทั้งคู่ได้ชี้ให้เห็นว่าไม่มีความจำเป็นเสมอไปที่จะใช้การเสริมแรงกับพฤติกรรมที่เด็กแสดง เพื่อให้เด็กแสดงพฤติกรรมใหม่ที่เหมาะสม (ดังเช่นสกินเนอร์กล่าวไว้) ทั้งคู่ให้คะแนะนำว่า ทั้งการเสริมแรงและการเรียนรู้ สามารถเกิดขึ้นได้เองในตัวเด็ก เมื่อพฤติกรรมของเขาสอดคลองกับพฤติกรรมของคนอื่นๆ เช่น เด็กอาจจะได้รับคำชมจากพ่อแม่ เมื่อเขาได้เลียบแบบการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมจากพี่ชาย สำหรับ Bandura และ Walters เห็นด้วยกับความคิดของ Miller & Dollard ในเรื่องการสำคัญในการเลียนแบบ ซึ่งเขาได้เขียนหนังสือชื่อ “Social Foundation of thought and Action 1968” ซึ่งแบนดูราได้อธิบายว่า การสังเกตและการเลียนแบบพฤติกรรมของตัวแบบนั้น สามารถอธิบายได้ 4 กระบวนการ คือ ความใส่ใจ (attention) การจดจำ (retention) การแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ (reproduction) และแรงจูงใจ (motivation)
กระบวนการเรียนรู้โดยการสังเกต
แบนดูราได้กล่าวถึงกระบวนการที่สำคัญในการเรียนรู้โดยการสังเกตจากตัวแบบว่ามี 4 อย่างคือ
1. ความใส่ใจ Attention ความใส่ใจของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญมาก ถือว่าเป็นเกณฑ์ขั้นแรก เพราะถ้าผู้เรียนไม่มีความใส่ใจ การเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบก็จะไม่เกิดขึ้น สิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนมีความใส่ใจที่จะสังเกต คือ ระดับของความคล้ายคลึงกันระหว่างตัวแบบ และตัวผู้สังเกต ซึ่ง Schunk (1987) ได้รวบรวมและวิเคราะห์งานวิจัยที่มีการทำกันไว้ และได้สรุปเกี่ยวกับผลความคล้ายคลึงกันระหว่างตัวแบบ และตัวผู้สังเกตในกระบวนการเรียนรู้ว่ามีดังนี้
1.1 เมื่อผู้เรียนคำนึงถึงความเหมาะสมทางพฤติกรรม หรือเกิดความไม่แน่ใจในความสามารถของตนเอง ผู้เรียนจะดูกลุ่มตัวแบบจากกลุ่มเพื่อนที่สนิท มากกว่าที่จะดูจากเด็กที่โตกว่าหรือดูจากผู้ใหญ่
1.2 ถ้าเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบ ทักษะหรือประสบการณ์แปลกใหม่ ถ้าผู้เรียนเกิดความไม่สนใจในความสามารถของเพื่อน ก็จะเลียนแบบผู้ใหญ่ ดังนั้นในกรณีเช่นนี้ ความใกล้เคียงกันในเรื่องอายุ จะมีความสำคัญน้อยกว่าความสามารถของตัวแบบ
1.3 ผู้เรียนจะเรียนทักษะทางการเรียนจากตัวแบบทั้งสอง เพศแต่จะมีความพอใจที่จะแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเพศของเขา
1.4 สำหรับผู้เรียนที่มีความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเองในทางลบ หรือมีปัญหาทางการเรียนในช่วงที่ผ่านมา มักจะเลียนแบบเพื่อนซึ่งเป็นนักช่างซักช่างถาม มากกว่าจะเลียนแบบเพื่อนที่ตั้งหน้าตั้งตาเรียน คอยฟังแต่คำสอนของครู ดังนั้นในการปรับปรุงความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลียนแบบเพื่อนที่มักจะมีปัญหามาคอยซักถามครูมากกว่าตัวแบบที่นั่งเรียนเงียบๆ
2. การจำ Retention เมื่อผู้เรียนสังเกตพฤติกรรมของตัวแบบด้วยความใส่ใจผู้เรียนก็บันทึกพฤติกรรมนั้นไว้ในความจำ สิ่งที่บันทึกไว้ได้นั้นอาจเป็นเพียงพฤติกรรมที่สังเกตได้ หรืออาจจะรวมถึงคำอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมว่าทำไมเป็นเช่นนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร และเมื่อใด เป็นต้น หรืออาจจะมีภาพพจน์เกี่ยวกับสิ่งที่ได้สังเกต สรุปแล้วผู้สังเกตที่ได้ระลึกถึงสิ่งที่สังเกตได้เป็นภาพในใจ และสามารถเข้าระหัสด้วยตำพูด หรือถ้อยคำ จะเป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้ แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานก็ตาม
3. การแสดงเหมือนตัวแบบ Reproduction แบนดูราได้แสดงการแบ่งพฤติกรรมเหมือนตัวแบบเป็น 2 ลักษณะคือ
3.1 การเลือกและการจัดระบบพฤติกรรมที่จะแสดง
3.2 การปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมโดยอาศัยข้อคิดเห็นของผู้อื่น
4. แจงจูงใจ Motivation เกี่ยงกับเรื่องแรงจูงใจ แบนดูรามีความคิดเห็นเช่นเดียวกับสกินเนอร์ ที่เห็นคุณค่าของการเสริมแรงในฐานะที่เป็นแรงจูงใจ เพียงแต่เขาได้พูดถึงการเสริมแรงในลักษณะที่กว้างกว่า โดยกล่าวว่าการเลียนแบบจะเกิดขึ้นอย่างมีความหมายมากขึ้น ถ้าผ่านการเสริมแรงใน 3 ลักษณะ คือ การเสริมแรงทางตรง (direct reinforcement) ความคาดหวังที่จะได้แรงเสริมเมื่อเห็นผู้อื่นได้ (vicarious reinforcement) และการเสริมแรงด้วยตนเอง (Self – reinforcement)
4.1 การเสริมแรงทางตรง (direct reinforcement) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้เฝ้าสังเกตการกระทำของตัวแบบ เลียนแบบพฤติกรรมและได้รับการเสริมแรง หรือถูกลงโทษจากตัวแบบ หรือจากบุคคลอื่น
4.2 ความคาดหวังที่จะได้แรงเสริมเมื่อเห็นผู้อื่นได้ (vicarious reinforcement) หมายถึงสภาพการที่ผู้เรียนคาดหวังว่าจะได้รางวัลถ้าประพฤติปฏิบัติด้วยวิธีการที่เพื่อนได้รับรางวัล
4.3 การให้แรงเสริมด้วยตนเอง (Self – reinforcement) เป็นสภาพการที่ผู้เรียนพยายามที่จะทำตนให้ได้มาตรฐานที่ตนเองตั้งไว้โดยไม่สนใจปฏิกิริยาของผู้อื่น
งานวิจัยที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทางสังคม
หลักสำคัญของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ซึ่ง แบนดูราได้อธิบายไว้นั้น สามารถแสดงให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นได้ด้วยงานทดลองซึ่งถือว่าเป็นอมตะ 3 เรื่อง ที่เขาได้ทำขึ้นในช่วงปี 1960 ดังนี้
การทดลองชิ้นแรก (Bandura, Ross & Ross,1961) เป็นการสังเกตพฤติกรรมก้าวร้าวของตัวแบบ โดยที่แบนดูราและเพื่อนร่วมงานได้แบ่งเด็กเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้สังเกตการเล่นของตัวแบบที่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว กลุ่มที่สองสังเกตการเล่นของตัวแบบที่ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว กลุ่มที่สามไม่มีตัวแบบให้ดูเป็นตัวอย่าง การทดลองเริ่มด้วยการให้เด็กและตัวแบบเล่นตุ๊กตาสักครู่ ประมาณ 1 – 10 นาที ต่อจากนั้นตัวแบบลุกขึ้น ตบ ตี เตะ ต่อย ทุบตุ๊กตายางซึมเป่าลม สำหรับกลุ่มที่สองเด็กเล่นตุ๊กตาใกล้ๆตัวแบบ ซึ่งไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวเป็นตัวอย่าง สำหรับกลุ่มที่สามเด็กเล่นตุ๊กตาตามลำพังโดยไม่มีตัวแบบ หลังจากเด็กเล่นตุ๊กตาแล้ว ผู้ทดลองพาเด็กเขาไปอีกห้องหนึ่ง ซึ่งมีตุ๊กตาที่น่าเล่นมากมาย แต่บอกว่าห้ามจับตุ๊กตา เพื่อจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกคับข้องใจ เสร็จแล้วพาเด็กไปอีกห้องหนึ่งที่ละคน ซึ่งมีตุ๊กตาหลายชนิดว่างอยู่ รวมทั้งตุ๊กตายางที่ตัวแบบ เตะต่อย และทุบตี รวมอยู่ด้วย
ผลการทดลองพบว่า เด็กที่ในกลุ่มที่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว จะแสดงพฤติกรรมก้าร้าว เตะต่อย ทุบตีตุ๊กตายาง รวมตุ๊กตาตัวอื่นๆด้วยอาการที่รุ่นแรงมากขึ้น ส่วนเด็กที่ไม่ได้สังเกตตัวแบบหรือสังเกตตัวแบบที่ไม่ก้าวร้าว จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวเพียงเล็กน้อย
การทดลองชิ้นที่ 2 (Bandura, Ross&Ross,1963a) การทดลองครั้งนี้ มีวิธีการทดลองเหมือนวิธีการทดลองเหมือนครั้งแรก แต่ใช้ภาพยนตร์แทนของจริง โดยที่กลุ่มดูภาพยนตร์ที่ตัวแบบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
ผลของการทดลอง เหมือนกับการทดลองครั้งแรก คือ เด็กที่ดูภาพยนตร์ที่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวมากกว่าเด็กที่แสดงพฤติกรรมไม่ก้าวร้าว
การทดลองชิ้นที่ 3 (Bandura, Ross&Ross,1963b) แบนดูรา และเพื่อนร่วมงานพยายามที่จะศึกษาว่า การให้รางวัลพฤติกรรมก้าวร้าวของตัวแบบ จะมีผลต่อการเลียบแบบอย่างไร
ผลปรากฏว่า โดยๆไปผู้เรียนจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้นภายหลังที่เห็นพฤติกรรมก้าวร้าวของตัวแบบ ได้รับการเสริมแรงทางบวก มากกว่าเมื่อเห็นตัวแบบถูกลงโทษ
งานวิจัย 3 ชิ้นนี้ สามารถกระตุ้นให้เกิดการศึกษาวิจัยในเรื่องประเภทเดี่ยวกันนี้อีกนับเป็นร้อยเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพราะเป็นการทดลองที่แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมก้าวร้าวจากภาพยนตร์ หรือทีวี จะนำไปสู่การมีปัญหาทางพฤติกรรมอย่างรุ่นแรง

สรุป
การเรียนรู้ในกลุ่มพฤติกรรมมี 3 ชนิด ที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรม คือ classical conditioning, operant conditioning และ social learning
การเรียนรู้ชนิดแรก คือ classical conditioning เป็นทฤษฎีพฤติกรรมนิยมที่เกิดขึ้นในระยะแรก บุคคลสำคัญคือ Povlov จากการทดลองได้อธิบายว่า คนและสัตว์เรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าใหม่ โดยวิธีการเดียวกันกับที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น อาหาร จากการทดลอง เขาได้สรุปหลักการที่สำคัญ 4 ประการ ซึ่งถือว่าเป็นหลักการที่สำคัญของกลุ่มพฤติกรรมนิยมในเวลาต่อมา หลักการนั้นคือ การเสริมแรง (reinforcement) การหยุดเสริมแรง (extinction) การสรุปนัยทั่วไป (generalization) และ การจำแนกแยกแยะ (discrimination)
การเรียนรู้ชนิดที่สองคือ operant conditioning บุคคลสำคัญคือ สกินเนอร์ ทฤษฎีนี้อธิบายว่า คนและสัตว์จะแสดงพฤติกรรมใหม่อย่างใดนั้น ขึ้นอยู่กับผลที่เกิดตามมาของพฤติกรรม กลักการสำตัญที่เกิดตามมาจากการทดลองของสกินเนอร์ คือ การเสริมแรงบวก (positive reinforcement) การเสริมแรงลบ (negative reinforcement) การลงโทษ (punishment) การพักชั่วคราว (time –out) การหยุดเสริมแรง (extinction) การกลับมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป (spontaneous recovery) การสรุปนัยทั่วไป และการจำแนกแยกแยะ
พฤติกรรมที่ซับซ้อนของมนุษย์ สามารถแต่ง (Shaping) ให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ด้วยการให้แรงเสริมกับพฤติกรรมที่ผู้เรียนทำได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่กำหนดได้ตามลำดับขั้น และจะไม่ให้การเสริมแรงกับพฤติกรรมที่อยู่ห่างใกล้จากเป้าหมาย เมื่อเกิดพฤติกรรมใหม่ที่พึงปรารถนาแล้ว สามารถทำให้พฤติกรรมนั้นพึงอยู่ได้ ด้วยการเสริมแรงเป็นครั้งคราว ซึ่งมีอยู่ 4 ชนิด คือ
1. การให้แรงเสริมตามช่วงเวลาที่แน่นอน (fixed interval)
2. การให้แรงเสริมตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน (variable interval)
3. การให้แรงเสริมตามอัตราส่วนที่แน่นอน (fixed ratio)
4. การให้แรงเสริมตามอัตราส่วนที่แน่นอน (variable ratio)
1. บทเรียนสำเร็จรูป ชนิดเส้นตรง เป็นการเสนอเนื้อหาที่จะให้เรียนเป็นขั้นๆไปทีละน้อย มีการชี้แนะเพื่อให้ตอบถูก และให้แรงเสริมบวก โดยการให้รู้ผลการกระทำโดยทันท่วงที บทเรียนสำเร็จรูป ชนิดสาขา เป็นการเสนอเนื้อหาที่จะให้เรียนเป็นขั้นที่กว้างกว่าแบบเส้นตรงไม่ใคร่มีการชี้แนะ ถ้าตอบไม่ถูก ผู้เรียนจะได้รับคำอธิบายจากกรอบสาขาก่อนที่จะทำกรอบต่อไป บทเรียนสำเร็จรูปเป็นเครื่องมือช่วยสอนที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่มีผลการเรียนต่ำ
2. การปรับพฤติกรรม เป้าหมายของการปรับพฤติกรรม คือ ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้พฤติกรรมที่พึงประสงค์โดยใช้วิธีไม่ให้ความสนใจ (ignore) หรือลงโทษพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และให้การเสริมแรงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เทคนิคที่ใช้ในการปรับพฤติกรรมคือ การแต่งพฤติกรรม (shaping) การใช้เบี้ยเศรษฐกิจ (token economics) เงื่อนไขสัญญา (contingency contraction) การหยุดเสริมแรง (extinction) และการลงโทษ (punishment)
การเรียนรู้ชนิดที่สามคือ Social learning หรือการเรียนรู้ทางสังคมบุคคลสำคัญคือ Bandura ทฤษฎีนี้อธิบายว่าคนเรียนรู้ที่จะสังเกตและเลียบแบบ (ซึงตัวแบบอาจจะไม่ได้รับแรงเสริมหรือได้รับก็ได้) กระบวนการเรียนรูทางสังคมจะประกอบด้วยความใส่ใจ (attention) การจดจำ (retention) การแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ (reproduction) และแรงจูงใจ (motivation) ซึ่งหมายถึง การเสริมแรง ซึ่งการเสริมแรงอาจจะมาจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยตรง หรือการคาดหวังว่าจะได้รับรางวัลเหมือนตัวแบบ (vicarious) หรือจากที่ตั้งมาตรฐานตัวตนเอง (self – reinforcement)
ผลการวิจัยได้เสนอแนะว่า พฤติกรรมทางสังคมหลายๆชนิด เช่น ความก้าวร้าวอาจจะเรียนรู้ได้จากตัวแบบ นอกจากนั้นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้านวิชาการก็สามารถเรียนรู้ได้จากการสังเกตและเลียนแบบจากตัวแบบ เช่น มานะพยายาม ความเชื่อมั่นในตนเอง และทักษะทางสติปัญญา
หลักการของกลุ่มพฤติกรรมนิยมได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากจากนักจิตวิทยาทั่วๆไปโดยเฉพาะจากกลุ่มมนุษยนิยม ในเรื่องที่เกี่ยวกับว่าสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม ซึ่งหมายความว่าคนไม่มีสิทธิ์ที่จะกำหนดพฤติกรรมของตนเอง พฤติกรรมต่างๆตกอยู่ภายไต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นนั้นจิตวิทยาบางคนยังชี้ให้เห็นว่า การปรับพฤติกรรมนั้นหลายๆครั้งเป็นเพื่อประโยชน์ของผู้ปรับ (หรือผู้ควบคุ่ม) แทนที่จะใช้การเสริมแรงเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกปรับพฤติกรรม นักจิตวิทยายังชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของบทเรียนสำเร็จรูปว่ามีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่จะเขียนบทเรียนให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้น หลักการบางอย่างของสกินเนอร์เกี่ยวกับเรื่องการให้ข้อคิดเห็นอย่างทันท่วงทีว่าจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างดีนั้น ก็ไม่มีการทดลองใดสนับสนุน ดังนั้นกล่าวโดยสรุปแล้วมีนักจิตวิทยาจำนวนไม่น้อยที่ไม่เห็นด้วยกับบทเรียนสำเร็จรูปและการปรับพฤติกรรม
การใช้แรงเสริมในการปรับแตงพฤติกรรมในหลายครั้งก็ไม่ได้ผล เพราะเด็กเกิดความรู้สึกว่าเหมือนถูกติดสินบน ถ้าทำสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการ เด็กก็จะได้สิ่งที่ตนเองต้องการ ถ้าเด็กเกิดไม่มีความต้องการอยากได้อะไร ก็จะเลิกทำสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการ ดังนั้นการจะใช้การเสริมแรงให้มีประสิทธิภาพ คือให้เด็กเป็นผู้ให้รางวัลกับตนเอง ซึ่งอาจจะเป็นการเล่นเกมหรืออะไรก็ได้ภายหลังที่ทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งสำเร็จ ดังนั้นครูจึงควรกระตุ้น ให้เด็กเขียนรายชื่อสิ่งที่เด็กจะใช้เป็นรางวัลกับตนเอง โดยทำเป็นรายการไว้เช่นเดียวกับรายการอาหาร
บรรณานุกรม
จิตวิทยาการเรียนการสอน รศ.ดร.พรรณี ช.เจนจิต






































กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
ผู้นำคนสำคัญคือ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) จิตแพทย์ชาวเวียนนา ได้ศึกษาวิเคราะห์จิต ของมนุษย์ และอธิบายว่า พลังงานจิตทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ มี 3 ลักษณะ คือ

ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)
จิตสำนึกหรือจิตรู้สำนึก (Conscious mind) หมายถึงภาวะจิตที่รู้ตัวอยู่ได้แก่ การแสดงพฤติกรรม เพื่อให้ สอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง
จิตกึ่งสำนึก (Subconscious mind) หมายถึงภาวะจิตที่ระลึกถึงได้ รองศาสตราจารย์ กลมรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2528 : 35)ได้กล่าวถึง Subconscious mind ว่าหมายถึงส่วนของจิตใจ ที่มิได้แสดงออกเป็นพฤติกรรม ในขณะนั้น แต่ เป็นส่วนที่รู้ตัว สามารถดึงออกมใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เช่น นางสาว ก. มีน้องสาวคือนางสาว ข. ซึ่งกำลังตกหลุมรัก นาย ค. แต่นางสาว ข. เกรงว่ามารดาจะทราบความจริงจึงบอกพี่สาว มิให้เล่าให้มารดาฟัง นางสาว ก. เก็บเรื่องนี้ไว้เป็น ความลับ มิได้แพร่งพรายให้ผู้ใดทราบโดยเฉพาะมารดาแต่ ในขณะเดียวกันก็ทราบอยู่ตลอดเวลาว่า นางสาว ข. รักนาย ค. ถ้าเขาต้องการเปิดเผย เขาก็จะบอกได้ทันที ลักขณา สริวัฒน์ (2530 : 9) กล่าวถึง Subconscious mind ว่าผลมันเกิด จากการขัดแย้งกันระหว่าง พฤติกรรมภายใต้อิทธิพลจิตรู้สำนึกกับอิทธิพลของ จิตใต้สำนึกย่อมก่อให้เกิดการหลอกลวงตัวเองขึ้น ภายในบุคคล
จิตไร้สำนึกหรือจิตใต้สำนึก (Unconscious mind) หมายถึงภาวะจิตที่ไม่อยู่ในภาวะที่รู้ตัวระลึกถึงไม่ได้ กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2524 : 121) กล่าวว่า จิตไร้สำนึกเป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจ มีการเก็บกด (Repression) เอาไว้อาจเป็นเพราะ ถูกบังคับ หรือไม่สามารถแสดงอาการโต้ตอบได้ในขณะนั้นในที่สุดก็จะฝังแน่นเข้าไป จนเจ้าตัวลืมไปชั่ว ขณะจะแสดงออกมาในลักษณะการพลั้งเผลอ เช่น พลั้งปากเอ่ยชื่อ คนรักเก่าต่อหน้า คนรักใหม่ เป็นต้น
คณาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2530 : 16) กล่าวว่าสิ่งที่มีอิทธิพล จูงใจพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของคนเรามากที่สุดก็คือ ส่วนที่เป็นจิตใต้สำนึกและสิ่งที่คนเรามัก จะเก็บกดลงไปที่จิตใต้ สำนึก ก็คือความต้องการก้าวร้าว กับความต้องการทางเพศ ซึ่งจะมีแรงผลักดัน
นอกจากนี้ ฟรอยด์ ยังได้ศึกษาถึงโครงสร้างทางจิตพบว่าโครงสร้างทางจิตประกอบด้วย

1. อิด (Id)
2. อีโก้ (Ego)
3. ซุปเปอร์อีโก้ (Superrgo)
อิด (Id) หมายถึงตัณหาหรือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เป็นสิ่งที่ยังไม่ได้ขัดเกลา ซึ่งทำให้ มนุษย์ทำทุกอย่างเพื่อความพึงพอใจของตนเองหรือทำตามหลักของความพอใจ (Pleasure principle) เปรียบเหมือนสันดานดิบของ มนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น สัญชาติญาณ แห่งการมีชีวิต (Life instinct) เช่น ความต้องการอาหาร ความต้องการทางเพศ ความต้องการหลีกหนีจากอันตราย กับสัญชาติญาณแห่ง ความตาย (Death instinct) เช่น ความก้าวร้าว หรือการทำอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น เป็นต้น บุคคล จะแสดงพฤติกรรมตามความพอใจ ของเขาเป็นใหญ่ ไม่คำนึงถึงค่านิยมของสังคม และ ความพอใจของ บุคคลอื่นจึงมักเป็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามครรลองของมาตรฐานในสังคม บุคคลที่มีบุคลิกภาพเช่นนี้ มักได้รับการประนามว่ามีบุคลิกภาพไม่ดี หรือไม่เหมาะสม
อีโก้ (Ego) หมายถึง ส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการของ Id โดยอาศัยกฏเกณฑ์ ทางสังคม และหลักแห่งความจริง (Reality principle) มาช่วยในการตัดสินใจ ไม่ใช่แสดงออกตามความพอใจของตนแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องคิดแสดงออกอย่างมีเหตุผลด้วยนั่นคือบุคคลจะแสดงพฤติกรรม โดยมีเหตุและผล ที่เหมาะสมกับกาละเทศะใน สังคม จึงเป็นบุคลิกภาพที่ได้รับการยอมรับมากในสังคม ในคนปรกติที่สามารถปรับตัวอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข ฟรอยด์ เชื่อว่าเป็นเพราะมีโครงสร้าง ส่วนนี้แข็งแรง
ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) หมายถึงมโนธรรมหรือจิตส่วนที่ได้รับการพัฒนาจากประสบการณ์ การอบรมสั่งสอน โดยอาศัยหลักของศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมต่าง ๆ ใน สังคมนั้น Superego จะเป็นตัวบังคับ และควบคุมความคิดให้แสดงออกในลักษณะที่เป็นสมาชิกที่ดีของ สังคม โดยยึดหลักค่านิยมของสังคม (Value principle)ที่ตัดสินว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดีในสังคมกล่าวคือบุคคล จะแสดงพฤติกรรมตาม ขอบเขตที่สังคมวางไว้ แต่บางครั้งอาจไม่เหมาะ สม เช่น เมื่อถูกยุงกัดเต็มแขน - ขา ก็ไม่ยอมตบยุง เพราะกลัวบาป หรือสงสารคนขอทานให้เงินเขาไปจนหมด ในขณะที่ ตนเองหิวข้าวไม่มีเงินจะ ซื้ออาหารกินก็ยอมทนหิว เป็นต้น
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2524 : 122 - 123) กล่าวว่าใครก็ตามที่มีบุคลิกภาพ เช่นนี้มักได้รับการยกย่อง ทั้งนี้เพราะบางครั้งพฤติกรรมที่แสดงออกนั้นอาจเกิดความไม่พอใจในตนเอง แต่เพื่อ ต้องการให้เป็นที่ ยอมรับในสังคม ดังนั้นแม้เขาแสดงพฤติกรรมบาง อย่างที่ขัดต่อ ค่านิยมของสังคม เขาจะเกิดความรู้สึกผิด (Guilt feeling or Guilty) ทันทีถ้าไม่มีการ ระบายออกเก็บกดไว้ มาก ๆ อาจระเบิดออกมากลายเป็นโรค ผิดปรกติทางจิตได้
ฟรอยด์ กล่าวว่าในบุคคลทั่วไปมักมีโครงสร้างทั้ง 3 ส่วนนี้แต่ส่วนที่แข็งแรงที่สุด มักเป็นอีโก้ ซึ่งทำหน้าที่คอย ประนีประนอมระหว่างอิดและซุปเปอร์อีโก้ให้แสดงออกตามความ เหมาะสมของสถานการณ์ ในขณะนั้น เช่น คอยกดอิดมิ ให้แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมา เมื่อยังไม่ถึงเวลาหรือคอยดึงซุปเปอร์ อีโก้ไว้มิให้แสดงพฤติกรรมที่ดีงามจนเกินไป จนตนเอง เดือดร้อน ถ้าคนที่มีจิตผิดปรกติ เช่นเป็นโรคจิต โรคประสาท คือคนที่อีโก้แตก (Break down) ไม่สามารถคุม อิดและซุปเปอร์อีโก้ไว้ได้ มักจะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับกาละเทศะกับเหตุผล เช่น เกิดอาการคุ้มดีคุ้มร้าย คุ้มดีคือส่วนของซุปเปอร์ อีโก้แสดงออกมา คุ้มร้ายคือส่วนของอิดแสดงออกมา ฯลฯ
ดร. อารี รังสินันท์ (2530 : 15 - 16) กล่าวว่าโครงสร้างจิต 3 ระบบนี้มีส่วนสัมพันธ์กัน ถ้าทำงาน สัมพันธ์กันดีการแสดงออกหรือบุคลิกภาพก็เหมาะสมกับตน แต่ถ้าโครงสร้างทั้ง 3 ระบบ ทำหน้าที่ขัดแย้งกัน บุคคลก็จะมีพฤติกรรมหรือ บุคลิกภาพที่ไม่ราบรื่นปกติ หรือไม่เหมาะสม แนวความคิดกลุ่มนี้เน้น จิตไร้สำนึก (Unconscious mind) จิตไร้สำนึกนี้จะ รวบรวมความคิด ความต้องการ และประสบการณ์ที่ผู้เป็นเจ้าของ จิตไม่ต้องการจะจดจำ จึงเก็บกดความรู้สึกต่าง ๆ เหล่านี้ไว้อยู่ในจิตส่วนนี้ และหากความคิด ความต้องการหรือ เกิดพฤติกรรมบางอย่างโดยไม่รู้ตัว
อนึ่ง ประสบการณ์ในชีวิตวัยเด็ก โดยเฉพาะช่วงแรกเกิดถึง 5 ขวบที่เกี่ยวกับการอบรม เลี้ยงดู ที่ได้รับ จะฝังแน่น อยู่ในจิตไร้สำนึก และอาจจะแสดงออกเมื่อถูกกระตุ้น โดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่
ฟรอยด์ บอกว่า จิตไร้สำนึกเป็นสาเหตุให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมและพฤติกรรม ที่ฝังแน่นในอดีต เป็นเหตุให้แสดง พฤติกรรมออกมาในปัจจุบันและอนาคต อนึ่ง พฤติกรรม ทั้งหลายที่แสดงออกมานั้น ท้ายที่สุดก็เพื่อตอบสนองความต้อง การทางเพศ (Sexual need) นั่นเอง
ฟรอยด์ เน้นประสบการณ์ชีวิตในวัยเด็กมาก โดยเฉพาะในช่วงชีวิตตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ขวบ ประสบการณ์ต่างๆที่เด็กได้รับในช่วงนี้ โดยเฉพาะสิ่งที่ประทับใจ วิธีการอบรม เลี้ยงดู มักจะฝังแน่นอยู่ ในจิตไร้สำนึก และจะแสดงออกมาเป็น พฤติกรรมในช่วงชีวิต ที่เป็นผู้ใหญ่ต่อมาซึ่งค้านกับความเห็นของนัก จิตวิทยากลุ่มอื่นหรือนักการศึกษา ที่เชื่อว่าไม่มีผู้ใด จดจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเองได้ในช่วงชีวิตตั้งแต่ 5 ขวบลงไปจนถึงแรกเกิดได้ แต่ฟรอยด์บอกว่า สิ่งเหล่านี้มิได้หาย ไปไหนแต่กลับฝังลึกลงไป ในส่วนของจิด ที่เรียกว่า จิตไร้สำนึก (กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. 2528 : 36)

พัฒนาการของมนุษย์ 5 ขั้น ของฟรอยด์
ผ.ศ. ดร. อารี รังสินันท์ (2530 : 15 - 16) ได้กล่าวถึงการแบ่งขั้นพัฒนาการของมนุษย์ของฟรอยด์ว่าแบ่งเป็น 5 ขั้น คือ

1. ขั้นปาก (Oral Stage) อายุตั้งแต่แรกเกิด - 2 ขวบ
2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) อายุ 2 - 3 ขวบ
3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) อายุ 3 - 5 ขวบ
4. ขั้นแฝง (Latent Stage) อายุ 6 - 12 ขวบ
5. ขั้นวัยรุ่น (Genital Stage) อายุ 13 - 18 ขวบ


รองศาสตราจารย์ กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2528 : 37 - 39) ได้กล่าวถึงการแบ่งพัฒนาการของมนุษย์ของฟรอยด์ว่า ฟรอยด์ได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ แตกต่างจากนักจิตวิทยาท่านอื่นกล่าวคือ ฟรอยด์ เชื่อว่า มนุษย์มีอวัยวะที่ไวต่อ ความรู้สึกในแต่ละช่วงชีวิตแตกต่างกัน ซึ่ง
ฟรอยด์เรียกว่าอีโรจีนัสโซน (Erogenus zone) จึงได้แบ่งขั้นพัฒนาการตามอวัยวะที่ไวต่อความรู้สึกออกเป็น 5 ขั้น และได้กล่าวถึงแต่ละขั้นไว้ ดังนี้
ขั้นปาก (Oral Stage) ขั้นนี้เด็กต้องการการตอบสนองทางปากมากที่สุดเนื่องจากปากเป็นอวัยวะที่ไวต่อความรู้สึกมากที่สุดในช่วงชีวิตนี้ ความสุขความพอใจของเด็กอยู่ที่การได้รับการตอบสนองทางปาก เช่น การดูดนม การสัมผัสสิ่งแปลกใหม่ด้วยปาก ฯลฯ ถ้าเด็กได้รับการตอบสนองเต็มที่ เมื่อโตขึ้นจะมีบุคลิกภาพที่เหมาะสมไม่พยายามใช้ปากมากเกิน ไป รู้จักพูดหรือใช้ปากได้เหมาะกับกาละเทศะ หากเด็กได้รับการขัดขวางต่อการตอบสนองทางปากในวัยนี้ เช่น การหย่านมเร็วเกินไป ถูกตีเมื่อนำของเข้าปากทำให้เด็กรู้สึกกระวนกระวายและเรียกร้องที่จะชดเชยการตอบสนองทางปากนั้น เมื่อ มีโอกาส เรียกว่าเกิดการหยุดยั้งพัฒนาการทางปาก (Oral Fixation) เมื่อมีโอกาสหรือโตเป็นผู้ใหญ่มักมีบุคลิกภาพที่ชอบใช้ ปาก เช่น ชอบนินทาว่าร้าย ชอบสูบบุหรี่ รับประทางอาหารบ่อย ๆ เกินความจำเป็น เป็นต้น
ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) ขั้นนี้ เด็กต้องการตอบสนองทางทวารหนักมากที่สุดมากกว่าทางปาก เช่น พัฒนาการขั้นแรกเด็กวัยนี้จึงไม่ชอบรับประทานมากเท่ากับการเล่น โดยเฉพาะการเล่นที่สัมผัสทางทวารหนัก ตลอดจนความสุขในการขับถ่ายซึ่งตรงกับการฝึกหัดขับถ่าย (Toilet Training) ของเด็กวัยนี้ถ้าผู้ใหญ่ที่เข้าใจจะรู้จักผ่อนปรน ค่อย ๆ ฝึกเด็กให้รู้จักขับถ่ายได้ด้วยวิธีที่นุ่มนวล การพัฒนาการขั้นนี้ก็ไม่มีปัญหาเด็กโตขึ้นจะมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม แต่ถ้าเกิดการหยุดยั้งพัฒนาการขั้นนี้ (Anal Fixation) เนื่องจากผู้ใหญ่บังคับเด็กในการฝึกหัดขับถ่ายมากเกินไป เช่น ต้องขับถ่ายเป็นเวลา ถ้าไม่ทำตามจะถูกลงโทษจะทำให้เกิดความไม่พอใจฝังแน่นเข้าไปสู่จิตไร้สำนึกโดยไม่รู้ตัวและแสดงพฤติกรรมออกมาให้เห็นชัด 2 ลักษณะที่ตรงกันข้าม คือ อาจจะมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งแล้วแต่ความเข้มทางบุคลิกภาพของเด็ก นั้นๆ คือ
ก. บุคลิกภาพแบบสมบูรณ์ (Perfectionist) คือเป็นคนเจ้าระเบียบ จู้จี้ ย้ำคิดย้ำทำ กังวลมากเกินไป โดยเฉพาะเรื่องความสะอาด ลักษณะนี้มักเกิดกับเด็กที่มีบุคลิกภาพอ่อนแอ
ข. บุคลิกภาพแบบอันธพาล (Anti social) คือเป็นคนไม่ยอมคนชอบคัดค้านค่านิยมหรือระเบียบแบบแผนที่วางไว้ ลักษณะนี้มักเกิดกับเด็กที่มีบุคลิกภาพเข้มแข็งนอกจากนี้ยังพบว่า คนที่มี Anal Fixation นี้ยังเป็นนักสะสมสิ่งของต่าง ๆ ตลอดจนมีพฤติกรรมอ่านหนังสือพิมพ์บนโถส้วมนานๆ ชอบนั่งที่ใดที่หนึ่งนาน ๆ ด้วย
ขั้นอวัยวะเพศ หรือขั้นความรู้สึกทางเพศแบบแฝง (Phallic Stage)ขั้นนี้ เด็กเริ่มเกิดความรู้สึกทางเพศแต่เป็นแบบแฝง กล่าวคือมิได้หมายความว่าเด็กวัยนี้เกิดความรู้สึกทางเพศโดยตรงได้แก่ อยากมีคู่ครองแต่หมายถึงความรู้สึก ผูกพัน ที่เกิดขึ้นต่อบิดามารดาที่มีเพศตรงข้ามกับเด็ก เช่นเด็กหญิงรักและติดพ่อ หวงแหนพ่อแทนแม่ ฟรอยด์อธิบายว่าในขณะเดียวกัน เด็กจะรู้สึกอิจฉาแม่ เพราะเรียนรู้ว่า พ่อรักแม่ เกิดปมอิจฉา (Oedipus Complex) ขึ้นเห็นแม่เป็นคู่แข่งและพยายามเลียนแบบพฤติกรรมของแม่ ซึ่งเป็นแบบฉบับของสตรีเพศ ทำให้เด็กหญิง มีลักษณะเป็นหญิงเมื่อโตขึ้น ในทำนองเดียวกัน เด็กชายก็จะรักและติดแม่หวงแหนและเป็นห่วงแม่ ฟรอยด์อธิบายว่าเด็กชายจะรู้สึกอิจฉาพ่อ เพราะเรียนรู้ว่าแม่รักพ่อ เกิดปมอิจฉา (Oedipus Complax) พ่อ เห็นพ่อเป็นคู่แข่ง พยายามเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อ ซึ่งเป็นแบบฉบับของบุรุษเพศ ทำให้เด็กชายมีลักษณะเป็นชายอย่างสมบูรณ์เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้น Oedipus Complax จึงเป็นสิ่งที่ดีเพราะจะส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการได้เหมาะสมกับเพศของเขา ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ เป็นการพัฒนาการเป็นไปตามลำดับขั้นอย่างดียิ่งแต่ถ้าเกิดการหยุดยั้งพัฒนาการของ ขั้นนี้ (Phallic Fixation) จะเกิดพฤติกรรมดังนี้ เด็กหญิงขณะที่เลียนแบบแม่ ซึ่งเป็นแบบฉบับถ้าแม่เป็นแบบฉบับไม่ดี เด็กไม่ศรัทธาในที่สุดเด็กก็จะหันไปเลียน แบบพ่อ เนื่องจากมีความนิยมศรัทธาอยู่เป็นทุนเดิมแล้วพฤติกรรมที่ปรากฏก็คือ เด็กผู้หญิงเป็นลักเพศ (Lesbian) คือมี พฤติกรรมและความรู้สึกเยี่ยงชายในทำนองเดียวกัน เด็กชายขณะที่เลียนแบบพ่อซึ่งเป็นแบบฉบับ ถ้าพ่อเป็นแบบฉบับไม่ดี เด็กไม่ศรัทธาในที่สุดเด็กก็จะหันไปเลียนแบบแม่โดยตรง เพราะรักและศรัทธาแม่เป็นทุนเดิมอยู่แล้วพฤติกรรมที่ปรากฏก็คือ เด็กชายเป็นลักเพศ (Homosexual)
ขั้นแฝง (Latent Stage) เป็นระยะก่อนที่เด็กจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยรุ่น กิติกร มีทรัพย์ (2530 : 70 - 71) กล่าวถึงเด็กวัยรุ่นซ่อนเร้นหรือลาเทนซี่ (Latency) ว่า การเติบโตทางกาย ค่อย ๆ ช้าลง แต่การเติบโตทางจิตใจ (Memtal awarenss) ไปเร็วมาก เด็ก ๆ มักถูกมองว่า "แสนรู้" หรือ "แก่แดด" เด็กจะรู้จักพิพากษ์วิจารณ์สนใจไปในทางค้นหา ค้น คว้าต่าง ๆ สนใจสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่มิได้ขาดเด็กบางคนอาจพูดในสิ่งที่แหลมคมที่ทำให้ผู้ใหญ่คิดและน่าทึ่ง หรือพูดอะไรเชยๆ นักจิตวิทยาชาวสวีเดนผู้หนึ่ง ชื่อ เดวิด บียอร์กลุนด์ เป็นศาสตราจารย์ วิชาจิตวิทยามหาวิทยาลัยฟลอริดา ใน อเมริกากล่าวว่า เมื่อเด็กวัย Latency มีความคิดใคร่ครวญ ผู้ใหญ่ ไม่ควรละเลย ดูด้วยที่จะให้เด็กได้คิดเรื่องหนัก ๆ บ้างตามความสนใจของเขาตั้งแต่การวางแผนงานบ้าน การบ้าน หรือสร้างวินัยในบ้านให้เขาได้มีโอกาส รับรู้หรือมีส่วนร่วมกับ ปัญหารายรับ - รายจ่ายในครัวเรือน ปัญหาคณิตศาสตร์ ง่าย ๆ หรือปัญหาประสบการณ์ ชีวิตบางประการซึ่งผู้ใหญ่เคยคิดว่าเขาไม่รู้ หรือไม่ควรรู้
ขั้นวัยรุ่น (Genital Stage) เด็กหญิงจะเริ่มสนใจเด็กชายและเด็กชายจะเริ่มสนใจเด็กหญิง เป็นระยะที่เด็ก จะมีความสัมพันธ์ระหว่างเพศอย่างแท้จริงพฤติกรรมทางเพศของบุคคลในวัยนี้ จึงมีลักษณะที่บ่งถึงวุฒิภาวะทางอารมณ์หรือความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเต็มที่พัฒนาการทางเพศที่เกิดขึ้นในระยะนี้ เรียกว่า ขั้นวุฒิภาวะทางเพศอันมิได้หมายถึงอวัยวะเพศอย่างเดียวรวมถึงพฤติกรรมที่แสดงถึงวุฒิภาวะทางด้าน อารมณ์และสติปัญญาเด็กชายจะเปลี่ยนจากการหลงรักแม่ตนเองไปและเด็กหญิงก็จะหันจากหลงรักพ่อไปรักเพศ ชายทั่วไป


























บรรณานุกรรม
จิตวิทยาการเรียนการสอน รศ.พรรณี ช.เจนจิตพิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2550 สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ

ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]





<< หน้าแรก

This page is powered by Blogger. Isn't yours?

สมัครสมาชิก บทความ [Atom]